WWII:Berlin



เบอร์ลินตั้งอยู่ยนแม่น้ำสปรี และฮาเฟลทางตะวันออกเฉยงเหนือของเยอรมันห้อมล้อมด้วยรัฐบราเดนบวร์ก มีพื้นที่ 891 ตารางกิโลเมตร ในสมัยก่อน เบอร์ลินเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรานเดนบวร์กก่อนจะแยกการปกครองออกเป็นนครรัฐต่างหากรัฐหนึ่งชื่อเบอร์ลินนั้นไม่ทราบที่มา แต่อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยคำภาษาโปลาเบียนเก่า ซึ่งหมายความว่าหนองน้ำ สงครามสามสิบปีทำให้เบอร์ลินได้รับความเสียหายใหญ่หลวง บ้านเรื่อนหนึ่งในสามเสียหายประชากรลดเหลือครึ่งเดียว เฟรเดอริก วิลเลียม “เจ้าชายผู้ยิ่งใหญ่”ซึ่งสืบอำนาจเป็นผุ้ปกครองต่อจาก จอร์จ วิลเลี ยม ผู้บิดา ได้ริเริ่มนโยบายส่งเสริมการอพยพย้ายถิ่นและเสรีภาพในการนับถือศษสนาด้วยกฤษฎีกาแห่งพอทสดัม เฟรเดอริกได้เสนอที่ลี้ภัยให้กับพวกฮิวเกอโนต์ซึ่งเป็นพวกโปตเตสแตนท์ชาวฝรั่งเศส ฮิวเกอโนต์กว่า หมื่นห้ามัน ได้มายังบรานเดนบวร์ก หกพันคนตั้งถ่นฐานในเบอร์ลิน ปีพ.ศ. 1700 ร้อยละยี่สิบของผู้อยู่อาศัยในเบอร์ลินเป็นชาวฝรั่งเศส และอิทธิพลทางวัฒนธรรมของนั้นมีต่อเบอร์ลินเป็นอย่างมาก   ผู้อพยพอื่นๆ จำนวนมากมาจาก โบฮิเมีย โปแลนด์ และซาลซ์บูร์ก…
     กองทัพแดงเข้าประชิดปรัสเซียภายใต้การบัญชาการของจอมพล จอร์จี้ ซูคอฟ เยรมันล่าถอยครั้งใหญ่กองทัพโซเวียตปลดปล่อยลิธัวเนีย ทัพโซเวียตข้ามแม่นำโอเดอร์เพื่อเข้าตีเยอรมัน เยอรมันในเบลเยี่มมล่าถอยแนวต้านทานแห่งสุดท้ายของเยอรมันที่แม่นน้ำไรน์แตก รัสเซียปลดปล่อยบูดาเปสต์ โดยเวียตฌจมตีเยอรมันในฮังการี กองทัพ
     การรบแห่งเบอร์ลินเป็นสมรภูมิสุดท้ายแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ในภาคพื้นยุโรปและเป็นหนึ่งในสมรภูมิที่สำคัญของสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพแดงขนาดมหึมาบุกขยี่กองทัพนาซีตอลดทางกระทั่งกรุงเบอร์ลิน
     เยอรมันโจมตีตอบโต้โดยใช้กองทัพที่สร้างขึ้นมาใหม่ที่เรียกว่า วิสตูลา Army Group Vistura ภายใต้การบัญชาการของนายพลเฮนริก ฮิมเลอร์ ผู้บัญชาการของหน่วนเอสเอส แต่ก็ประสบความล้มเหลว นอกจากนี้กองทัพเยอรมันยังขาดน้ำมันในการต่อสู้และผลิตอาวุธ
     การสู้รบรอบๆ กรุงเบอร์ลินเปิดฉากขึ้น กองกำลังป้องกันเบอร์ลินประกอบด้วย ทหารจากกองทัพบกเยอรมัน ทหารในหน่วย SS ประจำกรุงเบอร์ลิน ยุวชนฮิตเลอร์ ตำรวจและประชาชนอาศัยอยู่ในกรุงเบอร์ลิน ความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์และด้วยศักดิ์ศรีของชนชาติเยอรมัน เยอรมันจึงจำเป็นต้องต่อสู้ไปจนถึงที่สุด บ้างก็ถูกฆ่า บ้างก็ยกธงขาวยอมจำนน กองทัพแดงรุกต่อกระทั้งถึงศูนย์กลางกรุงเบอร์ลิน “อเล็กซานเดอร์พาซ”สถานที่ตรงนี้ในช่วงศตวรรษที่ 19 กษัตริย์ของรัสเซียพระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ได้มาเยือนกรุงเบอร์ลิน เยอรมันจึงตั้งชื่อสถานที่ที่กำลังก่อสร้างในขณะนั้นให้เป็นชื่อของพระองค์รวมทั้งตลาดสาธารณะ บริเวณนี้เป็นสถนีขนส่งมวลขนของกรุงเยอร์ลิน อยู่ใจกลางเมืองและใกล้ๆกับแม่น้ำสพรี เกิดการต่อสู้กันอย่างหนักที่สภาไรค์ชดาร์ก ฝ่ายเอยมันต้องรักษาสภาไว้ให้ได้เพราะเป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งอำนาจของพรรคนาซีและฮิตเลอร์ ฝ่ายโซเวียตก็ต้องการยึดไว้ให้ได้ เพื่อนำธงแดงของสหภาพโซเวียตไปโบกบนสภาเป้นการประกาศชัยชนะ และแสดงการล่มสลายของนาซีและฮิตเลอร์เช่นกัน การต่อสู้แบบประชิดตัวเป็นไปอย่างดุเดือด ทหารต่างด้าวในหน่วย SS มีฝีมือในการรบเพราะการกรำศึกมามากและเชื่อในลัทธิสงครามที่ว่าเยอรมันจะไม่มีวันแพ้
