Russai Empire

  King_and_Tsar
  ความเปลี่ยแปลงในรัศเซียเริ่มมีขึ้นในสมัยซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ซึ่งมีแนวความคิดเสรี นิยมกระทั่งคนของซาร์ ถูกลอบสังหาร จึงมีการเปลี่ยนนโยบายทั้งหมด พวกนักปฏิรูปจึงมีการรวมตัวกันอย่างลับๆ เป็นสมาคมอย่างรูปแบบคล้ายในอิตาลี กระทั้งซาร์อเล็กซานเดอร์ สิ้นพระชนม์ และไม่มีพระโอรส สิทธิจึงตกอยู่กับเจ้าชายคอนสแตนตินพระอนุชาซึ่งมีแนวความคิดเสรีนิยมพวกนักปฏิรูปจึงมีความหวังแต่พระองค์ไม่ทรงรับสิทธินั้น บัลลังก์จึงตกเป็นของนิโคลาสซึ่งเป็นพวกหัวปฏิกิริยา ซึ่งไม่เป็นที่พอใจกับพวกหัวปฏิรูป ในช่วงที่ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการพวกปฏิรูปจึงฉวยโอกาส  ไปแสดงความเคารพเจ้าคอนสแตนติน การกระทำครั้งนี้ทำให้เจ้าชายนิโคลาสมีท่าทีปฏิกริยามากขึ้น ทรงสั่งกำจัดพวกก่อการทั้งสิ้น จึงทำใหแผนการของกลุ่มเสรีนิยมล้มเหลวในที่สุด
      ในสมัยการปกครองซาร์นิโคลาสที่ 1 ทรงปกครองด้วยระบบเทวสิทธิ์ เชื่อในอำนาจสูงสุด ในยุคสมัยดังกล่าวได้เกิดมีนักเขียนที่มีชื่อเสียงหลายท่าน นักเขียนเหล่านี้ยังมีบทความโจตีสถาบันการปกครองรุสเซีย นักการศึกษารุ่นใหม่ถกเถียงกันถึงปรัชญาชองชิลลิงและเฮเกล นักการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่มทั่งสองกลุ่มถกเถียงกันถึงวิธีการศึกษาของรุสเซีย ยืนยันว่าวัฒนธรรมสลาฟเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมตะวันตะ ซึ่งหมายความว่ารุสเซียควรจะปรับปรุงตนเองตามแนวทางตะวันตกด้วย ถึงกับมีการเรียกร้องให้เลิกระบบซาร์และตั้งเป็นรัฐสังคมนิยม ส่วนอีกกลุ่ม ซึ่งจัดเป็นกลุ่มชาตินิยม ยืนยันว่าวัฒนธรรมรุสเซียนมีความพิเศษเนือหว่าพวกตะวันตก รุสเซียมีความเป็นตัวเองมีพลังที่จะเจริญได้เอง..
       ซาร์นิดคลาสเป็นผุ้นำแบบระบบเก่า ป้องกันโดยเข้าแทรกแซงการปฏิวัติทุกรูปแบบ ในด้านการขยายอำนาจการหาทางออกทะเลยังเป็ฯนโยบายหลักของรุสเซีย ในด้านศาสนา รุศเซียถือว่าตนเป็นผู้นำของศาสนาคริสเตียนนิกายออร์ธอดอกซ์ จึงจำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบต่อความเดือนร้อนที่ชนชาติต่าง ๆ ในแหลมบอลข่าน ในศตวรรษที่ 19 ขณะที่ความคิดโรแมนติคกำลังแพร่หลาย หากมองกันด้านยุทธศาสตร์หรือความมั่นคงของปะเทศ การที่ออกตโตมันคุมบอลข่าน เท่ากับว่าสุลต่านมีอำนาจที่ปิดหรือเปิดประตูหลังบ้านของรุสเซีย ซึ่งเป็นสิ่งไม่ปลอดภัย และเหตุทางด้านเศรษฐกิจ การขนส่งการแสวงหาวัตถุดิบ และความรู้สึกเรื่องชาตินิยม ในที่สุดสัญญาอาเดรียโนเปิล รุสเซียได้สิทธิพิเศษที่จะแล่นเรือผ่านช่องแคบดาร์ตะแนล และบอสโฟรัส และจากสัญญาอนเคียสะเกเลสสิ รุสเซียได้มีเสียงใหญ่ในการคุมเส้นทางเข้าทะเลดำ และรุสเซียยังทำการขยายสู่เส้นทางอื่นๆ อีก เช่นการทำสงครามกับเปอร์เซียและจีน และได้ดินแดนแถบแม่น้ำอามูร์อีกด้วย
