Jeanne d'Arc

 
 2644788694_40e431928c_z
     ฌาน ดาร์ก หรือโจนออฟอาร์ก หรือ โยนออฟอาร์ค วีรสตรีของฝรั่งเศสและเป็นนักบุญในนิกายโรมันคาทอลิก โจนมาจากครอบครัวชาวนา ตระกูล “ดาร์ค” (ฐานะค่อนข้างดี และถูกเรียกว่า เกษตรกร) ทางตะวันออกของฝรั่งเศส สันนิษฐานว่าเกิดที่เมือ ดอมเรมี ในแถบแค้วนลอเร้นน์ ได้รับฉายาว่า สาวพหรหมจรรย์แห่งออร์เลออง เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของ ฝรั่งเศส เป็นคนเคร่งศาสนา ทุกวันเสาร์เธอชอบไปสวดมนต์ที่โบสถ์แบร์มงต์    และเป็นผู้นำกองทัพฝรั่งเศสในสงครามร้อยปีหลายครั้งที่ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายอังกฤษโดยอ้างว่ามีพระเจ้าเป็นผู้ชี้ทาง และเป็นผู้มีส่วนทางอ้อมในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของพระเจ้าชาร์ลที่ 7โจนถูกจับโดยฝ่ายเบอร์กันดีและถูกขายให้แก่ฝ่ายอังกฤษ ถูกพิจารณาคดี และถูกเผาทั้งเป็นในข้อหาว่าเป็นพวกนอกรีตเมืออายุ 19 ปี

       ยี่สิบสี่ปีต่อมาพระเจ้าชาร์ลที่ 7 ไม่สามารถที่จะแสดงได้ว่าได้รับอำนาจมาจากผู้ที่ถูกประณามว่าเป็นผู้นอกรีต สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ลุสที่ 3 จึงมีคำสั่งให้มีตั้งศาลใหม่ในการพิจารณาการดำเนินการ การพิจารณาศาลสรุปว่าโยนส์เป็นผู้บริสทุธิ และทางวาติกันประกาศให้โจนเป็น “มรณสักขี”(หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ) โจนได้รับแต่งตั้งเป็น “บุญราศี”และเป็น”นักบุญ”ในที่สุด
  

  “ ชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำเนิดจากสามัญชน กลายมาเป็นวีรสตรี แม่มด และนักบุญ ย่อมเป็นคนที่ “ไม่ธรรมดา” สิ่งที่นำพาหญิงสาวชาวบ้านธรรมดามาได้ไกลขนาดนี้คือความกล้าหาญและความเชื่อส่วนบุคคลของเธอ”
      “โจน ออฟ อาร์ควีรสตรี แม่มด นักบุญ” สำหรับคอลัมน์ “มองซีอีโอโลก” (ลำดับที่ 182) หนัสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน 2522 โดยวิกรม กรมดิษฐ์

      เมื่อพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 สวรรคต องค์รัชทายาทที่ขึ้นครองราชเป็นเพียงทารกวัย 9 เดือน ทางฝรั่งเศสไม่ยอมรับอำนาจกษัติรย์องค์ใหม่ของอังกฤษ ทหารอังกฤษจึงทำการบุกฝรั่งเศส อังกฤษเป็นพันธมิตรกับบูร์กินยงยึดครองดินแดนฝรั่งเศสไว้ส่วนหนึ่ง ฝรั่งเศสปราศจากกษัตริย์ปกครองนับตั้งแต่การสวรรคตของกษัตริย์ชาลส์ ที่ 6 หรือที่เรียกว่าชาลส์ผู้บ้าคลั่ง แม้ว่าพระองค์จะมีผู้สืบราชบัลลังก์ คือ มกุฏราชกุมารชาลส์   อังกฤษอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ว่าเป็นของอังกฤษ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ซึ่งในขณะนั้น ยังเป็นทรงพระเยาว์อยู่ อันเป็นผลพวกจากสนธิสัญญาเมืองทรัวส์ ที่ลงนามโดยอิซาโบ เดอ บาวิแยร์ ราชินีแห่งฝรั่งเศสและผู้สำเร็จราชการ กับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ของอังกฤษ อันเนืองมาจากการพ่ายสงครามอย่างย่อยยับของอาร์มานยัค อัศวินฝรั่งเศส ในการรบที่เมืองอาร์แฌงคูร์ต เมื่อห้าปีที่แล้ว ตามที่ว่าไว้ในสนธิสัญญา เฮนรี่ได้อภิเษกกับแคทเธอรีน ธิดาของกษัตริย์ชาร์ลส ที่  6 และเมื่อพระเจ้าชาร์ลที่ 6 สวรรคต มงกุฎจะตกเป็นของรัชทายาท(ทางฝ่ายอังกฤษ)ผู้ซึ่งรวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกัน สนธิสัญญานี้เป็นการขัดขวางมิให้มกุฎราชกุมารชาร์ลขึ้นครองราชย์ และทำให้ “ชาร์ล เดอะ ดอฟฟิน Charles the Dauphin” กลายเป็นกษัตริย์ไร้บัลลังก์

    Trait_de_Troyes.svg
         ฌาน ดาร์ก เด็กสาวชาวนา
โจนส์ พยายามเพื่อเข้าเฝ้าองค์รัชทายาท ถึงสามครั้ง ในครั้งที่สามนี้ เธอได้ขอร้องเคาท์โรเบิร์ต เอด บาว์คริคอร์ท พาเธอไปยังราชสำนักฝรั่งเศส เพื่อพบกับองค์รับทายาท แต่ท่านเคาท์บาว์ดริคอร์ทปฏิเสธ เธอจึงอ้างคำพยากรณ์ว่า “ท่านไม่เคยได้ยินคำพยากรณ์ที่บอกว่า ผรั่งเศสจะถูกทำลายโดยสตรี และจะถูกกอบกู้โดยหญิงสาวพรหมจรรย์จากชายแดนลอร์แรงหรือ” เคาท์บาว์ดริ คอร์ทยังคงเพิกเฉยต่อคำขอของเธอ แต่เธอก็ยังคงขอร้องเขา ครั้งนี้เคาท์บาว์คริคอร์ทยอมรับฟังเธอ โจนส์ พยากรณ์เหตุการณ์ศึกทีเกิดขึ้นใกล้ๆ กับเมืองออร์เลอองส์ ว่าฝ่ายฝรั่งเศสจะเป็นผู้ปราชัย และสองสามวันต่อมาเขาก็ได้รับข่าวซึ่งตรงกับที่เธอพยากรณ์ไว้ เคาท์บาว์ดริคอร์ทจึงอนุญาตให้พาเธอไปยังราชสำนักฝรั่งเศสเพื่อพบกับองค์รัชทายาท  โจนสามารถรู้ได้ทันที่ว่าใครคือบุคคลที่เธอต้องการพบ แม้ว่าจะไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน Jeanne d'Arc, en presence de Charles VII, repond aux prelats qui l'interrogent, en annoncant sa mission et les visions qui la lui ont revelee. <br /><br />Joan of Arc, in the presence of Charles VII, King of France, answers the questions of the prelates; she anounces her mission and the visions which have revealed her task.<br /><br />Canvas, 142 x 167 cm<br /><br /><br /><br /><br /><br />
   และแน่นอนว่าย่อมเป็นที่สงสัยและเป็นที่ถกเถียงกันว่าเธอกระทำการใหญ่นี้ได้อย่างไร?เพราะเหตุใด? ชาร์ล ผู้วาดระแวงจึงวางพระทัยซึ่งแม้ว่า ชาร์ล จะเป็นคนอ่อนแอแต่ไม่ใช้คนโง่เขลาจึงมอบความเป็นความตายของแผ่นดินให้ผู้หญิงซึ่งไม่รู้เรื่องการทำสงครามแม้สักนิด มีสมมติฐาน และคำบอกเล่ามากมายต่าง ๆ เกี่ยวกับโจนส์ ออฟ อาร์คและยังคงเป็นปริศนากระทั่งปัจจุบันนี้
      นักประวัติศาสตร์สตีเฟน ดับเบิลยู.ริชชี ให้คำอธิบาย่าความดึงดูดของโจนส์ขณะนั้นเป็นสิ่งเดียวที่ให้ความหวังแก่กองทหารที่แทบจะไม่อยู่ในสภาพที่จะต่อสู้ได้