      นายพลเฮนิกซี่ถูกปลดออกจาตำแน่งผู้บังคับบัญชากากรป้องกันกรุงเบอร์ลิน เนื่องจากปฏิเสธคำสังที่ให้หยุดยั้งกองทัพแดงเนืองจากเห็นว่าไม่มีประโยชน์อีกต่อไปที่จะต้านทานกองทัพแดง ฮิตเลอร์แต่งตั้ง นายพล สติวเอนท์ เข้ารับตำแหน่งในวันต่อมา คือวันที่ 30 เมษายน ซึ่งเป็นวันเดียวกับฮิตเลอร์กระทำอัตวินิบาตกรรมในบังเกอร์ผู้นำพร้อมกับ เอวา บราวน์ ภรรยาของเขา ซึ่งพึ่งแต่งงานกอ่นหน้านี้เพียงวันเดียว
     ในที่สุดผุ้บัญชากากรป้องกันกรุงเบอร์ลินนายพลไวด์ลิงค์ ก็ยอมจำนนต่อกองทัพแดงและยกเมืองให้แก่สหภาพโซเวียตควบคุมในวันที่ 2 พฤษภาคม 1945
       Victory in Europe Day หรือ Ve Day คือวันที่ 7-8 พฤษภาคม 1945 วันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของนาซีเยอรมัน หลังจากฮิตเลอร์ฆ่าตัวตายในวันที่ 30 เมษายน ตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมันตกเป็นของ คาร์ล เดอนิตช์ เขาลงนามในสนธิสัญญายอมจำนนในวันที่ 7 พฤษภาคม ในเมืองแรมส์ ฝรั่งเศสและวันที่ 8 พฤษภาคม ในกรุงเบอร์ลิน เยอรมัน
     การเฉลิมฉลอง ในวันนั้น ได้มีการจัการเฉลิมฉลองกันครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงลอนดอน ซึ่งประชาชนชาวอังกฤษกว่าล้านคนได้พากันมาเฉลิมฉลองกันในบรรยากาศการเล่นรืนเรองในการสิ้นสุดสงครามในทวีปยุโรป แม้ว่าการปันส่วนอาหารและเสื่อฝ้าจะยังคงกินเวลาต่อไปอีหลายปี และในความเป็นจริงแล้วการปันส่วนอาหารกินเวลายาวนานยิ่งกว่าช่วงเวลาของสงครามอีก ฝูงชนได้มารวมตัวกันที่จัตตุรัสทราฟัลการ์ ไปจนถึงพระราชวังบักกิงแฮม ที่ซึ่งพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชินีเอลิซาเบธและนายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิลล์และเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตได้รับอนุญาติให้เดินปะปนอยู่กับฝูงชนที่มาชุมนุมนั้น และมีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลองด้วย
     ในสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน ผู้ซึ่งจัดงานวันเกิดครบรอบ 61 ปีของเขาเอง ได้อุทิศชัยชนะเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีคนก่อนหน้าแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต เพราะว่าเขาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ยุติสงคราม โรสเวลต์ถึงแก่อสัญกรรมไม่กี่เดือนก่อนหน้าการยอมจำนนจะเกิดขึ้น ในวันที่ 12 เมษายน ฝูงชนจำนวนมากมารวมตัวกันที่ ชิคาโก ลอสแองเจิลลิส ไม่อามี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทม์สแควร์ ในนครนิวยอร์ก
     สหภาพโซเวียตและประชาชนจำนวนมากได้จัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะ ในมหาสงครามของผู้รักชาตอันยิ่งใหญ่ในวันที่ 9 พฤษภาคมแทน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)