การเข้ามาพัวดันกับสงครามไครเมีย นอกจากจะพ่านแพ้ทางด้านการทหารแลว รัฐบาลของพระองค์ต้องประสบปัญหาการเงิน การทารุณกับพวกชาวนาเพิ่มมากขึ้น รัชสมัยของพระองค์จึงสิ้นุดลงด้วยความวุ่นวาย
      ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แม้พระองค์จะไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงแต่ด้วยความเป็นจริงการปฏิรูปจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้น เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ทรงเจรจาสงบศึก และพัฒนาประเทศ ประการแรกคือทรงประกาศเลิดทาสติดที่ดินแม้จะมีเสียงคัดค้านจากทุกฝ่าย ผลของการประกาศกฎหมายเลิกทาส คือการเพิ่มจำนวนคนยากจนในชนบท ชาวนาต้องกลบเข้าไปทำงานตามระบบเก่า หมดความอิสระเสรี เกิดความไม่พอใจสังคม และความรุนแรงต่าง ๆ จะเปลี่ยนแปลงสังคมจึงเป็นสิ่งที่ตามมา
      การปฏิรูประบบการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นงานชิ้นสำคัญของพระองค์ นอกจากกลุ่มขุนนาง แล้วพ่อค้า ชาวนาจะมีสิทธิเลือกตั้งผู้แทน หน่วยการบริหารระบบใหม่เรียกว่าเซ็มสโวส์ ซึ่งแบ่งเป็นหลายระดับ เป็นรูปจำลองเล็กๆ สอนให้ประชาชนได้รู้จกการปกครองระบบประชาธิปไตย ฝึกหัดให้ประชาชนได้รู้จักสิทธิในการเข้าร่วมการปกครองที่ตนเองเกี่ยวข้อง  และยังปรับปรุ่งให้มีเทศบาลเมือง จัดตั้งศาลหลวงแก้ไขระบบยุติธรรมให้ดีขึ้น ซึ่งสมัยเดิมเจ้าของที่ดินทำหน้าที่ตุลาการด้วยตามระบบฟิวดัลซึ่งเป็นการไม่ยุติธรรมต่อผุ้นอ้ยและล้าสมัยในวิธีการสอบสวนลงโทษ.. การปฏิรูปกองทัพ ชายทุกคนเมืออายุ 20 ปีมีสิทธิจะเป็นทหารได้ ไม่จำกัดชั้นวรรณะ พระองค์ทรงพอใจหากการปฏิรูปจะมาจากพระองค์ มิใช่ประชาชนเรียกร้อง จึงทำให้เกิดเป็นการรวมกลุ่มแบบลับ ๆ มีการก่อกบฎ นักศึกษามหาวิทยาลัยพยายามจะลอบปลงประชนม์พระเจ้าซาร์ ทุกสิ่งจึงกลับไปหมือนเดิม รัฐบาลเข้าควบคุม หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ ก็ ค่อย ๆ หมดความสำคัญลง
        กลุ่มหัวรุนแรงและการปฏิวัติ
Nihilism (nothing) มีความคิดด้านทำลายเป็นสำคัญ เห็นพ้องต้องกันว่าสถาบันเก่าๆ ทุกสิ่งจะต้องถูกทำลาย ก่อนที่สังคมใหม่จะเกิดขึ้น สิ่งใดที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนเหตุผลและความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะต้องถูกทำลายเช่นกัน ซึ่งรวมถึงสถาบันซาร์และวัดออร์ธอดอกซ์ด้วย
   Socialism ขบวนการสังคมนิยมมีจุดมุ่งหมยที่จะทำลายระบบซาร์ และก่อตั้งรัฐประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมขึ้นในรุสเซีย โดยหวังจะเลียนแบบคอมมูนแห่งปารีส การทำงายของกลุ่มนี้กว้างขวางกว่ากลุ่มแรก มุ่งหาสมาชิกในชนบท (ชาวนา)และมีการติดต่อกับกลุ่มสังคมนิยมในต่างประเทศ ต้องการใช้วิธีละมุนละม่อม