“หลังจากปีแล้วปีเล่าที่ได้รับความพ่ายแพ้(ต่ออังกฤษ)ทั้งทางด้านการยุทธการและทางการเป็นผู้นำ ฝรั่งเศสก็ถึงจุดที่เสื่อมที่สุด ทั้งกำลังใจและประสิทธิภาพ เมื่อมกุฎราชกุมารชาร์ลส์ประทานอนุญาตตามคำขอของโจนในการแต่งตัวถืออาวุทธเข้าร่วมในสงครามและเป็นผู้นำทัพ ก็คงเป็นการตัดสินพระทัยที่พื้นฐานมาจากาการที่ทรงได้ใช้วิธีต่าง ๆ มาแล้วทุกวิธีแต่ไม่สัมฤทธิ์ผล ก็เห็นจะมีแต่คณะการปกครองที่หมดหนทางเข้าจริง  ๆ แล้วเท่านั้นที่จะหันไปสนใจกับความคิดเห็นของเด็กสาวชาวนาที่ไม่มีการศึกษาผู้อ้างว่าได้ยินพระสุรเสียงของพระเจ้าที่มีคำสั่งให้เป็นผู้นำในการนำกองทัพของชาติไปสู่ชัยชนะ”

    แม่มดแห่งออร์ลีน 
OMD-Maid-Of-Orleans-26475     ยุทธการออร์เลอองค์ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดย จอห์น แทลบอต เดิร์ลแห่งชรูส์บรีที่ 1, ทอมัส มอนทาคิวต์ เอิร์ลแห่งซอลส์บรีที่ 4 และวิลเลียม เอด ลา โพล ดยุคแห่งซัฟฟอล์กที่ 1 และฝ่ายราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ที่นำโดย ฌ็อง เดอ ดูนัว, ฌีล เดอแร,โจส์นออฟอาร์ค และฌ็อง เดอ บร็อส ในยุทธการครั้งนี้ผรั่งเศสเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด  patay
         ชัยชนะของฝรั่งเศสในการรักษาเมืองออร์เลอ็องเป็นจุดของความเปลี่ยนแปลงของสงครามร้อยปี และเป็นสงครามใหญ่สงครามแรกที่โจนส์ออฟอาร์คมีบทบาท ชัยชนะทางการทหารครั้งนี้เป็นชัยขนะครั้งใหญ่ครั้งแรกของฝ่ายฝรั่งเศสหลังจากที่พ่ายแพ้ต่ออังกฤษอย่างยับเยินในยุทธการอาแฌ็งกูร์ นอกจากนั้น ออร์เลอ็องยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของทั้งสองฝ่าย อังกฤษทำการล้อมเมืองอยู่เป็นเวลาถึงหกเดือน แต่การมาเพียงเก้าวันของโจนส์ออฟอาร์คก็มีชัยชนะเหนือฝ่ายอังกฤษ  
       ในการร่วมรบที่ออร์เลอ็องนั้น ฌ็อง เดอ ดูว์นัว ผู้เป็นประมุขแห่งตระกูลดยุกแห่งออร์เลอ็องไม่ยอมรับ โจนส์ แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งโจนส์ได้ บทบาทในกองทัพของโจนส์เป็นข้อถกเถียงของนักประวัติศาสตร์ โดยนักประวัติศาสตร์ในยุคเก่ากล่าวว่า โจนส์มีหน้าที่ถือธงและเป็นแรงบรรดาลใจแก่กองทหาร ข้อวินิจฉัยเช่นนี้มีพื้นฐานมาจากการพิจารณาคดีครั้แรก หรือที่เรียกว่า “การพิจารณาคดีประณาม” แต่นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ให้ความสนใจกับคำให้การในการพิจารณาคดีครั้งที่สอง หรือที่เรียกว่า “การพิจารณาคดีประฌามเป็นโมฆะ” เสนอความเห็นว่านายทหารด้วยกันสรรเสริญว่าฌานเป็นผู้ความเชี่ยวชาญทางยุทธวิธี และเป็นผู้มีความสำเร็จทางการวางแผนยุทธศาสตร์
     โจนส์ไม่เห็นด้วยกับนโยบายที่ปฏิบัติอยู่ตลอดการถูกล้อมตลอด 5 เดือนผุ้รักษาเมืองพยายามที่จะออกไปต่อสู้รบเพียงครั้งเดียวและล้มเหลว
