Sir Isaac Newton

     เซอร์ไอแซค นิวตัน นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษ1329910201
   physicist3   Philosophiae Naturalis Primcipia Mathematica หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า Principia เป็นหนึ่งในหนังสือที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัตศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานของวิชากลศาสตร์ดั้งเดิม ในงานเขียนชิ้นนี้ นิวตันพรรณนาถึง กฎแรงโน้มถ่วงสากล และกฎการเคลื่อนที่องนิวตัน ซึ่ง เป็นกฎทางวิทยาศาสตร์อันเป็นเสาหลักของการศึกษาจักรวาลทางกายภาพตลอดช่วง 3 ศตวรรษถัดมา นิวตันแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนที่ของวัตถุต่าง ๆ บนโลกและวัตถุท้องฟ้าล้วนอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติชนิดเดียวกัน โดยแสดงให้เห็นความสอดคล้องระหว่างกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์กับทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของตน ซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล และช่วยให้การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
      นิวตันสร้างกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงที่สามารถใช้งานจริงเป็นเครื่องแรก และพัฒนาทฤษฎีสีโดยอ้างอิงจากผลสังเกดตการณ์ว่า ปริซึมสามเหลี่ยมสามารถแยกแสงสีขาวออกเนหลายๆ สีได้ ซึ่งเป็นที่มาของสเปกตัมแสงที่มองเห็น เขายังคิดค้น กฎการเย็นตัวของนิวตัน และศึกษาความเร็วของเสียง
170496      ในทางคณิตศาสตร์ นิวตันกับก็
อตฟรีด ไลย์นิซ ร่วมกันพัฒนาทฤษฎีแคลคูลัสเชิงปริพันธ์และอนุพันธ์ เขายังสาธิตทฤษฎีบททวินามและพัฒนากระบวนวิธีของนิวตันขึ้นเพื่อการประมาณค่ารากของฟังก์ชัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการศึกษาอนุกรมกำลัง
      นิวตันไม่เชือ่เรื่องศาสนา เขาเป็นคริสเตียนนอกนิกายออร์โธดอกซ์ และยังเขียนงานตีความคัมภีร์ไบเบิลกับงานศึกษาด้านไสยศาสตร์มากว่างานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อีก เขาต่อต้านแนวคิดตรีเอกภาพอย่างลับ ๆ และเกรงกลัวในการถูกกล่าวหาเนืองจากปฏิเสธการถือบวชTele-reflector
      ไอแซก นิวตัน ได้รับยกย่องจากปราชญ์และสมาชิกสมาคมต่าง ๆ ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธฺพลที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

