WWII:UN

    องค์การระว่างประเทศ องค์กรสหประชาชาติ United Nations Organizaton จัดตั้งขึ้นโดยยึดหลักสันติภาพและภารดรภาพเป็นหลัก
     ในการแสดงหาสันติภาพเริ่มขึ้นที่ยุโรป ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการเคลื่อนไหวที่จะดำรงไว้ซึ่งสันติภาพอันถาวร แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ต้นคริสตศตวรรษที่ 19 ประเทศต่าง ๆ ร่วมมือกันแสวงหาลู่ทางขนัดปัญหาระหว่างประเทศโดยอาศัยการประชุมปรึกษากัน เช่นการปรชุมแห่งเวียนนา ,การประชุมเอกซ์ลาซาแปล เป็นต้น เป็นสมัยที่เรียกว่า สมัยความร่วมือแห่งยุโรป Concert of Europe ต่อมาเกือบร้อยปี มีการประชุมที่กรุงเฮก ในปี 1899 และ 1907 เพื่อพิจารณาลดอาวุธทั่วไป ความร่วมมือยังปรากฏในรุ)ของความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งสไภพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ สหภาพไปรษณีย์สากลระหว่างประเทศเป็นต้น แต่ความพยายามดังกล่าวได้ผลไม่ถาวร จนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ประธานธิบดี วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ได้พยายามจัดตั้งสันนิบาตชาติ เพื่อดำรงรักษาสันติภาพของโลกในถาวรแต่ในที่สุดสันนิบาตชาติก็ต้องล้มเลิกไป ประเทศต่าง เห็นถึงคุนประโยชน์ของสันนิบติชาติในท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงร่วมมือกนสถาปนาองค์การสหประชาชาติ ขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ปี 1945 ในขั้นแรกมีประเทศเข้าร่วมลงนาม 24 ประเทศและประกาศสงครามกับฝ่ายอักษะ
     คำประกาศจากพระราชวังเซนต์ เจมส์ วันที่ 12 มิถุนายน 1941 ซึ่งเป็นเวลาที่สครามโลกครั้งที่ 2 กำลังดำเนินอยู่ ผู้แทนประเทศพันธมิตร อังกฤษ แคนาด ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหภาพแอฟริกาใต้ และผุ้แทนรัฐบาลพลัดถิ่น 8 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันที่พระราชวังเซนต์ เจมศ์ กรุงลอนดอน เพื่อปรึกษากันเกี่ยวกับนโยบายที่จะทำสงคราม ในขณะเดียวกันที่ปรุชุมได้พิจารณาถึงปัญหาการดำรงชีวิตไว้ซึ่งสันติภาพตลอดจนความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต ผู้แทนประเทศต่าง ๆ ลงนามในคำประกาศซึ่งเรียกันต่อมาว่า “คำประกาศจากพระราชวังเซตต์ เจมส์”
     หลังจากออก “คำประกาศจากพระราชวังเซต์ เจมส์ แล้วประธานาธิบดี โรสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกาและวินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้เจรจากันเกียวกับสันติสุขโลกในอนาคตบนเรือออกัสตา นอกฝั่งหมู่เกาะนิวฟันแลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก และได้ร่วมประกาศ “กฎบัติแดตแลนติก”เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 1941 เป็นคำประกาศหลักการร่วมกันในการที่จะสถาปนาสันติสุขโลกในอนาคตสาระสำคัญของกฎบัติแอตแลนติก มีใจความดังนี้
-ประเทศทั้งสองจะส่งเสริมให้มวลมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาได้รับความมั่นคงปลอดภัยพ้นจากากรรุกราน
- ประเทศทั้งสองจะส่งเสริมให้มนุษย์ทุกชาติทุกภาษามีเสรีภาพที่จะเลือกการปกครองแบบใดแบบหนึ่งตามที่ตนปรารถนา
- ประเทศทั้งสองจะส่งเสริมให้ประเทศต่าง ๆ มีสิทธิเท่าเยมกันในด้านการพาณิชย์และการแสงหาวัตถุดิบที่แต่ละประเทศประสงค์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของตนให้มั่นคง
- ประเทศทั้งสองประสงค์ที่จะให้ชาติต่าง  ๆร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมค่าแรงงานและปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของกรรมกรให้ดีขึ้น
