Under America of Occupation

     “แม้ว่าทุกคนจะทำอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม…สถานการณ์สงครามได้พัฒนาไปโดยไม่จำเป็นว่าจะทำให้ญี่ปุ่นเป็นผ่ายได้เปรียบ ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือดต่อไป บางที่อาจจะถึง การทำลายอารยธรรมของมวลมนุษย์ชาติโดยสิ้นเชิง  ญี่ป่นุจะต้ออดทนในสิ่งที่เหลือจะอดทนได้และทนทุกข์ในส่งที่เหลือจะทนทุกข์ได้ “
     พระราชดำรัชซึ่งพระมหาจักรพรรดิทรงดำรัสต่อประชาชน
การยึดครองญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่อเมริกาดำเนินการเองในทุกด้าน ในทางปฏิบัติการดำเนินนโยบายต่างมีนายพลแมคอาเธอร์เป็นผู้ดำเนินการ ในฐานที่เป็ฯผุ้บัญชาการทหารอเมริกาในพื้นที่ เขารับคำสั่งจากวอชิงตันเท่านั้น แนวทางพื้นฐานที่จะปฏิบัติงานได้เริ่มมีกำหนดขึ้นโดยรัฐบาลอเมริกา และต่อมาคณะกรรมาธิการได้ให้ความเห็ฯชอบ แผนที่นับว่าตรงไปตรงมาที่สุดคือแผนสิ้นสุดกำลังแสนยานุภาพญี่ปุ่น  ไปตามครรลองที่ได้มีการทำลายยุทธปัจจัยและกรมกองต่าง ๆ สลายกองทัพที่มีกำลังกว่า 2 ล้าน ให้กลับบ้านและอพยพผู้คนกว่า 3 ล้าน จากดินแดนโพ้นทะเล  และการลงโทษญี่ปุ่นอีกแบบหนึ่งโดยกาลิดรอนดินแดนทุกแหงที่ญี่ปุ่นได้ไว้ในครอบครอง ตั้งแต่ปี 1869 รวมทั้งหมู่เกาะริวกิวและคูริล อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี อาชญากรสงครามต่อผู้นำที่ได้ก่อสงครามขึ้น ประมาณ 24 คน ถูกนำตัวขึ้นสาสพิจารณาที่โตเกียวโดยคณะผู้พิพากษาระหวางประเทศ
     การลงโทษมิได้เป็นเพียงจุดมุ่งหมายแรกเริ่มประการเดียวของการยึดครอง เวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังจากนั้น คำประกาศพอตสดัมได้ประกาศเจตจำนงของพันธมิตรที่จะ “ขจัดอุปสรรคทั้งปวงที่มีต่อการฟื้นผู้และการเสริมพลังอันแข็งแกร่งแก่แนวโน้มประชาธิปไตยท่ามกลางประชาชนญี่ปุ่น” มาตรการทันที่ประการหนึ่งทีดำเนินการแล้ว คือ การอภัยโทษทางการเมืองแดก่กลุ่มผุ้คนที่ได้พยายามอย่างไร้ผลในการที่จะต่อต้านรัฐบาลทั้งก่อนและระหว่างสงคราม ได้แก่พวกคอมมิวนิสต์ สังคมนิยมและเสรีนิยมในทุกรูปแบบมีหลายคนที่ถูกจำคุกมาหลายปีแล้ว ขั้นต่อมาคือการกีดกันออกจากสังคม จากตำแหน่างสำคัญๆ ทั้งในราชการแผ่นดิน การเมือง การศึกษา วงการหนังสือพิมพ์และวิทยุหรือแม้แต่วงการธุรกิจ “การกวาดล้าง”ครั้งนี้มีผลกระทบต่อผู้คนกว่า สองแสนคน  หนทางสู่การเป็นผู้นำญี่ปุ่นหนักหน่วงมากพอที่จะไม่เพียงแต่บั่นทอนพลังประเพณีนิยมที่ยึดถือสังคมไว้เท่านั้นหากแต่ยังลดประสิทธิภาพลงชั่วขณะ
     ในขณะเดียวกัน สหรัฐแมริกาได้สนับสนุนให้จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นแทนสมาคมช่วยจักรพรรดิราชย์ ที่นับว่ามีอำนาจมากที่สุดคือพรรคเสรีนิยมแลพรรคก้าวหน้า ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นนักการเมืองหัวอนุรักษ์นิยมของก่อนสมัยสงครามที่รอดพ้นจากการกวาดล้าง กึ่งกลางของสองพรรคนั้นปรากฎเป็นการผสมกันอย่างไม่ใคร่จะดีนักระหว่างพวกหัวไม่รุนแรงกับพวสังคมนิยมเป็นพรรคสังคมประชาธิปไตย ในขณะที่บรรดาองค์กรของพวกหัวรุนแรงรอบนอกก็ยังมีปรากฏเป็นพวกซ้าย ที่สำคัญคือ พรรคคอมมิวนิสต์มีอิสระที่จะดำเนินการเป็นครั้งแรกเป็นเวลาหลายปี …
      ระหว่างการยึดครองสามปีแรกมีการเปลี่ยนแปลงทางรัฐธรรมนูญ การปกครองส่วนท้องถิ่น การศาล กฎหมาย ความสัมพันธ์แรงงาน การยึดถือที่ดินและการศึกษา ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการปฏิบัติชีวิตญี่ปุ่น
     รัฐธรรมนูญซึ่งถูกร่างขึ้นในกองบัญชาการ นายพลแมคอมเธอร์ เมื่อปรากฎว่าข้าราชการญี่ปุ่นสนองตอบช้าเกินต่อข้อแนะโยนัยที่ให้ทำอะไรด้วยตนเอง ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 มีนาคม 1947
    ในช่วงแรกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์กระทั่งถึงขั้นเย้ยหยันทั้งในและนอกประเทศ ถึงกระนั้นการให้รัฐสภามีอำนาจอันมั่งคงยิ่งเป็นการกระทำที่ชาวญี่ปุ่นเองอาจเห้ฯว่ายากที่จทำได้ด้วยตนเอง ..
