English Civil War


       ความไม่พอใจที่รัฐสภาบางส่วนยังคงสนับสนุนพรเจ้าชาร์ลส์ทำให้กองทหารกลุ่มหนึ่งที่นำโดยทอมัส ไพรด์ บุกเข้ายึดรัฐสภา รัฐสภาที่เหลือเรียกว่ารัฐสภารัมพ์ได้รับคำสั่งให้ก่อตั้ง “ศาลยุติธรรมสูงสุดในการพิจารณาคดีพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1” ในข้อหากบฏต่อแผ่นดินการกระทำครั้งนี้เป็นที่รู้จักกันว่า “การยึดรัฐสภาของไพรด์”

   เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ,สกอตแลนด์และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่อกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภาและฝ่ายกษัตริย์นิยมตั้งแต่ปี ค.ศ.1642-1651
     - ครั้งที่ 1 เกิระว่างปี ค.ศ. 1642-1646 Riot_against_Anglican_prayer_book_1637
     - ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ.1648-1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพรเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 และผู้สนับสนุน รัฐสภายาว(รัฐสภาแห่งอังกฤษสมัยหนึ่ง เป็นสมัยประชุมที่ได้รับอนุมัติจากพระราชบัญญัติพิเศษเพื่อเป็นการป้องกันการยุบโดยมิได้รับมติเห็นชอบจากสมาชิกของรัฐสภาเอง )
     - ครั้งที่ 3 ระหว่างปี ค.ศ.1649-1651เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์( รัฐสภาซึ่งเกิดจากการยึดรัฐสภายาว เป็นรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มีเสียงข้างมากในการเป็นปฏิปักษ์ต่อการพิจารณาโทษของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ในข้อหากบฎต่อแผ่นดิน ซึ่งหมายถึง รัฐสภาที่หลงเหลือจากรัฐสภาพที่ถูกต้องตามกฎหมาย)
 
   สงครามกลางเมืองอังกฤษเริ่มขึ้นหลังการสวรรคตของพระราชินีอลิซาเบธที่  1 สี่ปี เมื่อเพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ขึ้นครองราชย์ อังกฤษและสกอตแลนด์อยู่ในความสงบพระเจ้าชาร์ลส์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะรวม ราชอาณาจักรอังกฤษ,ราชอาณาจักรสกอตแลนด์และราชอาณาจักรไอร์แลนด์เข้าเป็นราชอาณาจักรเดียกัน แต่ฝ่ายรัฐบาลมีความเคลือบแคลงใจในพระราชประสงค์นี้ว่า เพราะการก่อตั้งราชอาณาจักรใหม่อาจจะเป็นการทำลายวัฒนธรรมและประเพณีโบราณของอังกฤษที่เคยปฏิบัติมา ประกอบกับ พระองค์ทรงเชื่อว่า เป็นผู้ที่ได้รับเลือกจากพระเจ้าให้ปกครองอาณาจักรภายใต้กฎ “เทวสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์”ปรัชญาของพระองค์ยิ่งทำให้รัฐสภาเพิ่มความหวั่นระแวงต่อนโยบายของพระองค์ยิ่งขึ้น ความขัดแย้งและความเคลื่อบแคลงต่าง ๆที่เกิดขึ้นระหว่างพระเจ้าชาร์ลและรัฐสภาแห่งอังกฤษเป็นผลที่ทำให้ความสัมพันธ์แตกหักลงและนำไปสู่สงครามกลางเมืองในที่สุด
