WWII:Battle of Normandy

     นอร์มังดีเป็นสมรภูมิที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเลือกที่จะยกพลขึ้นบกทางตอนใต้ของฝรั่งเศสเพื่อรบกวนแนวหลังของเยอรมัน โดยบุกข้ามช่องแคบอังกฤษจากฐานที่ตั้งชั่วคราวในแนวรบที่อยู่ทางตอนใต้ของประทเษอังกฤษ(เมืองพอร์ทสมัธ)มายังหัวหาดนอร์มังดีภายมต้แผนปฏิบัติกาโอเวอร์ลอร์ด หรือที่รู้จักกันว่า วันดี-เดย์
     กองกำลังฝ่ายสัมพันธิมิตรนั้นประกอบด้วยทหารจากหลายประเทศด้วยกัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา นอกจานี้ทหารจากกองกำลังฝรั่งเศสเสรี และโปแลนด์ได้เข้าร่วมกับกองกำลังสัมพันธมิตรด้วย เมื่อทจู่โจมจากเกาะอังกฤษเข้าสู่ฝรั่งเศสได้แล้ว ยังมีกองทหารจากหลายประเทศเข้ามาร่วมกับพันธมิตรหลังจากนั้นด้วย ได้แก่ เบลเยี่ยม เชโกสโลวาเกีย กรีซ เนเธอร์แลนด์ และนอร์เวย์
     การบุกหัวหาดนอร์มัดีเริ่มต้นตั้งแต่คือวันที่ 5 มิถุนายน โดยเครื่องบินท้งพลร่มและเครื่องร่อนลงมา และกองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มเปิดการทิ้งระเบิดกองทัพเยอรมันที่ประจำอยู่ตามเมืองริมชายฝั่งของฝรั่งเศส รวมถึงการยิงปืนใหญ่จากเรือรบพันธมิตร กระทั่งการบุกข้ามทะเลของกองกำลังหลักเริ่มต้นขึ้นในตอนเช้าของวันที่ 6 และต่อจากนั้นอีก 2 เดือน จนถึงการปลดปล่อยปารีสในปลายเดือนสิงหาคม 1944 เป็นอันสิ้นสุดภาระกิจ
    ในแผนดังกล่าว ถูกหนดไว้คือวันที่ 5 มิถุนา จะมีพลริ่มลงไปหลังแนวป้องกันก่อน เพื่อตัดกำลังและคุมสะพานไม่ใด้พวกเยอรมันที่อยู่หลังแนวรบ ส่งกำลังมาหน้าแนวได้ทัน ได้มีการทิ้งห่นพลร่มปลอมในบางจุดด้วย
      เช้าวันที่ 6 กองทัพเรือขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ยาตราเข้าอ่าวนอร์มังดี บนหาดมีเครื่องกีดขวางมากมาย แม้แต่เรือเล็กก็ไม่สามารถเข้าใกล้ตัวหาดได้มากนัก บนหาดถูกต่อต้านโดยปืนใหญ่ ปืนกลหนัก เครื่องยิงลูกระเบิด และปืนต่อต้านรถถังจำนวนมาก ทั้งยังมีรั่วลวดหนามคูดักรถถัง และกับระเบิดบนหาด ทหราเสียชีวิตมากมายก่อนจะยึดหัวหาดได้ โดยเฉพาะที่หาดโฮมาฮ่า
     แผนการรับมือครั้งนี้ โดย จอมพล รอมเมลคือต้องการสร้าง
เครื่องกีดขวางและเครื่องป้องกันหาดต่าง ๆ บนหาดให้มากที่สุด เพราะเมื่อหาดถูกบุก หาดจะถูกป้องกันพวกพันธมิตร จะต้องตายคาหาด แต่ฮิตเลอร์ไม่เห็นด้วย โดยเห็นว่าการตั้งรับควรอยู่หลังแนวหาดมากกว่า คือควรจะจัดการกับพวกสัมพันธมิตรบนบกหลังแนวดีกว่า  จึงดึงกำลังสำคัญ เช่น หน่วยยานเกราะเกือบทั้งหมดไปอยู่ส่วนหลัง เหลือเพียงกองพลยานเกราะที่ 21 กองพลเดียว พร้อมกับกองพลทหารราบ 38 กองพล วางกลังอยู่ตั้งแต่เมืองท่าคาเล่ย์ของฝรั่งเศส ขึ้นเหนือไปถึงฮอลเเลนด์ และเลยลงไปทางใต้ถึงชายแดนสเปน แนวตั้งรับของเยอรมันมีระยะทางที่ยาวมาก กำลังทหารเยอรมันจึงไม่เพียงพอต่อการต่อต้านการยกพลขึ้นบก ในขณะเดียวกัน ลูฟวาฟเฟ ของเยอรมันก็มีเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินทิ้งระเบิดนอ้ยเกินกว่าจะรับมือได้
     กำลังฝ่ายสัมพันธมิตรที่จะยกพลขึ้นบกประกอบด้วย กองพลทหารราบที่ 39 กองพล(สหรัฐ 20 กองพล อังกฤษ 3 กองพล แคนาดา 1 กองพล  และฝรั่งเศสอิสระ1 กองพล โปแลนด์ 1 กองพลเครื่องบินขับไล่ กว่า 5,000 ลำ เครื่องร่อน 2,600 ลำ เรือรบและเรื่ออื่นๆ กว่า 6,000 ลำ ซึ่งแม้จะนวนทหารราบจะใกล้เคียงกัน แต่ด้วยแนวรบที่ตั้งรับเป็นระยะยาวจึงทำให้จำนวนทหารฝ่ายเยอมันกระจายออกในขณะที่ ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรรวมกันเป็นจุดเดียว
