Congress of Vienna


     ออสเตรียเข้ามามีบทบาทสำคัญตั้งแต่การขัดแย้งระหว่างนโปเลียน และรัสเซีย-ปรัสเซีย ความเกรงกลัวการขยายอำนาจของอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ซาร์แห่งรัสเซีย แมททอนิค ไม่เห็นทางใดที่พอจะสกัดอิทธิพลของรัสเซียได้ เขาพยายามสร้างระบบพันธมิตรขึ้นต่อสู้ด้วยมุ่งหวังจะสกัดกั้นอิทธิพลของรัสเซีย แมทเทอนิคทำทุกวิถีทางเพื่อดึงปรัสเซียและรัฐเยอรมันอื่น ไ ให้หลุดพ้นจากอิทธิพลของรุสเซีย และเขาสำนึกถึงความแข็งแกร่งของอังกฤษและอิทธิพลที่จะมีต่อที่ประชุมสันติภาพ เขาจึงตระเตรียมลู่ทางแม้แต่การใช้การเกี่ยวดองระหวางราชวงศ์แฮปสเบิร์กและนโปเลียนมาเป็นเครื่องมือ
     กษัตริย์ปรัสเซียไม่สนพระทัยที่จะต่อสู้เพื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด พระเงค์เป็นบุคคลที่ไม่ทำสิ่งใดให้เด็ดขาดชอบนโยบายหลาง ๆ เข้ากับทั้งสองฝ่าย ทุกอยางขึ้นอยู่กับคณะผู้แทนมากกว่ากษัตริย์
     อังกฤษเป็นประเทศที่ต้องจ่ายเงินเกือบทั้งหมดในการรบกับนโปเลียนจึงดูเหมือนเป็นเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมแต่การไม่เป็นดังนั้นท่าที่ของอังกฤษไม่แน่นอน ว่ากันว่าสัญญาได้เซ็นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อังกฤษมาเจรจาเพี่ยงเรื่องเงิน ผลประโยชน์ในสเปนชิชิลี แฮนโนเวอร์ และที่สำคัญคือปัญหาเบลเยี่ยมแทบจะไม่ได้พูดถึง
       คาลเลย์รอง เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนของฝรั่งเศส เป็นผู้ร่วมกระทำการก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศส สนับสนุนนโปเลียน และฟื้นฟูอำนาจบูร์บองขึ้นมาอีก คณะผู้แทนใช้ความพยายามเพื่อผลประโยชน์ของฝรั่งเศส และกว่าได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างยิงใหญ่
       ผู้นำสำคัญอื่นๆ ซาร์แห่งรัสเซียเป็นบุคคลที่ลึกลับมากที่สุดและเป้นผู้กระตุ้นให้คิดถึงเสรีนิยมมากที่สุด แมททอนิคเป็นลักษณะของพวกปฏิกริยา ดื้อดึงจะทำลายความหวังทุกสิ่งถ้าเกี่ยวกับเสรีนิยม คาสิซิลรี แสดงบุคลิกของความต้องการประนีประนอมและการเดินสายกลามมากที่สุดเพราะผลประโยชน์ทางการค้าของอังกฤษขึ้นอยู่กับความสงบของยุโรป ตาลเลย์รองด์เป็นคนที่มีชั้นเชิงมากที่สุดและรู้จุดหมายปลายทางที่แน่นอนของตน พยายามทุกทางที่จะรักษาและแสวงหาผลประโยชน์เพื่อประเทศฝรั่งเศส
        สนธิสัญญาโชมองด์ ชาติต่าง ๆ ที่ร่วมรบต่อต้านอำนาจของนโปเลียนได้ประชุมกันครั้งแรกที่โซมองด์ อังกฤษ ออสเตรีย รัสเซียและปรัสเซียได้ตกลงเซ็นสัญญากัน โดยให้คำมั่นสัญญาต่อกันและกันว่านโปเลียนเป็นมหาศัตรูของความสงบในยุโรป จึงจะรวมกันทำการรบต่อสู้กับนโปเลียนจนถึงที่สุดและจะคงไว้ซึ่งสัมพันธมิตรเป็นเวลาอีก 20 ปี จะมีการเจรจาเรื่องดินแดและการเมืองอื่นๆ หลังจากที่ชนะนโปเลียนได้แล้ว และตกลงกันจะฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บอง …
        เมื่อกองทัพนโปเลียนพ่ายแพ้ สัมพันธมิตรเข้ายึดปารีส นโปเลียนสละบัลลังก์และถูกกุมขังที่เกาะเอลบา ฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งสี่จึงเซนสัญญาสงลศึกกับฝรั่งเศส  การสืบราชสมบัติฝรั่งเศสในครั้งแรกมีความเห็นแตกแยกกันในหมู่สัมพันธฒิตร อังกฤษยินดีสนับสนุนพระเจ้าหลุยส์ที่ 18  เพราะได้เสด็จลี้ภัยมาประทับในประเทศตน ส่วนนโปเลียนได้มอบราชสมบัริให้แก่พระโอรสคือราชาแห่งโรม และของให้พระราชินีมารีหลุยส์เป็นผุ้สำเร็จราชการ จึงเป็นที่แน่นอนว่าออสเตรียจะต้องเสนอราชาแห่งโรมเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส ซาร์อเล็กซานเดอร์ยังคงไม่ติดสินพระyทยแน่นอนว่าจะสนับสนุนผู้ใด แต่คาลเลย์รองด์เป็นจักรกลสำคัญในฐบาลชุดใหม่มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังซาร์แห่งรัสเซีย และเพราะท่าทีที่ไม่แน่ใจของออสเตรียจึงทำให้เพราะเจ้าหลุยส์ได้รับตำแหน่างพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในที่สุด