    โจนนำทหารเข้าโจมตีและยึดป้อมแซ็งลูป ด้ามด้วยการยึดป้อมที่สอง ซึ่งไม่ต้องเสียเลือดเนื้อเนื่องจากไม่มีผู้รักษาการ  ในวันต่อมาโจนก็กล่าวต่อต้านฌอง ดอร์เลอองในสภาสงคราม โดยเรียกร้องให้มีการโจมตีผ่ายศัตรูอีกครังแต่ ฌอง ดอร์เลอองไม่เห็นด้วยและสั่งให้ปิดประตูเมืองเพื่อป้องกันไม่ให้ใครออกรบ แต่โจนส์ก็รวบรวมชาวเมืองและทหารบังคับให้เปิดประตูเมือง โจนส์ขี้ม้าไปพร้อด้วยผู้ช่วยอีกคนกับกองทหารยึดป้อมแซ็งโตกุสแต็ง และในค่ำวันนั้นโจนถูกกีดกันจกาการประชุมของสภาสงครามที่ผุ้นำสภาตัดสินใจรอกองหนุนOLYMPUS DIGITAL CAMERA
    แต่โจนส์ไม่สนใจในคำตัดสินของสภาและนำทัพออกโจมตีที่ตั้งมั่นสำคัญของอังกฤษ ผุ้ร่วมสมัยยอมรับว่า โจนส์เป็นวีรสตรีของสงครา หลังจากที่ได้รับบาดเจ็บจากธนู แต่ก็ยังสามารถนำทัพในการต่อสู้ต่อไป และได้รับชัยชนะในยุทธการที่ออร์เลอ็อง
     หลังจากชัยชนะแล้ว โจนส์ถวายคำแนะนำให้แต่งตั้งเธอเป็นผุ้บังคับการกองทหารร่วมกับ ฌ็อง ดยุกแห่งอาล็อกซง และยึดสะพานบนฝั่งแม่น้ำลัวร์คืนก่อนจะเดินทัพต่อไปยังแรงส์ เพื่อไปทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คำแนะนำของโจนนั้นออกจะบ้าบิ่นเพราะแรงส์ห่างจากปารีสราวสอลเท่าและอยู่ลึกเข้าไปในดินแดนของศัตรู
     แต่ทว่าตลอดทางแห่งการเดินทัพ  ฝรั่งเศสยึดเมืองต่าง ๆ คือจากอังกฤษ และในยุทธการพาเตย์ กองทัพฝรั่งเศสยังสามารถแก้ลำ ธนูยาวของอังกฤษที่ทำให้ฝรั่งเศษพ่ายแพ้ยับเยินในยุทธการอาแฌงคูร์ต โดยการโจมตีก่อนที่ทหารธนูจะตั้งแนวตั้งรับได้สำเร็จ หลังจากนั้นทหารฝรั่งเศสก็เป็นฝ่ายได้เปรียบและทำลายกองทัพอังกฤษ เมื่อผ่านเมืองทุกเมืองก็ให้การสวามิภักดิ์โดยปราศจากการต่อต้าน ที่เมืองตรัวอันเป็นสถานที่ที่ตัดสิทธิการสืบราชบัลลังก์ของพระเจ้าชาร์ลที่ 7 ยอมจำนนหลังจากถูกล้อมอยู่สี่วัน หากมองย้อนกลับไปยังคำแนะนำของโจนส์ เส้นทางสืบทอดบัลลังก์ตั้งแต่ ยุทธการออร์เลอ็อง สู่แรงส์หากมิใช่พระประสงค์ของพระเจ้าแล้ว จะต้องเป็นการวางแผนของทางกลยุทธ์ชั้นเลิส
     หลังจากพิธีบรมราชาภิเษก ที่มหาวิหารนอเทรอดามแห่งแรงส์ แม้ว่าโจนส์และดยุกแห่งอาล็องซองจะพยายามถวายคำแนะนำให้ทรงเดินทัพต่อไปยังปารีส แต่ทางราชสำนักยังพยายามเจรจาต่อรองแสวงหาสันติภาพกับดยุกแห่งเบอร์กันดี แต่ฟิลิปเดอะกูด ดยุกแห่งเบอร์กันดี ก็ละเมิดสัญญาเพื่อถ่วงเวลาในการรอกองหนุนจกาปารีส  กองทัพฝ่ายฝรั่งเศสเดินทัพไปยังปารีสระหว่างทางเมืองต่าง ๆ ก็ยอมสวามิภักดิ์โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ แม้โจนส์จะได้รับบาดเจ็บจกาการเข้าโจมตีปารีส แต่ก็ยังสามารถนำทัพกระทั้งวันที่การต่อสู้สิ้นสุดลง แต่ทว่าวันรุ่งขึ้น