     ยุคสมัยนั้นรัฐสภาแห่งอังกฤษเป็นเพียงคณะผู้ถวายคำแนะนำและเป็นเพียงเครื่องมือของพระมหากษัตริย์เท่านั้น กษัตริย์จะมีสิทธิ์เรียกประชุมหรือยุบรัฐสภาเมื่อใดก็ได้ตามพระราชประสงค์
     แต่เหตุการณ์ที่ทำให้รัฐสภาเป็นกังวลคือการเสกสมรสระหว่งพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียแห่งบูร์บอง ผู้เป็นเจ้าหญิง “โรมันคาทอลิก”จากฝรั่งเศส ผู้ได้รับการเลี้ยงดูอย่างคาทอลิก ซึ่งทำให้เป็นที่หวันกลัวต่อชาวอังกฤษโปรเตสแตนต์
      และเจ้าชายชาร์ลยังมีประสงค์ที่จะเข้าร่วมในสงครามความยุ่งเหยิงของสงครามสามสิบปี …
    … การเข้าร่วมสงครามต้องใช้ทุนทรัพย์มหาศาล หนทางเดียวที่จะหาทุนทรัพย์คือการจัดเก็บภาษี รัฐสภาจำกัดให้ทรงเก็บภาษีได้เพียงปีเดียว ถ้าจะเก็บในปีต่อไปพระเงค์ก็ต้องต่อรองขออนุมัติจากรัฐสภาเป็นปีๆ ไป ซึงทำให้พระองค์ทรงมีปัญหาทางการเงิน แต่ก็ไม่ทำให้พระองค์หยุดยั้งการเข้าเกี่ยวข้องในสงคราม โดยการส่งกองทัพเข้าช่วย อูเกอโนท์ ที่ถูกล้อมใน ลาดรแชลล์โดยมีดยุคแห่งบัคคิงแฮมที่ 1 เป็นแม่ทัพ แตก็ล้มเหลว
     ในการดำเนินการทางการศาสนาของพระองค์ทรงทำให้การสนับสนุนนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ให้ไกลจากลัทธิคาลวินิสม์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยอัครบาทหลวง วิลเลียม ล็อด ที่ปรึกษาทางการเมืองส่วนพระองค์ และทรงแต่งตั้งเป็น อาร์ชบิชอปแห่งแคนเตอร์บรี และบาทหลวง ล็อดพยายามทำให้สถาบันศาสนาเป็นอันหนึ่งอันเดียกันโดยการปลดนักบวชที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนโยบายและองค์การต่าง ๆ ของกลุ่มเพียวริตัน ซึ่งเป็นการต่อต้านการปฏิรูปศาสนาของประชาชนทั้งในอังกฤษและสกอตแลนด์ พระเจ้าชาร์ลทรงพยายามนำนโยบายทางศาสนาที่บังคับใช้ในอังกฤษไปในสกอตแลนด์  แต่ทางสกอตแลนด์ประท้วงอย่างรุนแรงจนเกิดจลาจล กระทั่งเป็นที่มาของ  “สงครามบาทหลวง” การสู้รบไม่ทราบว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายที่ชนะอย่างเป็นที่แน่นอน ในที่สุดพระองค์ก็ยอมรับข้อเสนอยิตุการศึกจากฝ่ายสกอตแลนด์ แต่ก็เพียงชั่วคราวเมื่อสงครามบาทหลวงครั้งที่สองเร้มขึ้น ครั้งนี้ฝ่ายสกอตแลนด์ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด พระเจ้าชาร์ลทรงยอมตกลงที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการศาสนาในสกอตแลนด์และยังต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครมให้แก่ฝ่ายสกอตแลนด์ด้วย
       สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1
