WWII: Neutrality

     ช่วงระยะเวลาในปี 1933-1945 ประธานาธิปดีแฟรงคลิน เดลาโน รูสเวลท์ Frankling Delano Rooseevelt เป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา จากพรรคเดโมเครติก รูสเวลท์ได้รับเลือเป็นประธานาธิบดี 4 สมัย แปดปีแรก รองประธานาธิบดี คือ จอห์น เอ็น. การ์เนอร์ John N. Garner ในสมัยที่สาม รองประธานาธิบดี คือ เฮนรี เอ.วอร์เลส Henry A.Wallace ในสมัยที่สี่ รองประธานาธิปดีคือ ฮาร์รี เอส.ทรูแมน Harry S. Truman รูสเวลส์เสียชีวิตต้นสมัยที่สี่ในวันที่ 12 เมษายน 1945 ด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองแตก เป็นผลให้ฮาร์รี เอส. ทรูแมน รองประธานาธิบดีก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา รูสเวลส์เป็นประธานาธิบดีคนสุดท้ายที่ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 4 มีนาคม
      ในปี 1933 รูสเวลท์ เข้าบริหารประเทศท่ามกลางบรรยากาศสงครามโลกครั้งที่ 2 เหตุการณ์ที่มีิอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คือ
       ภาวะเศรษฐกิจตกตำ่ หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปรากฎรุนแรงเด่นชัดในปี 1929 เป็นผลให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาปิดกั้นการค้าทั้งสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมกับประเทศทังหลายด้วยกฏหมายเพื่อภาษีนำเข้า เป็นเหตุให้การค้าของสหรัฐอเมริการหยุดชงัก ประเทศลูกหนี้ไม่อาจจ่ายหนี้คืนแก่สหรัฐอเมริกาได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวรูสเวลท์จึงเปิดการค้ากับประเทศคู่ค้าโดยการลำภาษีนำเข้า
      และคือการปรากฎของระบบเผด็จการทั้งในเอเชียและยุโรป ผู้ชื่อชอบลัทธิทหาร ญี่ปุ่น ในเอเชีย อดอฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำแห่งพรรคนาซี เบนิโต มุสโสลินี ผุ้นำพรรคฟาสซิส และ โจเซฟ สตาลิน ผุ้นำเผด็จกาคอมมิวนิสต์ จากการปรากฎตัวของผู้นำเผด็จการทั้ง 4 รุสเวลท์ เห็นว่าควรต้องเตรียมพร้อมด้านกองกำลังและอาวุธเพื่อป้องกันการรุกรานใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
     สหรัฐอเมริกาวางเฉยและไม่เข้าร่วมแก้ไขปัญหาขณะชาติผู้ก้าวร้าวปฏิบัติการ สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดี รูสเวลท์ วางเฉยไม่เขาร่วมระบับเหตุกาณ์หรือร่วมแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด เพราะสาเหตุ 5 ประการ
     - เชื่อในพรมแดนธรรมชาติที่ดีเยี่ยมเปรียบเสมือนเป็นกำแพงสกัดกั้นการรุกรานใด ๆ
     - คนอเมริกันส่วนใหญ่คิว่าสงครามไม่ดีเพราะสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้วแทนที่จะมีความสงบสุข สิ่งที่ปรากฎคือคงเกิดกรณีพิพาททางการค้าด้วยกำแพงภาษีนำเข้าที่สูง ไม่สามารถลดอาวุธและกองกำลังทหารระหว่างกันได้ และเกิดระบบเผด็จการรวบอำนาจ
     - ความล้มเหลวของสันนิบาติชาติ
     - สหรัฐอเมริกไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับคู่กรณีพิพาททั้งทางการค้าและการเงิน เพราะจะฉุดให้สหรัฐอเมริกาต้องเข้าร่วมในสงครามเช่นต้องเข้าร่วมในสงครามโลกครังที่ 1
     - และคนอเมริกันกลุ่มที่ยึดมั่นในนโยบายโดดเดี่ยว คือต้องการให้รัฐบาลกลางสนใจในกิจการและปัญหาภายในประเทศ แยกสหรัฐอเมริกาออกจากการเข้ายุ่งเกี่ยวในปัญหาโลกมีจำนวนมากกว่ากลุ่มคนอเมริกันที่ต้องการให้รัฐบาลกลางสนใจเหตุกาณภายนอกและนำสหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงรวมแก้ไขปัญหาโลก
     ญี่ปุ่นยืนยันการเสริมสร้างแสนยานุภาพกองทัพเรือให้ทัดเทียมมีประสิทธิภาพเช่นสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ด้วยการปรกกาศถอนญี่ปุ่นออกจากการร่วมลงนามในสนธิสัญญาลดอาวุธที่วอชิงตันต้นปี 1922 กำหนดและควบคุมแสนยานุภาพกองทัพเรือให้ญี่ปุ่นมีฐานะเป็นรองสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ รวมทั้งการคงอยุ่ของนโยบายเปิดประตูในดินแดนจีน ตลอดจนประกาศถอนญี่ปุ่นออกจากการร่วมลงนามในขอตกลงควบคุมแสนยานุภาพกองทัพเรือที่กรุงลอนดอนปี 1930 กำหนดให้ญี่ปุ่นคงมีฐานะการถือครองเรือลาดตระเวนเป็นรองสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
     สหรัฐอเมริกาแสดงท่าที่ยึดมั่นในนโยบายโดดเดี่ยวแยกสหรัฐอเมริกาออกจากการเข้ายุ่งเกี่ยวในปัญหาโลกเริ่มด้วยรัฐสภา ผ่านกฎหมายละเลยหนี้สิน กำหนดห้ามรัฐบาลและนายทุนอเมริกันให้ประเทศที่เพิกเฉยละเลยการจ่าหนี้สินคืนแก่สหรัฐอเมริกาได้กู้ยืมเงินอีก (หนีสินครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศลูกหนี้ส่วนใหญไม่จ่ายคืนแก่สหรัฐ แต่มีเงินซื้ออาวุธเก็บสะสม)
      วุฒิสภาปฏิเสธการนำสหรัฐอเมริกาเข้าเป็นสมาชิกศาลโลก สืบเนื่องจากการรุกรานเอธิโอเปียโดยอิตาลี
      อเมริกาผ่านกฎหมายวางตัวเป็นกลาง กำหนดให้อำนาจประธานาธิบดีสั่งห้ามเรืออเมริกันขนอาวุธให้แก่ชาติใดๆ และห้ามคนอเมริกันโดยสารเรือชาติคู่กรณี (เกรงจะเกิดเหตุเช่น กรณีเรือลูซิตา)
      จากสงครามกลางเมือในสเปนและท่าที่ที่ก้าวร้าวของเอยรมันและญี่ปุ่นรัฐสภา่ผ่านกฏหมายวางตนเป็นกลางอีก 2 ฉบับ กำหนดห้ามให้การกู้ยืมเงินหรือสินเชื่อใด ๆ แก่ชาติผุ้ก้าวร้าว และฝ่านร่างกฎหมายวางตนเป็นกลางปี 1937 กำหนดให้อำนาจประธานาธิบดขายสินค้าที่ไม่ใช่อาวุธยุทธปัจจัยแก่ทุกชาติ ในรูปของการจ่ายเงินสด และขนส่งเอง
          ด้วยกฎหมายวางตนเป็นกลางทั้งสามฉบับ สหรับอเมริกามุ่งนำสหรัฐออกจากการเข้าร่วมในสงคราม ยอมรับการหมดสิ้นเสรีภาพเดินเรือในทะเลหลวงเพื่อการค้าและจำกัดสิทธิคนอเมริกันในการเดินทางทางเรือด้วยเกรงอันตราย รวมถึงจำกัดสิทธิทางการค้าของธุรกิจอเมริกันกับประเทศคู่กรณี
