Comparative History

แนวการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ
แนวการวิเคราะห์ลักษณะนี้ไม่ได้เริ่มที่ทฤษฎีหรือให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยการตั้งข้อสมมติฐานในลักษณะต่างๆ แต่ให้ความสนใจกับการเปรียบเทียบวิวัฒนาการของสังคมตั้งแต่สองสังคมขึ้นไป
ผลงานการวิเคราะห์ลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ มีการหาข้อมูลมาสนับสนุนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ ปัจจัยที่ให้ความสนใจมากก็คือปัจจัยที่นักวิเคราะห์กระบวนการทางสังคมเพิกเฉย ได้แก่เรื่อง สถาบัน วัฒนธรรม และผู้นำ ตลอดจนรูปแบบต่าง ๆ ของการพัฒนาทางการเมือง
Moore ได้แบ่งกระบวนการที่จะนำบ้านเมืองไปสู่ความทันสมัย 3 รูปแบบคือ การปฏิวัติประชาธิปไตย โดยนายทุนและชนชั้นกลางอย่างในอังกฤษและอเมริกา เริ่มเปลี่ยนแปลงโดยชนชั้นสูงเช่นในเยอรมันและญี่ปุน และการเปลี่ยนแปลงขบวนการชาวไร่ชาวนาอย่างในรัสเซีย และจีน
Black ได้แบ่งขั้นของการเปลี่ยนแปลงไปสูความทันสมัยเป็น 4 ขั้น ซึ่งทุกสังคมจะต้องวิวัฒนาการไปตามขึ้นต่าง ๆ ดังนี้คือ
- การประสบกับสิ่งท้าทายจากความเป็นทันสมัย
- ผู้นำที่มีความเป็นทันสมัยผนึกกำลังเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและสังคมจากสังคมชาวไร่ชาวนาแบบชนบท เป็นสังคมอุตสาหกรรมเมืองขึ้นมา
- บูรณภาพแห่งสังคมซึ่งจะเกี่ยวกับการจัดระเบียบโครงสร้างทางสังคมใหม่เพื่อให้รับกับความเป็นทันสมัย
Huntington ให้ความสำคัญกับสถาบันทางการเมืองมาก โดยเขาได้ชี้ให้เห็นว่าสังคมทีเป็นทันสมัยกับสังคมที่พัฒนาแล้วนั้นแตกต่างกันที่สถาบัน กล่าวคือ สังคมที่เป็นทันสมัยอาจมีโครงสร้างทางสังคม เศษฐกิจและการเมืองที่หลายหลากและสลับซับซ้อนสุง มีอำนาจทางเมืองที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยมีเหตุมีผล เป็นอำนาจทางการเมืองแห่งรัฐ มีกฎหมายที่บังคับใช้หรือให้ความเสมอภาคกับบุคคลทุกคนในสังคมและมีการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับสูง กระบวนการนี้จะมีผลให้แรงกดดันหรือความตึงเครียดอันเนื่องมาจากการที่ประชาชนเรียกร้องจะเพิ่มมากขึ้น ในการที่สังคมจะอยู่รอดต่อไปได้จึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเองโดยการปรับปรุงให้สถาบันทางการเมืองเพียงพอทีจะสนองตอบต่อข้อเรียกร้องที่เพิ่มขึ้นให้ได้
จึงอาจกล่าวได้ว่า เสถียรภาพทางการเมืองขึ้นกับสัดส่วนระหว่างประสิทธิภาพของสถาบันทางการเมือง กับอัตราการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นอง
แนวการศึกษาแบบประวิศาสตร์เปรียบเทียบนี้เริ่มศึกษาที่วิวัฒนาการของสังคม พยายามที่จะจัดแบ่งวิวัฒนาการนี้ออกเป็นแบบแผนต่าง ๆ แล้วสร้างข้อสมมติฐานว่าความแตกต่างกันในแต่ละแบบแผนนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยตัวใดบ้าง แนวการศึกษาแบบนี้จึงให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ มากกว่าการคิดค้นระบบทฤษฎีที่เป็นนามธรรม หรือหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยการคำนวณเชิงปริมาณ ด้วยเหตุนี้ผลสรุปต่าง ๆ ของแนวการวิเคราะห์แบบนี้จึงมักจะต้องมีการอธิบายกันเป็นตัวอักษร ซึ่งง่ายที่คนโดยทั่วไปจะเข้าใจกว่าการอธิบายโดยใช้ตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่ค่อนข้างจะสลับซับซ้อน










ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)