     จุดประสงค์หนึ่งที่บรรลุผลโดยการเตรียมการเรือ่งรัฐธรรมนูญก็คือ การสร้างระบบที่มีแกนกลางแห่งอำนาจควบคุมโดยคะแนนเสียงปวงชน แทนที่จะเป็นแกนกลางแห่งอำนาจที่ควบคุมโดยพระราชอำนาจพิเศษเป็นครั้งคราวซึ่งเป็นการใช้พระราชอำนาจพิเศษนั้นโดยหมู่คณะต่าง  ๆ ของพลเรือนและทหาร ระบบนี้จึงเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงมิได้กับการระบุอีกครั้งเรื่องฐานะของราชบัลลังก์ พระจักรพรรดิทรงกลายเป็น “สัญลักษณ์แห่งรัฐ..โดยฐานะของพระองค์เกิดจากเจตนารมย์ของประชาชนที่มีอำนาจอธิปไตย พระราชานุกิจต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐบาลและต้องมีการระบุพระราชานุกิจแน่นอนโดยเฉพาะ เป็นความเปลี่ยนแปลงซึ่งที่ปรึกษาแห่งราชสำนักยอมรับถึงขนาดให้การต้อนรับความเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นด้วย บรรดาที่ปรึกษากำหนดภาพพจน์ใหม่ของกษัตริย์โดยได้รับความสำเร็จดียิ่ง ภายในหนึ่งปี บรรดาที่ปรึกษาได้ทำให้พระจักรพรรดิทรงเป็นหลักแห่งความจงรักภักดีบนพื้นฐานแห่งความรักมากว่าความยำเกรงโดยการวางแผนอย่างรอบคอบยิ่งในเรื่องการเสด็จปรากฏพระองค์และเรื่องพระราชดำรัส วิธีดังกล่าว ทำให้ราชบัลลังก์มั่นคงและมีเกียรติภูมิในช่วงที่การปราชัยได้คุกคามราชบัลลักงก์และเกียรติภูมิอย่างรุนแรงยิ่ง ความเปลี่ยนแปลงในลำดับต่อมาคือ ในด้านการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยถูกยกเลิกและการปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนใหญ๋ของกระทรวงได้ถูกกระจายออกไปโดยมอบหมายให้ระดับมณฑลและระบเมืองปฏิบัติราชการแทน  บรรดาผู้ว่าการมณฑลและนายกเทศมนตรีเป็นผู้ที่ต้องผ่านการเลือกตั้ง … สภาระดับท้องถิ่นต้องเป็นสภาที่มาจากการเลือกตั้ง การศึกษากลายเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีเจตจำนงที่จะ “ปลูกผั่งประชาธิปไตย” การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางถูกดำเนินไปโดยการแยการศาลออกจากการบริหาร  การประกาศกฎหมายตามระบอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นการปกป้องเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวง  ความเสมอภาคระหว่างชายและหญิง
     การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติแรงงานซึ่งมีผลต่อการสร้างผลประโยชน์อันทรงอำนาจยิ่งที่ต้องผุกมัดกับการธำรงไว้ซึ่งการปฏิรูปทั้งปวงพระราชบัญญัติสหภาพแรงงาน ทำให้เกิดการปั่นปวนซึ่งตรงกันข้ามกับการปฏิรูปที่ดินซึ่งได้ถูกวางแผนขึ้น ด้วยความเช่อว่า ความไม่สงบทางการเกษตรที่มีส่วนทำให้ญี่ปุ่นก้าวร้าวรุกรานนั้น ได้ช่วยลดความตึงเครียดในชนบทลงมาถึงจุดต่ำกว่าเดิมในสมัยใหม่ข้อเสนอครั้งแรกเพื่อปฏิรูปที่ดินได้ถูกเตรียมการขึ้นโดยข้าราชการญี่ปุ่นและยื่นจ่อรัฐบาลในเดือนพฤศจิกายน
     การปฏิรูปการศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการแบบเดียวกันแก่เด็กนักเรียนญี่ปุ่น เป้นการให้ผลต่อท่วงทีเท่าๆ กับให้ผลต่อเนื้อหาของการสอนและให้บรรยากาศที่เป็นอิสระมากกว่าแก่โรงเรียน  คณะผุ้แทนการศึกษาจากอเมริกาได้มาถึงญี่ปุ่น และข้อเสนอแนะของคณะนี้ได้รับปฏิบัติตามทันที่ให้เป็นแบบจัดการศึกษาตามแนวทางอเมริกา ดังที่ได้กล่าวว่า การบริหารราชการแผ่นดินเป็นแบบการะจายอำนาจภายใต้คณะกรรมการที่มารจากการเลือกตั้งระดับมณฑลและเมือง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)