   Anarchist ทำการต่อต้านสังคมด้วยวิธีรุนแรง การลอบฆ่าข้าราชการ พระเจ้าซาร์ และการทำลายอื่น  ๆ ด้วยหวังจะบีดทางอ้อมให้พระเจ้าซาร์ทำการปฏิรูปสังคมด้วยวิถีเสรีนิยมพระองค์ทรงตอบโต้ด้วยวิธีการรุนแรงเช่นกัน ระบบตำรวจลับถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง
 
    ราชวงศ์โรมานอฟ
การลอบปลงพระชนม์พรเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ทำให้รัฐบาลพระจเอเล็กซานเดอร์ที่ 3 เป็นปฏิกิริยามากขึ้น มีนโยบายต่อต้านการปฏิรูปทุกอย่าง ใช้วิธีการรุนแรงและโหดเหี้ยมการสอนในมหาวิทยาลัยถูกกวดขัน อาจารย์กัวเสรีนิยมถูกไล่อก หนังสือพิมพ์ถูกเซ็นเซอร์ ยิ่งไปกว่านั้น พรเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 เริ่มใช้นโยบายกำจัดศาสนาอื่น ๆ ที่มิใช่กรีกออร์ธอดอกซ์ มณฑลต่าง ๆ ซึ่งนับถือลูเธอร์แรนถูกบังคับให้เปลี่ยนความเชื่อ ยิวก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน  จากนโยบายต่อต้านยิว พวกยิวจำนวนมากถ้าไม่ถูกฆ่าตาย ก็จะถูกขับไล่ออกนอกประเทศ
    ซาร์นิโคลาสที่ 2 ซึ่งไม่ต่างจากสมียซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3  ทรงกล่าวไว้ว่า จะคงไว้ซึ่งระบบการปกครองแบบเอกาธิปไตยที่บรรพบุรุษของพระองค์ทรงทำมา จะไม่มีสิ่งใดมาเปลี่ยนแปลง
       ทางด้านเศรษฐกิจเป็นระยะการพัฒนาทางเศรษฐกิจขั้นสุดท้าย เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นระยะปรับตัวของการปฏิรูปครั้งใหญ่ อุตสาหกรรมของรุสเซียเข้าสู่ขั้นเต็มที่ มีการสร้างทางรถไป ถึง 15,000ไมล์ การพัฒนาเครื่องจักรกลต่าง ๆ ซึ่งก็ยังล้ากว่ายุโรปชาติอื่นๆ และสหรัฐอเมริกา อาทิจำนวนการผลิตเหล็ก น้อยกว่าฝรั่งเศส 8 เท่า เยอรมัน 8 เท่า สหรัฐอเมริกา 11 เท่าและยิ่งไปกว่านั้นอุตสาหกรรมของรุสเซียตกอยู่ในมือพวกนายทุนเพี่ยงไม่กี่คน ทั้งนี้และทั้งนั้นระบบฟิวดัลของรุสเซียยังแรงมาก เจ้าของที่ดิน พยายามกีดกันระบบนายทุนแบบยุโรปเย้าไปแพร่หลายในรุสเซีย และการขาดชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของระบบนายทุน
     ด้านการเกษตร ชาวนาสามารถขายสิทธิที่ดิน ชาวนาส่วนใหญ่เปลี่ยนฐานะเป็นลูกจ้าง ซึ่งแทบจะไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง
       ในช่วงการทดลองการปกครองนระบบรัฐสภา รุสเซียเข้าพัพันธ์กับเหตุการณ์ในต่างประเทศมากขึ้นทุกขณะ  และในที่สุดก็เข้าร่วมสงครามในปี 1914 และการพ่ายแพ้สงครามยิ่งทำให้ทุกอย่างเลวร้ายมากขึ้น ..รัฐบาลของซาร์เข้าสู่ภาวะอันตราย การปฏิวัติเกิขึ้น โดยทำการขับซาร์นิโคลาสออกจากบัลลังก์ราชวงศ์โรมานอฟจึงสิ้นสุด และทำให้ระบบการปกครองของรัสเซียมาเป็นระบบคอมมิวนิสต์ในที่สุด มีผู้ให้ข้อคิดเห็นว่าการปฏิรูปการปกครองมิใช่สิ่งที่นำไปสู่การปฏิวัติ แต่เป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ทำให้เปลี่ยนการปฏิรูปมาเป็นการปฏิวัติ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)