Galileo Galilei

galileo-lodestone-150-768x835

  กาลิเลโอ กาลิเลอิ  เกิดที่เมืองปิซาในอิตาลีเมื่อปี ค.ศ. 1564 กาลิเลโอได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานของวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ผู้ผลิตผลงานด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และ ปรัชญาวิทยาศาสตร์มากมาย โดยเฉพาะในวิชาดาราศาสตร์นั้น กาลิเลโอได้รลบล้างความเชื่อเรื่องเอกภพของอริสโตเติลที่ผู้คนเชื่อตามกันมานานเกือบ 2,000 ปี ด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้สำรวจท้องฟ้า ดวงดาว และได้เห็นปรากฎการณ์อัศจรรย์ที่สำคัญมากมาย ซึ่งเป็นการปูทางให้นักคิด นักวิทยาศาสตร์ในรุ่นต่อๆ มาอาทิ  เซอร์ไอแซค นิวตัน เรนท์ เดสคาร์เทส และ จอห์นเนส เคปเลอร์ ในเวลาต่อมา
       บิดากาลิเลโอ ชื่อ วินเซนโซ่ กาลิเลอิ มีอาชีพเป็นนักดนตรีผู้เชี่ยวชาญทั้งทฤษฎีและการเล่นพิณน้ำเต้า มารดาชื่อเดิมว่า กิอูล่า แอมแมนนาตี้ มาจากครอบครัวฐานะปานกลางแห่งเมืองผลอเรนซ์ กาลิเลโอเป็นบุตรคนโตในบรรดาพี่น้อง 7 คน


     กาลิเลโอวัยเด็ก
      กาลิเลโอเริ่มเรียนหนังสือเมืออายุ 8 ขวบบิดาอพยพครอบครัวไปยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ และฝากกาลิเลโอไว้กับเพื่อชื่ จาโคโป โบร์จฮินี่ เพื่อจะได้เรียนหนังสือที่โบส์ถ ครอบครัวของกาลิเลโอมีฐานะไม่สู้ดี บิดามีหนี้สินมาก จึงมีความปรารถนาที่จะให้ลูกชายคนโตเรียนแพทย์เพื่อจะหด้นที่พึ่งของครอบครัว ด้วยเหตุนี้กาลิเลโอในวัย 17 ปีจึงเข้าเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยปิซา เขาพบว่าวิชาแพทย์เป็นวิชาที่ต้องใช่วิธีท่องจำเป็นอย่างมาก ในขณะที่วิชาวิทยาศาสตร์ของอริสโตเติลนั้นจะต้องเชื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่อริสโตเติลเขียนและ กาลิเลโอตระหนักว่าคำสอนบางอย่างมิได้มีหลักฐานใดสนับสนุน  เขาจึงตั้งประเด็นสงสัยในความรู้ที่ครูนำมาสอนบ่อยจนได้รับฉายาว่า  Wrangler (นิสิตผู้ชอบถกเถียงเชิงวิชาการ) กาลิเลโอรู้สึกสนุกสนานกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของยุคลิค เพราะเห็นว่าเป้นวิชาที่มีหลักการและใช้เหตุผลในกาอธิบายและพิสูจน์ ไม่ต้องอาศัยความจำ
