europe after world war two

      ในเดือนเมษายน ผู้แทรรัฐต่าง ๆ 11 รับในเยอรมันตะวันตกได้ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ให้ชื่อว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอมันมีเมืองหลวงที่กรุงบอนน์ ดร.คอนราด อาเดเนาว์ เป็นนายกรัฐมนตรี
     ในปี 1948 ประเทศมหาอำนาจตะวันตกได้ตำลงกันเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลในเยอมันตะวันตกให้มีอำนาจอย่างสมบูรณ์ จัดตั้งฐานทัพเพื่อเป็นแนวป้องกันการรุกรานของยุโรปตะวันออกและมหาอำนาจตะวันตกเลิกยึดครองเยรมันตะวันตก ต่อจากนั้นเอยมนตะวันตกและอิตาลได้รับเชิญให้เข้าประชุมกับอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนิทร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก จัดตั้งองค์การ สนธิสัญญาแห่งกรุงบรัสเซล เยอรมันตะวันตกได้เป็นสมาชิกอันดับที่ 15 ขององค์การนาโต้ และทำการตกลงกับฝรั่งเศสเกียวกับแคว้นซาร์ในที่สุดเคว้นซาร์ก็รวมอยู่กับเยอมันตะวันตก
     เยอรมันตะวันตะเริ่มบำรุงกองทัพ ปี 1957 เยอรมันตะวันตกมีทหารกว่า 2 แสนนาย และเป็นกำลังสำคัญทางเศรษฐกิจรองจากรุสเซีย มหาอำนาจตะวันตกกต้องการให้เยอมันตะวันตกและตะวันออกรวมกันเพื่อความเข้มแข็งทางการเมืองและเศรษฐกิจ มหาอำนาตตะวันตกร่วมกับรัฐบาลเยรมันตะวันตกได้ร่างคำประกาศแห่งเบอ์ลิน เพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งทั่วไป และสนับสนุนให้มีการรวมเยอมันให้มีอำนาจการดำเนินนโยบายการต่างประเทศโดยลำพัง และป้องกันไม่ให้รุสเซียและประเทศในยุโรปตะวันออกเข้ามาขัดขวางการดำเนินงานของรัฐบาลชุดนี้  รุสเซียนั้นไม่เห็นด้วยและต้องการให้รัฐบาลเยอมันตะวันตกและตะวันออกเจรจาตกลงกันเองโดยที่ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายวางตัวเป็นกลาง
     เยอรมันตะวันตกได้รับความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกาตามแผนการณ์มาร์แชล ดังนั้นรัฐบาลเยอมันตะวันตกจึงเร่งพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป จนในปัจจุบันเยอมันตะวันตกมีผลผลิตทางอุตสาหกรรมได้เป็นอันดับที่ 3 ของโลก
     สาธารณรับประชาธิปไตยเยอมัน เยอรมันตะวันออกหรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอมันอยู่ภายใต้อิทธิพลของรุสเซียในปี 1949 มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้น เยอรมันตะวันออกมีทรัพยากรธรรมชาติทางด้านการอุตสาหกรรมน้อยกว่าเยอรมันตะวันตก  เศรษฐกิจตกต่ำ ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมน้อยมากเมือเทียบกับจำนวนประชากร  ในปี 1953 ประชาชนในเยอมันตะวันอกจำนวนหว่าแสนคนอพยพเข้ามาในเขตเยอรมันตะวันตก เนื่องจากขาดแคลนอาหารและไม่พอใจการปกครองตามระบอบคอมมิวนิสต์ และในปี 1958 ประเทศมหาอำนาจตะวันตกก็เข้าไปมีบทบาทเข้าไปช่วยเลหือประชาชนในกรุงเบอร์ลิน โดยการขนส่งอาหารและปัจจับจัยต่าง ๆ ที่จำเป็นไปให้ทางอากาศ รุสเซียสัญญาว่าจะเลิกเข้าไปมีอิทธิพลในเยอมันตะวันออก แต่รุสเซียก็ยังเข้าไปควบคุมพรรคคอมมิวนิสต์และให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลเยอรมันตะวันออกเหมือนเดิม
     องค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เป็นองค์การร่วมือกันระหว่างประเทศเกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่2 การกอตั้งนั้นเริ่มขึ้นในรระยะเวลาที่สงครามดำเนินอยู่ คือเกิดระหว่างสงคราม
      การประชุมในปี 1945 ที่ซาน ฟรานซิสโก มีผู้แทรจาก 44 ประเทศเข้าร่วมประชุม และประเทศที่เข้าร่วมใหม่อีก 6 ประเทศรวมเป็น 50 ประเทศ ผู้ร่วมประชุมกว่า 4,000 คนที่ประชุมรับรองกฎบัตรแห่งองค์การสหประชาชาติด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ โดยมีจุดมุ่งหมาย
     1 เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างชาติ มีการร่วมือกันป้องกันและขจัดการคุกคามต่อสันติภาพโดยสันติวะธี
      2 เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างชาติ เคารพสิทธิเสมอภาพ
      3 เพื่อบรรลุผลการร่วมมือระหว่างชาติในการแห้ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ด้วยมนุษยธรรม ส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนดดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติ เพศ ภาษาและศาสนา
     4 เพื่อเป็นหน่วยกลางประสานการปฏิบัติงานของนานาชาติ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย
