WWII:OstFront Continued

     ไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย เจ้าชายไมเคิล ประสูติที่ปราสามเปเรส ในเมืองซินายอา ประเทศโรมาเนียเป็นพระโอรสในมกุฎราชกุมารคาโรลกับเจ้าหญิงเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก เจ้าชายไมเคิลได้รับประกาศให้เป็นทายาทสืบบัลลังก์พระองค์ต่อไปและได้ขึ้นครองราชสมบัติหลังจากพระปิตุลาเสด็จสวรรคตเมืองเดือน กรกฎาคม 1927


      พระยศผู้สำเร็จราชการแทนซึ่งรวมเข้ากับเจ้าชายนิโคลัสแห่งโรมาเนีย ผู้เป็นสมเด็จอาของพระองค์ พระสังฆราช มิรอน คริสที่ และผู้พิพากษาสูงสุดของประเทศได้ทำหน้าที่แทนเจ้าชายไมเคิลซึ่งพระชมมายุเพียง 5 ชันษา  ในปี 1930 สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนียได้เสด็จกลับประเทศภายใต้คำเชื้อเชิญของนักการเมืองที่ไม่พอใจในผุ้สำเร็จราชการและได้ประกาศตนเป็นกษัตริย์แห่งโรมาเนียโดยทางรัฐสภาถอดพระเจ้าชายไมเคิลออกจากราชบัลลังก์ให้ดำรงพระยศเป็ฯมกุฎราชกุมารด้วยตำแหน่ง “แกรนด์วออิวอดออฟเอลา-ลูเลีย” เดือนพฤศจิกา1939 เจ้าชายไมเคิลได้เข้าร่วมวุฒิสภาโดยรัฐธรรมนูญปี 1940 ได้กำหนดให้พระองค์มีตำแหน่างในสภาเมื่อมีพระชนมายุครบ 18 ชันษา ปี 1941 ผู้นิยมนาซีเยอรมันต่อต้านพรรคบอลเชวิคนายกรัฐมนตรีจอมพลเอียน เอนโตเนสคู ได้กระทำรัฐประหาร ต่อต้านสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 22 ซึ่งแอนโตเนสคูเรียกพระองค์ว่าผุ้ต่อต้านนาซี แอนโตเนสคูด้ยกเลิกรัฐธรรมนูญและล้มล้างระบบรัฐสภาและก่อตั้งเจ้าชายไมเคิลขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งโรมาเนียอีกครั้งเมื่อมีพระชนมายุ 18 ชันษาพระองค์ได้สาวมงกุฏเหล็กแห่งโรมาเนียและได้รับการแต่งตั้งโดยพระสังฆราชา นิโคดิม มันที่นู แห่งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ บูคาเรสต์ วันที่ 6 กันยายน ปี 1941 พระองค์ทรงได้รับพระยศเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพและทรงแต่งตั้งและมอบหมายนายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจเต็ม ซึ่งในความเป็นจริงพระองค์ทรงมีอำนาจเพียงในนาม
     ในปีเดียวกันนั้นเอง เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายอักษะต้องถอยล่น เผด็จการทหารของนายกรัฐมนตรีจอมพล เอียน เอนโตเนสคู ยังคงปกครองโรมาเนีย สิงหาคม 1944 โซเวียตจำเป็นต้องโจมตีโรมาเนียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พระราชาธิบดีได้เข้าร่วมกับนักการเมืองฝ่ายพันธมิตร กระทการัฐประหารนายกรัฐมนตรีแอนโตเนสคู แต่งตั้ง คอนสแตนติน เซนาเทศคู และทำการส่งอแนโตเนสคูให้โซเวียตทำการประหารชีวิต   1 กันยายน 1944 พระองค์ทรงขอสงบศึกกับกองทัพแดงและได้ประกาศพักรบกับอังกฤษและอเมริกา อย่างไรก็ตามก็ไม่สามรถหยุดโซเวียตที่จับกุมทหารชาวโรมาเนียกว่า แสนสามนาย ถูกส่งไปยังโซเวียต
     ในการประชุมที่เตหะราน ในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 เชอร์ชิล รูสเวลท์ และสตาลินได้พบปะกัน รุสเซียแจ้งไทราบว่า ตนไม่ยินยอมให้มีการปฏิบัติการรบตามแผนโอเวอร์ลอร์ด ด้วยถือว่า จะเป็นการยกพลขึ้นบกที่บอลข่านโดยมีเจตนาอำพรางที่จะปิดล้มรุสเซียมิให้กลืนบอลข่านและยุโรปตะวันออก รุสเซียยืนกรามให้ยกพลขึ้นบกฝรั้งเศสภาคเหนือเป็นทางลัดตัดสู่เบอร์ลิน อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญในการประชุมครั้งนั้นคือ การที่รุสเซียจะประกาศจัดตั้งรัฐบาลโปแลนด์ และเชโกสโลวะเกียพลัดถ่นที่เป็นคอมิวนิสต์

