Leonid Brezhnev

    รุสเซียภายใต้คณะผู้นำใหม่ประกอบอ้วยบุคคลสำคัญคือ  เลโอนิค เบรสเนฟ เลขาธิการพรรค,อเล็กซีโคลซีกิน นายกรัฐมนตรี, นิโคลัย พอดโกนี ประมุขแห่งรัฐ และมิคาอิล ซุสลอฟ ผู้ประสานงานสัมพันธภาพระหว่างรุสเซียกับพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก
     รุสเซียภายใต้การนำโดยหมู่คณะต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ครุสเชฟได้ใช้วิธีค่อนข้างเสียงท้าทายโลกเสรีเกิดความจำเป็น เช่นในกรณีอเบอร์ลินและวิกฤติการณ์คิวบา คณะผู้นใหม่ตระหนักว่า การข่มขู่ใช้กำลังอาวุธก็ดี แสดงตนเผชิญหน้าก็ดี หรือการแสดงทีทาเสี่ยงก้าวร้าวรุกรานก็ดี ล้วนเป็นวิธีการที่ไม่ความเสียงในภาวะที่รุเซียเองไม่อยู่ในฐานะพร้อมที่จะรบหรือเผชิญหน้าอี เพราะสถานกาณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว และสำคัญที่สุดคือ ดุลยภาพแห่งอำนาจโลกได้เปลี่ยนแปลง โดยเหตุที่จีนและฝรั่งเศสกลายเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์แล้ว โลกที่สามกำลังเพิ่มจำนวนสมาชิกมากขึ้น เป็นพลังที่รุสเซียควรสนใจหาเสียทาบทามเป็นมิตรมากกว่าก่อศัตรู โลกก้าวสู่วันเวลาที่รุสเซียและสหรัฐสิ้นสุดอำนาจเผด็จการบงการโลกดังที่เคยกระทำ และ อาวุธนิวเคลียร์สร้างอันดับฐานะทางการเมืองได้ผล แต่ไม่อาจจะทำให้รุสเซียแผ่ขยายอำนาจอิทธิพลไปทั่วโลก เพราะอีกฝ่ายก็มีอาวุธเช่นกัน ประการสุดท้าย ปัญหาในโลกคอมมิวนิสต์เอง ความซับซ้อนที่ทวีขึ้นในวิกฤติการณ์อินโดจีน ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียและจีนที่มีลักษณะซับซ้อน สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุรุสเซยต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเจริญสัมพันธไมตรีกับโลกเสรี โลกคอมมิวนิสต์และโลกที่สาม
     คณะผู้นำใหม่แสดงเจตจำนงที่จะดำเนินนโยบายอยู่ร่วมกันโดยสันติดังเดิม เพียงแต่จำเป็นจ้องเปลี่ยนวิธีที่จะดำเนินนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป ผุ้นำคณะใหม่ปรับปรุงวิธีการโดยลดระดับการเสี่ยงท้าทายฝ่ายตรงข้าม แสดงพร้อมที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติ อำพรางเจตนารมณ์ที่แท้จริง และแสวงหาโอกาสจังหวะเหมาะที่จะขยายอำนาจอิทธิพล  ระเซียเลิกใช้วิธีการข่มขู่โดยอาวุธนิวเครียทางการทูต
      นโยบายต่อโลกคอมมิวนิสต์เปลี่ยแปลงไปภายใต้คณะผุ้นำใหม่  นโยบายต่อโลกคอมมิวนิสต์มิได้เปลี่ยนแปลงเท่าใดดังที่คาดหวัง ความสัมพันธ์กับรฐคอมมิวนิสต์ยังคงเหมือนเดิม โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับจีน
     ทันที่ฝ่ายนรุสเซียมีการเปลี่ยนผู้นำ พรรคจีนคอมมิวนิสต์ได้จับตามองอย่างใกล้ชิดเป็นที่รู้กันอยู่ว่า กาเปลี่ยนผู้นำในรุสเซียอาจจมีผลทำให้ทั้งสองฝ่ายหันหน้ามาคืนดีกันได้อีก รุสเซียแสดงทีท่าเป็ฯมิตรต่อจีนอย่างออนนอกหน้า อนาคตของจีนจึงควรจะสดในเป็นอย่างยิ่งเพราะคู่ปฏิปักษ์คือครุสเชฟก็หมดอำนาจไปแล้ว จีนแสดงคามกระตือรือร้นที่จะฟื้นผู่สัมพันธภาพอันดีงานกับรุสเซีย จู เอนไล ได้นำคณะผุ้แทนจีนเข้าร่วมฉลองวันครบรอบปีแป่งการปฏิวัติ ณ มอสโก เป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี แสดงท่าที่ว่าจีนมีความเป็นมิตรต่อผุ้นำใหม่รุสเซีย ในขณะเดียวกัน ย่อมเป็นที่แน่นอนใจได้ว่า จีนต้องการจะหยั่งท่าทีของรุสเซียจากสุนทรพจน์ของนายเบรสเนฟเองด้วย จีนคาดว่าคงมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงนโยบายต่างประเทศไปในแนวที่จีน้องประสงค์บ้าง
     จีนรู้สึกผิดหวังกัยถ้อยแถลงการณ์ของ เบรสเนฟ ซึ่งมิได้ให้ความหว้งมากมายแก่จีนเพีงแสดงทีท่าว่าต้องการเจรจาฟื้นฟูความสัมพันธ์อันดีกับจีน และยินดีให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจและทหาร ที่สำคัญ รุสเซียเสนอให้จัดการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก  รุสเซียหวังอย่างเดียวที่จะให้จีนเป็นพ้องกับนโยบายทั่วไปของตน ต้องการให้จีนเป็ฯมิตรกับผู้นำใหม่บ้างและต้องการขอร้องจีนมิให้ยุแยงบรรดาพรรคคอมมิวนิสต์ให้แตกความสามัคคี
     ข้อเสนอและท่าทีของรุสเซียก่อให้เกิดความขัดแย้งในชนชั้นผุ้นำของจีนมีบางคนเห็นควรรับไม่ตรีรุสเซียและรับข้องเสนอบางส่วน แต่ เมา เช ตุง ปฎิเสธข้อเสนอโดยถือว่าเป็นนโยบายของครุสเชฟ ซึ่งมีแนวโน้มไปสู่การปรองดองกับโลกเสรีและพัฒนาประเทศไปสู่หนทางลัทธิทุนนิยม เป็นการทรยศต่องอุดมการ์และเป็นการพยายามแก้ไขปรับปรุงลัทธิ ปรากฎว่า ผู้นำใหม่ยังยึดปฏิบัติตามเป็ฯส่วนใหญ่ เป็นเพียงวิธีการเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงในทรรศนะของ เมา เช ตุง  ผู้นำใหม่ไม่แตกต่างจาครุสชอฟ  แสดงว่า รุสเซียมีแนวโน้เอียงไปในการแก้ไขปรับปรุงลัทธิ ทั้นี้มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยเอกเทศส่วนบุคคลว่าครุสเชฟคิดเอง เปลี่ยนแปลงเอง หากแต่กลายเป็นว่าบุคคลชั้นนำของรุสเซียคิดเปลี่ยนแปลงเองในวิถีทางเช่นนั้น การเปลี่ยนผู้นำมิได้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบาย เพียงแต่เปลี่ยนผู้นำใหม่ที่มีวิธีการใหม่ในการดำเนินนโยบายเดิมหลักาการเดิมเท่านั้นเอง ซึงเมา เช ตุง ถือว่าเป็นนโยบายเดิมของครุเชฟ  ผู้นำใหม่ล้วนปฏิบัติตามนโยบายเดิมของครุสซอฟ ผู้นำใหม่เป็นพวกนิยมหรือเจริญรอยตามครุซอฟ เป็นความนิยมแก้ไขปรับปรุงลัทธิที่ปรากฎเด่นชัดแม้ปราศจากครุสซอฟแล้วก็ตา ในที่สุด จีนได้ตอบ
