..the way is political

     ในสังคมระดับใหญ่ การต่อสู้ทางการเมืองเป็นการดำเนินการระหว่างองค์การกับองค์การที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจปกครององค์การเหล่านี้มีการจัดโครงสร้างที่เป็นระเบียบมีอำนาจบลลดหลั่นกันในระหว่างสามชิก ม่นโยบายและระบบสายบังคับบัญชา เพื่อใช้เป้นอาวุธในการต่อสู้ทางการเมืองโดยเฉพาะ องค์การดังกล่วจะเป็นตัวแทนของผลประโยชน์และจุดมุ่งหมายของพลังต่าง ๆ ในสังคม
       ลักษณะพลังต่าง ๆ ในสังคมที่รวมกลุ่ม  เพื่อเป็นตัวแทนเพื่อแสดงออกถึงประโยชน์และอุดมการณ์ต่าง ๆ ในสังคม รวมทั้งบทบาทของกองทัพในการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะชององค์การแห่งอำนาจที่สำคัญของทุกๆ สังคม
      พรรคการเมืองของบุคคลที่มีชื่อเสียง พรรคการเมืองที่รวบรวมคนมีเงินและคนมีชื่อเสียงในสังคมเป็นสมาชิกเช่นนี้ จัดระเบียบภายในของพรรคจะอ่อนสมาชิกของพรรคจะเป็นพวกที่มีความคิดเสรีนิยม หรืออนุรักษ์นิยม กรรมการกลางของพรรคจะไม่ค่อยได้มีอำนาจเหนือผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคเพราะการได้รับเลือกตั้งขึ้นอยู่กับชื่อเสียงส่วนตัวของผู้แทน มากกว่า ดังนั้นชื่อเสียงส่วนตัวของผู้แทนจึงสำคัญกว่าชื่อเสียงหรือนโยบายของพรรค
      พรรคมวลชน ต้นศตวรรษที่ 20 อุดมการณ์ทางการเมืองในเรื่องความเสมอภาคได้แพร่ขยายออกไปสู่จำนวนมาก พลังมวลชนจึงกลายเป็นอาวุธทางการเมืองที่สำคัญขึ้นมาอีกชนิดหนึ่งความเหนือกว่าทางด้านพลังมวลชนเป็นอาวุธที่สำคัญที่สุดของการต่อสู้ทางการเมืองทั้งระยะสั้นและระยะยาว
     พลังมวลชนจะเป็นอาวุธทางการเมืองได้อย่างแท้จริง ก็ต่อเมือมีการจัดมวลชลให้เข้าเป็นองค์การ ต้องทำให้องค์การกับพลังมวลชนเกาะเกี่ยวกันอย่างแยกไม่ออก จึงจะทำให้เป็นอาวุทธทางการเมื่องได้
          การใชพลังมวลชนภายในรัฐ เป็นปรากฎการณ์ของสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเป้นผลที่ทำให้ค่าครองชีพและวัฒนธรรมของประชาชนส่วนใหญ่มีราคาสูงขึ้น
          สมัยโบราณการกุมอำนาจการปกครองอยู่ในระหว่างกลุ่มชนในวงจำกัด มาลชนส่วนใหญ่มีความรู้จำกัด ไม่รู้จักอำนาจของตนเอง นอกจากเหตุการณ์ที่พิเศษจริง ๆ มวลชนจะเข้าดำเนินการรุนแรงทันที่ เหมือนสัตว์ใหญ่โกรธ จะทำลายทุกอย่างที่ขว้างหน้า แต่เมื่อทำลายแล้วก็ไม่อาจสร้างขึ้นใหม่ได้