       จากสัญญาสงบศึกแห่งกรุงปารีสฉบับที่ 1 การเจรจาของดาลเลย์รองด์ได้ทำให้ฝรั่งเศสซึ่งอยู่ในฐานะผู้แพ้มิได้เสียดินแดนของตนเลย และยังกลับได้เพิ่มอีก 150 ตารางไมล์ และพลเมืองอีก 450,000 คน แต่ฝรั่งเศสจำต้องเสียดินแดนอื่นๆ ที่เคยอยู่ในอารักขาของอาณาจักรนโปเลียน ได้แก่ ฮอลแลนด์ เบลเยี่ยม และดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำไรท์ และรัฐต่าง ๆ ในแหลมอิตาลีและสวิสเซอร์แลนด์
     สิ่งที่ควรสรรเสริญในความสามารถของตาลเลย์รองด์คือ ฝรั่งเศสจะไม่ต้องถูกปลดอาวุธไม่ถูกยึดครอ และไม่ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามอีกด้วย เมื่อสัญญาได้ตกลงกันถึงฐานะของฝรั่งเศสเรียบร้อยดังนี้แล้ว ปัญหาสำคัญที่จะต้องพูดถึงคือเรื่องดินแดนที่ได้กลับคืนมาจากฝรั่งเศส ควรจะแบ่งกลับคืนไปให้กับเจ้าของเดิมก็เป็นทางที่ง่ายดี แต่เมื่อถึงเวลาจะปฏิบัติเข้าจริงเป็นสิ่งลำบากมากเพราะนโปเลียนได้เปลี่ยนการแบ่งปันหลายครั้งด้วยกัน จนบางแห่งเหลือที่จะตกลงกันได้วาใครจะเป็นเจ้าของเดิมจึงนับเป็นการยุ่งเหยิงที่สุด  จึงตกลงกันว่าจะต้องเปิดการประชุมที่กรุงเวียนนาให้พร้อมเพียงกัน 300px-CongressVienna
      เมื่อมหาอำนาจทั้งสี่ตกลงเรียกบรรดาชาติต่าง ๆ มาประชุม ฝรั่งเศสนำโดย ตาลเลย์รองด์อ้างว่าฝรั่งเศสไม่สมควรจะถูกกีดกัน โดยข้อตัดสินทุกสิ่งจึงอยู่กับประเทศทั้งห้าหรือ The Big  Five นั่นเอง
   ในระหว่างเจรจานโปเลียนอาศัยโอกาศเสด็จหนีจากเกาะเอลบาที่เรียกว่าการกลับคืนสู่อำนาจร้อยวันและนโปเลียนก็แพ้สงครามอีกครั้ง ปารีสถูกยึด สัญญาปารีสฉบับที่ 2 ถูกเซ็นภายหลังการรบที่วอเตอร์ลู  ฝรั่งเศสสูญเสียดินแดนที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และค่าปฏิกรรมสงคราม จำนวน 700 ล้านฟรังส์
       การปรับปรุงเรื่องอาณาเขต
สันติภาพอันถาวรเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ ผุ้แทนขบปัญหาว่าจะทำอย่างไรจะป้องกันการรุกรานของฝรั่งเศสได้ ทำอย่างไรจะแบ่งดินแดนที่ได้มาจากการสงครามในหมู่มหาอำนาจโดยให้เป็นที่ยอมรับกันทั่งไป เพื่อจะให้ไปถึงจุดมุ่งหมายจะต้องคำนึงถคงดุลย์แห่งอำนาจ
          แผนที่ใหม่ของยุโรปเท่ากับเป็นอนุสาวรีย์สำหรับการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศส และเป็นผลจากการไม่ไว้วางใจในการคงอยู่ของฝรั่งเศสในยุโรป ทุกประเทศมั่นใจว่าจะจำกัดการขยายอำนาจของฝรนั่งเศสได้ และการเปลี่ยนแปลก็เกิดขึ้นจริงๆ แต่เป็นเหตุจากสิ่งภายนอกซึ่งจะมามีผลต่อประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสต่อไป..ger1815
        ปัญหายุ่งยากของคองเกรศในเวียนนา คือปัญหาเยอรมนี เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ระหว่างรุสเซียและฝรั่งเศส นอกจากสกัดการขยายอำนาจจากประเทศทั้งสองแล้วยังเป็นรัฐกันชนอีกด้วย
        รัฐเยอรมันต้องการจะเป็นสาธราณรัฐแบบสหรัฐอเมริกา การรวมกันแบบหลวมๆ จะทำให้แต่ละรัฐมีอิสระในการปกครอง แต่ปรัศเซียและออสเตรียไม่ต้องการเช่นนั้น เพราะเกรงจะกลายเป็นพลังการเมืองอันที่สาม Third Germany ขึ้นมาแข่งขัน และในที่สุด ทั้งออสเตรียและปรัสเซียรวมกันแบบหลวมๆ โดยมีไดเอทของสหรัฐออสเตรียได้รับตำแหน่งนายก และมีศาลพิเศษขึ้นโดยไดเอทสำหรับพิจารณาความ..