- ประเทศทั้งสองมีเจตจำนงค์ที่จะให้ทุกประเทศลิกใช้กำลังประหัตประหารกัน
ต่อมารัฐบาลต่าง ๆ 10 ประเทศได้รับรองกฎบัติแอตแลนติกและให้คำมั่นว่าจะร่วมมืออยางเต็มี่เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎบัติดังกล่าว ซึ่งในเวลานั้นสหรัฐอเมริกามิได้อยู่ในภาวะสงคราม
     คำประกาศแห่งสหประชาชาติ หรือปฏิฐฐาแห่งสหประชาชาติ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ร่างคำประกาศดังกล่าว โดยมีสี่มหาอำนาจ คือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหรภาพโซเวียต และจีน ได้ร่วมลงนามในคำประกาศแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1942 ต่อมา ประเทศพันธมิตรอีก 24 ประเทศได้ลงนามรับรองด้วย
     คำประกาศฉบับนี้ ทุกประเทศที่ร่วมลงนามพากันให้คำมั่นว่าจะปกิบัติตามความมุ่งหมายและหลักการขอฏณบัติแอตแลนติก จะดำเนินการสงครามต่ไปอย่างเต็มกำลังจนกว่าจะได้ชัยชนะและจำม่แยกกันทำสนธิสัญญาสันติภาพ
     31 ตุลาคม 1943 อังกฤษ จีน สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา ปรุชะมกันเกี่ยวักบการสงครามได้ออกคำประกาศกรุงมอสโก แสดงเจตจำนงที่จะสร้างองค์การใหญ่ระหว่างประเทศขึ้งองค์การหนึ่ง โดยยึดหลักอธิปไตย ความเสมอภาค และการที่แตะละรัฐใฝ่ใจในสันติสุขเป็นมาตรฐาน และจะเปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ วึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวไมว่าใหญ่หรือเล็กเข้าเป็นสมาชิก ทั้งนี้เพื่อช่วยำนฝดุงรักษาสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัยระหว่างประเทศไว้
     อีกหนึ่งเดือนต่อมาต่อมา โรสเวลล์ สตาลิน และเชอร์ชิลล์ ประชุมกันอีกครั้งที่ เตหะราน ประเทศอิหร่าน การประชุมครั้งนี้นำไปสู่การออกคำประกาศยืนยันความจำเป็ฯที่จะต้องจัดตั้งองค์การโลกขึ้น การประชุมที่เตหะรานนำไปสู่การประชุมครั้งใหญ่ที่คฤหาส์นดัมบาร์ตันโอกส์ ณ กรุงวอชิงตัน ในปี 1944 ผู้แทน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน สหภาพโซเวียต ได้ร่างข้อเสนอคดัมบาร์ตัน โอคส์ขึ้น ข้อเสนอนี้เป็นโครงการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนามว่า องค์การสหประชาชาติ
     โรสเวลต์ เชอร์ชิลล์ และสตาลิน ประชุมกันอีกครั้งที่มืองยัลตา ในคาบสมุทรไครเมีย ในปี 1945 เพื่อพิจารณาการยึดครองเยอรมนีเมื่อสงครามยุติแล้ว ในระหว่างการประชุมนี้ ได้มีการพิจารณาโครงร่างสหประชาชาติ หรือข้อเสนอดัมบาร์ตัน โอคส์ ในที่สุดที่ประชุมได้ออกแถลงการณ์ว่าประเทศมหาอำนาจทั้งสามและพันธมติร จะดำเนินการสถาปนาองค์การระหวางประเทศขึ้นโดยเร็วที่สุด และจะจัดให้มีการประชุมครั้งใหญ่ที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมกันจัดทำกฎบัติขององค์การสหประชาชาติต่อไป
     การประชุมที่นครซานฟรานซิสโกเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 1945 ผุ้แทนประเทศต่าง ๆ 51 ประเทศเข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาร่างกฎบัตรสหประชาชาติ การประชุมครั้งสิ้นสุดในวันที่ 25 มิถุนายน ปีเดียวกัน ซึ่งเป็นวันที่ที่ประชุมลงคะแนนเสียเป็นเอกฉันท์รับรองกฎบัตรนยี้ วันต่อมา ผุ้แทนประเทศต่าง ๆ ได้ลงนามในกฎบัตรแห่งองค์การ  หลังจากนี้ประเทศส่วนใหญ่ที่ร่วมลงนามได้รสัตยบันในวันที่ 24 ตุลาคม ปี1945 วันที่ 24 ตุลาคม จึงเป็นวันสหประชาชาติในเวลาต่อมา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)