Yaon Dynasty I

      ราชวงศ์หยวน คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1271-1387 ก่อตั้งขึ้นเมือกุบไลข่านโค่นอำนาจราชวงศ์ซ่ง แล้วตั้งราชวงศ์ของชาวมองโกล โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ปักกิ่ง(ต้าตู) ทรงเป็นฮ่องเต้พระองค์เดียวที่ชาวจีนยอมรับ
   จักรพรรดิราชวงศ์หยวน

พระนามแต่งตั้ง พระนามข่าน พระนามเดิม ปีครองราชย์(ค.ศ.)
ไท่จู่ เจงกิส ข่าน เตมูจิน 1206-1227
รุ่ยจง โตลุยข่าน โตลุย 1228
ไท่จง วอเคอไต ข่าน วอเคอไต 1229-1241
ติ้งจง กูยุก ข่าน กูยุก 1246-1248
เสียนจง มองเก้ ข่าน มองเก้ 1251-1259
ซื่อจู กุบไล ข่าน กุบิไล 1260-1294
เฉินจง เตมูร์ ข่าน เตมูร์ 1294-1307
หวู่จง คูลุก ข่าน Qayshan 1308-1311
เหรินจง อายูบาร์ดา ข่าน อายูบาร์ดา 1311-1320
อินจง ชิดิบาลา จีจิน ข่าน ชิดิบาลา 1321-1323
จินจง(ไท่ติงตี้) เยซุน เตมูร์ ข่าน เยซุน เตมูร์ 1323-1328
____(เทียนซุนตี้) ราจิบาก ข่าน ราจิบาก 1328
เหวินจง จายาตู ข่าน Toq Temur 1328-1329,1329-1332
หมิงจง คูบุกตู ข่าน Qosghila 1329
หนิงจง รินชินบาล ข่าน รินชินบาล 1332
ฮุ่ยจง(Shundi) อูคานตู ข่าน Toghan-Temur 1333-1370

       การปกครองประเทศจีนของมองโกล แม้มองโกลจะใช้ระบบการปกครองของจีน แต่ชาวจีนฮั่นก็รับรู้ถึงความไม่ยุติธรรม ในทางสังคมและการเมือง ตำแหน่งสำคัญๆ ต่าง ๆ ในส่วนกลางและภูมิภาคจะผูกขาดโดยชาวมองโกล และจางชาวต่างชาต มาทำหน้าที่ในตำแหน่างที่หาชาวมองโกลทำไม่ได้ และในทางกลับกันก็จ้างชาวจีนเข้าไปทำงานในดินแดนที่ไม่ใช่ประเทศจีน
       ในช่วงที่หยวนปกครองจีน วัฒนธรรมมีการพัฒนาแบบปสมปสานในด้านต่าง ๆ การติดต่อสัมพันธ์กัลเอเซียตะวันตก ยุโรป เพ่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เครื่องดนตรีตะวันตกถูกนำมาใช้ในศิลปะการแสดงของจีน ศาสนาต่าง ๆ เข้าสู่ประเทศจีนและเปลี่ยนแปลงศาสนาของชาวจีนจำนวนมาก แต่ถึงอย่างไร ลัทธิขงจื้อและระเบียบการสอบเข้ารับราชการ ก็ถูกฟื้นฟูนำมาใช้ใหม่ด้วยความหวังว่าจะสามารถรักษchina75าความเป็นระเบียบในสังคมชาวฮั่นได้
        จากการค้าที่รุ่งเรือง และการเดินทางกล้างไกล ชาวมองโกลริเริ่มคิดทำธนบัตรขึ้นใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในและนอกประเทศ 
         ดินปืนหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ๋ของจีน หลักฐานของจีนกล่าวว่า การประดิษฐ์ดินปืนนั้นมาจากประทัดที่ใช้ขัยไล่ภูตฝี โดยการนำดินประสิวและกำมะถันมาห่อรวมกันในกระดาษ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการใช้ดินปืน สมัยซ่งมีการนำดินปืนมาประดิษฐ์อาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเฉพาะซ่งใต้มีการนำมาใช้มากขึ้น 250px-Yuan_chinese_gun
      กวอโส่วจิ้ง (ยั่วซือ) นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ และนักชลประทาน
กุบไลข่านทรงมีราชโองการให้กวอโส่วจิ้งกับหวังสุน (นักคณิตศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงอีกผู้หนึ่งในสมัยนั้น) แก้ไขปรับปรุงปฏิทินเสียใหม่ให้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น กวอโส่วจิ้งจึงเสนอให้จัดสร้างหอดูดาวที่เมืองหลวงต้าตู และจุดสังเกตการโคจรของดาวตามสถานที่ต่าง ๆ อีก 26 แห่งทั่วประเทศจีน และก็เริ่มลงมือสังเกตุการด้วยตัวเอง เขาใช้เวลา 4 ปีในการรวบรวมข้อมูล และก็สามารถจัดทำปฏิทินฉบัยใหม่ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1280 โดยความแม่นยำของปฏิทินฉบับนี้คือ กำหนดว่า 1 ปี สุริยคติเท่ากับ 365.2425 ซึ่งผิดไปจากการคำนวฯของนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันเพียง 26 วินาที
ในปี ค.ศ. 1292 กวอโส่วจิ้งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผุ้รับผิดชอบหอดูดาวและการชลประทานของเขตเมืองหลวง เขาทำข้อเสนอเกียวกับการสร้างคอล “ต้ายวิ่นเหอ” และออกแบบแนวคลองที่ถูต้องตามหลักวิชาการ งานขุคอลเสร็จสิ้นลุล่วงภายในเวลาเพียงปีครึ่ง และได้ชื่อว่า “แม่น้ำทงฮุ่ยเหอ” สามารถเชื่อมต่อระหว่างหางโจวภาคใต้ถึงปักกิ่งในภาคเหนือเป็นระยะทางเกือบ 1,800กิโลเมตร

The travels of Marco Polo
      Niccolo และ Maffeo ผุ้เป็นบิดาและลุงของมาร์โคโปโล เดินทางมายังประเทศจีน และได้รับการต้อนรับด้วยไมตรีจิตจากกุบไลข่าน และในการเดินทางครั้งต่อมาเขาจึงพาบุตรชาย มาร์โค โปโล บุตรชายของเขาติดตามมาด้วย
      มาร์โคโปโลเดินทางมาถึงเมืองจีน เมื่ออายุ 21 ปี และรับราชทานจัดงานเลี้ยงในวังหลวง จากนั้นจึงให้ตระกูลโปโลอยู่ถวายงานในชสำนัก ช่วงเวลา 17 ปีที่มาร์โคโปโลอาศัยอยู่ในจีนจึงได้เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ มากมาย
      ในหนังสือของมาร์โคโปโล บันทึกถึงรูปร่างของแผ่นดิน สัตว์ พืชพันธ์ต่าง ๆ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ ถ่านหินและนำมัน เขาพรรณาอารยธรรมจีนว่ามีความเจริญเหนือกว่าวัฒนธรรมและเทคโนโลยีของชาวยุโรป เขาระบุว่าแหล่งพลังงานที่ยิ่งใหญ่มีอยู่ 2 อย่างคือ “ดินปืนและบะหมี่”

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)