        ดุลแห่งอำนาจ นโยบายหลักของยุโรปในศตวรรษที่ 18 คือป้องกันมิให้ประเทศใดประเทศหนึ่งเข้ามาเป็นผู้บงการยุโรป ถ้าเมื่อใดดุลแห่งอำนาจถูกทำลายการร่วมมือกันของสัมพันธมิตรจะเกิดขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ดุอำนาจนั้นเสียไป ซึ่งผลที่เกิดขึ้นก็คือในบางครั้งมิใช่ป้องกันสงครามแต่เป็นการนำไปสู่สงคราม..ความต้องการของแต่ละประเทศ และคการปกป้องผลประโยชน์ของแต่ละประเทศนำมาซึ่งความขัดแย้งและเกือบจะถึงขั้นแสดงออกอย่างชัดเจน วิธีการตกลงเรื่องดินแดนนี้มีผลทำให้ไม่มีผู้มีอำนาจเหนือยุโรปตะวันออกแต่โดยลำพัง หลักการดุลแห่งอำนาจที่เกิดขึ้นอีครั้งในคองเกรศแห่งเวียนนาจึงมีความแข็งแกร่งอย่างยิ่ง
       คองเกรสแห่งเวียนนาเป็นผลลัพธ์ที่สับสนของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความแตกแยกกัน หลักการเรื่องการสืบราชสมบัติซึ่งได้หลายมาเป็นพื้นฐานของระบบการปกครองของแต่ละประทเศก็เป็นสิ่งแสดงออกอีกครั้งหนึ่งในระบบสัมพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิของพระเจ้าซาร์ ที่ระบุถึงความคิดเรื่องราวความเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวคริสเตียน จะให้อยู่กันอยางฉันท์พี่น้องภายใต้การปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ในอีกแง่หนึ่งเพื่อจะรักษาดุลแห่งอำนาจด้วยการตัดแบ่งดินแดนทอนอำนาจซึ่งกันและกัน กลับมิได้คำนึงถึงจิตใจของกษัตริย์เหล่านั้นซึ่งผลลัพธ์เกิดในสิ่งตรงข้ามทำให้มีการแข่งขันกันเพิ่มขึ้นสัมพันธมิตรสี่เส้าซึ่งเป็นแผนการณ์ของมหาอำนาจที่จะปรับสถานะอำนาจให้เข้าสู่ดุลและเพ่แก้ปัญหาการขัดแย้งอันอาจจะเกิดขึ้น ได้แสดงออกเช่นเดียวกันในการจะจัดรูปแบบของดินแดนในอารักขาให้สมดุล  แต่การละทิ้งปัญหาภายในทำให้เกิดเป็นช่องว่างขึ้น..
       ภายหลังจากสงครามนโปเลียนอันยาวนานส้นสุดลงยุโรปต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก การกสิกรรมตกต่ำอย่างน่าใจหายทั้งในอังกฤษและยุโรปโดยทั่วไปผลของเศรษฐกิจตกต่ำได้แพร่ขยายมาถึงการอุตสาหกรรมและการค้า ธนาคารและบริษัทการค้ามากมายอยู่ในสภาพล้มละลายต้องเผชิญกับอัตราภาษีที่สูงลิบลิ่ว อัตราคนว่างงานสูงขึ้น ศ่งเหล่านี้ทำให้ประชาชนเสื่อมความนิยมในระบบใหม่ และทำให้เห็นความจำเป็ฯของขบวนการที่รุนแรงซึ่งระบบกษัตริย์ไม่กล้าพอที่จะนำมาใช้ระยะเวลาร้อยปีเป็นเวลาทีจะแสวงหาความความสมดุลย์ของพลังต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม และพลังดังกล่าวอยู่ในสภาพที่รุนแรงอาจเกิดเป็นการปฏิวัติได้ทุกระยะ/-ภ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)