           สังคมสมัยใหม่ พลังมวลชนมีความสำคัญขึ้นมาก เพราะมีการให้สทิธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปอย่างเสมอภาค ไม่ว่าคนมีคนจนล้วนมีเสียงเท่ากัน ถึงแม้อุดมการประชาธิปไตยจะถูกสร้างขึ้นมาจากคนจำนวนน้อยที่ร่ำรวย แต่อาวุธอุดมการณ์ที่พวกนายทุนใช้ต่อสู้กับชนชั้นขุนนาง คือ ความเสมอภาค ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจนพลอยได้ประโยชน์ไปด้วย โดยเฉพาะเมื่อมีการรวมพลกันได้ เพราะหลักการประชาธิไตยคือเสียงส่วนมากเป็นเสียงตัดสินทางการเมือง
     พรรคสังคมนิยม ต้นศตวรรที่ 20 กลุ่มที่มีความคิดทางสังคมนิยมได้จัดตั้งพรรคการเมืองรูปใหม่ขึ้นด้วยวิธีนำพลังมวลชนมาใช้ให้เป็นประโยชน์และแก้ปัญหาเบื้องแรก คือปัญหาการเงิน พรรคสังคมนิยมในขณะนั้นอยู่ในฐานะ “นักปฏิวัติ” บรรดาคนมีเงิน เชน นายธนาคาร เจ้าของโรงงานอุตสาหรรมและเจ้าของที่ดินทั้งหลาย จึงให้เงินช่วยเหลือเฉพาะพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคเสรีนิยมเทานั้น ในเมือพรรคสังคมนิยมไม่สามารถได้เงินจากคนจำนนน้อยที่มีเงินมากจึงต้องคิดหาทางที่จะได้รับเงินมาจากจำนวนที่มีเงินน้อย และต้องไม่สม่ำเสมอด้วย
       จากปัญหาการเงินดังกล่าวนั้น พรรคสังคมนิยมจึงต้องเปิดให้มีการสมัคราเป็นสมาชิกของพรรคมากที่สุดเท่าที่จะทำได้คือแทนที่จะรวมกลุ่มจำนวนเป็นพันอย่าง “พรรคของคนมี่ชื่อเสียง พรรคมวลชน จะรวมสมาชิกเป็นร้อยๆ พัน หรือเป็นล้าน ๆ นอกจากเรื่องมาก่อนเลยด้วย และจากการที่มีสมาชิกเป็นจำนวนมาก พรรคจึงสามารถใช้วิธีของประชาธิปไตยเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมารชิกผู้แทนราษฎรด้วยกล่าวคือ แทนที่จะเลือกคือ แทนที่จะเลือกผู้สมัคร จากวงแคบๆ ของกลุ่มสรรหากลุ่มเล็กๆ ก็ให้มีการเลือกในสภาพท้งอถิ่น และสภาระดับชาติโดยสมาชิกโดยทั้งหมดหรือผู้แทนของสมาชิก
     ความเกียวพันอย่างใกล้ชิดอาจเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงระหว่างโครงส้างของพรรคการเมืองแบบใหม่นี้กับวิวัฒนาการของสังคมที่เป็นฐานของพรรคการเมืองพรรคที่ประกอบด้วยบุคคลสำคัญแบบดั้งเดิมเป็นตัวแทนอยู่เฉพาะการต่อสู้ของพวกขุนนางและของพวกคนมี เงิน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนน้อย ความแคบของพรรคทำให้เวที่การเมืองและลักษณะที่แท้จริงของประชาธิไปไตยแคบลงไปตาสวย ในทางตรงกันข้าม พรรคของมวลชนสอดคล้องกับการขยายวงกว้างของประชาธิปไตยเพราะเปิดให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้มีส่วนร่วมในเรื่องการเมืองอย่งถาวร ถ้าประชาชนส่วนใหญ่เพียงแต่ได้ใช้สิทธิทางการเมือง  สี่หรือห้าปี ครั้งหนึ่งแล้วก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตยอยางแท้จริง
