xiangyang



   เซียงหยาง อยู่ในตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลหูเป่ย เป็นจุดยุทธศสตร์ที่สำคัญของW020120421715748992910ราชวงศ์ซ่ง ที่ตั้งเมืองเซี่ยงหยาง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ฮั่น Han เป็นเมืองหน้าด่านทางน้ำ เพราะแม่น้ำฮี่นเป็นเส้นทางเข้าสู่แม่น้ำแยงซี หากตีได้เมืองเซียงหยาง มองดกลสามารถรุกคือบเข้ายึดเมืองสำคัญๆ ได้อย่างง่ายดายดดยไม่ต้องใช้กองทัพม้า เพียงส่งกองเรื่อไปตามแยงซี ก็จะยึดเมืองต่างๆ ได้โดยสะดวก ฉะนั้นชะตากรรมของเซียงหยาง ก็คือซะตากรรมของซ่ง ซึ่งมองโกลทราบในเรื่องนี้เป็นอย่างดี
 
     กุบไลข่านเมืองขึ้นครองจักรวรรดิมองโกลแล้ว จึ้งเตรียมไพร่พลที่จะบุก ราชวงศ์ซ่ง จากภูมิประเทศแผ่นดินซ่ง ที่มีแม่น้ำแยงซีเป็นปราการทางธรรมชาติ และภูเขาที่สลับซับซ้อน มองโกลจึงจัดเตรียมกำลังจากทหารม้า มาเป็นทหารราบ และกองเรือ
6a00d8354be54369e20115705aec67970c-800wi    ราชวงศ์ซ่งนั้นไม่เน้นนโยบายทางการทหาร ไม่ให้มีทหารตามหัวเมือง หากส่วนกลางหรือจักรพรรดิเข้มแข็งกองทัพก็จะเข้มแข็งตาม ครั้งตั้งแต่รบกับราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์จิน ราชวงศ์ซ่งเลือกจะยอมเจรจาสงบศึกมาโดยตลอด แม้จะเป็นรัฐบรรณาการก็ยังยอม ฉะนั้นจุดชี้เป็นชี้ตายของศึกครั้งนี้ก็อยู่ที่เมืองเซียงหยาง ฝ่านเฉิง
     มองโกลเคลื่อนพลลงจากทางเหนืออย่างรวดเร็วและโจมตีเมืองต่าง ๆ อย่างหนัก บรรดาแม่ทัพนายกองล้วยสวามิภักดิ์ มองโกลจัดการแผ่นดินสองฝั่งแม่น้ำแยงซีแล้ว กองทัพมองโกลจึงเคลื่อนพลทั้งทางบกและทางน้ำ
tour
        และเข้าสู่สมรภูมิ เซี่ยงหยาง และฝ่านเฉิง ทั้งสองเมืองนี้เป็นเมืองอกแตก คือมีแม่น้ำฮั่นไหลฝ่านกลางเมือง เช่นเดียวกับ บูดาและเปสต์ในฮังการี 
       ในการล้อมเมืองเซี่ยงหยางนี้ใช้เวลาในการล้อม 5 ปี เกือบเข้าปี่ 6 (ค.ศ.1267-1273) จึงจะตีแตก ดังที่ได้อธิบายถึงภูมิประเทศของเมืองประกอบกับกำแพงเมืองเซียงหยางที่สูงใหญ่และป้องกันการโจมตีจากเครื่องยิง ต่างๆ ด้านหน้าแม่น้ำฮั่นที่มีความกล่าวกว่า150 เมตรเป็นปราการธรรมชาติอย่างดียิ่ง และภูเขาใหญ่เป็นปิดล้อมทั้งซ้ายและขวาและด้านหลังของเมืองอย่างแน่นหนา
       ในการล้อมเพื่อจะให้ชาวเมืองหมดเสบียงและออกมาสวามิภักดิ์ แต่การล้อมเมืองลักษณะนี้ไม่ได้ผลเพราะสามารถออกไปหาเสบียงหรือส่งทหารเข้าปล้นค่ายหรือลอบออกไปหากำลังหนุนทางน้ำได้ ดังนั้นจึงเป็นการชิงเชิงยุทธศาสตร์เหนือน่านน้ำฮั่น
gtrthrthr       มองโกลจึงทำการโจมตีฝานเงกอ่นมองโกลทำการตัดขาดการติดต่อทางบกของทั่งสองเมืองโดยทำลายสะพานระหว่างเมืองทั่งสองเพื่อที่จะต้องงปิดทางแม่น้ำระหว่างสองเมืองจึงทำให้เกิดการรบทางน้ำหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งกว่าจะยึดฝางเฉิงได้ใช้เวลาเป็นปี กองทหารฝานเฉิงลอบลงเรือหนีไปเซี่ยงหยางในที่สุด มองโกลยึดน่านน้ำทางตะวันกตไว้ได้

      กองทัพมองโกลเปิดฉากการโจมตีโดยส่งกองเรือรบระดมยิงกำแพงเมืองอย่างหนักเพื่อให้กองทหารราบบุกยึดหัวหาด ซึ่งก็ได้ผล แต่มองโกลไม่สามารถเข้าตีเมืองได้ การเข้าตีเมืองในแต่ละครั้งมองโกลต้องสูญเสียไพร่พลเป็นจำนวนมาก มองโกลจึงตัดสินใจล้อมเมืองไว้
     เมื่อเซี่ยงหยางถูกล้อม “ชาวซ่ง” ไม่ส่งกองทัพมาช่วย โดยอ้างว่าเมืองนี้มี “เทวดาสถิตย์อยู่” และมองโกลจะต้องย้อนกลับไปเอง 

   ในที่สุด “อบาคาร์ข่าน”ผุ้ครองแค้วนอิลข่าน สืบต่อจากฮูเลกูข่าน ผู้เป็นบิดาได้ส่งกองทัพปสมมแงโกลเปอร์เซียมายังแผ่นดินจีนเพื่อช่วย กุบไลข่าน ทำศึกโดยส่งวิศวกร มุสลิมเชื้อสายเคริดสองคนคือ อลาวดิน และอิสมาอิล มานังจีน วิศวกรสองคนได้ประดิษฐ์เครื่องยิงก้อนหิน ที่เรียกว่า “Counterweight Trebuchet” หรือเครืองยิงหินขนาดยักษ์ ในบันทึกของจีนเรียกเครื่องยิงหินนี้ว่า “หุยหุยเพา” ซึ่งอานุภาพในการทำลาย “หุยหุยเพา” นั้นทำให้ป้อมและเชิงเทินพินาศในพริบตา กองทัพจีนถอนกำลังจากกำแพงเมือง กองทัพมองโกลจึงสามารถรุกเข้ายึดเมืองเซี่ยงหยางได้สำเร็จ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)