    galileo04  เมื่ออายุ 18 เขาคับพบกฎการแกว่างของลูกตุ้ม pendulum กาลิเลโอพบกฎนี้จากการสังเกณฑ์ พนักงานในโบสถ์ต้องการจุดตะเกียงที่แขวนห้อยด้วยโซ่ ยาวจากด้านสูงของมหารวิหารปิซาเขาจะใช้ตะขอ คล้องตะเกียงเขาหาตัวและจึงจุดๆฟแล้ะวปล่อยให้ตะเกียงแกว่งไปมา และกาลิเลโอด็ได้พบความจริงว่า ไม่ว่าตะเกียงดวงนั้นจะถูกดึงไปจากตำแหน่งต่ำสุด ในระยะทางใกล้หรือไกลเพียงใดเวลาที่ตะเกียงใช้ในการแกว่งจนครบ 1 รอบจะเท่ากันเสมอ แม้ในสมัยนั้นจะไม่มีเวลานาฬิกาจับเวลา กาลิเลโอใช้วชีพจรของคนปรกติซึ่งเต้นเป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอต่างนาฬิกา  และยังพบต่อไปอีกว่า เวลาช้าเร็วต่างกันขึ้นอยู่กับความยาวของโซ่ ในกรณ๊ที่ตุมน้ำหนักต่างกัน ถ้าโซ่ที่ใช้แขวนมีความยาวเท่านกัน ในการแกว่งครบรอบก็ไม่ต่างกัน นั้นหมายความว่าในการแกว่งครบรอบของต้ำมน้ำหนักไม่ขึ้นกับน้ำหนักของลูตุ้ม ซึ่งเขารู้สึกแปลกใจในเรื่องนี้ เพราะตามที่อริสโตเติลสอนวัตถุหนักจะตกถึงพื้นเร็วกว่าวัตถุที่เบา ถ้าคำสอนของอริสโตเติลถูกต้อง ตุ้มที่มีน้ำหนักมากก็ควรแกว่งเร็วกว่าตุ้มที่มีน้ำหนักน้อย กาลิเลโอจึงไม่แน่ใจว่าความรู้ต่าง ๆ ที่อริสโตเติลเขียนไว้ในหนังสือ Physica ว่าถูกต้องทั้งหมด
     กาลิเลโอ นำความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์โดยการประดิษฐ์ อุปกรณ์วัดชีพจร โดยเรียกว่า Pulsilogia และตัดสินใจเลิกเรียนแพทย์หัสปเรียนวิทยาศาสตร์แทน เขาจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ และรูปแบบจำลองของภพจากปราชญ์ต่าง ๆ อาทิ ปฏตเรมี กล่าวว่า โลกเป็นศูนย์กลาง มีดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ต่าง ๆ โคจรไปรอบโลกโดยมีโคจรเป็นวงกลม
    แบบจำลอง ของอริสโตเติล กล่าวว่าองค์ประกอบของดาวต่าง ๆ ที่ว่าสรรพสิ่งประกองด้วย อิน น้ำ ลมและไฟที่ไม่สมบูรณ์และไม่ถาวร ขณะที่ดาวและบนฟ้าที่พรเจ้าสร้างมีความสมบูรณ์จนหาที่ติมิได้
     นิโคลัส นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวโปแลนด์ สร้างแบบจำลองของภพซึ่งแตกต่างจากภพของปโกเรมี คือมีดวงอาทิตย์อยู่ที่ศูนย์กลาง โลกและดาวเคาะห์ดวงอื่นๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์โดยวิถีวงโคจรเป็นวงกลม และโลกหมุนรอบตัวได้ด้วย  ซึ่งถูกโจมตีว่าเป็นแนวคิดที่เหลวไหล หากโลกหมุนรอบตัวเองทำไม่ไม่มีใครรู้สึกว่าโลกหมุนรอบตัวเอง และเป็นแนวคิดที่ขัดต่อคำจารึกในคัมภีร์ไบเบิล ความคิด นิโคลัศจึงเป็นความคิดที่นอกรีตจนสถาบันศาสนาแห่งโรมต้องสั่งห้ามเผยแพร่อย่างเด็ดขาด