โจนส์ก็ได้รับพระราชโองการให้ถอยทัพ นักประวัติส่วนมากกล่าวว่าองคมนตรีฝ่ายฝรังเศษคาดการสถานะการณ์ผิดอันใหญ่หลวงหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในการณ์นี้เชื่อกันว่าทางฝ่ายกษัตริย์ฝรั่งเศสซึ่งพึงขึ้นเป็นกษัตริย์ใหม่ต้องการที่จะรักษาสถานภาพกษัตริย์เอาไว้ และประกอบกับการทำสงครามนั้นจะต้องใช้ทุนทรัพย์จำนวนมากทั้งกำลังคนและกำลังทรัพย์ ซึ่งทางราชสำนักมีความเห็นว่าหากใช้วิธีทางการทูตจะเป็นการประหยัดกว่า
    ในเดือนตุลาคมโจนส์สามารถยึดเมือง แซงต์ปิแยร์ เล มูติเยร์ และเพื่อป้องกันการถูกล้อมเมือง คองเพียญน์ โดยอังกฤษและเบอร์กันดี เกิดการต่อสู้อย่างประปรายและนำมาซึ่งการจับกุม โจนส์ได้ในที่สุด รัฐบาลอังกฤษเป็นฝ่ายที่ขอซื้อตัวโจนส์ โดยปีแยร์ โคชง บิชอปแห่งโบเวส์ ผู้ฝักใฝ่ฝ่ายอังกฤษตั้งตนเป็นผู้มีบทบาทในการเจรจาต่อรองซื้อตัวและต่อมาในการพิจารณาคดีของโจนส์

    การพิจารณาคดีประณาม
       การพิจารณาคดีในข้อหานอกรีต ของโจนส์มีมูลมาจากสถานะการณ์ทางการเมือง จอห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุกแห่งเบตฟอร์ดที่ 1 ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในนามของพรเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ผู้เป็นหลาน เห็นว่าเมืองโจนส์เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อการราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 การลงโทษโจนส์จึงเท่ากับเป็นการบ่อนทำลายอำนาจอันถูกต้องตามกฎหมายของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 โดยตรง
      ปัญหาของการพิจารณาครั้งนี้ พอสรุปได้คือ อำนาจทางศาลของผู้พิพากษาปีแยช์ โคชงไม่ใช่อำนาจที่แท้จริง  ปีแยร์ โคชงได้รับแต่งตั้งเพราะเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลอังกฤษและเป็นผู้ที่รับผิดชอบในค้าใช้จ่ายในการพิจารณาคดีทั้งหมดที่เกิดขึ้น และพนักงานศาล ก็ได้รับจ้างให้รวบรวมคำให้การที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโจนส์และไม่พบหลักฐานใดที่คัดค้าน ถ้าไม่มีหลักฐานดังกล่าวศาลก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอในการสนับสนุนข้อกลาวหาสำหรับการพิจารณาคดี  นอกจากนั้นศาลก็ยังละเมิดกฏหมายศาสนจักรที่ปฏิเสธไม่ให้ฌานมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย เมือเปิดการสอบสวนเป็นการสาธารณะเป็นครั้งแรกโจนก็ประท้วงว่าผู้ที่ปรากฎตัวในศาลทั้งหมดเป็นฝ่ายตรงข้ามและขอให้ศาลเชิญ “ผู้แทนทางศาสนาของฝรั่งเศส”มาร่วมในการพิจารณาคดีด้วย
บันทึกการพิจารณาคดี
: เธอทราบไหมว่าเธออยู่ภายใต้การพิทักษ์ของพระเจ้า
: ถ้าข้าพเจ้ามิได้,ก็ขอให้พระองค์ทรงทำเช่นนั้น;แต่ถ้าข้าพเจ้าได้,ก็ขอให้พระองค์ทรงรักษาไว้เช่นนั้น1278478997