       การล้อมกรอบสมาชิกจำนวนเป็นล้าน ๆ อย่างถาวรและการที่สมาชิกต้องจ่ายเงินค่าบำรุงแก่พรรค อย่างสม่ำเสมอ เป็นผลบังคับในตัวเองที่การบริหารองค์การจะต้องเป็นไปอย่างเข้มงวดกวดขัน และยิ่งเมืององค์การมีการพัฒนาในสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นทั้งโครงสร้างละสายการบังคับบัญชาผู้นำภายในของพรรคก็ยิ่งมีอำนาจยิ่งขึ้น และเหนือกว่าตัวผู้แทนราษฎรที่เป็นสมาชิกรัฐสภา ปรากฎการณ์ของการขัดกันระหว่างกลุ่มชั้นผู้นำทั้งสองของกลุ่ม (ผู้นำภายในของพรรคและผู้แทนราษฎร) เป็นที่น่าสนใจในเชิงสังคมวิทยา เพราะผู้นำทั้งสองฝ่ายถูกเลือกขึ้นมาจาฐานที่แตกต่างกัน ผู้นำรรคได้รับเลือกจากสมาชิกพรรค ส่วนผู้แทน ได้รับเลือกจากผู้มีสิทธิกเสียงเหลือกตั้งทั่วไป โดยธรรมดาแล้ว สมาชิกพรรคจะต้องผูกพันอยู่กับอุดมการของพรรคอย่างเหนียวแน่นมากกว่าผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป ดังนั้นผู้นำของพรรคจึงเป็นพวกที่เข้มงวดในเรืองอุมการมากกว่า ตัวผู้แทนที่มีที่นั่งในรัฐสภา
       อย่างไรก็ตาม วิวัฒนากรของพรรคสังคมนิยมที่เบนเข็มไปทางสังคมนิยมประชธิปไตยและการรวมตัวเข้าไปสู่ระบอบรัฐสภา ทำให้สถานะการณ์ของการขัดแย้งระหว่างอำนาจของผุ้นำภายในพรรคกับผู้แทน อ่อนลงมากเพราะว่าเมืองยอมรับคุณค่าของระบอบรัฐสภาก็ต้องยอมรับความเหนือกว่าของบุคคลที่เป็นตัวแทนเจตนารมณ์ของตนในรัฐสภา
     แต่ในพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคฟาสซิสต์นั้น สถานะกาณ์ตรงกันข้าม ผู้แทนในรัฐสภาจะต้องยอมอยู่ใต้อำนาจของผู้นำของพรรค ทั้งนี้เพราะระบบของคุณค่าในอุดการ์ที่แตกต่างกัน
     โครงสร้างพรรคการเมืองมวลชนที่พรรคสังคมนิยมเป็นผู้ริเริ่มดังกล่าวมาแล้วนั้นได้ถูกนำไปดัดแปลงใชกับพรรคกาเมืองอื่นที่สำคัญอื่นอีก 2 พรรค คือ พรรคคอมมิวนิสต์ และพรรคฟาสซิสต์
     พรรคคอมมิวนิส ได้ดัแปลงโครงสร้างของพรรคสังคมนิยมในส่วนสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก แทนที่จะจัดกลุ่มสมากตามทะเบียนบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นเขตของหน่วนเลือกตั้ง กลับเปลี่ยนเป็นรวบรวมสมาชิกและกำหนดหน่วยเลือกตั้งตามสถานที่ทำงาน เช่น ตามโรงงาน ตามแหล่งการผลิตต่าง ๆ ประการที่สองพรรคคอมมิวนิสต์ เน้นน้ำหนักความสำคัญที่การรวมสูนย์อำนาจและระเบียบวินัยอย่างเข้มงวด เด็ดขาด