     เมื่ออายุ 22 ปี กาลิเลโอประสบปัญหาด้านการเงิน จึงได้ลาออกจกมหาวิทยาลัยทั้งที่ยังเรียนไม่สำเร็จ และหาเงิน ด้วยความสาม รถทางการออกแบบอุปกรณ์จึงได้ประดิษฐ์ตาชั่งเพื่อใช้หาความหนาแน่นสัมพัทธ์ระหว่งวัตถุต่างชนิด และพบวิธีหาจุดศูนย์ถ่วงของกรวยที่มีผิวโค้งแบบพาราโบลา

     กาลิเลโอในฐานะอาจารย์ 474px-Galileo_Galilei_2
      กาลิเลโอได้พบกับ คริสโตเฟอร์ คลาเวียส นักดาราศาสตร์ผู้สร้างปฏิทินถวายสันตะปาปา เกรกอรี่ ที่ 13  เขารู้สึกประทับใจในความสามารถของกาลิเลโอมาก ดังนั้นเมือตำแหน่งศาสตราจารย์คณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปิซาว่างลง คลาเวียสจึงได้ขียนคำรับรองให้กาลิเลโอไปสมัครงานทันที กาลิเลโอรู้สึกไม่สบายใจที่ต้องกลับมาทำงานที่มหาวิทยาลัยที่ตนเคยเรียนเพราะเขาถูกอาจาร์กล่าวหาเป็นพวกชอบเถียงครู  แต่เขาก็เข้าสอนเป็นเวลา 3 ปี
    การทำงานของเขาไม่เป็นที่น่ารื่นรมณ์นัก ทั้งเขาคงเห็นว่าการเรียนการสอนไม่เหมาะสมคือเป็นการสอนแบบถ่องจำ กาลิเลโอ ใช้วิธีสอนโดยให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นและให้เหตุผล เช่น ขาถามว่าระหว่างเพลโตกับอริสโตเติลใครเก่งกว่ากัน หรือโง่ทั้งสองคน  และให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น
   20090826galileo-galilei-telescopioเมื่อครั้งเป็นอาจารย์ กาลิเลโอ ทำการตรวจสอบความรู้ “ความเชื่อ”ที่ถ่องจำกันมาเป็นเวลาแสนนานกว่า 2,000 ปี โดยการเชิญขุนนาง นักบวช และประชาชนมาเป็นพยาน โดยการขึ้นไปที่ยอดหอเอนปิซา เพื่อปล่อยวัตถุที่มีน้ำหนักต่างกันลงมาพร้อมกัน แล้วก็พบว่าวัตถุทั้งสองตกถึงพื้นพร้อมกันทุกครั้งไป กาลิเลโอแถลงว่า เมื่อระยะทางเท่ากัน เวลาที่วัตถุใช้ในการตกไม่ขึ้นกับน้ำหนักของวัตถุ ดังนั้น การทดลองนี้จึงมีผลที่ขัดแย้งกับคำสอนของอริสโตเติล
      แม้ผู้ที่ถูกเชิญมาจะเห็นด้วยตาตนเองแต่หลายคนก็ยังปฏิเสธสิ่งทีตาเห็น โดยอ้างว่ากาลิเลโอเล่นมายากลให้ดู จากการทดลอ
ดังกล่าวกาลิเลโอมีศัตรูเพิ่มขึ้นมากมาย คนที่ยังเชื่อและศรัทธาอริสโตเติลนั้นต่างก็เห็นว่ากาลิเลโอตั้งใจลบหลู่และจาบจ้วงอริสโตเติล โดยพยายามล้มล้างคำสอนของปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ เขาถูกต่อต้านจากเหล่าคณาจราย์ กระทั่งลาออกจากตำแหน่างอาจารย์ในที่ถสุด