      ข้อหาสิบสองข้อที่สรุปโดยศาลขัดกับบันทึกของศาลเองที่ด้รับการเปลี่ยนแปลง จำเลยผู้ไม่มีการศึกษายอมลงชื่อในเอกสาร การบอกสละโดยสาบาน โดยปราศจากความเข้าใจในเนื้อหาและความหมายถายใต้การขู่เข็ญว่าจะถูกประหารชีวิต นอกจากนั้นยังมีการสลับเอกสารการบอกสละโดยสาบาน ฉบับอื่นกับเอกสารที่ใช้อย่างเป็นทางการ
การประหารชีวิต
   ผู้เห็นเหตุการบรรยายการประหารชีวิตโดยการเผาทั้งเป็นเมือวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ.1431 ว่าฌาน ถูกมัดกับเสาสูงหน้าตลาดเก่าในรูอ็อง ฌานขอให้บาทหลวงมาร์แต็ง ลาด์เวนู และบาทหลวงอิฉซงบาร์ต เด ลา ปิแยร์ถือกางเขนไว้ตรงหน้า หลังจากที่ฌานเสียชีวิตแล้วอังกฤษกว่าถ่านหินออกจนะห็ร่างที่ถูกเผาเพ่อให้เป็นที่ราบกันว่าฌานเสียชีวิตจริงและมิได้หลบหนี แล้วก็เผาร่างที่เหลืออีกสองครั้งเพื่อไม่ให้หลงเหลือสิ่งใดที่สามารถเก็บไปเป็นเรลิกได้ หลังจากนั้นก็โยนสิ่งที่เหลือลงในแม่น้ำแซน

นักบุญโยออฟอาร์ค
     การพิจารณาคดีหลังจากที่โจนเสียชีวิตเริ่มขึ้นหลังสงครามร้อยปียุติลง สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 3 ทรงอนุมัติให้ดำเนินการพิจารณาคดีของโจนส์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ตามคำร้องขอของผู้อำนวยการการไต่สวน ฌอง เบรฮาล และอิสซาเลลา โรเม แม่ของโจนส์ การเพิจารณาคดีครั้งนี้เรียกกันวยา “การพิจารณาคดีประณามเป็นโมฆะ” ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีที่เป็นการสอบสวนการพิจารณาคดีครั้งแรกหรือที่เรียกว่า “การพิจารณาคดีประณาม” และการตัดสินว่าเป็นการดำเนินการที่เป็นไปด้วยความยุติธรรมและตรงตามคริสต์ศษสนกฎบัตร
    การสืบสวนเริ่มด้วยการไต่สวนนักบวช โดยฌอง เบรฮาล และการอุทธรณ์อย่างเป็นทางการก็ตามมามีผุ้เกี่ยวข้องจากทั่วยุโรปและเป็นไปตามกระบวนการพิจารณาคดีมาตรฐานของศาล
       โดยผลสรุปการวินิจฉัยบรรยายฌานว่า เป็น มรณสักขี และกล่าวหาปีแยร์ โกชงผู้เสียชีวิตไปแล้วว่าเป็นผู้นอกรีตเพราะเป็นผู้ลงโทษผู้บริสทุธิ์หาผลประโยชน์ทางโลก ศาลประกาศว่าโจนเป็นผู้บริสุทธิ์ เมือ วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1456
      การแต่งกายเป็นชายของโจนส์ตั้งแต่ออกจาก Vaucouleurs ถึงการพิจารณาคดีที่รูอ็อง ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งของการถูประหารชีวิตอ้างว่ามาจากการขัดกับกฎการแต่งกายจากพระคัมภีร์ ในการประกาศว่า “การพิจารณาคดีกล่าวหา”เป็นโมฆะ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะคดีแรกไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อกล่าวหานี้ค้านกับพระคัมภีร์3884934-198616-paris-statue-of-joan-of-arc