     “เลนิน แสดงความเห็นไว้ในหนังสือเรือง “จะทำอย่างไรว่า พรรคกรรมกรจะต้องจัดตั้งขึ้นเป็นศูย์กลางรรวมอำนาจอย่างเข้มววด ในฐานะเป็นชนชั้นนำที่ประกบขึ้นด้วย “นักปฏิวัติอาชีพ” เพราะในการต่อสู้ใต้ดินกับพระเจ้าซาร์ของรัสเซียน้นจะต้องใช้คนจำนวนน้อยที่เป็นนักปฏิวัติอาชีพจริง ๆ เป็นผู้ขึ้นนำทางปฏิบัติ จึงจะเป็นผลสำเร็จพรรคคอมมิวนิสต์จะไม่เปิดกว้างรับสมาชิกมากมายแบบสังคมนิยม ความเห็นของเลนินในเรื่องที่ว่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ต้องเป็นชนชันนำและมีอำนาจเด็ดขาด จึงก่อให้เกิดการแตกแยกกันระหวางพวกบอล เชวิกของ เลนิน และพวกเมนเซวิกด้วย
           การจัดระเบียบภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ใช้หลัก “ประชาธิปไตยรวมศูนย์”และระบบการบังคับบัญชาคู่” จัดตั้งโครงสรางของพรรคขึ้นตามทฤษฎีของเลนินบวกกับทฤษฎีของรุสโซ
     ประชาธิปไตยรวมศูนย์ ถือหลักที่ว่า ผู้นำทุกคนมาจากการเลือกตั้ง มีการรายงานผลงานที่ปฏิบัติต่อองค์กรของพรรคตามระยะเลาที่กำหนดและมีการประชุมตัดสินปัญหาต่าง ๆ สมาชิกทุกคนมีสิทธิออกความเห็นและอภิปรายได้ ส่วนที่ว่า “รวมศูนย์” นั้นมาจากหลักที่ว่า คำตัดสินหรือมติขององค์กรที่สูงกว่มีลักษณะเด็ดขาด มีผลบังคับต่อองค์กรที่มีระดับต่ำกว่าเจตนารมย์ร่วมสำคัญกว่าเจตนารมย์ส่วนตัวเสมอ ไม่มีผ่ายค้านเมือมี่ประชุมตัดสินลงมติแล้ว
    การจัดระเบียบของพรรคคอมิวนิสต์เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการส่งผลให้พรรคมีอิทธิพลเป็นกองบัญชาการสูงสุดของอำนาจปฏิวัติได้
    “ มาตรา 126 ของรัฐธรรมนูญโซเวียต 1936 ความว่า “พลเมืองที่เเข็งขันที่สุดและมีจิตสำนึกอันแน่วแน่ผูกพันกับชนชั้นกรรมมาชีพ กับชาวนาผุ้ใช้แรงงาน และกับผู้ใช้แรงสติปัญญารวมกันอย่างเสรีภาพในพรรคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตรัสเซีย หน่วยแนวหน้าของผุ้ใช้แรงงานในการต่อสู้เพื่อสร้างสังคมคอมมิวนิสต์เป็นทั้งสายนำของทุกองค์การผู้และใช้แรงงาน องค์ทางสังคม และองค์การของรัฐ”
       โครงสร้างของพรรคเริ่มจาก หน่วยที่เล็กที่ที่สุดที่เป้นหน่วยการผลิตขั้นพื้นฐานเช่น โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยการผลิตชนิดต่าง ๆ และเขยิบขึ้นเป็นเขตการปกครองจากเล็กสุด ขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงระดับชาติทุก ๆ หน่วยดังกล่าวจะถูกวางซ้อนกันขึ้นไปในรูปพีระมิด และเชื่อมโยงด้วยสายบังคับบัญชาแนวดิ่ง กล่าวคือองค์กรที่อยู่ในระดับเดียวกัน เช่นโรงงานต่อโรงงาน หรือตำบลจะติดต่อกันเองไม่ได้ ต้องมีองค์กรที่มีระดับสูงกว่าถัดขขึ้นไปเป็นตัวกลาง องค์การของพรรคใรดับต่ำกว่งจะต้องรายงานการปฏิบัติงานต่อองค์กรพรรคใรระดับสูงถัดไป