     เยอรมันเชื่อว่าการยกพลขึ้นบกจะมีขึ้นในฤดูร้อนของปี 1944 โดยมีการเตรียมการขนานใหญ่ที่สามารถสังเกตเห็นได้ในอังกฤษ ฝ่ายสัมพันธมิตเองก็พยายามลวงฝ่ายเยอรมันว่าการยกพลขึ้นบกจะมีขึ้นที่คาเล่ย์ สายลับทั้งสองฝ่ายต้องทำงานกันอย่งหนัก สายลับสัมพันธมิตรพยายามปล่อยข่าวสถานที่ยกพลขึ้นบกหลายห่ง จนสายลับเยอรมันในอังกฤษเกิดความสับสน นายพล ดไวท์ ดี.ไอเซนฮาว ผู้บัญชาการสุงสุดในยุทธการครั้งนี้ ก็วางแผนที่จะเริ่มการยกพลขึ้นบกในวันที่ 5-7 มิถุนายน ในเวลารุ่งเช้า แต่สภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย คลื่นลมบริเวณช่องแคลอังกฤษแรงราวกับทะเลคลั่ง การปฏิบัติการจึงต้องเลื่อนออกไปอีก 24 ชม.กระทั่งเช้าวันที่ 6 นายพล ไอร์เซนฮาวน์จึงตัดสินใจที่จะเริ่มการยกพลขึ้นบก
   ฝ่ายเยอมันสับสนกับข่าวการยกพลขึ้นบก ข่าววิทยุจาสถานกระจายเสียงจากกรุงลอนดอนของอังกฤษ สามารถรับฟังได้อย่างชัดเจนในฝรั่งเศส ซึ่งมักจะส่งข่าวให้พวกใต้ดินในฝรั่งเศส ฝ่านทางข้อความที่เป็นรหัสลับ ออกข่าวเป็นบทกวี ซึ่งเป็นสัญญาณให้หน่วนใต้ดินฝรั่งเศสทราบว่าการบุกกำลังจะเกิดขึ้น เยอรมันจับรหัสนี้ได้ แต่สภาพอากาศที่เลวร้าย ทะเลมีคลื่อลมแรง เยอรมันตายใจ ไม่คิดว่าการยกพลจะเกิดขึ้นในสภาพอากาศที่เลวร้ายอย่างนี้ จอมพลรอมเมลเอง ก็เดินทางกลับเยอรมัน ไม่มีใครคาดคิดว่าการยกพลกำลังจะเกิดขึ้น
     คือนวันที่ 5 ต่อเช้าวันที่ 6 พันธมิตรส่งพลร่มเข้าโจมตีตามจุดต่างๆ ของเมือง โดยปล่อยหุ่นและปะทัดเข้าปะปนมากับพลร่มเพื่อสร้างกลลวง การปฏิบัติการดังกล่าว บางคนกล่าวว่าเป็นปฏิบัติการฆ่าตัวตาย เนื่องจากการเข้ามาในเขตของข้าศึกโดยไม่มีกำลังสนับสนุน การสู้รบจึงเป็นไปด้วยความลำบาก แต่ด้วยความกล้าหาญของทหารหาญซึ่งต่อสู้กระทั่งกองกำลังสมทบมาถึง
     หาดโอมาฮ่า สถานะการณ์รุนแรงที่สุด ซึ่งกองพลทหารราบของสหรัฐ ได้รับการสนับสนุนด้วยรถถังเพียง 5 คัน การต้อนรับในหาดนี้เยอรันมีประสบการณ์จากกองพลที่ 352 แม้จะมีการระดมยิงจากปืนเรือก่อนขึ้นหาด แต่กองพลเยอรมันส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเสียหายความสูญเสียมีมากกกระทั่งนายพลโอมาร์ แบรดลีย์ ของสหรัฐฯ พิจารณาถึงการจะถอนตัวจากหาดนี้ แต่ในที่สุดอเมริกันก็สามารถยึดหาดโอมาฮ่าได้..
     หาดโกลด์ กองพลทหาราบที่ 50 และกองพลน้อยยานเกราะที่ 8 ของกองทัพอังกฤษที่พรั่งพร้อมด้วยรถถัง และอาวุธหนัก บุกเข้าโจมรีแนวต้านทานของเยอรมันตลอดแนวชายหาด การสู้รบที่หนักหน่วงที่สุด เกิดขึ้นที่หมูบ้านเล็ก ๆ ซึ่งถูกดัดแปลงให้เป็นป้อมปรากการ มีการวางปืนใหญ่ขนาด 75 มม. จำนวนหนึ่ง ซึ่งสามารถยิงครอบคลุมได้ทั้งหาด รถถังอังกฤษ 4 ใน 5 คันถูกทำลายทันทีเมื่อถึงหาดโกลด์ อังกฤษต่อสู้อย่างยืนหยัดนานกว่า 8 ชม.โดยปราศจากการสนับสนุนจากอาวุธหนักเช่นรถถัง การต่อสู้แบบประชิดตัวในที่สุดทหารอังกฤษก็สามารถรถกเข้าไปถึง 13 กม.จากหัวหาดโกลด์
     สิ้นสุดวันอันยาวนาน The longest day ฝ่ายสัมพันธมิตรกว่า 150,000 คน สามารถยึดครองพื้นที่ กว่า 200 ตารางกิโลเมตรตามแนวหาดนอร์มังดี นับจากวัน ดี-เดย์เป็นต้นมาเยอรมันก็เร่มเป็นฝ่ายถอย และเป็นการเริ่มต้นของการปลดปล่อยฝรั่งเศสพร้อมๆกับการเริ่มต้นของการล่มสลายของระบอบปกครองนาซี..

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)