      นิมิต  นักวิชาการเห็นพ้องต้องกันว่า ศรัทธาของฌานเป็นความศรัทธาที่จริงใจ แต่มีความกำกวมในชื่อนักบุญที่ฌาน กล่าวถึง ว่าเป็นนักบุญองค์ใดแน่ที่ ผุ้นับถือคริสต์สาสนานิกายโรมันคาทอลิกเห็นว่านิมิตของโจนเป็นการดลใจจากพระเจ้า
    ฌานไม่ให้การใดใดเกี่ยวกับนิมิต ฌานประท้วงว่ามาตรฐานของการสาบานพยานของศาลขัดต่อคำสาบานที่เธอได้ให้ไว้ก่อนหน้านั้นในการรักษาความลับของการเข้าเผ้าพระเจ้าชาร์สส์ ซึ่งทำให้ไม่อาจจะทราบได้ว่าเอกสารที่ยังหลงเหลืออยู่จะเป็นที่น่าเชื่อถือได้เพียงใด
    โจนส์มีความสามารถจะทำให้ประชาชนมีความรู้สึกร่วมในการที่จะกู้ชาติ สตีฟานดับเบิลยู. ริชชี่ ยังแสดงความเห็นอีกว่า “ประชาชนรุ่นต่อมาอีกห้าร้อยปีหลังจากโจนเสียชีวิตแล้ว สร้างสรรค์ภาพพจน์ต่าง ๆ เกี่ยวกับโจน ผู้บ้าคลั่งทางจิตวิญญาณ, ผู้บริสุทธิ์ผู้เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจ,ผู้เป็นตัวอย่างของความเป็นชาตินิยม, วีรสตรีผุ้น่าชื่นชม,นักบุญ, แต่โจนยังคงยืนยันแม้เมือถูกขู่ด้วยการทรมานและการเผาทั้งเป็นว่าได้รับแรงบันดาลใจจากพระสุรเสียของพระเจ้า ไม่ว่าจะมีพระสุรเสียงหรือไม่ ความสำเร็จของโจนทกทำให้ทุกคนที่ทราบประวัติต่างทั่งในความสามารถอันน่าอัศจรรย์ของโจนส์”
    
       ระหว่างการสืบสวนเกี่ยวกับการประหารชีวิตของโจนหลังสงครามร้อยปี ทางสถาบันศาสนาประกาศว่าบทละครที่แสดงเพือเป็นเกี่ยรติแก่โจนส์ที่แสดงที่ออร์เลอองส์ถือว่าเป็นกุศล ที่มีค่าในการไถ่บาปได้ โจนส์กลายเป็นสัญลักษณ์ของสันนิบาตคาทอลิกฝรั่งเศส และเฟลีส์ ดูปองลูพ์ สังฆราชแห่งออร์เลอองส์ ก็เป็นผู้นำในการเรียกร้องให้แต่งตั้งดจนให้เป็นนักบุญ
     การพิจารณาให้ฌานเป็นนักบุญ เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1909 ทันที่หลังจากที่รัฐบาลฝรั่งเศสประการอนุมัติกฎหมายฝรั่งเศสในการแบ่งแยกระหว่างรัฐและศาสนา ค.ศ. 1505 ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทบกระเทือนสถานะภาพของสถาบันโรมันคาทอลิกในสังคมฝรั่งเศสโดยตรง โจนส์ได้รับสถาปนาเป็นนักบุญเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 ในฐานะนักบุญ โจนส์ออฟอาร์คเป็นนักบุญที่เป็นที่นิยมที่สุดองค์หนึ่งในบรรดานักบุญในนิกายโรมันคาทอลิก

    ฟิลิปป์ อเล็กซาเดอร์ เล เบริง เด ชาร์แมตส์ เป็นนักประวัติศาสตร์คนแรกที่เขียนลีวประวัติฉบับสมบูรณ์ของโจนออฟอาร์ค ความสนใจของฟิลิปป์มีสาเหตุมาจากในช่วงที่ฝรั่งเศสพยายามเสาะหาความหมายของความเป็นฝรั่งเศสหลังจากการปฏิบัติฝรั่งเศส และสงครามนโปเลียน “จริยศาสตร์”ของฝรั่งเศสในขณะนั้น โจนส์เป็นผู้ที่เหมาะสมที่จะไม่เป็นที่ขัดแย้งต่อชนกลุ่มต่าง ๆ และเป็นผลงานความพยายาทอีกครั้งที่จะเผยแพร่ “จริยปรัชญา” ของฝรั่งเศส

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)