    ไอแซก นิวตัน เกิดที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ในลินคอล์นเชียร์ อังกฤษ บิดาของเขาเป็นชาวนาผู้มั่งคั่ง เสียชีวิตก่อนเขาเกิด 3 เดือน มารดาของเขาแต่งงานใหม่และเขาไม่ชอบพ่อเลี้ยง นิวตันเคยหมั้นครั้งหนึ่งในช่วงปลายวัยรุ่น แต่เขาไม่เคยแต่งงาน
    นิวตันเข้าเรียนที่ วิทยาลัยทรินิตี้ เคมบริดจ์ ในฐานะซีซาร์ (คือทุนชนิดหนึงซึ่งนักศึกษาต้องทำงานเพ่อแลกกับที่พักอาษรและ ค่าธรรมเนียม) การเรียนการสอนสมัยนั้นอยู่บนพื้นฐานความคิดของอริสโตเติล แต่เขาชอบแนวคิดของนักปรัชญายุใหม่คนอื่น ๆ เขาค้นพบ ทฤษฎีบทวินาม และเริ่มพัฒนาทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ซึ่งต่อมากลายเป็นแคลคูลัสกนิกนันต์ และจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1665 หลังจากนั้นไม่นานมหาวิทยาลัยต้องปิดลงชั่วคราวเนื่องจากโรคระบาดครั้งใหญ่
     การหล่นของผลแอปเปิล ทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่าแรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่นน่าจะเป็นแรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่นและทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ผลการคำนวณเป็นสิ่งยืนบันความคิดนี้แต่ยังไม่แน่ชัดกระทั้งการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างนิวตันและโรเบิร์ต ฮุก ที่ทำให้นิวตันมีความมั่นใจและยืนยันหลักการกลศาสตร์ เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ได้เต็มที่ 
     ในปีเดียวกัน เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ได้มาเยียมนิวตันเพื่อถกเถียงเกี่ยวกับคำถามเรื่องดาวเคราะห์ ฮัลเลย์ต้องประหลาดใจที่นิวตันกล่าวว่าแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ที่ทำให้การโคจรที่ทำให้วงโคจรเป็นรูปวงรีได้นั้นเป็นไปตากฎกำลังสองที่นิวตันได้พิสูจน์ไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งนิวตันได้ส่งเอกสารในเรื่อนี้ไปให้ฮัลเลย์ดุในภายหลังและฮัลเลย์ก็ได้ชักชวนขอให้นิวตันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และหลังการเป็นศัตรูคู่ปรกปักษ์ระหว่างนิวตันและฮุกมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ค้นพบ “กฎกำลังสอง” แห่งการดึงดูด หนังสือเรื่อง “หลักการคณิตศาสตร์ว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ” ก็ได้รับการตีพิมพ์ เนื้อหาในเล่นอธิบายเรื่องความโน้มถ่วงสากลและเป็นการวางรากฐานของกลศาสตร์ดั้งเดิม (กลศาสตร์คลาสสิค) ผ่านกฎการเคลื่อนที่ ซึ่งนิวตัน ตังขึ้น นอกจากนี้ นิวตันยังมีชื่อเสียงร่วมกับ กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลนิซ ในฐานะที่ต่างเป็นผู้พัฒนาแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์อีกด้วย
     งานชิ้นสำคัญซึ่งรอการตีพิมพ์อยุ่หลายปีทำให้นิวตันได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกสกายภาพที่ยิ่งใหญ๋ที่สุดผลกระทบสูงมาก นิวตันได้เปลี่ยนโฉมวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่มีมาแต่เกิดโดยสิ้นเชิง นิวตันได้ทำให้งานที่เริ่มมตั้งแต่สมัยกลางและได้รับการเสริมต่อโดยความพยายามของกาลิเลโอเป็นผลสำเร็จลง และ “กฎการเคลื่อนที่” นี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของงานสำคัญทั้งหมดในสมัยต่อ ๆ มา
นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลโรงผลิตกษาปณ์เนื่องจากรัฐบาลต้องการบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตและมีความเฉลียวฉลาดเพื่อต่อสู้กับการปลอมแปลงที่ดาษดื่นมากในขณะนั้น และได้รับการแต่งตั้งเป็ฯผู้อำนวนการในปี ค.ศ. 1699 หลังจากได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม ในปี ค.ศ. 1704 นิวตันตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “ทัศนศาสตร์” Optics ฉบับภาษาองกฤษ ซึ่งนิวตันรอกระทั้งฮุก คูปรับเก่าถึงแก่กรรมแล้ว
          นิวตันไม่เคยแต่งงาน และไม่มีหลักฐานใดบ่งว่าเขามีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับผุ้ใด แม้จะไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ก็เชื่อกันโดยทั่งไปว่าเขาถึงแก่กรรมโดยที่ยังบริสุทธิ์
          นิวตันมักมีอาการปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็ฯเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงออกมาให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี ค.ศ. 1693 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี ค.ศ. 1705 นิวตันไช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตัสไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็ฯอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่งหลัง ๆ และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1703 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งนายกราชสมาคมแห่งลอดดอน โดยได้รับสมญาว่า “นายกสภาผุ้กดขี่” เมื่อนิวตันเสียชีวิตลง พิธีศพของเขาจัดยอ่างยิ่งใหญ่เที่ยบเท่ากษัติรย์ ศพของเขาฝั่งอยู่ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระบรมวงศานุ
วงศ์ชั้นสูงของอังกฤษ
      




                               “ ฉันไม่รู้หรอกว่าโลกเห็นแนเป็นอย่างไร แต่กับตัวเองแล้ว ฉันเหมือนจะเป็นเด็กที่เล่นอยู่ริมชายฝั่ง
                                  เพลิดเพลินกับการเสาะหาก้อนกรวดเรียบ ๆ หรือเปลือกหอยที่สวยเป็นพิเศษ
                                  ขณะที่มหาสมุทรแห่งความจริงอันยิ่งใหญ่ทอดตัวอยู่เบื้องหน้าโดยยังไม่ถูกค้นพบ”

                                                                                                                                บันทึกในช่วงหลัง ของนิวตัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)