      กาลิเลโอ ได้งานใหม่เป็นอาจารญืสอนที่มหาวิทยาลัยปาดัว แค้วนเวนิซ ที่เดียวกับที่ โคเปอร์นิคัส เคยสอน และกวีดังเตเคยเรียน เขาได้รับเงินมากกว่าที่เดิมถึง 3 เท่า และจะต้องสอนวิชา เราขาคณิต กลศาสตร์ และดาราศาสตร์ ถึงอย่างไรกาลิเลโอก็ทำการสอนพิเศษเพื่อให้เพียงพอแก่สมาชิกทุกคนในครอบ บิดาของกาลิเลโอถึงแก่กรรมเมื่อครั้งกาลิเลโอ ลาออกจามหาปิซาไม่นานเขาจึงเป็ผู้ดูแลครอบครัวต่อจากบิดา เขาอยู่กินอย่างไม่เป็นทางการกัย มารีนา แกมบ้า ครอบครัวเจ้าสาวไม่มีเงินมากพอให้กาลิเลโอ ลูกสาวนอกสมรสทั้งสองของกาลิเลโอ ไม่สามารถแต่งงานได้ กาลิเลโอจึงจัดให้บวชชีตั้งแต่อายุ 13 ปี คนหนึ่งเสียชีวิตเนื่องจาสถขภาพไม่แข็งแรงหลังจากบวชชีได้ไม่นาน433px-Galileo_moon_phases
    ขณะใช้ชีวิตเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลับปาดัว กาลิเลโอรับงานออกแบบอุปกรณ์เพื่อนำออกขายหลายอย่าง เช่นเข็มทิศสำหรับทหารปืนใหญ่ และอื่นๆ เวลาว่างก็วิเคราะห์ตำราวิทยาศาสตร์ของอาร์คิมีดีส และอริสโตเติล และเรียบเรียงเป็นตำราชือ De motu
     ในปี ค.ศ. 1608 กาลิเลโอเริ่มสนใจดาราศาสตร์เมือได้อ่านหนังสือ De Revolutionibus Orbium Coelestium ของโคเปอร์นิคัส ซึ่งถูกห้ามเผยแพร่ ห้ามอ่าน ห้ามเล่า ห้ามใช้สอน และห้ามใช้เรียนอย่างเด็ดขาด เพราะสถาบันศาสนาแห่งวาติกันมีความเห็ฯวาเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ขัดแย้งและโจมตีคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลอันศักดิ์สิทธิ์ สำนักวาติกันประกาศ คนที่คิดและเชื่อตามโคเปอร์นิคัสเป็นนอกรีต สมควรถูกลงโทษ เช่นกรณี จีออร์ดาโน บรูโนGalileo Galilei นักบวชผู้นำความคิดของโคเปอร์นิคันออาเผยแพร่โดยได้เทศนาชัดนำให้ประชาชนเชื่อว่า ถ้าโลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ ดังนั้ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในเอกภพก็น่าจะมีมนุษย์อาศัยอยู่เช่นกัน และถ้ามนุษย์ต่างดาวมีจริง มนุษย์โลกก็มิไดยิ่งใหญ่หรือสำคัญแต่เพียงผู้เดียว การชี้นำเช่นนี้เป็นการลบหลู่คำสอนในไบเบิล ศาลศาสนาจึงพิพากษาให้เผาบรูโนทั้งเป็นที่จตุรัส  Campo de’Fiori ในกรุงโรม
    กาลิเลโอนำกล้องส่องทางใกล้มีใช้อยุ่ในยุคสมัยนั้นมาดัดแปลงและส่องไปสำรวจดวงจันทร์ กาลิเลโอเห็นภาพผิวที่เป็นรอยกระดำกระด่างของดวงจันทร์ที่คนสมัยนั้นเชื่อว่าเป็นเมฆบดบัง แต่กาลิเลโอได้พบว่าแท้จริงแล้วคือภูเขาและหลุมมากมาย ซึ่งต่างจากที่กล่าวไว้ในไบเบิล! 
