Humanism

     มนุษย์นิยม หมายถึง ประเภทกว้าง ๆ ของปรัชญาเชิงจริยศาสตร์ที่ยืนยันถึงความสง่างามและคุณค่าของมนุษย์ทุกคน โดยอาศัยกลักความสามารถของบุคคลนั้นในการบ่งชี้ได้ด้วยตนเองว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด โดยได้การยอมรับโดยมนุษย์ทั่งไปที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะคุณภาพเชิงตรรกะหรือเชิงเหตุผลมนุษยนิยมเป็นองค์ประกอบเฉพาะหลายๆ ตัวของระบบปรัชญาและได้รับการผนวกไว้ในหลายสำนักคิดทางศาสนา
     มนุษยนิยม วางเงื่อนไขไว้ให้มีการค้นหาความจริงและศีลธรรมในวิธีการที่มนุษย์จะนำมาใช้สนองความต้องการของมนุษย์ด้วยกันเมืองมองไปที่ ความสามารถในการกำหนดและการตัดสินได้ด้วยตนเองมนุษยนิยมจะไม่รับการชั่งใจและตัดสินใจโดยสิ่งที่อยู่เหนือความเข้าใจ เช่นการตัดสินใจที่ขึ้นอยู่กับ “ความเชื่อที่ปราศจากเหตุผล” สิ่งเหนือธรรมชาติ หรือด้วยคำทำนายที่อ้างไว้ในคัมภีร์ใด ๆ มนุษยนิยมสนับสนุนจริยธรรมสากล ที่อยู่พื้นฐานของมนุษย์ทั่วไปที่มีความเป็ฯอยู่ธรรมดาซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่า การแก้ปัญหาในสังคมมนุษย์และปัญหาทางวัฒนธรรมของมนุษย์จะใช้แนวทางเฉพาะกลุ่มชนแคบ ๆ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ได้
     มนุษยนิยมในการศึกษา เริ่มมีบทบาทสำคัญในระบบโรงเรียนตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งกำหนดไว้ว่าการศึกษาที่จะพัฒนาปัญญาของมนุษย์ได้คือการศึกษาที่ “ทำมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ได้มากที่สุด” พื้นฐานทางปฏิบัติที่ไปได้ดีที่สุดคือ จิตวิทยาสมรรถพล หรือความเชื่อในถุทธิปัญญาที่เด่นชัด เช่นในเชิงวิเคราะห์ คณิตศาสตร์และภาษาศาสตร์ เชื่อกันว่าการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ จิตวิทยา สมรรถพลสามรถทำให้สมรรถพลอื่น ๆ ได้รับประโยชน์เช่นกัน ผู้มีบทบาทสำคัญในการศึกษามนุษยนิยมเมือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แฮริส เจ้าของผลงาน “หน้าต่างทั้งห้าแห่งจิตวิญญาณ” (คณิตศาสตร์ ภูมิศาศตร์ ประวัติศาสตร์ ไวยากรณ์และวรรณคดี/ศิลปะ) ซึ่งเชื่อว่ามีความเหมาะสมที่สุดใน การพัฒนาสมรรถพล การศึกษาด้านมนุษยนิยมเชื่อว่า”การศึกษาที่ดีที่สุดสำหรับเด็กๆ” คือ การศึกษาที่ดีที่สุดสำหรับเด็กทุกคน ถึงม้ว่ามนุษยนิยมในการศึกษาจะถูกหักล้างโดยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่ก็ยังคงยังมีอยู่ต่อไปในโรงเรียประจำของชนชั้นสูงหลายแห่ง และก็ยังมีอยู่ในวิชาต่าง ๆ หลายวิชาในโรงเรียนมัธยมโดยเฉพาะในวิชาวรรณคดี

     มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา คือขบวนการทางปัญญาของยุโรปซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญด้านหนึ่งของสมัยเรอเนสซองส์ ขบวนการมนุษยนิยมเริ่มขึ้นเมือผุ้คงแก่เรียนชาวยุโรปเริ่มพบวรรกรรม ภาษละติน และปรับปรุงขึ้นมาใหม่ ในระยะแรกนักมนุษยนิยมก็เพียงแต่เป็นปัญญชนหรือครูที่สอนวรรณคดี ภาษาละติน แต่เมือถึงกลางคริสต์สตวรรษที่ 15 มนุษยนิยมก็พัฒนาขึ้นมาเป็นหลักสูตรการศึกษ “หลักสูตรการศึกษามนุษยนิยม” ที่ประกอบด้วยการศึกษาไวยากรณ์, วาทศาสตร์, ปรัชญาจริยธรรม, กวีนิพนธ์, และประวัติศาสตร์จากงานที่เขียนโดยผู้ประพันธ์เป็นภาษาลาตินและกรีกนักมนุษยนิยมมักจะเป็นปฏิปักษ์ต่อขบวนการปรัชญาของกลุ่มอัศมาจารย์นิยมพัฒนากมาจากความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์ และปรัชญาของยุคกลาง อาทิ ทอมัสอควีนาส ผู้ที่พยายามสังเคเคราะห์ปรัชญาของอริสโตเติลในบริบทของ ลัทธิคาทอลิก แต่แตกต่งจกหลักของมนุษยนิยมเรือเนสซองซ์ตรงที่กลุ่มอัสสมาจารย์นิยมไม่พึงวรรกรรมหรือตำราประวัติศาสตร์จากสมัยกรีกโรมัเนเท่ากับเมืองถึงสมัยมนุษยนิยม การกลับมาให้ความสนใจกับวรรณกรรม และตำราประวัติศาสตร์, วาทศิลป์ และเทวปรัชญาที่ยังไม่ได้รับการศึกษาโดยนักปรัชญาอัสสมาจารย์นิยม ทำให้มนุษยนิยมเรอเนสซองซ์เปลี่ยนแนวทางวัฒนธรรมทางปรัชญาของยุโรปอย่างส้นเชิงทางด้านปรัชญานักมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์จะเน้นบทเขียนของเพลโตที่บางชิ้นนำกลับมาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่เร่มเสื่อมโทรมและให้ความสนใจน้อยกว่ในปรัชญาของอริสโตเติลที่ได้รับการศึกษาอย่างชักซึ้งแล้วโดยนักอัสสมาจารย์นิยมในระหว่างยุคกลาง
      วรรณกรรมแนวมนุษยนิยม ที่สำคัญในยุคนี้ได้แก่
The Price
     นิคโคโล แมคเคียเวลลีโดยกล่าวถึง ธรรมชาติของมนุษย ว่า มนุษย์เป็นสัตว์เห็นแก่ตัว ก้าวร้าว และแสวงหา และพยายามที่จะหลีกเลี่ยงอันตรายต่าง ๆ แต่แสวงหากำไร จึงทำใwebmachmansfieldhbfc0226500438ห้ชีวิตมนุษย์ต้องดิ้นรน และแข่งขันอยู่เสมอ มาเคียเวลลีมองว่า มนุษย์เป็นผู้ที่โง่เขลาปล่อยให้จิตตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกิเลสตัณหา บางครั้งมนุษย์ยินยอมที่จะมอบตัวเองให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ที่แข็งแรงกว่าอย่างไม่รู้ตัว
     รัฐชาติ มาเคียเวลลีมองว่า รัฐชาตมิได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามที่พระเจ้าบันดาล แต่มีรากฐานเกิดรัฐมาจาก การอ่อนแอ ไร้ประสิทธิภาพของคนส่วนมากที่ไม่สามารถพิทักษ์รักษาความปลอดภัยให้ตนเองได้จึงเกิดรัฐชาติ
     รัฐมิได้ถูกสถาปนาขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายที่จะจัดตั้งศีลธรรมหรือบังคับใช้กฎหมายธรรมชาติ ศีลธรรมและกฎหมายธรรมชาติ คือ สังกัป ที่ได้รับการพัฒนาภายหลังจากที่คนร่วมมีปฏิกิริยาร่วมกันในการต่อต้านผู้ใช้อำนาจล้าง
     รูปแบบการปกครอง
- มาเยเวลลีสนับสนุนรูปแบบการปกครงแบบ ราชาธิปไตย โดยเขาให้เหตุผลว่า การปกครองโดยคน ๆ เดียวมีอำนาจเด็ดขาดสูงสุดเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุดในทัศนะของเขา
- มาเคยเวลลีเชื่อว่า ราชาธิปไตย และอภิชนาธิปไตย โดยเขามองว่าระบอบประชาธิปไตยเป็ฯระบอบที่ดีแต่ มีข้อเสียคือขาดเสถียรภาพ และความดีของระบอบมักถูกทำลายด้วยตัวของมันเองแต่เขากับบอกว่ารูปแบบที่เขาพอใจคือ แบบสาธารณรัฐที่มีลักษณะผสมผสานระหว่าง อภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตย
 


images

Utopia
เป็นหนังสือของ เซอร์ โทมัส มอร์ ในปี ค.ศ. 1516 ซึ่งเขียนเป็นภาษาละติน เป็นงานเขียนร้อยแก้วพรรณนาถึงสังคมบนเกาะในจินตนาการแห่งหนึ่งเล่าเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ ลักษณะทางสังคมและการปกครองบนเกาะแห่งนั้น ชื่อเกาะที่นำมาจากภาษากรีก มีความหมายว่า “ดินแดนที่ไม่มีจริง” ( ดินแดนที่น่าชื่นชมยินดี)
     เขาสร้างภาพของสังคมที่ตรงกันข้ามกันระหว่างดินแดนในจินตนาการซึ่งมีแนวคิดการปกครองที่ไม่เหมือนใคร กับการเมืองอันยุ่งเหยิงวุ่นวายในยุคสมัยของเขา เพื่อเป็นโครงร่างสำหรับการวิพากษ์วิจารย์เกี่ยวกับสภาพสังคมกันต่อไป
     หนังสือตีพิมพ์ที่ Leuven โดยมี Erasmus เป็นบรรณาธิการ มอร์ได้ปรับปรุงเนื้อหาอีกครั้งและพิมพ์ในเบเซิล ในเดือนพฤศจิกายน แต่กว่าที่หนังสือจะได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในประเทศอังกฤษ ก็ล่วงไปถึง ค.ศ. 1551 สิบหกปีหลังจากการประหารชีวิตมอร์ โดย ราล์ฟ โรบินสัน เป็นผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษ แต่ฉบับที่นิยมใช้อ้างอิงกันมากที่สุดคือฉบับที่แปลโดย กิลเบิร์ต เบอร์เน็ต ในปี ค.ศ. 1684

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)