WWII:Operaion Bagration

ดู berarusia      ปฏิบัติการบากราติออน เป็นชื่อรหัสของปฏิบัติการรุกทางยุทธศาสตร์เลารุส ปี 1944 ปฏิบัติการดังกล่าวตั้งตามชื่อของเจ้าขายจอร์จเยสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 ปีเตอร์ บากราติออน ซึ่งเป็นพลเอกแห่งกองทัพจักรวรรดิรัสเซียผู้ทรงได้รับบาดแผลฉกรรจ์ในยุทธการโบโรตีโน กองทัพโซเวียตเกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติการบากราติออนโดยตรงมีแนวรบบอลติกที่ 1 ภายใต้การบังคับบัญชาขของพลเอกฮอฟฮันเนส บากรัมยัน แนวรบเบลารุสที่ 2 ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอก จี.เอฟ.ซาฮารอฟ และแนวรบเบลารุสที่ 3 ภายใต้การบังคับบัญชาขอ
งพลเอก อีวาน เชียร์นยาฮอฟสกี
     เป้าหมายของปฏิบัติการนั้นซับซ้อน กองทัพแดงปรับใช้มโนทัศน์การปฏิบัติการเชิงลึกโซเวียต ยุทธการเชิงลึกโซเวียตและมาสกีรอฟกา(การลวงทางทหาร) นวัตกรรมของโซเวียตเหล่านี้เป็นไปได้ส่วนหนึ่งเพราะการจัดหารถบรรทุกกว่า 220,000 คันจาสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ทหารราบโซเวียตมียานยนต์ เป้าหมายหลักในการรุกครั้งนี้ คือหัวสะพานบนแม่น้ำวิสตูล่าทางตอนกลางของโปแลนด์และเพื่อสร้างวิกฤตการณ์ในเบลารุสเซยเพื่อหันกองหนุนเคลื่อที่เร็วไปยังส่วนกลางโดยเป็นส่วนหนึ่งของมาสกีรอฟกาให้ออกจากพื้นที่ลูบลิน-เบรสท์, โดยเวียตตั้งใจจะดำเนินการรุกลวอฟ-ซานโดเมียร์ซและรุกลุบลิน-เบรสท์
     ยุทธการเบเกรชั่น เปิดฉากเริ่มจากกองทัพกองโจรที่มีกำลังพลกว่าแสนสี่ ได้รับสัญญาจากกองทัพใหญ่ให้เข้าโจมตีกองทัพนาซีที่ถอยออกมาอย่างไม่เป็นขบวนที่ฝั่งเบโลรุเซีย ซึ่งเป็นห้วงเวลาเดียวกับปฏิบัติการ “โอเวอร์ลอร์ด”ที่นอร์มังดี ฝรั่งเศส โจมตีหน่วยสื่อสาร กองบัญชาการนาซีและสนามบิน เข้าโจมตีแบบประจันบานภาคพื้นดินในช่วงปลายเดื่อนมิถุนา 1944  กองทัพกองโจรสามารถยึด Minsk กลับคือมาได้ในสภาพที่ทุกอย่างถูกทำลายจนสิ้น เหลือเพียงซากปรักหักพัง
     กรกฏคม แม่ทัพซูคอฟและแม่ทัพโคเนฟ เข้ายึด Vilnius สำเร็จ แม่ทัพซูคอฟได้รับการสถาปนาเป็น วีรบุรุษแห่งโซเวียต(เป็นครั้งที่ 2) สตาลินมอบอำนาจเด็ดขาดของการทำยทุธการเบเกรชั่นในทุกสายทัพให้ขึ้นตรงกับซู่คอฟ
     การสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือนในช่วง วันที่ 22 มิถุนายน-4 กรกฎาคม โซเวียตสุญเสียกำลังพลกว่าเจ็ดแสนห้านาย เพื่อแลกกลัการได้เบลารุสเซียและยูเครนกลับคืนมา ทัพฟินแลนด์ได้รับควมเสียหายมากในการขับไลฐานของเยอรมันที่ตั้งคุมฝั่งทะเลบอลติค รัฐบาลฟินแลนด์ที่ฝักใฝ่นาซี่ เริ่มไหวตัว จึงเปลี่ยนผู้นำและหาทางสงบศึกกับโซเวียต สตาลินเสนอทางเลือกเพียงอย่างเดียวคือยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข ฟินแลนด์ยื้อเวลาเพื่อรอดูสถานะการณ์ โซเวียตจึงส่งกองทัพเข้าไปขับไล่นาซีการสู้รบยืดเยื้อกระทั่งหลังวันดี-เดย์ ก็ยังคงไม่เรียบร้อย..กองทัพเยอรมันได้รับความเสียหายยิ่งกว่าเมื่อครั้งยุทธการสตาลินกราด..
     รุสเซียบรรลุวัตถุประสงค์คือยึดพื้นที่ในเบลารุสเซียกลับคืนมาได้ เท่ากับว่ากองทัพรัสเซียได้มาตั้งรออยู่ที่ชายแดนของปรัสเซียตะวันออกเรียบร้อยแล้ว และข้ามเข้าโปแลนด์ได้จากใจกลางและจากทางตอนใต้ด้วย สิ้นเดือนกรกฎาคม 1944 กองทัพโซเวียตจึงประชิดกรึงวอร์ซอร์แล้ว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)