Age of Discovery...Christopher Columbus

       ในยุคแห่งการสำรวจ หรือยุคแห่งการค้นพบ เป็นช่วงระยะเวลาในประวัติศาสตร์ที่โลกที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ? 15-17 ซึ่งเป็นช่วงที่ยุโรปออกเดินทางไปสำรวจทางทะเลในโลกที่กว้างออกไปจากตัวทวีปยุโรปเองโดยมีจุดประสงค์เพื่อหาคู่ค้าขายใหม่ โดยเฉพาะเพื่อการแสวงหาสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดตามต้องการ สินค้าที่เป็นที่ต้องการกันมากในยุโรปในขณะนั้นคือ ทอง เงิน และเครื่องเทศ คาราเวล
    Carrack 
  ยุคแห่งการสำรวจประจวบเหมาะกับช่วงที่ชาวยุโรปตะวันตกเริ่มใช้เข็มทิศในการกำหนดและระบุเส้นาง การใช้วิธีการเดินเรือเดินทะเลแบบใหม่ไปยังเอเซียโดยเลี่ยงอุปสรรค ถ้าการใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของมหาอำนาจที่เป็นปฏิปักษ์ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่วิวัฒนาการขึ้นสำหรับการเดินทาง ทางทะเลคือเรือชนิดใหม่สองแบบที่ออกแบบโดย โปรตุเกศ คือ เรื่อคาร์แร็ค และเรือคาวาเวล ที่วิวัฒนาการมาจากการออกแบบเรือในยุคกลางที่ใช้ในการเดินเรือในทะเลเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เรือสองชนิดนี้เป็นเรือสองชนิดแรกที่ให้ควมปลอดภัยพอที่จะฝ่าคลื่นฝ่าลมในมหาสมุทรแอตแลนติก ได้เมือเทียบกับเรือรุ่นก่อนหน้านั้นที่ใช้กันเฉพาะในบริเวณที่คลื่นลมไม่รุนแรงเทียบเท่ากับการเดินทางกลางมหาสมุทร

      การสำรวจทางบก mysilkroad
ก่อนหน้ายุคสำรวจมีชาวยุโรปเดินทางไปเอเชียหลายครั้งในสมัยยุคกลางตอนปลาย ผู้เดินทางเกือบทั้งหมดในครั้งแรกเป็นชาวอิตาลี เพราะการค้าระหว่างยุโรปกับตะวันออกกลางแทบทั้งหมดตกอยู่ในมือของพ่อค้าจากนครรัฐต่าง ๆ ในอิตาลี การสำรวจนอกจากความต้องการทางการค้ายังมีเหตุผลอื่นอีกเช่น ผุ้นำคริสเตียน อาทิ เจ้าชายเฮนรีนักเดินเรือ นำคณะสำรวจเพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสต์
    นักเดินทาง ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ มาโคโปโล ผู้บันทึกการเดินทางของการสำรวจไปทั่งเอเชียตั้งแต่ปีค.ศ. 1271-1295 ในสมัยราชวงศ์หยวน จักรพรรดิ์ กุบไล ข่าน การเอนทางของมาร์โค โปโลบันทึกในหนังสือชื่อ “บันทึกการเดิน16ทาง” ซึ่งเป็นหนังสือที่แพร่หลายและอ่านกันไปทั่วยุโรปในปี ค.ศ. 1439 นิคโคโล เด คอนติ พิมพ์บันทึกการเดินทางไปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างปี 1466-1472 พ่อค้าชาวรัสเซีย อฟานาซิ นิคิติน ก็เดินทางไปอินเดียและเขียนบรรยายในหนังสือ “การเดินทางเลยไปจากสามทะเล” หลังจากการล่มสลายอย่างรวดเร็วของอาณาจักรมองโกลทำให้เส้นทางทางบกค่อยๆ ถูกปิดไป การเดินทางเป็นไปอย่างลำบากและอันตรายจึงไม่มีผู้ติดต่อค้าขายกันโดยใช้เส้นทางสายไหมดังแต่ก่อน