         อเมริกาติดตามเหตุการณ์ความก้าวร้าวต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดโดยตลอด ในทางปฏิบัติ ประธานาธิบดีรูสเวลท์กล่าวในรัฐสภาชี้ถงการก้าวร้าวของชาติผุ้ก้าวร้าว จำเป็นที่สหรัฐอเมริกาต้องเตรียมพร้อมด้านกองกำลังปละอาวุธเพื่อป้องกันประเทศ ขณะเดียวกันต้องแสดงหาแนวทางสร้างสันติภาพ รัฐสภาสนองตอบคำเรียกร้องของประธานาธิบดีรูสเวลท์ด้วยการจัดสรรเงินงบลประมาณพิเศษเพื่อการเสริมสร้างกองกำลังและแสนยานุภาพกองทัพเรือในน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกและแอตแลนติก นอกจากนี้รูสเวลท์ยังส่งสาส์นเป็นการส่วนตัวถึงฮิตเลอร์และมุสโสลินี เรียกร้องให้ยุติกรณีพิพาทด้วยข้อตกลงและความร่วมมือกันแทนการใช้กองกำลังทหาร สองผุ้นำประเทศไม่ให้ความสนใจเพราะมองว่าสหรัฐอเมริกายึดมั่นในนโยบายโดดเดี่ยว
       ท่าที่ของสหรัฐต่อเหตุการการรุกรานโปแลนด์ ของเยอรมันและการรุกรานฟินน์แลนด์ของรุสเซียประธานาธิบดี รูสเวลท์ได้เสนอของบประมาณพิเศษรวมทั้งสิ้น1845 ล้าน รัฐสภาฝ่านงบประมาณพิเศษสนองคำเรียร้องของประธานาธิบดีรูสเวลท์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นประธานาธิบดีรูสเวลท์ประกาศทางวิทยุว่าสหรัฐอเมริกาคงยคดมั่นในยโยบายวางตนเป็นกลาง
     ประธานาธิบดีรูสเวลท์เห็นควรทบทวนกฎหมายวางตนเป็นกลางปี 1937 ซึ่งกำหนดให้อำนาจประธานาธิบดีขายสินค้าที่ไม่ใช้ยุทธปัจจัยแก่ทุกชาิตในรูปของการจ่ายเงินสดและบรรทุกเอง ประธานาธิบดีรูสเวล?์ต้องการให้มีการขายอาวุธและยุทธปัจจัยแก่อังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อใช้ต้านความก้าวร้าวของเยอรมันและิดตาลี เป็นผลให้ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 1939 รัฐสภาประกาศยกเลิกกฎหมายวางตนเป็นกลาง และฝ่ายกฏหมายวางตนเป็นกลางปี 1939 กำหนดให้อำนาจประธานาธิบดีสั่งขายอาวุธและยุทธปัจจัยแก่ทุกชาติในรูปขายเงินสดและขนส่งเอง ปรธานาธิบดีรูสเวลท์มั่นใจว่าชาติผู้ก้าวร้าวสะสมอาวุธแลยุทธปัจจัยไว้มากเพียงพอแล้วและจะไม่ซื้ออาวุทธยุทธปัจจัยจากสหรัฐอเมริกา ด้วยกฏหมายวางตนเป็นกลางปี 1939 อังกฤษนำการสั่งซื้ออาวุธและยุทธปัจจัยจากสหรัฐอเมริกามีอัตราครึ่งหนึ่งของอาวุธยุทธปัจจัยที่ส่งออก
      Battle of Britain อังกฤษสามารถหยุดปฏิบัตการโจมตีอังกฤษของเยอรมันได้ชั่วคราว โดยจะเริ่มโจมตีอังกฤษครั้งใหม่ในต้นปี 1941
     กองกำลังทางอากาศของอังกฤษปฏิบติการอย่างเต็มความสามารถโดยเฉพาะอย่างยิ่งรักษาช่องแคบอังกฤษจากการที่อาจถูกกองกำลังเยอรมันยึครองหรือใ้เป็นทางเข้าสู่หมาู่เกาะอังกฤษและในวันที่ 3 กันยายน 1940 สหรัฐอเมริกาจัดส่งเรือพิฆาต 50 ลำร่วมในกองกำลังทัพเรืออังกฤษต้านการบุกโจมตีของกองกำลังเยอรมัน อังกฤษตอบแทนด้วยการให้สิทธิสหรัฐอเมริกาเช่าพื้นที่ในเขตยึดครองของอังกฤษมีระยะเวลา 99 ปี ซึ่งล้วนเป็นหมู่เกาะในทะเลแคริเบียน และบิทิชกิอานา ในอเมริกาใต้ เพื่อตั้งฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศ ในวันที่ 27 กันยายน 1940 ญี่ปุ่นลงนาให้ความช่วยเลหืด้านอาวุธยุทธปัจจัยแก่เยอรมันและอิตาลีทั้งให้สัญญาว่าจะบุกโจมตีสหรัฐอเมริกา ถ้าสหรัฐอเมริกาเข้ายุ่งเกียวในสงครามทางยุโรป
   

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)