พระเจ้าชาร์ลพยายามจะจับกุมสามชิกห้าคนในสภาสามัญฐแต่ไม่สำเร็จ จึงเสด็จหนีจากลอนดอนมีการตต่อลองกับรัฐสภายาวเพื่อหาทางประนีประนอมแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
    นักประวัติศาสตร์ประมาณว่าทั้งสองฝ่ายมีกองำลังรวมกันเพียง ไม่เกิน 15,000 คนแต่เมืองสงครมขยายตัว ความกระทบกระเทือนก็มีผลต่สังคมทุกระดับ ชุมชนบางชุมชนพยายามรักษาตัวเป็นกลาง และป้องกันชุมชนจกากองทหารของทั้งสองฝ่าย
     พระเจ้าชาร์ลเสด็จต่อไปยังน็อตติงแฮมและทรงยกธงประกาศสงครามกับฝ่ายรัฐสภา
ยุทธการเพาะวิคบริดจ์  เป็นยุทธการในสงครามกลางเมือง ที่เมืองวูสเตอร์ในมณฑลวูสเตอร์เชอร์ ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ และฝ่ายสัฐสภา ผลของสงครามครังนี้ ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ความเสียหายของฝ่ายนิยมกษัตริย์มีผู้เสียชีวิตที่เป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย ส่วนฝ่ายรัฐสภามีผู้เสียชีวิต 40 คนและบาเจ็บอีก 100 คน
สงครามอย่างเป็นทางการเริ่มสู้กันครั้งแรกในยุทธการเอ็ดจฮิลล์ การต่อสู้ในยุทธการครั้งนี้ทั่งสองฝ่ายต่างก็อ้างตนเป็นฝ่ายชนะ  การปะทะกันครั้งที่ 2 เกิดขึ้นที่ยุทธการเทอแนมกรีนพระเจ้าชาร์ลทรงถูกบังคับให้ให้ถอยไปยังเมืองอ็อกฟอร์ด ซึ่งกลายเป็นที่ตั้งมั่นของพระองค์จนสงครามยุติลง
ในช่วงครึ่งแรกของสงครามทางฝ่ายนิยมกษัตริย์เป็นฝ่ายได้เปรียบ จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1643 เมื่อกองทัพของเอิร์ลแห่งเอสเซ็กซ์ได้รับชัยชนะในยุทธการนิวบรีครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1643 เมื่อกองทัพของเอิร์ลแห่งเอสเซ็กซ์ได้รับชัยชนะในยุทธการนิวบรีครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1643 เมื่อกองทัพของเอิร์ลแห่งเอสเซ็กซ์ได้รับชัยชนะในยุทธการนิวบรีครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1643 ที่ทำให้สามารถกลับเช้ากรุงลอนดอนได้ นอกจากนั้นทางฝ่ายรัฐสภาก็ยังได้รับชัยชนะในยุทธการวินซบีย์ทำให้มีอำนาจในการควบคุมลิงคอล์น นการพยายามเพิ่มจะนวนทหารในการต่อสู้กับฝ่ายรัฐสภาพระเจ้าชาร์ลก็ทรงหันไปต่อรองตกายุติสงครามในไอร์แลนด์เพื่อจะได้นำกำลังทหารกลับมาต่อสู้ในอังกฤษ ขณะที่ทางฝ่ายรัฐสภาไปหาทางตกลงกับสกอตแลนด์ในการขอความช่วยเหลือ เมื่อได้รับความช่วยเหลือ ทางฝ่ายรัฐสภาก็ได้รับชัยชนะในยุทธการมารสตันมัวร์ ซึ่งทำให้มีอำนาจควบคุมในลริเวณยอร์คและทางเหนือของอังกฤษ การเป็นผู้นำในการสู้รบของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ในยุทธการต่าง ๆ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงควารมสามารถของการเป็นทั้งผู้นำทั้งในทางการทหารและทางการเมือง
