WWI:ราซีย์สกายาฟิดิรัตซียา

     ในสมัย "ซาแห่งสันติภาพ" หรือซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย เนืองจากสามารถแ้ปัญหาจากการปฏิวัติทุกรูปแบบ ทางด้านต่างประเทศรัสเซียดำเนินนธยบายเป็นมิตรกับจักวรรดิเยอมนีและจักวรรดิออตโตมัน กระทั่งเกิดปัญหารเรืองดินแดนในคาบสมุทรบอลข่าน รสเซียจึงเปลี่ยนนโยบายไปเป็นมิตรกับฝรั้่งเศสและอังกฤษ กลุ่มต่อต้านระบบกษัตริย์ได้หายไปอย่างรวดเร็ว มีเพียงกลุ่มหนึ่งได้พยายามวางแผนลอบปลงพระชนม์ แต่ถูกขัดขวางโดยตำรวจลับรัสเซีย นักศึกษาจำนวนหนึ่งถูกแขวนคอ รวมทั้งอเล็กซานเดอร์ อุลยานอฟ ซึ่งเป็นพี่ชาย วลาดีมีร์ เลนิน ซึ่งอีกหลายปีต่อมาใช้เวลาส่วนใหญ่กับขบวนการปฏิวัติใต้ดอน เพื่อล้างแค้นให้พี่ชาย
      อเล็กซานเดอร์ที่ 3 สเด็จสวรรคต เมือพระชนมายุได้ 49 พรรษา มกุฎราชกุมารนิโคลัสขึ้นเป็ฯซษร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ทรงเป็นจักรพรรดิ์องค์สุดท้ายของรัสเซีย ทรงครองราชย์พร้อมกับการเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสไม่สามารถตกลงอะไรกันได้กับอังกฤษ และได้รับการกล่าวขานว่าเป็นจักรพรรดิที่อ่อนแดไม่สามารถจักการกับสถานการณ์ที่ปั่นป่วนของประเทศพ่ายแพ้การรบทางเรือในสางครามรัสเซ๊ย-ญี่ปุ่น และทรงเข้าบัญชาการรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 รัสเซียประกาศสงครามกับมหาอำนาจกลางเมือวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1914 โดยเข้ากับฝ่ายไตรสัมพันธมิตร ทำการรบแนวรบด้านตะวันออก
    แนวรบด้านตะวันออกและตะวันตกนั้นแม้จะแยกกันทางภูมิศาสตร์แต่เหตุการณ์ในเขตสงครามทั้งสองมีอิทธิพลต่อกันเป็นอย่างมาก
       แนวรบทางด้านตะวันออกใหญ่กว่าแนวรบทางตะวันตกมาก เขตสงครามจำกัดขอบเขตอยางหยาบ ๆ โดย ทะเลบอลติก ทางตะวันตก มินสก์ทางตะวันออก เซนต์ปีเตอร์เบิร์กทางเหนือ และทะเลดำทางใต้ คิดเป็นระยะทางกว่า 1,600 กิโลเมตร ซึ่งมีผลอย่างรุนแรงต่อธรรมชาติของสงคราม เนื่องจากแนวรบยาวความหนาแน่นของทหารต่ำกว่าแนวรบด้านตะวันตก และแตกง่ายกว่า และเมื่อแตกแล้วเป็นการยากสำหรับฝ่ายตั้งรับที่จะส่งกำลังหนุนมาช่วย กล่าวคือฝ่ายป้องกันในแนวรบด้านตะวันออกไม่มีข้อได้เปรียบเหมือนกับแนวรบด้านตะวันตก
        สงครามเริ่มโดยการรุกรานปรัสเซีย และจังหวัดกาลิเซียของออสเตรีย-ฮังการี ความพยายยามแรกของรัสเซียประสบความล้มเหลว แต่สามารถควบคุมกาลิเซียเกือบทั้งหมดได้ ซึ่งเป็นผลให้เยอรมันต้องแบ่งทหารส่งมาทางตะวันออก
       ความสนใจหลักของการสู้รบไปอยู่ที่ส่วนกลางของโปแลนด์ทางตะวันออกของแม่น้ำวิลตูลา ในยุทธการแม่น้ำวิลตูลา ฝ่ายเยอรมนีประสบความสำเร็จเล็กน้อยแต่สามารถกันรัีสเซียให้อยู่ในระยะที่ปลดภัยได้
       ในปี 1915 กองบัญชาการเยอมนีตัดสิใจทุ่มเทความพยายามส่วนใหญ่บนแนวรบด้านตะวันออกและย้ายกองกำลังขนาดใหญ่มาจากตะวันตก ฝ่ายมหาอำนาจกลางเริ่มด้วยการรุกกอลิซขทอร์นอฟในกาลิเซีย หลังยุทธการทะเลสาบมาซูเรียกำลังเยอรมนีและออกเตรีย - ฮังการีในแนรบด้านตะวันออดำนเนินการอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาร่วมกันไม่นานการรุกจะเปลี่ยนไปเป็นการคืบหน้าโดยทั่งไปกละตามด้วยการล่าถอยทางยุทธศาตร์ของกองทัพรัสเซีย (สาเหตุของการผันกลับนี้เกิดจากข้อผิดพลาดในแง่ยุทธวิธี )
