Greco - Persian Wars

          
   สงคราม  เป็นสมบัติของมนุษยชาติ เป็นสิ่งคู่กับอารยธรรม ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จวบจนปัจจุบัน และสู่อนาคต  ไม่มีจบสิ้น อุบายการทำสครามจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยก็คือ อาวุธยุททโธปกรณ์ และอาวุธยุทโธปกร์นั้นก็วิวัตณน์ไปตามอารยธรรมและเทคโนโลยีของของมนุษยชาติ ซึ่งจะพิจารณาได้จากสงครามหรือการรบตามภูมิภาคต่างๆ ในอายุของเรา….
   การใช้กำลังเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป็นเครื่องมือของการดำเนินความสัมพันธ์แบบสุดท้าย หลังจากวิธีการแบบอื่นๆ ไม่ได้ผลแล้วแต่ในบางยุคบางสมัย ก็มีผู้นำที่นิยมใช้สงครามเป็นเสมือน   “เกมส์(พระราชา)”เท่านั้น
   ร้อยละแปดสิบถึงเก้าสิบของกิจกรรมของมนุษยชาตินั้น ออกมาในรูปของการใช้กำลัง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หมายความว่า มนุษย์ใช้เวลาไปในการสู้รบ มากว่าเวลาที่เอาไปใช้เพื่อการสร้างสรรค์  สิ่งประดิษย์อันยิ่งใหญ่ของมนุษย์จำนวนมาก เกิดขึ้นด้วยแรงผลักดันในความพยายามที่จะทำลายล้างกัน…