     ทางฝ่ายสนับสนุนพระเจ้าชาร์ลมีความเชื่อว่าจุดประสงค์ในการต่อสู้เพื่อเป็นการอนุรักษ์สภาบันรัฐบาลในสถาบันศาสนาและราชอาณาจักรตามที่เคยเป็นมา ส่วนฝ่ายรัฐสภาก็เชื่อว่าการจับอาวุธขึ้นก็เพื่อเป็นการทำให้เกิดความสมดุลของรัฐบาลในสถาบันศาสนาและราชอาณาจักรที่เกิดจากการใช้อำนาจในทางที่ผิดของพระเจ้าชาร์ลและผู้เกี่ยวข้องในระหวางสิลเอ็ดปีของสมัยการปกครองส่วนพระองค์ทัศนคติของสมาชิกรับสภามีตั้งแต่ผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลอย่างเต็มที่ไปจนถึงมีความคิดเห็นรุนแรงที่ต้องการปฏิรูปเพื่อเสรีภาพทางศาสนา และผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการกระจายอำนาจทางการเมืองระดับชาติ
          สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2
การก่อความไม่สงบโดยฝ่ายกษัตริย์นิยมเริ่มเกิดขึ้นโดยทั่วไปอีกครั้งในอังกฤษและการรุกรานโดยสกอตแลนด์ก็เริ่มขึ้นในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1648 กองกำลังของฝ่ายรัฐสภา สามารถกำหราบความไม่สงบเล็กๆ น้อย ๆ ในอังกฤษได้เกือบทั้งหมดแต่ความไม่สงบในเค้นท์ เอสเซ็กซื คัมเบอร์แลนด์ การปฏิวัติในเวลส์ และการรุกรานของสกอตแลนด์เป็นการต่อสู้แบบประจันหน้าและเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อกว่า
    หลังสงครามกลางเมืองครั้งที่ 1 ฝ่ายกษัตริย์นิยมที่ร่วมในสงครามเกือบทั้งหมดได้รับการอภัยโทษโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามถืออาวุธในการต่อต้านฝ่ายรัฐสภาหลังจากนั้น ผู้มีศักดิ์ศรีฝ่ายกษัตริย์นิยมเช่นเจคอป แอสต์ลีย์ บารอนแอสลีย์แห่งเรดดิงที่ 1 ไม่ยอมเสียคำพูดโดยการไม่ร่วมในสงครามกลางเมืองครั้งที่ 2 ฉะนั้นฝ่ายรัฐสภาผู้ได้รับชัยชนะในสงครามครั้งที่ 2 จึงมิได้แสดงความปราณีต่อผู้ลุกขึ้นจับอาวุธเป็นครั้งที่สอง ค่ำวันที่โคลเชสเตอร์ยอมแพ้ฝ่ายรัฐสภาก็ประหารชีวิตเซอร์ชาร์ลส์ ลูคัสและเซอร์จอร์จ ลิสเซิล ผู้มีอำนาจฝ่ายรัฐสภาตัดสินลงโทษผฝุ้เนการต่อสู้ในเวลส์ที่รวมทั้งนายพล โรว์แลนดื ลาฟาร์น นายพันจอห์น พอยเยอร์ และนายพันไรซ์ เพาเวล โดยการประหารชีวิต แต่อันที่จริงแล้วก็สังหารพอยเยอร์เพีงคนเดียว โดยการเลือกจาบรรดาผู้น้ำที่เป็นขุนนางคนสำคัญ ๆ ซึ่งจับได้สามคนจากทั้งหมด ห้าคน และอาร์เธอร์ เคเพลล์ บารอนคาเพลล์แห่งฉฮดฉฮมที่ 1 ถูกประหารชีวิตโดยการตัดหัวที่เวสต์มินสเตอร์
      การทรยศของพระเจ้าชาร์ลส์ในการก่อสงครามกลางเมืองสองครั้งทำให้ฝ่ายรัฐสภาต้องโต้แย้งกันว่าเป็นการสมควรหรือไม่ที่จให้พระองค์ทรงปกครองประเทศต่อไป ผู้ที่ยังคงสนับสนุนพระองค์ก็ยังคงพยายามเจรจาต่อรองกับพระองค์
