WWII:Yamamoto Isorogu II

     เมื่อพ่ายแพ้ในการรบที่เกาะกัวดัลคะแนลสถานการณ์ในทะเลโซโลมอนดีขึ้นแต่ไม่ถึงกับสงบราบคาบยังมีการฝึกกำลังทหารและรวมพลจากเกาะอื่น ๆ ญี่ปุ่นมิได้ถอนกำลังจากทะเลโซโลมอนทั้งหมด การรบยังมีเป็นระยะ การรอบยิง
     แนวรบด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหารสมุทรแปซิฟิกทีกินบริเวณมาถึงหมู่เกาะแคโรไลน์ตะวันตกที่มีเกาะ Yap,Palau (แหล่งสำรองเครื่องยิน เรือรบและ ยุทธปัจจัยของศูนย์บัญชาการที่เกะทรัก)ที่เชื่อมต่อกับทะเลโมลุกกะ เกาะติมอร์ ยันนิวกีนีจึงไม่มีอะไรเป็นที่น่าไว้วางใจ    
หลังจากนั้นญี่ปุ่นเป็นฝ่ายตั้งรับที่ และ-ซาลาม และพบความสูญเสียอีกครั้งในยุทธนาวีแห่งทะเลบิสมาร์ก ญี่ปุ่นตกลงในใช้นโยบายเพิ่มความแข็งแกร่งในการป้องกันตรงจุดที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์และให้ทำการโจมตีตอบโต้ต่อเมืองีทางชนะเท่านั้น และมุ่งป้องกันที่ตั้งกองทหารญี่ปุ่นที่ยังเหลือยู่ในนิวกีนีเป็นหลักสำคัญอันดับแรก รองลงมาคือการป้องกันหมู่เกาะโซโลมอน ในขณะที่สัมพันธมิตรเพื่อมความมั่นคงที่มั่นในนิวกีนีของตนให้เข้ามแข็งยิ่งขึ้น โดยที่ญี่ปุ่นไม่สามารถขัดขวางได้    การเสียชีวิตของนายพลเรือยามาโมโต้ทำให้ญี่ปุ่นจึงเลิกความพยายามที่จะยึดเกาะนิวกีนี
      มหาสมุทรอินเดียญี่ปุ่นบุกยึดหมู่เกาะอันดามัน ในปี 1942 อังกฤษชิงตัดหน้าแผนการของญี่ปุ่นที่จะบุกจากเกาะมาดากัสการ์ ไม่ว่ารัฐบาลวิซี่ของฝรั่งเศษจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม ข้าหลวงฝรั่งเศสแห่งเกาะดามัสกัสไม่ให้ความร่วมมือ อังกฤษเร่มโจมตีโดยเข้ายึดมาจันการ ยึดตามาตาวี และยึดแอนตานานาริโอ้ ฝ่ายหลังขบวนการฝรั่งเศสเสรีจึงเข้าปกครองมาดาร์กัสการ์ในปี 1943
      แปซิฟิกเหนือ สหรัฐตัดสินใจขับไล่ญี่ปุ่นไปจากมู่เกาะอาลิวเซียน เพื่อขจัดอันตรายจากถัยคุกคามจากญี่ปุ่น สหรัฐยกพลขึ้นบกที่อาดันและจากฐานทัพที่ตั้งขึ้นจึงเริ่มโจมตีกีสกา และแอตตูในเวลาต่อมา  สหรัฐฯเปิดการโจมตีอีกครั้งที่แอตตู และแอมชิตกา กองเรือรบสหรัฐฯ ปิดล้อมในบริเวณนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ญี่ปุ่นส่งกำลังเสริมกองทหารบนเกาะ ในที่สุดกองสหรัฐฯก็สามารถขับไล่ทหารญี่ปุ่นออกไปจากกีสกา
      หลังจากที่ พลเรือเอก ยามาโมโต้ อิโชรุกคุ เสียชีวิตแล้ว พลเรือเอก โกงะ มิเนะอิจิ เข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการทัพเรือผสม โดยมีเรือประจัญบานมุซิชิเป็นเรือประจัญบาน ในขณะนั้นกำลังรบของจักรพรรดินาวี มีอยู่ไม่ถึงครั้งของฝ่ายสหรัฐฯ ดังนั้นในการยุทธ จะต้องใช้แนวป้องกันที่เป็นเกาะโดยจะใช้เกาะเป็นเสมือนเรือบรรทุกเครื่องบินที่ไม่มีวันจม
     กองเรือผสมญี่ปุ่นประมาณการว่า กำลังรบสหรัฐฯ จะเข้าโจมตีที่มั่นของญี่ปุ่นในหมู่เกาะมาร์แชล โดยเริ่มจากการเข้ายึดเกาะมโลเอแล็ป ก่อน แล้วจะใช้เป็นฐานในการบุกโจมตีเพื่อยึดเกาะควาจาลีน และเกาะโรอีซึ่งเป็นที่มั่นของกำลังรบป้องกันฐานทัพที่ 6 ต่อไป  นายพลเรือตรี โยชิมิ เดินทางไปรับหน้าที่ที่เกาะวอตจีในวงประการังวอตจี
     วงปะการังวอตจี นั้นเป็นวงกลุ่มของเกาะเล็ก ๆ ประมาณ 30 เกาะจะเป็นเกาะที่เกิดจาปะการังที่ก่อตัวทับถม และการระเบิดของภูเขาไฟมีลักษณะเป็นรูปร่างต่าง ๆ และมีช่องทางให้เรือแล่นเข้าไปในวงนั้นได้ รอบวงมีส่วนที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมาเป็นเกาะต่าง 
     อเมริกาวางแผนโจมตีหมู่เกาะมาร์แชล ซึ่งถูกญี่ปุ่นยึดครองได้ในปี 1942 โดยการเข้ายึดวงปะการังวอตจี เพื่อใช้เป็นฐานทัพหน้า เพราะมีสนามบินที่สร้างไว้ แต่ทราบว่าที่วงปะการังวอตจี มีการป้องกันเป็นอย่างดีจึงเปลียนแผนไปขึ้นบกที่วงปะการับควาจาลีน และมาโรเอแล็ป กระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ 1944 การบุกยึดเกาะมาร์แชลของกองทัพอเมริกาจึงใกล้จะประสบความสำเร็จ
     (เกาะนิวกีนี ตั้งอยู่ทางทิสเหนือของประเทศออกเตรเลียเป็นเกาะที่มีขนาดเป้ฯอันดับที่ 2 ของโลก ซึ่งถูกแบ่งแยกออกจากแผ่นดินใกญ่ออสเตรเลีย พื้นที่ตะวันตกของเกาะเป็นของประเทศอินโดนี่เซียและพื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นผืนแผ่นดินของรัฐเอกราชปาปัวนิวกีนี)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)