สัมพันธมิตรดั้งเดิม(มหาอำนาจประชาธิปไตย)

     ฝ่ายสัมพันธมิตรดั้งเดิมในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นกลุ่มประเทศที่เข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งสองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน อันประกอบด้วย ผรังเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติ
เครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหภาพแอฟริกาใต้ สัมพันธมิตรดั้งเดิม คือกลุ่มประเทศที่ประกาศสงครามต่อนาซีเยอรมนีในช่วงการบุกครองในปี 1939 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีความสัมพันธ์กันจากเครื่อข่ายสนธิสัญญาป้องกันร่วมกัน และสนธิสัญญาในความร่วมมือพันธมิตรทางการทหารก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนความร่วมมือกันระหว่างสหราชอาณาจักและฝรั่งเศสสามารถย้อนไปได้ถึงความเข้าใจระหว่างอังกฤษ-ฝรั่งเศษในปี 1904 และฝ่ายไตรภาคี ในปี 1907 และดำเนินการร่วมกันในปีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วน
พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ ได้ลงนามในปี 1921 ซึ่งได้รับการแก้ไขในปี 1927 และ1939 ส่วนบัญญัติป้องกันร่วมกันอังกฤษ-โปแลนด์ ลงนามในเดือนสิงหาคม ปี 1939 ประกอบด้วยสัญญาในการให้ความร่วมมือทางการทหารร่วมกันระหว่างชาติในกรณีถูกรุกรานโดยนาซีเยอรมนี
      ประเทศมหาอำนาจประชาธิปไตย มีนโยบายการต่างประเทศที่ขัดแย้งกัน โดยไม่ได้ทำความตกลงกันก่อน การที่ฝรั่งเศสยกกองทัพเข้ายึดแคว้นรูห์ อังกฤษไม่เห็นด้วย เพราะผลที่ตารมมาทำให้เยอรมนีอ้างการที่ถูกยึดแค้วนรูห์นี้ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ พวกกรรมกรในโรงงานอุตสาหรรมนัดหยุดงาน เยอรมนีไม่มีเงินจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม
     ในกรณีที่สันนิบาตชาติจักการประชุมให้มีการลดอาวูทางบกและทางเรือนั้น อังกฤษยอมให้เยอรมนีมีกำลังอาวุธทางเรือ 35 เปอร์เซ็นต์ ของกองทัพเรืออังกฤษ สร้างความไม่พอใจให้ฝรั่งเศสเป็นอย่างมากฝรั้งเศสไม่ต้องการให้เยอมนีสะสมกำลังอาวุธเพื่มขึ้น และไม่เป็นไปตามข้อตกลงขององค์การสันนิบาตชาติ
     มาตรการผ่อนปรน ต่อประเทศมหาอำนาจอักษะ คือการยอมทำตามข้อเรียกร้องของกลุ่มประเทศเผด็จการโดยหวังว่าเมือยอมฝ่านปรนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ประเทศนั้นคงไม่ละเมิดสัญญาเรียกร้องสิ่งอื่นๆ เพิ่มขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้วประเทศเหล่านี้ก็ยังคงเรียกร้องในสิ่งที่ตนต้องการ และเนื่องจากผลเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งคาดว่าหากเกิดสงครามขึ้นอีกครั้งผลเสียหายจะมีมากกว่าจึ้งพยายามไกล่เกลี่ยให้เกิดสันติภาพเป็นเป็นการส่งผลดีให้ทางฝ่ายเยอรมนี ฮิตเลอร์ฉวยโอกาสเข้ารุกรานดินแดนอื่นๆ


     นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของฮิตเลอร์มีผลต่อประเทศมหาอำนาจพันธมิตร อังกฤษพอใจที่เยอรมนีต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ และจะมีนโยบายเป็นกลางไม่ขัดขวางการรุกรานของเยอรมนีแต่อย่างใด
     ฝรั้งเศสไม่พอใจนโยบายของพรรคนาซี แต่ผรังเศสไม่กล้าตัดสินใจทำอำไรถ้าอังกฤษไม่ให้ความสนับสนุน ฮิตเลอร์ตระหนักดีว่าฝรั่งเศส ไม่พร้อมที่จะทำสงครามและยอมรับสัมพันธภาพระหว่งฝรั่งเศสกับโปแลนก์และการเพ่มกำลังทหารรักษาเขรไรน์แลนด็ให้เข้มแข็งขึ้น นโยบายภายในประเทศ มีการแข่งขันทางการเมืองกันบ่อยครั้ง มีพวกหัวปานกลาง ซ้ายจัด และขวาจัด พวกซ้ายจัดได้แก่พรรคอมมิวนิสต์ และพวกขวาจัดคือพรรคฟาสซิสม์ ฐานะการเมืองฝรั่งเศสไม่มั่นคง เมื่อฮิตเลอร์ยกกองทัพเข้ายึดเขตไรน์แลนด์ ฝรั่งเศสไม่มีทางต่อต้านกองทัพเยอรมนี รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นรัฐบาลผสมประกอบด้วยพรรคโซเซียลิสต์และคอมมิวนิสต์ นโยบายในการฏิรูปสังคมสร้างความตกใจแก่พรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นเหตุให้ฝ่ายขวาให้การสนับสนุนพรรคนาซีเยอรมนีอย่างเปิดเผย
 

  นโยบายการต่างประเทศของกลุ่มประเทศมหาอำนาจประชาธิไตยเป็นนโยบายผ่อนปรนต่อมหาอำนาจอักษะ ด้วยต้องการสันติภาพ ไม่มีการเตีรยมพร้อมที่จะทำสงครามและคาดว่าสงครามคงจะไม่เกิดขึ้นอีก ฐานะทางการเมือง
ภายในประเทศไม่มั่นคง พรรคการเมืองต่าง ๆ แย่งชิงกันเป็นรัฐบาล ไม่มีโอกาสที่จะเตรียมกำลังทหารในการทำสงคราม นโยบายการต่างประเทศของฝ่ายอักษะมั่งคงและเข้มแข็งกว่า ฮิตเลอร์และมุสโสลินีเรียกร้องในส่งที่จรต้องการตลอดเวลา และเมือใช้กำลังทหารเข้ายึดครองอินแดนต่าง ๆ กลุ่มมหาอำนาจประชาธิปไตยก็ไม่กล้าตัดสินใจทกำการต่อต้านแต่อย่างไร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)