       เมื่อการพิจารณาคดีสิ้นสุดลงก็มีคณะกรรมการผู้พิพากษา 59 คนก็ตัดสินวาพระเจ้าชาร์ลส์ทรงมีความผิดในข้อหากบฎต่อแผ่นดินเพราะทงเป็นผู้ “กดขี่ ทรยศ ฆาตกรรม และเป็นศัตรูต่อประชาชน การปลงพระชนม์ด้วยการตัดพระเศียรเกิดขึ้นหน้าตึกเลี้ยงรับรองของพระราชวังไวท์ฮอล์   หลังการฟื้นฟูราชวงศ์ ในปี ค.ศ. 1660 พระเจ้าชาร์ลที่ 2 ก็ทรงประหารชีวิต คณะกรรมการผู้พิพาษาบางคนที่ยังมีชีวิตอยู่และทียังไม่มีโอกาศหลบหนีไปต่างประเทศ หรือไม่ก็จำคุกตลอดชีพ
     สงครามกลางเมืองครั้งที่ 3
            ไอร์แลนด์
ไอร์แลนด์มีสงครามติดต่อกันมาตั้งแต่การปฏิวัติไอร์แลนด์ โดยมีสหพันธ์ไอร์แลนด์ เป็นผู้มีอำนาจควบคุมไอร์แลนด์เกือบทั้งหมด แต่อำนาจของกองทัพฝ่ายรัฐสภาของอังกฤษก็เพิ่มมากขึ้นทุกวันหลังจากที่พระเจ้าชาร์ลทรงถูกจับได้ แล้วฝ่ายสหพันธ์ก็ลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรกับฝ่ายกษัตริย์นิยมอังกฤษ กองกำลังร่วมระหว่างฝ่ายกษัตริย์นิยมอังกฤษและฝ่ายสหพันธ์ไอร์แลนด์ภายใต้การนำของเจมส์การนำของเจมส์ บัตเลอร์ ดยุคแห่งออร์มอนด์ที่ 1 พยายามที่จะกำจัดกองทัพฝ่ายรัฐสภาพของอังกฤษที่ยึดดับลินอยู่ แต่ฝ่ายรัฐสภาก็ดึงการต่อสู้ไปที่ยุทธการรัธไมน์ส อดีตสมาชิกรัฐสภานายพลโรเบิร์ต เบลค หยุดยั้งกองทัพเรือของเจ้าชายรูเปิร์ตที่ดินสเซล แต่โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ขึ้นฝั่งได้ที่ดับลิน พร้อมกับกองทัพท่นำมาปราบฝ่ายพันธมิตรของกษัตริย์นิยมอังกฤษและสหพันธ์ไอร์แลนด์
      การกำหราบฝ่ายกษัตริย์นิยมในไอร์แลนด์ของครอมเวลล์ในไอร์แลนด์ มีผลกระทบต่อชาวไอร์แลนด์เป็นเป็นระยะเวลานาน หลังจากได้รับชัยชนะ การล้อมเมืองโดรเกดา แล้วทางฝ่ายรัฐสภารัฐสภาก็จัดการสังหารหมู่ของผุ้คนร่วมสามพันกว่าคน ในจำนวนนั้นสองพันเจ็ดร้อยคนเป็นทหารฝ่ายกษัตริย์นิยม แต่อีก 700 คนไม่ใช่ทหารแต่รวมทั้งประชาชน นักโทษและนักบวชโรมันคาทอลิก
        ความทารุณจากเหตุการ์ครั้งนี้กลายมาเป็นสาเหตุหนึ่งของความบาดหมางระหว่างชาวไอร์แลนด์ที่มีต่อชาวอังกฤษ และระฟว่างผุ้เป็นโรมันคาทอลิกต่อผู้เป็นโปรเตสแตนต์เป็นเวลาร่วมสามร้อยปีต่อมา การสังหารหมู่เป็นการกระทำที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของภาพพจน์ที่ชาวไอร์แลนด์มีต่อความทารุณของครอมเวลล์ แม้ว่าชาวไอร์แลนด์จะยังมาเสียชีวิตอีกเป็นจำนวนมากมายกว่าที่เกิดขึ้นที่โดรเกดา และเว็กซ์ฟอร์ดในสงครามกองโจร ทีเกิดขึ้นต่อมาหลังจากนั้น แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายรัฐสภาก็มิได้รับชัยชนะต่อไอร์แลนด์ กระทั่งอีกสี่ปีต่อมา เมื่อกองทัพฝ่าย สหพันธ์ไอร์แลนด์และฝ่ายกษัตริย์นิยมยอมแพ้