         โปตุเกส การเดินทางเพื่อการสำรวจหาเส้นทางค้าขายทางทะเลใหม่ไปยังเอเชีย มิได้เริ่มโดยชายยุโรปอยางจริงจังมาจนกระทั่งเมื่อมีการวิวัฒนาการเรือคาร์แร็ค และต่อมา เรื่อคาวาเวลขึ้น เหตุที่กระตุ้นการริเริ่มการสำตวจเกิดขึ้นหลังจากการยึดคอนสแตนติโนเปิล โดยชาวเตอร์ก จากนั้นจักรวรรดิออตโตมานก็มีอำนาจควบคุมการค้าขายในบริเวณนั้น และกีอกันชาวยุโรปจากการใช้ “เส้นทางสายไหม” และเส้นทางการค้าผ่านทางแอฟริกาเหนือ ที่มีความสำคัญสำหรับยุโรปในการเป็นเส้นทางการค้าผสมระหวางทางบกและทางทะเลผ่านทางทะเลแดงไปยังเอเชีย ทั้งเครื่องเทศและไหมเป็นธุรกิจใหญ่ในยุคนั้นและรวมทั้งเครื่องเทศที่ใช้ประโยชน์ทั้งในการถนอมอทหารและปรุงรสซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างน้อยก็สำหรับผู้มีฐานะดีหรือผู้มีอันจะกิน

     การสำรวจในระยะแรกนำโดยโปรตุเกศภายใต้การนำของเจ้าชายเฮนรี่นักเดินเรือ การเดินเรือของชาวยุโรปก่อนหน้านั้นจะเป็นการเดินทางเลียบฝั่งทะเลที่มองเห็นฝั่งทะเล  การเดินเรือของเจ้าชายเฮนรี่เป็นการท้าทายความเชื่อต่าง ๆ และทรงพบหมู่เกาะมาเดราในมหาสมุทรแอตแลนติก และยึดดินแดนทั้งสองที่พบเป็นอาณานิคม จุดมุ่งหมายของการเดินเรือของเจ้าชายเฮนรี่ก็เพ่อสำรวจฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของแอฟริกาและเขียนแผนที่เดินเรือ “พอร์โทลาน”และเหตุผลทางการค้า ทางศษสนา


Age of Discovery.small
    ทางการค้าขาย เป็นเวลาหลายศตวรรษที่เส้นทางการค้าที่เชื่อมแอฟริกาตะวันตกกับทะเลิมดิเตอร์เรเนีนเป็นเส้นทางที่ต้องเดินผ่านทางด้านตะวันตกของทะเลทราย “ซาฮารา” เส้นทางนี้เป็นเส้นทางการค้าขาย “ทาสและทอง”ที่ควบคุมโดยรัฐอิสลามในแอฟริกาเหนือ ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของทั้งโปรตุเกสและสเปน กษัตริย์โปรตุเกสจึงทรงหาทางเลี่ยงการค้าขายที่ต้องฝ่านรัฐอิสลามโดยการค้าโดยตรงกับแอฟริกาตะวันตกทางทะเล และรัฐเหล่านี้อาจจะกลายมาเป็นรัฐคริสเตียนซึ่งทำให้เป็นพัมธมิตรในการต่อต้านรัฐอิสลามในกาเกร็บ ในปี ค.ศ. 1434 นักสำรวจชาวโปรตุเกส กิล เออเนส สามารถพิชิอุปสรรคของแหลมโบฮาดอร์ได้ ยังผลให้พระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ทรงออกพระบัญญัติ “โรมานัสพอนทิเฟ็กซ์” ที่ระบุว่าประเทศใดที่พบที่ไกลไปจากแหลมโบฮาดอร์เป็นของโปรตุเกส
     ภายในยี่สิบปีการสำรวจของโปรตุเกสก็ทำให้สามารถทำการค้าขายทาสและทองได้โดยตรงกับคู่ค้าที่ปัจจุบันคือ เซเนกัล และสร้างป้อมการค้าที่ เอลมิน แหลมแวร์เด กลายเป็นอาณานิคมผู้ผลิตน้ำตาลเป็นแห่งแรก ในปี ค.ศ. 1482 การสำรวจภายในการนำของ ดิเอโก้ โคด ก็ทำให้เกิดการติดต่อกับราชอาณาจักรคองโก และจุดเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์เกิดเมือ บาร์โตโลมิว ดิอัซ เดินทางรอบแหลมกูดโฮพ และพบว่าเป็นทางที่ใช้เดินทางติดต่อกับมหาสมุทรอินเดียได้จากด้านมหาสมุทรแอตแลนติก การสำตัวจทางบกของ เปโร เด โควิชา ทำให้ได้ขอ้มูลสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับทะเลแดงและฝั่งทะเลเควเนีย ในปี ค.ศ. 1498 สาสโก ดา กามา เดินทางไปถึงอินเดีย