 เทพแห่งสงคราม


              สงคราม กรีก-เปอร์เซีย  คือสงครามของพวกกรีกกับชาวเปอร์เซียที่บุกมาจากทางฝั่งอาหรับเข้ามาทางตอนเหนือ ประวัติศาสตร์ได้จดบันทึกวีรกรรมของชาวสปาร์ตา Spsrta ที่ไปรบขวางพวกเปอร์เซียที่มีเป็นแสนด้วยกำลังคนไม่กีพันที่ช่องเขา”เทอร์โมพีเล”หยุดพวกเปอร์เซียได้หลายวันก่อนถูกทำลาย ถ่วงเวลาให้ชาวกรีกมีเวลาตั้งตัวต่อกรกับชาวเปอร์เซียได้สำเร็จในภายหลัง
            สงครามเปโลโปนีเซีย  สงครามกลางเมือง  ระหว่างรัฐของชาวเอเธนส์มหาอำราจทางทะเลกับชาวสปาต้าร์
          ชาวสปาร์ตาได้ขอความช่วยเหลือจากพวกเปอร์เซียให้ช่วยต่อเรือสู้กับชาวเอเธนส์ ตัดเสบียงทางทะเลกระทั่งชาวเอเธนส์อดอย่ากยอมแพ้ไปในที่สุด… หลังจากสงครามครั้งนี้รัฐกรีกก็เริ่มทำสงครามกันเรื่อยมาทำให้เสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็ว และการมาถึงของชาว มาซีดอน
           อเล็กซานเดอร์มหาราช
ในขณะที่รัฐของกรีกแตกกระจัดกระจาย ชาวมาซีดอนทางตอนเหนือก็เรืองอำนาจขึ้นมา ฟิลลิปป์ เป็นผู้ที่เริ่มสร้างฐานอำนาจนำกองทัพบุกรัฐกรีกขึ้นเป็นผู้นำสมาพันธ์กรีกกุมอำนาจไว้ในมือ
      หลังจากสงครามกับพวกเปอร์เซียชาวกรีกก็ยังแค้นไม่หาย พยายามอย่างย่งที่จะบุกเข้าไปบ้าง ฟิลลิปป์สร้างกองทัพของเขาบ้างหลังจากที่รวมกรีกไว้ได้ แต่ก็มาถูกสัหาร อเล็กซานเดอร์ลูกชายเพียงคนเดียวขึ้นครองอำนาจ นำทัพสู้กับชาวเปอร์เซียบุกลงไปถึง”อียิปต์” จนชาวเปอร์เซียที่เคยรุ่งเรืองมากที่สุดอาณาจักรหนึ่งต้องมาเสื่อมอำนาจไป…
  pelopwarmap
           กรีก ในสมัยก่อนคริสตศักราช 600-500ปี กรีกยังไม่ได้รวมกันเป็นประเทศ หรือชาติรัฐ แต่แยกกัน เป็น นครรัฐ ต่างเป็นอิสระแก่กัน ในคาบสมุทรกรีก แต่ละรัฐมีคุณลักษณะ ความสามารถโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไป
          เปอร์เซีย มีแสนยานุภาพ และยิ่งใหญ่มาก สามารถปราบปรามและยึดครองอาณาจักรต่าง ๆ  ไว้ในอำนาจ เป็นที่ครั้นคร้ามยำเกรงแก่กลุ่มชาติต่าง ๆ ในย่ามนั้น ยุคนั้น โดยทั่วไป มีอาณาเขตกว้างขวาง
    สงครามกรีก-เปอร์เซีย ครั้งที่ 1
ในปี 492 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 แห่งเปอร์เซีย ให้มาร์โดนิอุส เป็นแม่ทัพ ยกกองทัพข้ามช่องเฮิลสปอนต์..และเรือเดินทัพมายังคาบสมุทรกรีกถูกพายุใหญ่ เรื่อส่วนใหญ่อัปปางจึงต้องเลิกทัพกลับ เมือชนะด้วยกองทัพไม่ได้กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 จึงส่งคณะทูตไปยังรัฐต่างๆ ของกรีกเจรจาให้ยอมส่งส่วย แต่มีบางรัฐไม่ยอม อาทิ เอเธนส์ สปาร์ตาร์ เป็นต้น
     สงครามกรีก-เปอร์เซีย ครั้งที่ 2
สงครามมารรธอน
    ในฤดูร้อน 490 ปีกอ่นคริสตกาล กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 จึงให้ ดาติส และ อาร์ตาเปอร์เนส ซึ่งเป็นหลาน เป็นแม่ทัพยกทัพไปปราบรัฐกรีก
     โดยปกติ รัฐต่างๆ ของกรีกมีจะรบพุ่งกันตามเขตแดนเสมอ คาดกันว่า เมื่อได้รับข่าวศึกนั้น รัฐเอเธนส์จะสามารถรวบรวมทหารและจัดเป็นกองทัพที่สามาถทำการรบได้ไม่เกินหนึ่งหมืน คน
ความช่วยเหลือจากรัฐอื่นๆ
        สปาร์ตา สัญญาว่าจะช่วยรัฐเอเธนส์สู้รบ แต่เมือกองทัพเปอร์เซียขึ้นฝั่งที่อ่าวอาราธอนนั้น เป็นวันขึ้น 6 คำ ซึ่งตามความเชื่อของชนชาติกรีกยุคนั้นต้องรอให้พระจันทร์เต็มดวงก่อน จึงจะเดินทัพได้ สปาร์ตาจึงยังไม่สามารถส่งกองทหารไปช่วยได้
       พลาตาเอ รัฐเล็กๆ ในแค้วนโบเอเตีย ได้ส่งกำลังทหารที่มีอยู่ไปช่วรัฐเอเธนส์ กำลังทหารของรัฐพลาตาเอที่ส่งไปช่วยรบที่ทุ่งมาราธอนนี้ มีจำนวน 1,000 คน ถึงแม้ว่ากำลังทหารจากพลาตาเอจะมีจำนวนเพียงน้อยนิด เทียบไม่ได้กับกองทัพมหาศาลของฝ่ายรุกราน แต่เก็มไปด้วยความมุ่งมั้น และจิตวิญญาณที่จะมาช่วยเหลือในยามคับขัน ทำให้ชาวเอเธนส์รู้สึกว่า ไม่ต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว
        ทุ่งมาราธอน อยุ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นอัตติกา เหนืออ่าวมาราธอน ห่างจากกรุงเอเธนส์ประมาณ 25 ไมล์ มีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม จกาชายฝั่งเป็นที่ราบไปถึงเชิงเขาระยะประมาณ 6 ไมล์ กว้างประมาณ 2 ไมล์ สองข้างกระหนาบด้วย ลำน้ำ ภูเขา และหนองน้ำ รอบทุ่งราบนี้เป็นป่าสน มะกอก ซีดาร์ และไม้พุ่มเตี้ยมีกลิ่นหอ

plain_of_marathon_resize(1)

