Berlin Blockade

       การปิดกั้นเบอร์ลิน เป็นหนึ่งในวิกฤ๖การณ์หลักของสงครามเย็น ทีเกิดขึ้นระหว่างปี 1948-1949 สหภาพโซเวียตซึ่งยึดครองเบอร์ลินอยู่ในเวลานั้นตั้งด่านปิดกั้นถนนไม่ให้สามมหาอำนาจฝ่ายตะวันตก เข้าถึงกรุงเบอร์ลินได้ วิกฤตกาณ์นี้คลีคลายลงหลังจากมหาอำนาจฝ่ายตะวันตกร่วมกันจัดตั้งการขนส่งทางอากาศที่เบอร์ลิน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการขนส่งเสบียงสู่พื้นที่ของตนพร้อมทั้งเป็นการแสดงขีดความสามารถทางการผลิตและแสนยานุภาพทางอากาศของฝ่ายตะวันตก
     การแบ่งเยอรมัน สัมพันธมิตรบรรลุข้อตกลงพอทสดัมซึ่งกำหนดให้แบงเอยมันออกเป็น 4 ส่วนโดยแต่ละส่วนจะถูกปกครองโดยชาติที่ครอบครองดินแดนในสวนนั้นอยู่ก่อนหน้าสงครามจะยุติ สหภาพโซเวียตต้องการเห็นเยอรมันไร้พิษภัย ฝ่ายสัมพันธ์มิตรจึงดำเนินแผน “มอร์เกนเทา” ซึ่งกำหนดฟืนฟูสภาพเศรษฐกิจเยอรมันเพียง 50
เปอร์เซ็น ซึ่งผลออกมาคือรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก สภาพเศรษฐกิจที่ตกตำอย่างสุดขีดของ
เยอรมันส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจยุโรปถดถอย ที่ปรึกษาประธานาธิปดี ทรูแมนกว่าว่า “ประชาชนหลายล้านคนกำลังอดตายอย่างช้าๆ” ในตอนแรกสหรัฐฯยังคงไม่เปลียนแปลงนโยบายที่มีต่อเยอรมัน กระทั่งบรรดาเสนาธิการสหรัฐฯเริ่มแสดงความกังวลต่อการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในเยอรมันและเศรษฐกิจของยุโรป นายพลจิร์จ มาร์แชล รมต.ต่างประเศทศของสหรัฐฯได้โน้มน้ามให้ ทรูแมนยกเลิกแผนดังกล่าว ในที่สุด “JCS 1779” ก็ถูกนำมาใช้แทนแผนเก่าซึ่งมีทิศทางและแนวทางตรงกันข้าม สหรัฐเริ่มใช้นโยบายตามแผนมาเเชลล์ โดยส่งเงินจำนวนมากในกับประเทศยุโรปที่ต้องการเงินโจเซฟ สตาลิน เร่มสงสัยในแผนการของสหรัฐฯเขารู้สึกว่าสหรัฐฯกำลังใช้เงินซื้อประเทศในยุโรปเพื่อขยายอิทธิพลของตน เขากว่าว่า “นี่คืออุบายของทรูแมน มันต่างจากการช่วยให้ประเทศอื่นตั้งตัวได้ สหรัฐอเมริกาไม่ต้องการช่วยเราสิ่งที่สหรัฐอเมิรกาต้องการคือการแทรกซึ่มประเทศยุโรป” สตาลินสั่งห้ามไห้ประเทศในเครื่อข่ายคอมมิวนิสต์รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ความไม่ลงรอยในนโยบายเศรษฐกิจของสองมหาอำนาจ สหภาพโซเวียตจึงเริ่มใช้
นโยบายประชาสัมพันธ์ต่อต้านอเมริกาและเริ่มขัดขวางการดำเนินการในพื้นที่ทั้งสี่ส่วน สหรัฐอเมริกามีจุดยืนว่า “หากสหภาพโซเวียตไม่ให้ความร่วมือในการรวมเยอมันให้เป็นหนึ่งเดียวสหรัฐอเมริกาและมหาอำนาจตะวันตกจะพัฒนาระบบอุตสาหกรรมแบบตะวันตกขึ้นในเยอมันและจะรวมเยอรมันส่วนตะวันตก มหาอำนาจฝ่ายตะวันตกบรรลุข้อตกลงนี้ในการประชุมที่ลอนดอน ว่าจะให้เยอมันฝั่งตะวันตกมีรัฐที่เป็นอิสระปกครองในระบอบสาธารณรัฐ และฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจตามแบบสหรัฐอเมริกา
    ไม่นานนัก กรุงเบอร์ลินก็กลายเป็นจุดสนใจของทั้งสหรัฐและสหภาพโซเวียตดังคำกล่าวที่ว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นกับเบอร์ลินก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับเยอมัน และสิ่งที่เกิดขึ้นกับเยอมันก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับยุโรป” ชาวเมืองใช้สิทธิเลือกผู้แทนที่ให้การสนับสนุนประชาธิปไตยเขาสู่สภาเทศบาลเมืองชนะผู้สมัครจากพรรคคอมมิวนิสต์กว่า 80 เปอร์เซ็น ดูเหมือนว่าการรวมเยอรมันนั้นไม่จำเป็นต้องมีสหภาพโซเวียต สภาปกครองฝ่ายพันธมิตรล้มจากการที่ตัวแทนจากสหภาพโซเวียตทั้งหมดลุกขึ้นและเดินออกจากห้องประชุม ซึ่งหมายถึงว่าสภาพปกครองฝ่ายพันธมิตรล่มสลายลง
     สหภาพโซเวียตกดดันมหาอำนาจฝ่ายตะวันตกด้วยการสั่งให้รถไฟขบวนที่จะเข้าสู่กรุงเบอร์ลินจากเยอมันตะวันตกต้องถูกตรวจค้น นายพลลูเซียส ดี. เคลย์ ผู้บัญชาการของเยอมันในส่วนยึดครองของสหรัฐฯจึงสั่งให้รถไฟทางทหารทุกขบวนยกเลิกการขนส่ง เขาใส่งให้เครื่องบินทำการขนส่งอาหารและอาวุธยุทธภันฑ์ให้กับทหารอเมริกันในกรุงเบอร์ลินแทน การขนส่งทางอกกาศครั้งนี้ดำเนินไปประมาณ 10 วัน
    เดือนกุมภาพันธ์  1948 สหรัฐอเมริกาและอังกฤษยื่นข้อเสนอต่อสภาปกครองฝ่ายพันธมิตรให้สร้างสกุลเงินเยอมันใม่ แทนสกุลเงินไรซ์มาร์ค ที่มีประมาณล้นอยู่ใรระบบและขาดมูค่าอย่างแท้จริง
สหภาพโซเวียตปฏิเสธข้อเสนอนี้ เพราะต้องการให้อยมันคงสภาพอ่อนแอ ประเทศมหาอำนาจตะวันตกจึงร่วมมือกันสร้างสกุลเงินใหม่ขึ้นอย่างลับ ๆ และประกาศใช้ในพื้ที่ของตนในชื่อสกุลเงินดอยช์มาร์ค สหภาพโซเวียตไม่ยอมรับเงินสกุลนี้ แต่ทางฝ่ายตะวันตกลักลอบนำเงินเข้าเบอร์ลินกว่า สองร้อยห้าสิบล้านดอยช์มาร์คแล้วซึ่งไม่นานนัก ดอยช์ มาร์กก็กลายเป็นสกุลเงินมาตรฐานในทุกพื้นที่ของเยอมัน
    มิถุนายน 1948 สหภาพโซเวียตประกาศ “ปิดปรับปรุง” ถนนออโทบาน ซึ่งเป็นถนนจากเยอมันตะวันตกมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเบอร์ลิน  อีกสามวันถัดมาการจราจรทางบกระหว่งเอยมันในส่วนยึดครองของโซเวียตกับส่วนอื่น ๆ ถูกตัดขาด และ การจราจรทางน้ำสู่กรุงเบอร์ลินถูกตัดขาดในเวลาต่อมา และประกาศว่าจะไม่มีรถไฟเข้าสู่กรุงเอบร์ลินอีกต่อไปเนืองจาก “ปัญหาทางเทคนิค” ต่อมาสหภาพโซเวียตประกาศเลิกจัดส่งอาหารให้กรุงเบอร์ลินส่วนของประเทศมหาอำนาจตะวัตก

