Troisième République Française:สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3

     สาธารณะรัฐที่ 1 และ 2 ของฝรั่งเศสเป็นผลจากการปฏิวัติแต่สาธารณรัฐที่ 3 กำเนิดจากความพ่ายแพ้สงครามต่อเยอรมนี
     สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หรือ สงครามฝรั่งเศส-เยอรมัน”หรือ “สงครามปี ค.ศ.1870” เป็นความขัดแย้งกันระหว่างอาณาจักรฝรั่งเศสที่ 2 และราชอาณาจักรแห่งปรัสเซีย ในสงครามนี้ฝ่านปรับเซีย325px-Battle-Mars-Le-Tour-large และเยอรมันได้รับชัยชนะที่นำมาซึ่งการรวมเยอรมันภายใต้กษัตริย์วิลเฮมที่ 1 แห่งปรัสเซีย และการล่มสลายของจักรพพดินโปเลียนที่ 3 สิ้นสุดอาณาจักรฝรั่งเศสที่ 2 และแทนที่ด้วย “สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ตามข้อตกลงที่ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายแพ้สงครามนี้ ทำให้เขตแดนบางส่วนของลอเรน-อัลสาซ ต้องตกเป็นของปรัศเซีย(ซึ่งอุดมด้วยทรัพยากรถ่านหินฯ)และกลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอมัน ซึ่ง่ยังคงสภาพนั้นกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้ง 1 เมื่อสองแค้วนได้กลับคืนสู่ฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาแวร์ไซย์
     เป็นสมัยแห่งความยุ่งยากวุนวาย โดยในครั้งแรกเนื่องจากสงครามกับต่างประเทศ และต่อด้วยการจลาจลภายในของคอมมูนแห่งปารีส ความขัดแย้งกันจะมีอยู่เกือบทุกสถาบัน กลุ่มนิยมกษัตริย์ขัดแย้งกับกลุ่มนิยมรัฐสภานักแสวงหาอาณานิคึมขัดแย้งกับผู้ไม่เห็นด้วย ความไม่ลงรอยกันระหว่างรัฐและสถาบันศาสนาหรือนายทุนกับกรรมกร เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐี่ 3 ประเทศฝรั่งเศสก็มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจจนเป็นที่สังเกตได้
     สภาพทั่วไปปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20
หลังจากสมัยของจูลส์ เฟอรี สภาพการเมืองในฝรั่งเศษยิ่งวุ่นวายมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะทำให้พรรคการเมืองสังคมนิยมเข้ามาจัดตั้องคณะรัฐบาลในที่สุด เหตุการณ์แรกเป็นการกระทำของรัฐมนตรีสงครามนายพลบูลองเช่ ผู้ต้องการจะทำรัฐประเหารเช่นเดียวกับที่หลุยส์โบนาปาตเคนทำสำเร็จ ซึ่งความพยายามแม้จะไม่ประสบผลแต่ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกทางการเมือง     เหตุการณ์ที่สำคัญอีกเหตุการณ์คือ การคอรัปชั่นในการขุดคลองปานามา เงินหลวงจำนวนมากตกอยู่ในกระเป๋สยีกกสนเทอ
มราเป็นทั้งคนของรัฐบาลและสมาชิกสภา  มติมหาชนเริ่มแสดงความไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในขณะเดียวกันก็มีความรู้สึกต่อต้านพวกยิว เพราะนักการเงินชาวยิวได้เกี่ยวพันอยู่มากในการคอรัปชั้นครั้งนี้ ซึ่งในที่สุดความรู้สึกเหล่านี้ก็กลายเป็นขบวนการที่จะล้มการปกครองแบบสาธารณรัฐ
     เหตุการณ์อีกเหตุการณ์ที่เป็นการบั่นทอนกำลังใจคนในชาติคือนายทหารเชื้อชาติยิวในกองทัพฝรั่งเศสถูกกล่าวว่าทำกาลลักลอบนำอาวุธไปขายให้กับฝ่ายเยอรมัน ซึ่งถือว่าเป็นศัตรูของชาติ นายทหารถูกตัดสินว่าผิดจริงแต่เรื่องไม่จบเพียงเท่านั้นมีผุ้ตั้งข้อสังเกตการตัดสินดังกล่าว โดยสรุปว่าฝ่ายซ้ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพวกหัวรุนแรง รีพับลิกัน และสังคมนิยมให้ความสนับสนุนนายทหารผู้นั้น ในขณะที่กลุ่มขวาฝ่ายทหารและฝ่ายแคธอลิคต่อต้าน ในที่สุด เอกสารต่าง ๆ ที่ปรักปรำนายทหารนั้นเป็นของปลอม และผุ้ที่เกี่ยวข้องฆ่าตัวตาย จึงเป็นที่แน่ชัดว่าไม่มีความผิดดังถูกกล่าวหา แต่เป็นเพียงแพะรับบาปจากการคอรับชั้นของักการเมืองและนายทหารบางคน แม้คดีจะปิดไปแล้ว ชาวฝรั่งเศสยังคงเกิดความรู้สึกไม่เชื่อถือกองทัพ ไม่ไว้วางใจนักการเมืองฝ่ายขวาตลอจนประธานธิดี ถึงกับมีการวางแผนจะลอบสังหารประธานาธิปดี โดยพวกสมาคมรักชาติโดยมีผลทำให้กลุ่มซ้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกสังคมนิยมได้รับเสียงสนับสนุนมากขึ้น ถึงกับสมาชิกกลุ่มสังคมนิยมได้เข้าร่วมในคณะรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลเริ่มมีกลุ่มซ้ายที่ม่ชอบพวกแคธอลิค ได้ออกกฎหมายต่อต้านวัดแคธอลิค ที่ระบุให้แบ่งแยกระหว่างวัดกับรัฐออกจากกันเด็ดขาด รัฐยกเลิกความช่วยเหลือที่เคยให้กับวัด พร้อมทั้งจัดตั้งคณะpannelli_11กรรมการพิเศษ ทำการจัดการด้านทรัพย์สมบัติของวัด เป็นต้น
     สภาพของฝรั่งเศสหลังจากพ่ายแพ้สงครามกับปรัสเซียอย่างย่อยยับ ได้รับการดูถูกทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ตนอยู่ในฐานะประเทศมหาอำนาจ เคยมีอาณานิคมไพศาล สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อจิตใจของประชาชนมากอยู่แล้ว และยังต้องมาเผลิญกับภัยวิบัของการจลาจลภาใน สภาพการคอรับชั่น ของรัฐบาล กรณีขุดคลองปานามา จนถึงความหัวเก่ากรณีนายทหารตกเป็นแพะ ชาวฝรั่งเศสแทบจะสิ้นหวัง เริ่มเกิดความสงสัยในอนาคตของประเทศชาติ ตลดอถึงมนุษยชาตโดยทั่วไ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของคนฝรั่งเศส
     ความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยอีกอันหนึ่งที่ทำให้แนวโน้มทางการเมืองของฝรั่งเศสเปลี่ยนไป ฝรั่งเศสต่างไปจากอังกฤษและเยอรมนี ในขณะที่ประเทศทั้งสองเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมฝรั่งเศสยังคงวางพื้นฐานชีวิตอยู่บนการเกษตร อุตสาหกรรมหลักของฝรั่งเศสได้แก่ฝ้าไหมและเหล้าไวน์ซึ่งก็ไม่ให้ผลประโยชน์แก่ประเทศมากมายนัก และเมื่อมีคลองสุเอช สินค้าจากจีนไหลทะลักเข้าสู่ยุโรป และอิตาลี ได้พัฒนาสิ้นค้าประเภทนี้ขึ้นมาแข่งขัน เมืองลียองศูนย์กลางอุตสาหกรรมผ้าไหมก็ยิ่งซบเซา และสุดท้ายเมื่อมีการผลิตฝผ้าใยเทียนขึ้นได้ ตลาดค้าผ้าของฝรั่งเศสจึงต้องตกต่ำลงอีกเช่นเดียวกับไวน์ อัตราการผลิตเริ่มตกต่ำลง เพราะสินค้าเหล้าไวน์จากประเทศอื่น มีราคาถูกกว่าและหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดยุโรป แต่ถึงอย่างไรฝรั่งเศษก็ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยในขณะนั้น
     ขบวนการกรรมกรของฝรั่งเศสมีลักษณะแปลกกว่าประเทศอื่น ๆ สหพันธ์กรรมกรเป็นเรื่องราวของความก้าวหน้าและปฏิกิริยาทางการเมือง  รัฐบาลฝรั่งเศสออกกฎหมายการรวมตัว ห้ามมิให้การรวมกลุ่มแม้แต่ในรูปของสมาคมอาชีพ ให้มีการติดต่อกันเป็นส่วนตัวเท่านั้น สหพันธ์กรรมกรจึงมีสภาพผิดกฎหมาย และการสไตร์คถือเป็นอาชญากรรม
     เมื่อฝรั่งเศสเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม กรรมกรมีจำนวนมากขึ้น และมีการจับกลุ่มกันอย่างลับ  ๆ แต่ก็กว้างขว้างและมีลักษณะรุนแรง และเกี่ยวข้องกับขบวนการทางการเมืองอื่น ๆ
      หลังปี 1870 สหพันธ์กรรมกรเริ่มดีขึ้น เป็นเพราะได้แสดงตัวให้เห็นถึงการเดินสายกลาง จึงมีกฎหมายยินยอมให้มีการรวมกลุ่มกรรมกรได้โดยถูกต้อง โดยมีการรวมตัวของกรรมกรและประกาศว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มการเมืองใดๆทั้งสิ้น จะต่อสู้เพื่อการอยู่ดีกินดี สิทธิ เสรีภาพของกรรมกรแต่เพียงอย่างเดียว
        กล่าวได้ว่า ศตวรรษที่ 19 ต่อศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงของการผันแปรทางการเมืองของฝรั่งเศส และยังถูกกระทบด้วยพลังชาตินิยมที่ต้องการขยายตัว ทั้งในด้านการเมืองและชื่อเสียงเกียรติยศจนดูเหมือนเป็นการปูทางเพื่อไปสู่สงครามในอนาคต

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)