       ความมุ่งหมายของกองทัพทั้งสองที่เผชิญหน้ากันอยู่นั้น ฝ่ายหนึ่ง ต้องการชัยชนะเพื่อแผ่ขยายอำนาจ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง ต่อสู้เพื่อความอยู่รอด เมื่อกาลเวลาผ่านไป ปรากฎว่า ผลของการรบคราวนี้ไม่ได้เป็นแต่เพียงการพ่ายแพ้ หรือชัยชนะของกองทัพ เท่านั้น แต่มีผลไปถึงความเจริญก้าวหน้า และอารยธรรมของมนุษยชาติมาตราบปัจจุบัน
    กรีก กองทัพเล็กๆ มีทหารราบไม่เกิน 11,000 ไม่มีพลธนู ไม่มีทหารม้า ต้งอค่ายอยู่บนเนินเขา สามารถมองเห็นการเคลื่อไหวของข้าศึกได้ทุกระยะ
   เปอร์เซีย กองทัพมีรี้พลมากมายมหาศาล ถึง 250,000 คน พลากหลายเชื่อชาต ในเครื่องแต่งกายหลากหลายสีสัน กางเต็นท์เรียงรายกันอยู่รอบอ่าวมาราธอน
กองทัพเปอร์เซียนอกจากจะแตกต่างกันในเรื่องดังกล่าวแล้วยังแตกต่างกันในเรื่อง ภาษา วัฒนธรรม ศรัทธา ความเชื่อ และหลักนิยมในทางทหาร แต่กองทัพเปอร์เซียนั้นคุ้นเคยกับชัยชนะ คือเป็น กองทัพที่ไม่รู้จักแพ้

      การวางแผนการรบ เนื่องจากกำลังของกรีกน้อยกว่ายี่สิบห้าเท่าจึงต้องพิจารณาแผนอย่างมาก กลุ่มหนึ่งเห็นว่าควรตั้งค่ายอยู่บนที่สูง ตามทานการบุกโจมตี รอกองกำลังจากสปาตาร์..
   อีกกลุ่มเห็นว่า ควรรีบเข้าโจมตีก่อนที่ฝ่ายเปอร์เซียจะพร้อมเต็มที่ แต่การโจมตีก่อน เปจะเป็นการเสียงอย่างสูง ฉะนั้น กรีกจึงต้องพยายามเอาชนะทางปีกให้ได้ก่อน ก่อนที่ส่วนกลางจะปราชัย หรือก่อนถูกทหารม้าเปอร์เซียโอบหลัง และเมือเอาชนะด้านปีกได้แล้ว รีบโอบเขช้าด้านหลังกองทัพเปอร์เซีย
   ส่วนทางฝ่ายเปอร์เซีย เป็นกองทัพที่ไม่รู้จักแพ้และมีกำลังมากกว่า จึงพิจารณาได้ว่าแทบจะไม่มีการวางแผนเป็นพิเศษ
          marathon_bettlefield_resize(1)
   ฝ่ายเปอร์เซียถูกจู่โจมด้วยการเข้าตีในรูปแบบที่ไม่เคยประสบมากอ่น กองทัพอันใหญ่โตถูกจำกัดให้อยู่ในพ้นที่แคบ ไม่สามารถใช้กำลังรบให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ จึงปราชัยอยางง่ายดายตามหลักฐานว่าต้องสูญเสียทหารเป็นจำนวน 6,400 คนส่วนที่เหลือถอยลงเรือกลับไปได้  ผ่ายกรีก สูญเสีย 192 คน ซึ่งชัยชนะที่ได้รับจากทุ่งมาราธอนในวันนั้น ทำให้ขวัญและกำลังใจของฝ่ายกรีกเข้มแข้ง เลิกกลังความยิ่งใหญ่จากทางฝ่ายเปอร์เซีย

      สงครามกรีก-เปอร์เซีย ครั้งที่ 3
ในปี 481 ก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซีย เคลื่อนทัพจากเอเซียไมเนอร์ โดยใช้ทางเรื่อในครังแรก เรือรบ 600 ลำ สนับสนุนด้วยเรืออื่นๆ อีก 3,000 ลำ ทางบกเคลื่อนทัพในครั้งที่สองเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นดังครั้งก่อนๆ
   เมือฝ่ายกรีกได้รับข่าวสงคราม จึงทิ้งเรื่องบาดหมางระหว่างกัน จัดตั้งสหพันธรัฐกรีก เพื่อรวมพลังต่อต้านเปอร์เซีย
   ในขั้นแรกไม่มีแผนการที่ชัดเจนที่จะสู้รบกับกองทัพเปอร์เซีย ทางเลือกที่ได้ตกลงกันคือ เคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ และสกันกั้นกองทัพเปอร์เซียทางบก ที่ช่องทางผ่านเทือกเขาทางเหนือ ในขณะที่ กำลังทางเรือผสมของกรีกต้องพยายามดึงกองเรือของเปอร์เซียเข้ามาในพ้อนที่จำกัด