   หลังจากนั้นกาลิเลโอก็สำรวจเห็นดาวบริวาณของดาวพฤหัสทั้ง 4 ดวงซึ่งไม่มีกล่าวไว้ในตำราดาราศาสตร์ของอริสโตเติล และดาวบริวารหรือดวงจันทร์ของดางพฤหัสนั้นก็โคจรรอบดาวพฤหัส หาได้โคจรรอบโลกดังคำสอนของปโตเลมีไม่
     ในครั้งแรกไม่มีใครเชื่อในสิ่งที่ กาลิเลโอ พบเห็นกระทั่งได้รับการยืนยันจาก คริสโ ตเฟอร์  คลาเวียส ว่าดวงจันทร์ที่เห็นคือเรื่องจริง กาลิเลโอจึงได้รับการต้อนรับเยี่ยงวีรบุรุษ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้กาลิเลโอ มีชื่อเสียง กาลิเลโอรู้สึกอยางกลับไปทำงานที่มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ เพราะมีบรรยากาศทางวิชาการดีกว่า และจะได้อยู่ใกล้ลูกด้วย ดังนั้น จึงลาออกจากตำแหน่งศาสตราจารย์คณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ตามคำสั่งของท่านดยุคแห่งทัสคานี ซึ่งได้มอบบ้านพักที่  Le Selve แก่กาลิเลโอ เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการถกเถียงวิชาการ

      กาลิเลโอและคริสต์จักร
      กาลิเลโอยังทำการสังเกตทางดาราศาสตร์ต่อไป โดยสำรวจทางช้างเผือก และพบดาวศุกร์แสดงข้างขึ้นและข้างแรมอันเป็นหลักฐานสำคัญว่า ดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์มิใช่โคจรรอบโลก กาลิGalileo-3 (1) เลโอจึงเชื่ออย่างมั่นใจว่า เอกภพของโคเปอร์นิคัศถูกต้อง ส่วนเอกภพของปโตเรมีนั้นผิด และถ้าโลกเคลื่อนที่ได้จริง กาลิเลโอจะต้องหาหลักฐานมายืนยัน และเขาคิดว่า เหตุการณ์น้ำขึ้นน้ำลงและคลื่นในทะเลคือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงว่าโลกหมุน เมื่อได้หลักฐานและคำอธิบายค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว กาลิเลโอวัย 52 ปี จึงตัดสินใจเดินทางไปโรมในฐานะทูตวิทยาศาสตร์ของท่านดยุคแห่งแคว้นทัสคานี เพื่อเข้าเฝ้าสันตะปาปา พอลที่ 5 แต่ทุกสิ่งไม่เป็นไปดังหวัง กาลิเลโอจึงเดินทางกลับฟลอเรนซ์และทำงานต่ออย่างระมัดระวังเนื่องจากมีศัตรูผุ้มีอิทธิพลอยู่มากมาย
      ความกังวลมีมากขึ้น เพราะกลัวภัยศาสนา กาลิเลโอจึงได้เขียนจดหมายถึง มารดาของท่านดยุคผู้อุปถัมภ์กาลิเลโอ โดยได้อธิบายให้นางเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสนา ประกอบกับช่วงเวลานั้นด้วยวัย 52 ปี กาลิเลโอล้มป่วยด้วยโรคไขข้ออักเสบ เมื่อเดินทางกลับจากโรมจึงฉวยโอกาสไปพักฝ่านที่วิลล่า ของ ฟิลิโป ซาลเวียติ เพื่อสนิทที่มีฐานะดีเป็นการชั่วคราว ก่อนจะย้ายไปที่วิลล่า เบลโลสควอโด้ ความกังวลทำให้ผลงานของเขาลดลง แต่เขาก็ยังคงหาวิธีปรับปรุงประสิทธิภาพของกล้องดทรทรรศน์และศึกษาอุปราคา ของดวงจันทร์ของดาวพฤหัส26010315
   กาลิเลโอเขียนหนังสือ เรื่อง Il Saggiatore(The Assayer)ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีหาความรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการสังเกต การตั้งสมมุติฐาน การทดลองเชิงปริมาณ เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวดับธรรมชาติ และอุทิศหนังสือเล่มนี้แก่สันตะปาปา Urban VIII และเมื่อสันตะปาปา Unban VIII ทรงดำรงตำแหน่งไม่ถึงปี พระองค์มีบัญชาให้กาลิเลโอเข้าเผ้าที่โรม และได้ตรัสชื่นชมผลงาน  The Assasyer