       นักประวัติศาสตร์ประมาณกันว่าในบั้นปลายของสงครามไอร์แลนด์สูญเสียประชากรไปราว สามสิบเปอร์เซ็น ซึ่งไม่ก็จากสงครามหรือจากการหนีไปต่างประเทศ ผู้ที่ได้รับชัยชนะก็ยึดที่ดินที่เป็นของโรมันคาทอลิกแต่เดิมเกือบทั้งหมดและแจกจ่ายให้แก่เจ้าหนี้รัฐสภา ทหารฝ่ายรัฐสภาที่ไปรบที่ไอร์แลนด์ และแก่ชาวอังกฤษที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในไอร์แลนด์ก่อนสงคราม
            สก็อตแลนด์
       การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เป็นการเปลี่ยนแนวทางของสงครามสามอาณาจักร ซึ่งเป็นสงครามของความขัแย้งระหว่าง่ายกษัตริย์นิยม และกลุ่มพันธสัญญา ความขัดแย้งก็ทำให้ฝ่ายกษัตริย์นิยมอยู่ในสภาวะที่ปั่นป่วนส่วนเจมส์ แกรม มาร์ควิสแห่งมอนท์โรสที่ 2 ผุ้นำก็หนีไปต่างประเทศเมื่องเริ่มแรกพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงหนุนให้มาร์ควิสแห่งมอนท์โรสรวบรวมกองทัพในสกอตแลนด์ในมาร่วมกับฝ่ายกษัตริย์นิยม แต่กลุ่มพันธสัญญา และความมีอิสระของสกอตแลนด์ภายใต้เครือจักภพแห่งอังกฤษ ก็ถวายราชบัลลังก์สกอตแลนด์ภายใต้เครือจักรภพแห่งอังกฤษ ก็ถวายราชบัลลังก์สกอตแลนด์ให้แก่พระเจ้าชาร์ลที่ 2 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงทิ้งมาร์คควิสไว้กับศัตรู แต่มาร์ควิสแห่งมอนท์โรสผู้ไปรวบรวมกองทหารมาจากนอร์เวย์มาขึ้นฝั่งได้และไม่สามารถยุติการต่อสู้ได้ ในที่สุดฝ่ายพันธสัญญาก็ได้รับชัยชนะต่อมอนท์โรสที่ยุทธการคาร์บิสเดล ในรอสไชร์มอนท์โรสถูกฝ่ายพันธสัญญาจับได้หลังจากนั้นไม่นานนักและถูกแขวนคอในวันต่อมา
     พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงขึ้นฝั่งสกอตแลนด์ที่การ์มัธในมลฑลมอเรย์เชอร์และทรงลงนามในพันธสัญญาแห่งชาติ และข้อตกลงระหวางฝ่ายรัฐสภากับกลุ่มพันธสัญญา ทั้นที่หลังจากที่ทรงขึ้นฝั่ง ด้วยความสนับสนุนของฝ่ายกษัตริย์นิยมของสกอตแลนด์เดิมและกองทัพของกลุ่มพันธสัญญาใหม่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ก็กลายเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณรัฐอังกฤษ ในการตอบโต้ต่อความมั่นคงของสาธารณรัฐ ครอมเวลล์ก็ทิ้งนายทหารบางคนไว้ที่ไอร์แลนด์เพื่อปราบปรมความไม่สงบที่นั่นต่อไปและตนเองเดินทางกลับอังกฤษ
   ในเดือนกรกฎา 1651 กองทัพของครอมเวลล์ข้ามปากน้ำเฟิร์ธออฟฟอร์ธไปยังเมืองไฟฟ์และได้รับชัยชนะต่อฝ่ายสกอตแลนด์ในยุทธการอินเวอต์คีทธิง กองทัพตัวอย่างเดินทัพล่วงหน้าไปยังเพิร์ธ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้พระเจ้าชาร์ลนำกองทัพสกอตแลนด์เดินทัพลงใต้ไปยังอังกฤษ ครองเวลล์จึงเดินทัพตามกองทัพสกอตแลนด์โดยท้ง จอร์จ มองค์ ดยุคแห่งอาลเบยัดสเตอร์ลิง เป็นการกำหราบการต่อต้านที่กระเส็นกระสายของฝ่ายต่อต้านเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น จากนั้นภายใต้ “ข้อเสนอสหภาพ” ก็เป็นตกลงกันว่าสกอตแลนด์มีสิทธิที่จะมี่นั่งรัฐสภาในลอนดอนร่วม 30 ที่นั่งโดยมีนายพลองค์เป็นข้าหลวงแห่งสกอตแลนด์