     หากทำสงครามกับโซเวียตฝ่ายตะวันตกต้องเสียกรุงเบอร์ให้กับโซเวียตอย่างแน่นอนเนื่องจากการลดขนาดกองทัพ
ต่อมาฝ่ายตะวันตกและสหภาพโซเวียตบรรลุข้อตกลงเปิดเส้นทางจราจรทางอากาศสู่กรุงเบอร์ลิน 3 เส้นทาง  อย่างไรก็ตาม การที่จะดำเนินการขนส่งทางอกาศได้นั้นจะต้องมั่นใจว่าจะสามาถส่งอาหารได้รวดเร็วพอมิฉะนั้นแล้ว ชาวเบอร์ลินอาจต้องของความช่วยเหลือจากโซเวียตในท้ายที่สุด
    เกล ฮัลเอวร์เซ็น หนึ่งในนักบินที่ปฏิบัติภารกิจขนส่งทางอากาศตัดสินใจใช้เวลาว่างของเขาบินไปยังกรุงเบอร์ลินและใช้กล้าองถ่ายวีดีโอของเขาถ่ายาภาพยนตร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการโปรยช็อกโกแลตและขนมหวานในกับเด็กๆ ในกรุงเบอร์ลิน เขาโปรยขนมและช็อกโกเเล็คใรกับเด็ก ๆ ทุกวันซึ่งไม่นานนักก็มีจดหมายกองหนึ่งจ่าหน้ามาถึง “ลุงกระพือปีก” “ลุงช็อกโกแลต” และ “นักบิน
ช็อกโกแลต”ซึ่งต่อมานักบินคนอื่นก็ได้ทำด้วยเช่นกัน หลังจากที่ข่าวไปถึงสหรัฐอเมริกาแล้ว เด็กๆ จากทั่วประเทศก็ส่งลูกกว่าดไปช่วย และต่อมา บริษัทขนมหวานใหญ่ ๆ ในอเมริกาก็ส่งลูกกวาดไปช่วยด้วยเช่นกัน..
     สหภาพโซเวียตทำการตอบโต้โดยประกาศแจกอาหารฟรีแก่ผุ้ที่ข้ามายังเบอร์ลินฝั่งตะวันออก อย่างไรก็ตามมีแค่ไม่กี่คนที่ข้ามไปเพราะรู้ว่าเป็นแผนการหลอกล่อของโซเวียต
    การแบ่งเยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตกเป็นไปโดยปริยายเมื่อการเลือกตั้งผู้สนับสนุนประชาธิปไตยเป็นฝ่ายชนะ  ทหารโซเวียตเริ่มกอ่กวนเครื่องบินฝ่ายตะวันตก
     การขนส่งทางอากาศดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นายพลสหรัฐฯต้องการสร้างขวัญและกำลังใจ เขาต้องการสร้างเหตุกาณ์ใหญ๋ๆ เพื่อทำลายความซ้ำซากจำเจ เขาตัดสินใจว่า ในวันอีสเตอรื เขาจะจัดการขนส่งทางอากาศที่มากที่สุด ภายในหนึงอาทิตย์ ปริมาฯการขนส่งเสบียงเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่มากว่าการขนส่งด้วยรถไฟปฏิบัติการขนส่งทางอากาศประสบความสำเร็จในที่สุดและจะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ และไม่มีที่สิ้นสุด
     “พาเหรดวันอีสเตอร์”เป็นเสมือนฟางเส้นสุดท้าย  ประเทศมหาอำนาจทั้งสี่เผชิญหน้าเจรจากันอย่างเคร่งเครียดหลังจานันได้ข้อยุติ ฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศวาจะยกเลิกการปิดกั้นในเสร็จสิ้นภายในเวลา 8 วัน การปิดกั้นของโซเวียตสิ้นสุดลงภายในหนึ่งนาที่หลังเทียงคืนวันที่ 12 พฤษภาคม 1949
    เดื

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)