Capitallism


     แนวคิดทุนนิยม จะมีแนวคิดตรงข้ามกับสังคมนิยม ที่มีความเห็นคัดค้านว่ากำไรที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดช่องว่างทางสังคมทำให้คนที่มีฐานะมั่งคั่งรวยมากขึ้น โดยกำไรควรจะมีการแบ่งปันให้กับสังคมในชั้นล่างลงมา

     ทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ซึ่งผลิตภัณฑ์และสินค้ามีการจำหน่ายแลกเปลี่ยนซื้อขายโดยทางเอกชน บริษัท หรือกลุ่มธุรกิจ เพื่อสร้างผลกำไรให้กับหน่วยงาน ดดยการแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการ ที่มีการรองรับทางกฎหมายและมีการแข่งขันการในเชิงการค้าเพื่อทำกำไรสูงสุด ซึ่งไม่ได้ควบคุมโดยหน่วยงานกลางหรือจากทางรัฐบาล
     ทุนนิยมจะกล่าวถึง ทุนและที่ดินเป็นสมยบัติส่วนบุคคล การตัดสินใจทางเศรษฐกิจเป็นกิจกรรมส่วนบุคคล ไม่ใช้การควบคุมบริหารโดยรัฐ และตลาดเสรีหรือเกือบเสรีจะเป็นตัวกำหนดราคา ควบคุมและระบุทิศทางการผลิต รวมถึงเป็นที่สร้างรายรับ บางครกล่าวว่าระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันของโลกตะวนตกคือระบบทุนนิยม ในขณะที่หลายครมองว่าในบางประเทศก็มีระบบเศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจแบบผสม กล่าวคือมีลักษณะเฉพาะของทั้งทุนนิยมและรัฐนิยม

     ทฤษฎีเกี่ยวกับทุนนิยมถูกพัฒนาขึ้นในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18,19และ 20 ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรมและลัมธิจักรวรรดินิยมของยุโรป ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือ The Great Depression และสงครามเย็น นักทฤษฏีเหล่านี้กล่าวว่าทุนนิยมคือระบบที่ให้คุณค่ากับการที่ราคาถูกตัดสินในตลาดเสรี นั่นคือโดยการค้าที่เป็นผลมาจากการตกลงด้วยความสมัครใจของผู้ซือและผู้ขาย ความคิดเชิงตลาด จิตวิญญาณของผู้ประกอบการ และความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สิน และสัญญาที่ชัดเจนและบังคับได้ตามกฎหมาย ทฏษฎีเหล่านี้โดยทั่วไปจะพยายามอะบาว่า ทำไมทุนนิยมจึงมีแนวโน้มที่จะสร้างการเจริญเติบโตทางเษรษฐกิจ มากวาในระบบอื่นๆ ที่รัฐบาลเข้ามามีบทบาทจัดการในระดับที่สูงกว่า มีหลายทฤษฎีเน้นว่าสิทธิการถือคีองส่วนบุคคลของทุนคือแด่นของระบบทุนนิยม ในขณะที่บางทฤษฎีเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของตลาดเสรี ที่เป็นกลจักรที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายและสะสมตัวของทุน บางทฤษฎีชี้ให้เก็นถึงการที่แนวปฏิบัติทางเศรษฐกิจหลายๆ แนวได้ถูกทำให้เป็ฯสถาบันในยุดรประหว่างช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 – 19 ที่สำคัญ สิทธิของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะสามารถทำการได้แบบ “นิติบุคคล”หรือบรรษัท ในการซื้อและขายสินทรัพย์ และที่ดิน แรงงาน เงินตรา ในตลาดเสรี และสามารถวางใจได้ว่ารัฐจะสามารถบังคับให้เกิดการเคารพสิทธิทรัพย์สินส่วนบุคคล แทนที่จะต้องพึ่งการคุ้มครองแบบศักดินา

     องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ
- การถูกรองรบด้วยระบบรวมศูนย์อำนาจ
- การครอบครองแหล่งวัตถุดิบและพื้นที่การตลาด
-การก้าวกระโดดในด้านวิทยาศาสสต์และเทคโนโลยี
     ภายหลังจากบทบาท “ศาสนจักร” ซึ่งเคยมีอิทธเพลในการกำหนดวิถีทางของรัฐ ระบบสังคม และเป็นศูนย์กลางในการดำเนินชีวิตของปัจเจกบุคคลแต่ละบุคคล ได้เกิดความเสื่อมโทรม เกิดความขัดแย้งภายในกันเอง จนนำไปสู่การพังทลายหรือการแยกอำนาจของศาสนจักรออกจากอำนาจของอาณาจักร สภาวการณ์ดังกล่าวได้นำไปสู่การปลดปล่อยให้เกิดพลังต่าง ๆ ซึ่งกลายมาเป้นองค์ประกอบที่สำคัญคือ
     -การเกิดขึ้นของรัฐชาติยุใหม่ที่รวมสูนย์อำนาจอยู่ที่กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสทิธิราชย์ และพยายามเป็นอิสระจากอำนาจของศาสนจักรทั้งในแง่รูปแบบและเน้อหา ดังจะเห็นได้จากคำอธิบายของนักคิด นักปรัชญาในยุคนั้น  “โธมัส ฮอบส์”ซึ่งเคยกล่าวเอาไว้ว่า”แทนที่จะให้ความเคารพแก่พระเจ้าที่ตายไปแลว เราทุกคนเป็นหนี้บุญคุณแก่พระเจ้าที่อยู่กับเรอาชัวนิรันดร์ นั้นก็คือสันติสุขและการป้องกันตนเอง กษัตริย์ที่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขชึ้นได้นั้น มีคุณกว่าทุกคน ควรที่เราทั้งหลายจะมอบอำนาจให้ในฐานะผู้ที่สร้างหลักประกันให้กับสทิธปวงชน และทำให้รัฐชาติยุคใหม่จำเป็นจะต้องมีศูนย์กลางอำนาจที่ไม่สามารถท้าทายได้ เพื่อควบคุมกิจกรรมั้งหลายภายใต้รัฐทั้งหมด..” หรือ “จอร์จ เฮเกล” ที่ระบุเอาไว้ว่า  “รัฐ อันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาโยเหตุผล เพื่อที่จะทำให้มนุษย์สามรถมีชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างมีศีลธรรมก็คือ พระเจ้าที่เดินอยู่บนโลก” วิถุทางของรัฐ ระบบสังคม และชีวิตของปัจเจกบุคลที่อยู่ภายใต้อำนาจรวมศูนย์ของกษัตริย์ จึงมักถูกนำไปใช้เพื่อตแบสนองกับการแข่งขันทางอำนาจ และการสะสมความมั่งคั่ง อันนำไปสู่การสร้างพลังขับเคลื่อนลัทธิทุนนิยมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     - การขยายตัวของชนชั้นกลาง และบทบาทของพ่อค้าภายใต้อำนาจรวมศูนย์ของกษัตริย์ใต่ละรัฐ มีผลทำให้เกิดการแข่งขนทางการค้า และการขยายตัวของลัทธิทุนนิยมเข้าไปครอบครองแหล่งวัตถุดิบและพื้นที่การตลาดในขอบเขตทั่งโลก ภายใต้ยุคแห่งการ”ล่าอาณานิคม” ของชาวยุโรป ความร่วมือระหว่าง “กษัตริย์” กับ “พ่อค้า”ในยุโรป ทำให้ชายฝั่ง “ซาน ซัลวาดอร์” “เวอร์จิเนีย” นิวอิงแลนด์”ในทวีปอเมริกา กลายเป็นดินแดนรกร้างว่างเปล่าในช่วงเวลาแค่ 2 ศตวรรษหลังจาก “โคลัมปัส”นำเรือของกษัตริย์สเปนขึ้นฝั่ง ทำให้อาณาจักรแอชเทคในเม็กซิโก อาณาจักรอินคาในเปรู พังทลายเพราะความต้องการทองคำ แร่เงิน นิเกิล แร่พลวงที่ถูกขุดขึ้นมาจากแผ่นดินละตินอเมริกาจนแทบไม่มีเหลืออยู่ในขณะนี้ แปรสภาพที่อินในปะรเทศปาราวัย อาร์เจนฯ บราซิล..ให้กลายเป็นไร่ฝ้าย ไร่กาแฟ…และฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ทำให้ทวีปอาฟริกาทั้งทวีปมีสภาพไม่ต่างจากซากปรักหักพังอันเนืองมาจากอุตสาหกรรมเหมืองเพชร ทองแดง โคบอลท์..ซึ่งไม่ต่างอะไรกับเอเซีย ท้ายที่สุดสิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจระดับโลกทีเต็มไปด้วยความไม่สมเหตุสมผล เต็มไปด้วยการแลกเปลี่ยนที่ไม่เท่าเที่ยมกัน หรือยังคงลักษณะของความเป็น “โครงสร้างแบบอาณานิคม”ดำรงอยู่ในระบบเศรษฐกิจโลกตราบเท่าปัจจุบัน
     - อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลยหากไม่มีการ “ปฏิวัติทางวิทธยาศาสตร์” แบบก้าวกระโดดซึ่งปรากฏขึ้นในยุโรปในห้วงเวลาเดียวกันกับที่อำนาจทางศาสนจักรเสือมถอยลง พลังทางวิทยาศาสตร์กับบทบาทของกษัตริย์และพ่อค้า วิทยาการและสิ่งประดิษฐ์ของนักวทิยาศาสตร์ในยุโรป สามารถครอบครองได้ทั้งโลก กฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างได้ถูกนำไปแปรสภาพเป็น “แนวคิดแบบวทิยาศษสตร์”และยังสามารถใอธิบายเพื่อรองรับความชอบธรรมของลัทธิทุนิยม สังคมนิยม หรือฟาสซิสต์..ที่ล้วนมุ่งไปสู่ความเป็นจักรวรรดินิยมเหมือนกันทั้งสิ้น
     ภายใต้การขับเคลื่อนลัทธิทุนนิยมโดยอาศัยองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว เส้นทางของทุนนิยมมักจะหลีกเลี่ยงไม่พ้นการหาข้อยุติและการพฒนาตัวเองในแต่ละระดับขั้น ควบคู่ไปกับ “สงคราม” การแข่งขันเพื่อแย่งชิงแหล่งวัตถุดิบและพื้นที่การตลาดของรัฐต่างๆ ในยุโรปยุคแห่งการล่าอาณานิคมนั้น ท้ายที่สุดก็นำมาซึ่ง “สงครามโลก ครั้งที่ 1” และบานปลายต่อมากลายเป็น “สงครามโลกครั้งที่ 2”และสงครามเย็นอันเนืองมาจากทัศนะที่แตกต่างกันใน “กรรมวิธีทางเศรษฐกิจ” ระหว่างทุนนิยม กับ สังคมนิยม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)