และของคำแนะนำเมืองต้องการตัดสินใจขององค์กรที่สูงกวาและองค์กรในระดับสูงกว่าต้องศึกษาประสบการณ์ขององค์กรที่ต่ำกว่า ในการวางระเบียบของพรรคแบบนี้ องค์กรที่สูงสุดจะรู้เรื่องขององค์กรระดับถัดลงมาเรื่อยๆ จนต่ำสุดที่เป็นฐานแต่ องค์กรที่ต่ำสุดจะไม่มีโอกาสรู้เรื่องของตนในระดับเดียวกัน หรือคนที่สูงกว่าเลย นอกจาฟังคำสั่งและต้องปฏิบัติตาม
      ขบวนการฟาสซิสต์  นักสังคมวิทยาการเมืองหลายท่านจัดขบวนการฟาสซิสต์ไว้ในพวกเยวกับพรรคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้เพราะทั้งคอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์ต่างก็เป็นพวกที่ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จครอบครองอาวุทธการเมืองทุกชนิดเอาไว้หมด ดังที่นักสังคมวิทยาได้ให้ความหมายของคำว่าเบ็ดเสร็จว่า “การรวมของอาวุธ 6 ชนิด คือ อุดมการชนิหนึ่งชนิดใด พรรคการเมืองพรรคเดียว ความโหดเหี้ยมของตำรวจลับ การผูกขาดการสือสารการติดต่อ การผูกขาดกำลังอาวุธ และการรวมศูนย์อำนาจเศรษกิจ
   ทั้งคอมมิวนิสต์และฟาสซิต์ใช้การต่อสู้ที่เกินเลยออกไปจากบอลข่ายของระบอบการเมืองแบบประชาธปไตย และใช้เทคนิคการรวมพลล้อมกรบกิจกรรมทุกชนิดของสมาชิกไว้อย่างหนาแน่น
         เทคนิคการรวมพล ที่สำคัญคือ ระบบการบังคับบัญชาคู่ ผุ้นำสามารถล่วงรู้ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของสมาชิกที่ถูกล้อมกรอบไว้ได้อย่งทั่วถึง ขึ้นแรกของเทคนิคการรวมพลคือ การรวมคนให้เข้าร่วมกิจกรรมตามใจสมัคร กลุ่มกจิกรรมต่าง ๆ จะต้องเกียวข้องกันเป็นลูกโซ่ เช่นกรรมกรเข้าเป็นสมาชิกของเขตนั้น อยุ่ในหมู่บ้านใดก็เป็นสมาชิกของหมู่บ้านนั้น แม่บ้านเป็นสมาชิกสมาคมแม่บ้าน นักกีฬาเป็นสมาชิกสมาคมกีฬาเป็นต้น
      ในแง่ทฤษฎี เทคนิคนี้เป็นเรื่องของความสมัครใจ แต่ในทางปฏิบัติจะขึ้นอยุ่กับระบบของสังคมแต่ละสังคม ถ้าสังคมใดใช้ระบบเผด็จการปกครอง ประชาชนจะอยุ่ภายใต้การควบคุมของรัฐอย่างใกล้ชิด โดยฝ่ายองค์การหรือสหพันธ์ที่ประชาชนเป็นสามชิกอยุ่ ใครมไม่ยอมรวมเป็นสามชิกของหน่วยหรือองค์การใดเลย จะถูกสงสัยหรือถูกริดรอนโอกาสและบริการต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ที่สามารถผู้พันให้ประชาชนชอบที่จะเข้ามาเป้นสามชิกมากกว่าจะอยู่นอกวง เทคนิคอย่างนี้ ถ้าเป็นระบอบคอมมิวนิสต์หรือฟาสซิสต์ จะต้องมีการใช้วิธีโฆษณาชวยเชื่ออย่างมากและสม่ำเสมอ ซึ่งจะใช้พร้อมกันไปกับตำรวจการเมืองด้วย