           อังกฤษ
     แม้ว่ากองทัพตัวอย่างของครอมเวลล์จะได้รับชัยชนะต่อกองทัพสกอตแลนด์ที่ดันบาร์แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งพรเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ในการเดินทัพทางไปทางตะวันตกไปในบริเวณที่ผู้สนับสนุนฝ่ายกษัตริย์นิยมหนาแน่นแต่แม้วาจะมีผู้มาสมทบแต่ก็เป็นจำนวนน้อยกว่าที่พระเจ้าชาร์ลส์และกองทัพสกอตแลนด์ของพระองค์คาดหวังไว้ ในที่สุดกองทัพฝ่ายกษัตริย์และฝ่ายรัฐสภาก็เข้าประจันหน้ากันโดยครอมเวลฃ์เป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะที่วูสเตอร์พระเจ้าชาร์ลจึงจำต้องเสด็จหนีและในที่สุดก็ข้ามไปฝรั่งเศสซึ่งเป็ฯการทำให้สงครามกลางเมืองอังกฤษยุติลง
 
      สงครามทำให้อังกฤษ สอกตแลนด์และไอร์แลนด์กลายเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในยุโรปในขณะนั้นที่ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข หลังจากการปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลที่ 1 รัฐบาลสาธารณรัฐของเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ปกครองอังกฤษ รัฐสภามีการแบ่งตัวเป็นฝักฝ่ายและมีความขัดแย้งภายใน ในที่สุด โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ขึ้นปกครองรัฐผู้พิทักษ์(ซึ่งเท่ากับเป็นระบอบเผด็จการ) บ้านเมืองกำลังจะกลายเป็นอนาธิปไตย  นายพลจอร์จ มองค์ ผุ้เป็นข้อหลวงของสกอตแลนด์ภายใต้ครอมเวลล์พร้อมด้วยกองทัพสกอตแลนด์ก็ยกทัพมาจากสกอตแลนด์เพื่อปูทางในการฟื้นฟูราชวงศ์
     4 เมษา 1660 ตามพระราชประกาศเบรดาพรเจ้าชาร์ลที่ 2 ทรงวางเงื่อนไขต่าง ๆ ในการยอมรบกลัลมาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอังกฤษ จึงเกิดเหตุการณ์อันเป็นที่รู้จักกันดีว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ”
     สงครามกลางเมืองมีผลในการวางพื้นฐานในระบบการปกครองอังกฤษและสกอตแลนด์เป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นรากฐานของการก่อตั้งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
        หลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์ฝักฝ่ายของรัฐสภาก็กลายเป็นพรรคการเมือง ที่ต่อมากลายเป็นพรรคทอรี และพรรควิก ที่มีปรัชญาการปกครองที่แตกต่างกันในการมีอิทธิพลต่อการตัดสินพระทัยของพระมหากษัตริย์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)