ในปี 1960 ประเทศต่าง ๆ ผลิตอาวุธขึ้นใช้อยางมาก แต่ประเทศต่าง ๆ ก็เกรงภัยจากสังครามนิวเคลีย สหรัฐอเมริกาทดลองระเบิดปรมาณูครั้งแรกปี 1945 รุสเซียในปี 1949 อังกฤษในปี 1953 ฝรั่งเศษในปี 1960 และจีนในปี 1964 นอกจากระเบิดปรมาฯแล้ว บังมีวิทยาการต่าง ๆที่ก้าวไกลกว่านั้น สามประเทศมหาอำนาจ คอ สหรัฐฯ รุสเซีย และอังกฤษ แสวงหาวิธีที่จะไม่ให้ประเทศอื่นๆ ใช้อาวุธนิวเคลีย
     การแข่งขันกันระหวางสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาสร้างความหวาดกลัวให้กับประเทศอื่นๆ มาก ประเทศมหาอำนาจทั่ง 2 ต่างก็ขยายอิทธิพลของตน ในระหว่างปี 1946-1965 สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือทางด้านทหารและอาวุธ ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ ในขณะที่รุสเซียจัดตั้งอค์การช่วยเลหือทางด้านเศรษฐกิจจากประเทศต่างๆ ในยุโรป และทั้ง 2 ประเทศมีนโยบายเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่าง  ๆ นโยบายเหล่านี้บางที่ก็เป็นผลดีและบางที่อาจเป็นผลร้าย
     อังกฤษ
ประเทศอังกฤษได้มีส่วนริเริ่มในการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ และเข้าร่วมในองค์การตาง ๆ เช่น องค์การอนามัยโลก กองทุนสงเคราะห์ระหว่างประเทศ “ไอเอ็มเอฟ” และองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมหรือ “ยูเนสโก” อังกฤษร่วมมือกับสหรัฐในการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉพียงใต้ โดยใช้ชื่อย่อว่า SEATO เข้าร่วมในองค์สนธิสัญญป้องกันอแตแลนติคเหนือ หรือ นาโต้
      ความเสียหารด้านต่าง ๆ ที่อังกฤษได้รับในระหว่างสงครามนั้น ทำให้อังกฤษมีเศรษฐกิจตกต่ำมาก และกลายเป็นปรเทศมหาอำจรองลงไป ประเทศที่เป็นมหาอำนาจแทนคือสหรัฐอเมริกและสหภาพโซเวียต ซึ่งมีความสามารถในด้านการอุตสาหกรรม ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมตลอดจนอาวุธที่ทันสมัย ด้วยเหตุนี้นโยบายต่างปรเทศของอังกฤษต้งอคล้อยตามสหรัฐอเมริกา
     อังกฤษต้องยอมให้เอกราชแก่อาณานิคมหลายแห่ง เช่นที่อินเดีย อินเดียถูกแบ่งเป็นสองส่วนคือ พวกที่นับถือศาสนาอิสลามคือประเทศ ปากีสถาน และพวกที่นับถือศาสนาฮิดูปกครองอินเดีย
     อังกฤษมีส่วนร่วมในสงครามเกาหลี ดดยส่งกองทหารตามคำเรียร้องของสหประชาชาติไปช่วยเกาหลีใต้ทกสงครามกับเกาหลีเหนือ และฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะสงคราม นอกจานรี้อังกฤษยังเข้าไปมีบทบาทในตะวันออกกลาง กว่าวคืออังกฤษสนับสนุนพวกยิวให้กลับเข้าสู่ปาเลสไตน์ อังกฤษเข้าไปมีอิทธิพลในอียิปต์สนับสนุนให้ต่อต้านเตอรกี ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของอังกฤษเอง
     การสงครามทำให้เศรษฐกิจของประเสทรุดหนัก รัฐบาลต้องกู้เงินจาสหรัฐและแคนาดา เพื่อนำมาพัฒนาประเทศ รัฐบาลทุกคณะที่เข้ามาบริหารประเทศภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ต่างก็มีนโยบายเพื่อปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้า แล้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองให้ดีขึ้น รัฐบาลอังกฤษได้เข้าเป็นสมมาชิกขององค์การตลาดร่วม รัฐบาลแก้ปัญหาการเดินขบวนต่อต้านชนกลุ่มน้อยที่เข้าไปทำมาหากินในประเทศอังกฤษ
     ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสก็เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ภายหลังสงครามเศรษฐกิจตกต่ำพรรคการเมืองต่าง ๆ แข่งขันกับเข้าบริหารประเทศ ประธานาธิบดีเอดโกลจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวใน ค.ศ. 1946 และภายหลังการเลือตั้งทั่วไปใน ฝรังเศสมีการปกครองตามระบอบสาธารณรับครั้งที่ 4 มีนายพลเดอโกล เป็นประธานาธิบดี ในการบริหารประเทศ รัฐบาลต้องเผชิญเกี่ยวกับปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รัฐบาลได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาตามแผนการณ์มาร์แชล เพื่อฟื้นฟูประเทศหลังสงคราม รัฐบาลได้นำเงินนี้ไปพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
    กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก
กลุ่มปะเทศยุโรปตะวันออกมีรุสเซียหนุนหลัง สนับสนุนใหพรรคคอมมิวนิสต์เข้าแทรกแซงทางการเมืองในประเทศต่าง ๆ เรื่อยมา ทไฐนะการเมืองปั่นป่วน และความตรึงเครียดของประเทศมหาอำนาจ 2 ค่ายทวีความรุนแรงมากขึ้น การเข้าแทรกซึมก่อการวุ่นวายให้แก่ฝ่ายตรงข้ามนี้เป็น สงครามเย็น และในบางครั้ง ก็เกิดเป็นสงครามในประเทศต่าง ๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)