    ในขณะเดียวกันดิโอโก ซิลเวสก็พบซานตามาเรีย และพบเกาะอื่นในหมู่เกาะอาโซเรซ เกาะเทอร์เซรา ซึ่งกลายมาเป็นฐานทางการเดินเรือสำหรับการสำรวจใน เทอรราโนวา และนิวฟันด์แลนด์ โดยพี่น้อง คาร์เท รีอาล

คริสโตเฟอร์ โครลัมบัสimages
   ค.ศ.1451-1506 เป็นนักสำรวจ นักเดินเรือและพ่อค้า เชื่อกันว่าเป็นชาวสาธารณรัฐเจนัว ภายใต้ การสนับสนุนของราชสำนักสเปน เขาเดินเรือข้ามมหาสมุทรแดอแลนติกและทำให้ชาวยุโรปรู้จักทวีปอเมรากาในซีกโลกตะวันตกเป็นผลสำเร็จการเดินทางทั้งสี่ครั้งและความพยายามที่จะตั้งถิ่นฐานบนเกาะฮิสปันโยลาของโคบัมบัสยังเป็นจุดเริ่มต้นของการล่าอาณานิคมของอาณาจักรต่างๆ ในทวีปยุโรปด้วย ในช่วงที่ลัทธิจักวรรดินิยมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ผ่านทางการควบคุมเส้นทางการค้าและการล่าอาณานิคม กำลังเริ่มขั้นนั้นโคลัมบัสได้วางแผนการเดินทางไปยังอินเดียตะวันออกโดยเดินเรือมุ่งไปทางตะวันตก เข้าเชื่อว่าโลกมีรูปร่างเป็นทรงกลม ซึ่งเป็นความเชื่อที่ขัดแย้งกับความเชื่อในยุคนั้นที่เชื่อว่าโลกนั้นมีรูปทรงแบนแต่ปัฯหา คือ ความเป็นไปได้ของการเดินทางรอบโลกเนื่องมาจากอุปสรรคเรื่องของอาหารและข้อจำกัดทางเทคโนโลยีการเดินเรือในสมัยนั้น โคลัมบัสนำโครงการเดินเรืองดังกล่าวไปเสนอต่อราชสำนักโปรตุเกสเพื่อขอทุนทรัพย์ในการแต่งกองเรือออกไปค้นหาดินแดนใหม่ ๆ แต่ถูกปฏิเสธ เขาจึงไปขอรับการอุปถัมภ์จากพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 5 และสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบบาที่ 1 แห่งอาณาจักรคาสตีล และได้รับการอนุมัติให้ออกเอนทางเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1492 แต่แทนที่โคลัมบัสจะไปถึงหมู่เกาะญี่ปุ่นอย่างที่ตั้งใจไว้ เขาหลับไปพบหมู่เกาะบาฮามาสและขึ้นฝั่งบนเกาะแห่งหนึ่งที่เขาตั้งชื่อว่า “ซานซัสบาดอร์” และค้นพบหมู่เกาะเกรดเตอร์แอนทิลลิส เลสเซอร์แอนทิลลิส รวมทั้งชายฝั่งทะเลแคริบเบียนของเวเนซูเอลและอเมริกากลาง และประกาศให้ดินแดนเหล่านั้นเป็นกรรมสิทธ์ของจักวรรดิสเปนแม้ว่าโคลัมบัสไม่ได้เป็นบุคคลแรกที่เดินทางมาถึงทวีปอเมริก (เนื่องจากเลฟ เอริสัน และกองเรือชาวนอร์สได้มาถึงทวีปนี้ก่อนแล้ว) แต่การเดินทางของโคลัมบัสก็ทำให้เกิดการติดต่ออย่างถาวรและต่อเนื่องระหว่างโลกใหม่ (ฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก) กับโลกเก่า (ฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก) นำไปสู่ช่วงเวลาของการสำรวจและการล่าอาณานิคมในดินแดนภายนอกทวีปยุโรปที่ดำเนินฝ่านเวลาหลายศตวรรษและส่งผลอย่างใหญ่หลวง โคลัมบัสเรียกชนพื้นเมืองบนดินแดนที่เขาไปเยือนว่า “อินดีโอส” โดยไม่ทราบว่าเขาได้ค้นพบทวีปที่ชาวยุโรปไม่เคยรู้จักมาก่อนแล้วโดยบังเอิญ ไม่กี่ปีต่อมาความขัดแย้งระหว่างโคลัมบัสกับราชบัลลังก์สเปนและผู้ปกครองอาณานิคมคนอื่นทำให้เขาถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้บริหารอาณานิคมบนเกาะฮิสปันโยลาในปี 1500 และถูกส่งตัวกลับมายังสเปน ทายาทของเขาใช้เวลาฟ้องร้องราชวัลลังก์สเปนอยู่เป็นเวลาหลายสิบปีหลังจากเขาเสียชีวิตกว่าจะได้รับส่วนแบ่งจากผลประโยชน์ในดินแดนต่าง ๆ ที่เขาเคยไปสำรวจมา
     การขยายตัวของยุโรปเหนือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของอำนาจของโปรตุเกสในแอฟริกาและในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ดัตช์,ฝรั่งเศสและอังกฤษส่งเรือผ่านไปในดินแดนที่เป็ฯของโปรตุเกส แต่โปรตุเกสก็ไม่มีหนทางใดที่จะหยุดยั้งได้เพราะขาดกำลังคนและทุนทรัพย์  และประเทเลห่านี้ก็ยังก่อตั้งสถานีค้าขายของตนเองขึ้นมาด้วย ส่วนแบ่งทางการตลาด ของโปรตุเกสและสเปนก็เริ่มลดลง นอกจากนั้นแล้วยุโรปเหนือก็ขยายการสำรวจไปยังบริเวฯที่ยังไม่ได้รับการสำรวจในมหาสมุทรแปซิฟิกและฝั่งทะเลทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ
          ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฝั่งตะวันตกและฝั่งเหนือของออสเตรเลียได้รับการเขียนเป็นแผนที่ แต่ฝั่งตะวันออกยังคงต้องรอต่อมาอีกร้อยปี นักสำรวจเข้าไปถึงใจกลางของทวีปอเมริกในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และก็ยังคงมีอาณาบริเวฯที่ยังไม่ได้รับการสำรวจจกระทั้ง คริสต์ศตวรรษที่ 18-19 เพราะบริเวณนี้ไม่มีแน้วโน้มที่ประดยชน์ต่อการค้าขายนอกจากนั้นก็ยังเป็นบริเวฯที่เต็มำปด้วยโรคร้ายของเมืองร้อนต่างๆ
           เมื่อสินค้าต่าง ๆ ทีเคยเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยมาจากากรสำรวจเป็ฯที่แพร่หลายมากขึ้นก็ทำให้ราคาสินค้าเหล่านี้เริ่มคงตัวการค้าขายทางมหาสมุทรแอตแลนติกมาแทรที่อำนาจการค้าขายของอิตาลีและเยอรมนีที่เคยใช้ทะเลบอลติกในหารเดินทางขนส่งสินค้ากับรัสเซีย และมาแทนการค้าขายผ่านชาติอิสลาม นอกจากนั้นสินค้าใกม่ก็ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่โครงสร้างทางสังคม เมือน้ำตาล,เครื่องเทศ,ไหม,และเครื่องถ้วยชามของจีนเข้ามาในตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยของยุโรป ความมั่งคั่งที่สเปนประสบและภาวะเงินเฟ้อทั้งภายในสเปนและยุโรปทั่วไป ภายในไม่กี่สิบปีการทำเหมืองในทวีปอเมริกาก็มีผลผลิตมากกว่าการทำเหมองในยุโรปเอง สเปนยิ่งต้องพึ่งรายได้จากากรค้าจากทวีปอเมริกาเพิ่มขึ้นจนในที่สุดก็นำไปสู่การล้มละลายของสเปนในครั้งแรกเมือปี 1557 ที่เป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายทางการทหารที่มากเกินตัว การทวีตัวของราคาเป็นผลให้มีการหมุนเวียนทางการเงินในยุโรปมากขึ้นและทำให้เกิดการขยายตัวทางการค้าในบรรดาชนชั้นกลางในยุโรปที่มามีอิทธิพลต่อสภานะทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมในหลายประเทศในยุโรปโดยทั่วไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)