       ผู้นำสปาร์ตา “ลีโอนิดัส”นำกำลังทหารสปาร์ตา 300 คน ขึ้นเหนือไปยึดช่องเขาเทอร์โมพเล โดยรัฐต่าง ๆ ส่งกำลังมาร่วมด้วยอีก 6,000
       ส่วนกองเรือพันธมิตรกรีก เลือกใช้น่านน้ำอาร์ที่มีซีอุมเป็นพื้นน้ำทำการรบ แผนของกรีกได้ผลดี ฝ่ายเปอร์เซียไม่สามารถทำอะไรได้ที่เทอร์โมพิเลได้ ฝ่ายเปอร์เซียจึงพยายามใช้กองเรือล้อมเกาะยูบัว เพื่อเป็นการสกัดกองเรือฝ่ายกรีกให้อยู่ในช่องยูบัว แต่โชคร้ายกองเรือเปอร์เซียถูกพายุทำลายอีก

   การรบที่ช่องเขาเทอร์โมพิเล ลิโอนีดัสได้ต่อสู้ต้านทานทัพเปอเซียอยู่ได้หลายวัน เพราะภูมิประเทศเกื้อกูลแก่ฝ่ายตั้งรับ ทหารเปอร์เซียหาทางล้อมฝ่ายกรีกได้ทหารทั้ง 300 คนของสปาร์ตาจึงพลีชีพที่ช่องเขาเทอร์โมปิเลนั้น และกองทัพเปอร์เซียก็มุ่งสู่ เอเธนส์

การรบทางเรื่อที่ซาลามิส
  ทัพเรือกรีกมีจำนวนน้อยกว่าจำเป็นที่จะต้อง “ต้อน” ทัพเรือเปอร์เซียเข้าที่แคบ เพื่อจะใช้ “ความสามารถในการรบชดเชยจำนวนที่น้อยกว่า” เพื่อให้แผ่นสำเร็จ จึงทำการเปิดช่องโหว่ทางด้านหลังไม่มีการปอ้งกันระวัง พร้อมปล่อยข่าว ว่ากองเรือกรีกเกรงกลังเปอร์เซียและไม่ลงรอยกันและยังหาทางหนีทัพ เมือข่าวไปเข้าหู้ฝ่ายตรงข้ามพร้อมกับรูปการที่ไม่มีการระวังหลัง ฝ่ายเปอร์เซียจึงเห็นเป็นการจริง จึงเร่องกองเรือเปอร์เซียเข้าบทขยี้กองเรือกรีก…ติดกับ เมือกองเรือที่ยิ่งใหญ่เข้าไปอยู่ในพื้อนที่ที่จำกัด
salamis_and_vicinty_resize(6)
  
   เรื่อเอเธนส์มีขนาดใหญ่กว่าแต่มีจำนวนน้อยกว่าจึงสามารถดำเนินกลยุทธได้ง่ายกว่า กองเรือเปอร์เซียเหมือนถูกตรึงอยู่ในพื้นที่จำกัด กองเรือกรีกจึงใช้ขนาดเบียดและทำลายพายของฝ่ายกองเรือเปอร์เซียทำให้ไม่สามารถควบคุมเรือได้… ผลของการรบทางการรบทางเรือที่ซาลามิส เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของกรีก 
ลาตาเอ การรบครั้งสุดท้ายของ กรีก-เปอร์เซีย
มาร์โดนิอุสเลือการถอยเข้าไปในแค้วนแสซาลี ในฤดูหนาว เมือหมดฤดูหนาวแล้วก็จะนำทัพมุ่งลงใต้เตรียมทำศึกกับกรีกต่อไปดีก
   ทางฝ่ายกรีก นั้นเมือพิจารณาและถกกันอย่างกว้างขวางแล้ว สรุปได้วา จะเข้ารุกต่อกองทัพเปอร์เซียของมาร์โดนิอุส ปรากฎว่า รัฐกรีกรวบรวมรี้พลได้ 8 หมืน เป็นทหารราบล้วนไม่มีทหารม้า แม่ทัพสปาร์ตาเป็นแม่ทัพ นำกองทัพกรีกขึ้นเหนือ สู พลาตาเอ
        กองทัพทั้งสองเผชิญหน้ากัน ได้ 8 วัน กองทัพกรีกได้อยู่ในภูมิประเทศที่ได้เปรียบ และฝ่ายเปอร์เซียก็หวังที่จะใช้ทหารม้าตีโต้ตอบ แต่ในสนามรบสิ่งที่ไม่คาดคิดอาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ มาร์โดนิอุสได้รับรู้ถึงการย้ายที่ตั้งของฝ่ายกรีก จึงสังห้เข้าโจมตี ทหารกรีกสู้รบอยางกล้าหาญยิ่ง การบดำเนินอยู่นานไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะกระทั่งมาร์โดนิอุสถูกสังหารในการรบ กองทัพเปอร์เซียขากการควบคุม และบังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพ จึง พ่ายแพ้อย่างราบคาบ กำลังส่วนที่รอดชีวิตต้องล่าถอยขึ้นไปทางเหนืออย่างรวดเร็ว


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)