พุทธและฮินดู

 ความกลมกลืนในความขัดแย้ง

        สังคมอินเดียประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา และมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนความเชื่อทางศาสนาที่ต่างกัน แต่ก็เข้ากันและผสมผสานกันได้เป็นอย่างดี เพราะประชาชนมอิสะในการเชื่อ และการเสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางความเชื่ออย่างเสรี มีทั้งตรึงเครียด และหย่อนยานในทางปฏิบัติ มีความสุดโต่ง ในหลายรูปแบบ เช่น การเคร่งคระปฏิบัติ จนทรมานร่างกาย ชนิที่มนุษย์ธรรมดาทั่วไปแทบทนไม่ได้ และเสพสุขฟุ้งเฟ้อบรมสุขาวกับมิใช่อยู่ในเมืองมนุษย์
การสังเวยบูชาผีสางเทวดา ด้วยสิ่งของไปจนถึงชีวิตมนุษย์การดำเนินชีวิตของชาวอินเดีย ตั้งแต่เกิดจนตายต้องเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา ครอบครัวอินเดียเป็นครอบครัวรวม ทั้งญาติโดยสายเลือด และโดยการสมรส จะอาศยรวมอยู่ในเรือนเดียวกัน มีสิทธิในสมบัติของบรรพบุรุษเท่า ๆ กัน บรรดาลูกเลี้ยง คนรับใช้ ข้อทาสบริวารต่าง ๆ ก็นับเป็นสมาชิกในครอบครัวเช่นกัน ดังนั้นครอบครัวฮินดูจึงเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ และเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม
ระบบวรรณะ เป็นระบบที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อชาวอินเดียเป็นอย่างมาก ชาวฮินดุมีความเชื่ว่าระบบวรรณะเป็นบรรชาของพระเจ้า มีลักษณะเป็นสากล
เมื่อศาสนาพุทธเกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปสังคมฮินดูอยางมากในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่ความเชื่อ พฤติกรรมและแนวทางดำรงชีวิต การเมืองการปกครอง ตลอดจนสถานภาพของบุคคลในสังคมก็มีการเปลี่ยแปลงด้วย
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงประกาศสังสอนแก่ชาวอินเดยในสมัยพุทธกาลเป็นคำส่งสอนทีปฏิเสธความเชื่อถือและพิธีกรรมทางศาสนาของชาวอินเดียทีนับถือฮินดู และลัทธิความเชื่อต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายในสมยนั้น
การคัดค้านเรื่องระบบวรรณะของพระพุทธเจ้า นับเป็นเรื่องใหญ่ของสังคอินเดียในสมัยนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้นำในการเลิกถือชั้นวรรณะทำให้ระบบวรรณะ ซึงฝังรากลึกต้องสั่นคลอน
พระพุทธองค์ทรงพบกับการต่อต้านอยางหนักจากพวกวรรณะพราหมณ์ โดยพาะจากพรหมณ์ปุโรหิต ผู้มีอาชีพประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ พุทธศานาสามารถแก้ปัญหาเรื่องระบบวรรณะได้มาในสมยพุทธกาล และสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แต่เมืองพุทธศาสนเสื่อมลงในเวลาต่อมาก็เกิดการร่วมกันต่อต้านพุทธศาสนาจากพวกนอกศาสนา และมีการฟื้นผู สนับสนุนระบบวรรณะให้เฟื่องฟูในสังคมดังเดิม กษัตริย์สมัยนั้นใช้ความเชื่อเรื่องเทวกำเนิดของระบบวรรณะเพื่อรักษาสถานภาพทางสังคมของกลุ่มพระผู้ประกอบพิธีทางศสนาของลัทธิต่าง ๆ และทำให้ฐานะของกษัตริย์มั่คงขึ้นอีกครั้งเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันดังกล่าว ระบบวรรณะจึงยังยืนต่อมา
สังคมพุทธและฮินดู นั้นหากดูผิวเผินแล้วน่าจะไปด้วยกันได้ แต่แท้จริงเข้ากันได้เพียงหลวม ๆ เท่านั้น เมือพุทธศาสนาแพร่ขายไปในดินแดนต่าง ๆ ซึ่งเคยรับอิทธิพลของศาสนพราหมณ์ฮินดูอยูก่นแล้ว จึงกลายเป็นการผสมผสานกนระหว่างพุทธศาสนากับฮินดู ซึ่งจะห็นได้ในสังคมไทยในอดีต อันเป็นสังคมทีผสมผสานกันระหว่างพุทธกับพราหมณ์ จนยากที่จะแยกกันได้ กระทั่งปัจจุบัน







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)