     กาลิเลโอจึงทูลว่าจะเขียนหนังสือเรืองการเปรียบเทียบเอกภพของปโตเลมีกับโคเปอร์ นิคัส และสันตะปาปาก็ได้เสนอแนะให้กาลิเลโอเขียนอย่างเป็นกลาง คือไม่ตำหนิไบเบิล เพื่อจะได้ช่วยปกป้องไม่ให้ถูกประณาม และต้องไม่สนับสนุนโคเปอร์นิคัสอย่างออกหน้าออกตา เพราะกลิเลโอไม่มีหลักฐานสนับสนุนอย่างสมบูรณ์
     Dialogo sopra i due massimi sistemi del mondo(Dialogue Concerning the Two Chief Worlf Systems) ก็ปรากฎ ข้อเขียนนี้มีตัวละคร สามคน คนแรกคือ “คนโง่”ผุ้ศรัทธาในคำสอนของอริสโตเติล คนที่ 2 คือ ผู้ที่เชื่อในโคเปอร์นิคัส และคนที่ 3 คือ ผู้ตั้งคำถามต่างและมีใจเปิดกว้าง
    ผลสรุปของหนังสือเล่มนี้ กาลิเลโอ ถูกศาลศาสนากังขังบริเวณ


    กาลิเลโอถูกกักบริเวณ250px-Galileo.arp.300pix
      การถูกกักบริเวฯหมายึวามว่า เวลากาลิเลโอจะไปที่ใดต้องขออนุญาตสันตะปาปาก่อน ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้รับอนุญาต แต่ถึงสถานการณ์จะลำบากยากเย็นปานใด กาลิเลโอก็ยังคงทำงานวิทยาศาสตร์ต่อไปอย่างเงียบๆ
  เขาเรียบเรียงหนังสือชื่อ Discourse on new sciences เป็นการรวบรวมปรัชญาของวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะกลศาสตร์ที่เขาได้เคยทดลองเมือ 40 ปีก่อน
  galileo_harrsch_preview ต่อมาอีก 1 ปีเขียนเรื่อง การเคลื่อนที่ที่ไม่ปรกติของดวงจันทร์ และเป็นผลงานดารศาสตร์ชิ้นสุดท้ายของกาลิเลโอ ในขณะนั้นตาทั้งสองข้างของเขาเร้มเป็นต้อหิน
  เมื่อตาใกล้บอดสนิท กวีชาวอังกฤษผู้เห็นอกเห็นใจต่อกาลิเลโอเดินทางมาเยี่ยมและกล่าววา “อิสรภาพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแสวงหาความรู้ และการบีบบังคับคือการทำลายความรู้”
   ปี 1638 กาลิเลโอทดลองวัดความเร็วแสงโดยให้คนทั้งสองยืนถือตะเกียงในระยะห่างกัน กาลิเลโอตระหนักว่าถ้าให้ครแรกเปิดตะเกียง แล้วให้อีกคนจับเวลาทันที่ที่เห็นแสงจากตะเกียงดวงแรก การรู้ระยะทางและเวลาจะทำให้รู้ความเร็วแสง และกาลิเลโอก็พบว่าเขาวัดเวลาในการเห็นตะเกียงไม่ได้
  ในส่วนของคณิตศาสตร์ กาลิเลโอเชื่อมั่นว่า “เอกภพถูกเขียนด้วยภาษคณิตศาสตร์”
หลังจากที่บุตรสาวของกาลิเลโอเสียชีวิตได้ไม่นาน สุขภาพของกาลิเลโอเริ่มทรุดลงอยางรวดเร็ว ในที่สุดตาทั้งสองข้างก็บอดสนิท และเสียชีวิตในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 ขณะที่อายุ 78 ปี
      ดยุคแห่งทัสคานี ต้องการฝังศพของกาลิเลโอในโบสถ์ที่ แซนต้า ครอซ และตั้งใจจะให้มีรูปปั้นหินอ่อนบนโลงศพเพื่อเป็นเกียรติแก่กาลิเลโอ แต่ก็ต้องเปลี่ยนความตั้งใจเพราะสันตะปาปา Urban V III ทรงประท้วง ในที่สุดศพของกาลิเลโอก็ถูกฝั่งทใกล้ๆ กับศพของลูกสาว ที่ ซานต้า ครอซ โดยไม่มีพิธีสวด กระทั่งปี 1737 จึงมีอนุสาวรีย์ประดับหลุทศพ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)