     พวกฟาสซิสต์ลอกเลียนแบบคอมมิวนิสต์ในเรื่อง พรรคการเมืองพรรคเดียว และวิธีการจัดตั้งองค์การที่มีระเบียบแบบคอมมิวนิสต์ในเรื่อง พรรคการเมืองพรรคเดียว และวิธีการจัดตั้งองค์การที่มีระเบยบเข้มงวดกวดขัน อำนาจรวมอยู่ที่ศูนย์กลาง รวมทั้งความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง  
     แม้ว่าขบวนการฟาสซิสต์จะลอกเลียนแบบของพรรคผ่ายซ้ายเพื่อความสะดวกในการต่อสู้กัน แต่ความแตกต่างของฟาสซิสต์และคอมมิวนิสต์ที่แท้จริงอยู่ที่ การใช้กำลังรุนแรงบังคับให้สังคมอยู่ในระเบียบดั้งเดิม เมื่อมีเหตุการณ์ที่ชวนให้น่าสงคสัยว่าสังคมจะเลี่ยนไปสู่ระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบสังคมนิยม หรือระบอบคอมมิวนิสต์
       การล้อมกรอบตามแบบทหาร พรรคฟาสซิสต์จะใช้เทคนิคทางทหารล้อมกรอบการเคลื่อนไหวทางการเมืองของมวบชนไว้ คือ หน่วยที่เล็กที่สุดไปถึงหน่วยที่ใหญ่ที่สุดจะจัดเป็น หมู่ กองร้อย กองพัน กองพล เป็นลำดับ หน่วยเล็กสุดจะรวมเป็นกลุ่มซ้อน ๆ กันในหน่วยที่ใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ เหมือนลักษณของกองทัพ
    การต่อสู้ทางการเมืองแบบทหาร
นอกจกาสมาชิกของขบวนการฟาสซิสต์จะต้องมีเครื่องแบบแล้วจะต้องมีวิธีต่อสู้แบบทหารด้วย เช่น การสวนสนาม การแสดงพลังอาธการโจมตีฐานที่ตั้งของศัตรู เป็นต้น
      นอกจากนี้ พรรคฟาสซิจต์อาจมีบทบาทในหารต่อสู้ทางการเมืองตามวิธีการเลือกตั้งในระบบรัฐสภาด้วยก็ได้ แต่เป้าหมายที่แท้จริงก็การทำลายระบบรัฐสภามากกว่า กล่าว โดยสรุป พรรคฟาสซิสต์ คือการจัดตั้งการใช้กำลังรุนแรงขึ้นให้เป็นระเบียบและมีลักษณธเป็นกองทัพของเอกชน ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะรักษาอำนาจไว้ด้วยการใช้กำลังอาวุธรุนแรง
     เผด็จการและบทบาทของกองทัพในการต่อสุ้ทางการเมือง การเมืองมิได้มีแต่แรวดน้มที่จะทำลายการใช้ลังรุนแรงด้วยอาวุธเทานั้น แต่เพื่อที่สังคมจะอยู่ได้อย่งมีระเบยบและรวมกันได้อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเมืองจึงต้องถูกใช้ให้เป็นวิถีทางรวบรวมกำลังรุนแรงทั้งหลายที่กระจัดกระจายอยู่ในมือของเอกชน และกลุ่มต่าง ๆ มาไว้ในความควบคุมขงรัฐบาลอยางเด็ดขาด โดยให้รัฐเท่านั้นเป็นผุ้ผูกขาดการใช้กำลังบีบบังคับทั้งหมด กำลังของกองทัพซึ่งประกองด้วย ทหารและอาวุธจึงเป็นอำนาจของรัฐที่จำเป็นการผูกขาดดังกล่วทำให้กำลังของชนชั้นต่าง ๆ ของพรรคการเมือง ต้องอยู่ในฐานะที่ด้อยกว่าเพราะอำนาจที่คุ้มกันด้วยอาวุธเทานันจงจะสามารรุทำให้ประชาชนที่ไม่มีอาวุธเท่าเทียมต้องอยู่ภายใต้การบังคับได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)