     ในการประชุมครั้งนั้น ได้มีการตกลงปักปันพรมแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก กล่าวคืโปแลนด์ดินแดนตะวันออกให้แก่รุสเซีย โดยจะได้รับชดเชยเป็นดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก กล่าวคือโปแลนด์เสียดินแดนตะวันออกให้แก่รุสเซีย โดยจะได้รับชดเชยเป็นดินแดนปรัสเซียตะวันออกให้แก่รุเสเซีย โดยจะได้รับชดเชยเป็นดินแดนในยุโรปดินแดนปรัสเซียตะวันออก และขยายพรมแดนโปแลนด์ตะวันตกไปจดแม่น้ำโอเดอร์ ซึ่งเท่ากับได้ดินแดนไซลีเซียตอนบน ของเยอรมันด้วย
     ส่วนการลงโทษเยอรมันนั้น รุสเซียเสนอให้ยกเลิกผู้ชำนาญการทางทหารของเยอรมันเสียแต่พันธมิตรไม่เห็นด้วย เมื่อพิจารณาพื้นที่ยึดครองเยอรมันตามแผนของสหรัฐแมริการุสเซียก็ไม่ตกลงเห็นชอบเช่นกัน
     ด้วยความต้องการที่จะให้รุสเซียร่วมสงครามแปซิฟิกเพื่อปราบญี่ปุ่นและเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติ ทำให้พันธมิตรจำต้องยอมผ่อนปรนให้แก่รุสเซยในเรื่องการขยายพรมแดนแม้เมือยินยอมเช่นนั้นก็มิได้หมายความว่า รุสเซียจะร่วมสงครามแปซิฟิก จึงเป็นการผ่อนปรนโดยรุสเซยไม่มีภาระผูกพันอันใดเป็นข้อแลกเปลี่ยน
      เมื่อได้สิ่งที่ตนต้องการแล้ว รุสเซียก็ยินดีในความร่วมอในการปราบเยอมันอย่างจริงจัง ดังปรากฎจากการที่รุสเซียได้รับรุกต่อไปตามกลยุทธสตาลินที่เรียกว่า “รบรุกนับสิบ” เพื่อสลายพลังอันกล้าแข็งของทัพเยอรมัน และพันธมิตรเองก็ได้เปิดแนวรบตะวันตก (ตามที่รุสเซียต้องการ)ขึ้นที่ฝรั่งเศสภาคเหนือซึ่งถือว่าเป็นการประสานงานกันในการรบรุกบีบเยอรมันทั้งสองด้าน แผนการดังกล่าวนี้รุสเซียให้ความร่วมมืออย่างแข็งขันด้วยถือว่าเป็นกายิงปืนนัดเดียวได้เหยื่อถึง 2 ราย กล่วคือ การที่รุสเซียรุกไล่เยอรมันออกจากยุโรปตะวันออกเ ป็นการประบเยอมันตามแผนประสานงานกับพันธมิตร เปละเป็นโอกาสเหมาะที่รุสเซียจะเข้ายึดครองอินแดนยุโรปตะวันออกที่รุเซียได้อ้างว่าต้องการปลดแอกให้ด้วย
     กรกฏาคม 1944 รุสเซียเข้ายึดครองภูมิภาคทะเลบอลจิกและโปแลนด์สองเดือนต่อมา ได้ยึดครองรูเมเนียและบับแกเรีย การรุกคือบหน้าสู่ลุ่มน้ำดานูบ และเข้าไปในบอลข่านเช่นนั้น ทำให้พันธมิตรตื่นตระหนก และเพียรพยายามที่จะมิให้รุสเซียเข้ายึดครองกรีซ ซึ่งจะทำให้รุสเซียสามารถแผ่ขยายอำนาจอิทธิพลครอบงำน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียน
     ตั้งแต่มิถุนายน ค.ศ. 1944 มาแล้วที่อังกฤษได้ตั้งข้อเสนอแก่รุสเซียดังต่อไปนี้
1 แบ่งบอลข่านโดยรุสเซียมีอำนาจอิทธิพลในบัลแกเรียและรูเมเนีย
2 อังกฤษเข้าควบคุมกรีซ
     ข้อเสนอนี้ รุสเซียยอมรับในหลักการ ในเดือนตุลาคม โดยมีการเจรจาเพิ่มเติมว่า
1 รุสเซียมีอำนาจครอบงำฮังการี รูเมเนีย และบัลแกเรีย ในอัตราส่วน 75-80 เปอร์เซ็น
2 รุสเซียมีอำนาจครอบงำยูโกสลาเวยในอัตราส่วน 50 เปอร์เซ็น
     รุสเซียให้คำมั่นที่จะไม่แทรกแซงกิจการภายในและแทรกแซงทางทหารในบรรดารัฐดังกล่าวข้างต้น
     เมื่อตกลงกันได้ในการแบ่งสรรอำนาจผลประโยชน์ต่อกันแล้ว รุสเซียได้รุกคืบหน้าเข้ายึดครองออสเตรียและปรสเซยตะวันออกในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 การรุกคืบหน้าและเข้ายึดครองดินแดนบอลติก ยุโรปตะวันออก และบอลข่านนั้น เป็นการปฏิบัติการที่ต่อเนื่องกันมาตามลำดับในระหว่างปี 1943-1945 สิ่งที่รุสเซียต้องการจากพันธมิตรคือ ต้องการให้พันธมิตรรับรองอำนาจอิทธิพลรุสเซียในอินแดนเหล่านั้น ซึ่งเป็นการยากยิ่งสำหรับพันธมิตรจึงได้มีการประชุมขึนที่เมืองยัลตา สภาพความเป็นจริงทีประจักษ์แก่ฝ่ายพันธมิตรคือ การที่รุสเซียยึดครองยุโรปตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ กองทัพพันธมิตรเพื่องรุกมาถึงแม่น้ำไรน์ ในขณะที่อกงทัพรุสเซียกำลังจะข้ามแม่น้ำโอเดอร์เพื่อเข้าโจมตีกรุงเบอร์ลิน สภาพนี้เป็นภูมิหลังของการประชุมที่พันธมิตรตระหนักดีว่าตนเป็นฝ่ายเสียเปรียบ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)