      กลางปี 1915 รัสเซียถูกขับออกจากโปแลนด์และถูกผลักดันหลายร้อยกิโลเมตรจากชายแดนของระเทศมหาอำนาจกลาง ปลายปีเดียวกันนี้ เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีสามารถหยุดยั้งการบุกของรัสเซียได้
       ปี 1916 ในเดือนมิถุนายน รัสเซียมีอกองพลทหารราบ 140 กองพลในขณะที่ออสเตรียและเยอมันีมี 105 กองพล กองทหารม้ารัสเซีย 40 กองพลในขณะที่ฝ่ายมหาอำนาจกลางมี 22 กองพล การระดมอุตสาหกรรมและการเพ่ิมการส่งออก จึงส่งผลให้รัสเซียเป็นฝ่ายบุกต่อไปได้
        การโจมตีครั้งใหญ่บนแนวรบด้านตะวันตกเฉียงใต้โดยการนำของพลเอกอเล็กเซย์ บรูซิลอฟ (เรียกว่าการรุกของบรูซิลอฟ)เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนา โดยเป้าหมายการโจมตีคือส่วนของแนวรบที่ควบคุมโดยออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งประุสบความสำเร็จอย่างน่าประทับใจในช่วงแรกกองทัพรัสเซียรุกเข้าไปลึก 50-70 กิโลเมตร จับกุมเชลยได้หลายแสนคน และปืนใหญ่อีกหลายร้อยกระบอก
        การมาถึงของกองหนุน ความพ่ายแพ้ของโรมาเนีย ความล้มเหลวของพันธมิตรตะวันตกในการสั่นสะเทือนการป้องกันของเยอรมนีทำให้การรุกของรัสเซียสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน
        14 สิงหาคม ค.ศ. 1916 โรมาเนียเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายไตรพันธมิตร และทำการรุกประสบความสำเร็จกระทั่งเดือนกันยน โรมาเนียเริ่มประสบความสูญเสียอย่างหนักและพ่ายแพ้หลายครั้ง เนื่องจากยุทโธปกรณ์และขาดความช่วยเหลือจากรัสเซีย
       ปี 1917 กองทัพเยอมันสามารถสมทบกับกองทัพออสเตรีย-ฮังการีในทรานซิลวาเนียและกรุงบูชาเรสต์ถูกขึดโดยฝ่ายมหาอำนาจกลางในเดือนธันวาคม ไม่นานนักความไม่สงบก็แผ่กระจายไปทั่งรัสเซีย ขณะที่ซาร์แห่งรัสเซียยังคงบัญชาการรบอยู่แนวหน้า จักรพรรดินีอเล็กซานดราซึ่งไร้ความสามารถในการปกครองไม่สามารถปราบปรามกลุ่มประท้วงได้และนำไปสู่การฆาตกรรม"รัสปูติน" ปลายปี 1916
        มีนาคม 1917 การชุมนุมที่กรุงเซนต์ปีเตอร์เบิร์กลงเอยด้วยการสละราชบัลลังก์ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย และการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวซึ่งมีความอ่อนแอและแบ่งปันอำนาจกับกลุ่มสัคมนิยมเปโตรกราดโซเวียต การจัดการดังกล่าวสร้างความสับสนและนำไปสู่ความวุ่นวายทั้งในแนวหน้าและในแผ่นดินรัสเซีย กองทัพรัสเซียด้อยประสิทธิภาพลงกว่าเดิม
       สงครามและรัฐบาลชั่วคราวของรัศเซียไม่เป็ฯนิยมของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ ความไม่พอใจดังกล่าวได้นำไปสู่การขึ้นครองอำนาจของพรรคบอลเชวิค นำโดย วลาดีนีย์ เลนิน ซึ่งให้สัญญากับชาวรัสเซียว่าจะดึงรัสเซียออกจากสงครามและทำให้รัสเซียกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
       ชัยชนะของพรรคบอลเชวิคในการปฏิวัติเดืิอนตุลาคม ตามด้วยการสงบศึกชั่วคราวและการเจรจากับเยอมนี ซึ่งในตอนแรก พรรคบอลเชวิคปฏิเสธข้อเสนอของเยรมนี แต่เมื่อกองทัพเยอมันีบุกถึงยูเครน เขาจึงต้องยอมเซ็นสัญญาเบรสต์-ลีโตเวส เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1918 ซึ่งทำให้รสเซียออกจาสงครา และยอมยกดินแดนในแก่ฝ่ายมหาอำนาจกลาง...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)