โต้ของเสนอของรุสเซยโดยพิมพ์บทความของเมา เช ตุง ชือ “เหตุใดครุซอฟหมอำนาจ” ลงในหนังสือพิมพ์ “ธงแดง”บทความสาธยายความผิดพลาดต่าง ๆ ของครุซอฟตั้งแต่การภายในถึงการภายนอกประเทศ เตือนผู้นำรุสเซียใหม่ให้สังวรณ์ว่าไม่ควรดำเนินนโยบายในแนวนั้น และเป็นการยื่นเงื่อนไขโดยพฤตินัยว่า ถ้ารุสเซียไม่ปฏิบัติตาม โอกาสคืนดีกันก็คงเป็นไปมิได้ รุสเซียเร่มลังเลแต่ยังหวังฝ่ายที่เห็นชอบข้อเสนอของตนในจีนจะมีอิทธิพลอยู่บ้างในขณะเดียวกัน รุสเซยก็เร่มตระเตรียมระเบียบวาระสำหรับการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก รุปการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเป็นต้องพึ่งพรรคเหล่านั้นให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย จีนแสดงท่าทีชาเย็นอย่างเต็มที่ ทำให้โอกาสคืนดียิ่งยากขึ้น
       ลักษณะสัมพันธภาพของทังสองฝ่ายเต็มไปด้วยการชิงไหวชิงพริบกัน โดยเนื้อแท้รุสเซียไม่อาจหลักกนีพันธกรณีตามความผูกพันทางอุดมการณ์ต่อเวียดนามเหนือได้ในฐานะผู้นำโลกคอมมิวนิสต์ รุสเซียควรยื่นมือเข้าไปเกี่ยวข้องช่วยเหลือโดยตรง แต่วิกฤติกาณ์เวียดนามนั้นเป็นเรื่องอันตราย เพราะถ้าข้องเกี่ยโดยตรง รุสเซียได้ต้องเผชิญหน้าสหรัฐอมเมริกา เป็นการเสี่ยงอันตรายเกินไปและผิดจุประสงค์นโยบายหลักของรุสเซียแต่ถ้ารุสเซียวางเฉย โลกคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะจีนคอมมิวนิสต์ก็อาจประณามรุสเซียไม่อาจผลักภาระหน้าที่ ตราบใดที่รุสเซียยังต้องการเป็นผุ้นำโลกคอมมิวนิสต์แต่ในขณะเดียวกัน รุสเซียก็ไม่ต้องการเผชิญหน้าสหรัฐอเมริกา รุสเซียจึงต้องแสวงหาทางออกที่ดีพอมี่จะรักษาฐานะอำนาจและศักดิ์ศรีของรุสเซียทั้งในโลกคอมมิวนิสต์และโลกเสรีวิกฤติการณ์เวียนามท้าทายรุสเซียยิ่งนัก
     นโยบายของรุสเซยที่เรียกร้องพลังโลกคอมมิวนิสต์ให้ต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกาในเวียดนามใต้นั้น ว่าไปแล้ว มีความมิวนิสต์จีนระดับผุ้นำหลายคนเห็นด้วยว่าควรช่วยเหลือเวียดนามเหนือ รุสเซียจึงหวังว่าคนกลุ่มนี้จะทวีพลังมากพอที่จะเป็นเสียงข้ามมากในการกำหนดวินิจฉัยนโยบายของจีน แต่แล้วบุคคลชั้นนำของกลุ่มนัน คือ โล ยุย ชิง ประธานคณะกรรมการกิจการทหารและเสนาธิการฝ่ายวางแผนได้ถูกคลื่นขบวนการปฏิวัติวัฒนธรรมถาโถมเข้าโจมตีอย่างรุนแรงจน โล ยุย ชิง ต้องจำนนต่อข้อกล่าวหาทุกประการและค่อย ๆ หายหน้าหายตาไปจากวงการเมืองและวงการทหาร ต่อมา เผงเจิน ซึ่งแอนตั้รุสเซียได้เป็นผู้นำในการปฏิวัติวัฒนธรรมในแวงวงวรรณกรรม ช่วงระยะที่จีนเริ่มเผชิญคลื่อนปฉวัตินี้ รุสเซียได้เผ้าสงเกตการณ์อย่างใกล้ชิด และมีทีท่าพร้อมที่จะแทรกแซง ถ้าฝ่ายปฏิปักษ์ของเมาจะแสดงพลังความสามาถรพโดยมีนโยบายนิยมรุสเซียให้เป็ฯที่ประจักษ์ ในขณะเดียวกันจีนกับรุสเซยก็เปิดฉากก่อกรณีพิพาทชายแดนและรุสเซียเองก็มีที่ท่าพร้อมที่จะลิดรอนเอกราชอำนาจอธิปไตยของมองโกเลียนอก โดยลังเลที่จะต่ออายุสนธิสัญญาพันธมิตร ในระยะนั้นรุสเซียมีความเคลื่อนไหวภายในมาก เกี่ยวด้วยเรื่องส่งทหารไปมองโกเลียนอกเพื่อข่มขวัญจีนโดยเฉพาะปักกิ่ง ซึ่งมีชัยภูมิที่ตั้งใกล้กับมองโกเลียนอกทางตะวันออก
     ระหว่างที่เหตุการณ์ภายในจีนปั่นป่วนจับต้นชนปลายไม่ได้แน่ชัดนั้น ทั้งจีนและรุสเซียต่งอถอนทูตกลับประเทศเป็ฯการภายใน ความวุ่นวายเป็นจลาจลในประเทศจีนย่อมทำให้รุสเซียสนใจเป็นอย่างยิ่ง รุสเซียได้เฝ้ารอดูหลิวเชาชี และเติ้งเสี่ยวผิงว่าจะสามารถต้านคลื่นปฏิวัติได้ตลอดรอดฝั่ง และสามารถนำจีนมาสู่ฝ่ายรุสเซียได้ในภายหน้าหรือไม่ แต่ปรากฎว่าสองคนมิอาจทานคลื่นปฏิวัติได้ในปลายปี 1966 ทั้งสองคนค่อย ๆ หมดอำนาจทางการเมืองโดยพฤตินัย
     นโยบายจีนทวีความสลับซับซ้อนไม่มีผุ้ใดคาดได้ว่า โดยเหนื้อแท้แล้วระหว่างปกิวัติวัฒนธรรมนั้นจีนมีนโยบายต่างประเทศที่แน่นอนลักษณะใด ถ้าพิเคราะห์โดยถ่องแท้จะเห็นได้ว่า การปฏิวัติวัฒนธรรมมิได้เป็นแต่เพียงจุดหัวเลี่ยวหัวต่อทางการเมืองและอุดมการณ์ว่า จีนควรยืนหยัดต่อต้านแนวโน้มเอียงในการก้าวไปสู่วิถีทางนายทุนหรือไม่เท่านั้น หากแต่การปฏิวัติวันธรรมยังเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อทางนโยบายต่างประเทศด้วยว่ามีนโยบายใดที่เหมาะสม ส่วนนโยบายต่างประเทศทั่วไปอื่น ๆ ของจีนคงยังไม่มีข้อยุติและเห็นได้ชัดว่าคงจะมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงบ้างนโยบายที่เด่นชัดคือ นโยบายเป็นปฏิปักษ์กับรุสเซียและการทูตโดยใช้เรดการ์ดเป็นสื่อแสดงแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ดังปรากฎว่าจีนเรียกบรรดาทูตกลับประเทศและปล่อยให้เรดการ์ดโจมตีกระทรวงการต่างประเทศแล้วประณามนายเชินยิ ผุ้เป็นรัฐมนตรีอย่างสาดเสียเทเสีย พร้อมกันนั้นก็ก่อกวยสถานทูตของฝ่ายรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ที่จีนเห็นว่าไม่เป็นมิตรเท่าใดนักกับจีนที่สำคัญคือ สถานทูตรุสเซยถูกพวกเรดการ์ดล้อ เรอดการ์ดประณามรุสเซียว่าเป็นพวกนิยมแก้ไขปรับปรุงลัทธิและส่อจักรวรรดินิยมเพราะแอบอ้างดินแดนไปจากจีน
      ทั่วโลกให้ความสนใจมากกับกรณีพิพาทชายแดนระหว่างจนกบรุสเซย อินแดนที่เป็ฯปัญหาคือ พรมแดนระหว่างรุสเซียกับมณฑลซินเกียงและระว่างรุสเซียกับแมนจูเรียจีนเรียกร้องให้รุสเซียสารภาพว่า ดินแดนที่ไปในสมัยจักรวรรดิจีนนั้นเป็นไปตามสนธิสัญญากับซาร์อย่างไม่เป็นธรรมและไม่เสมอภาค ข้อเรียกร้องนั้นเป็นเงื่อนไขเบื้งต้นของการเจรจารุสเซียไมยอมรับผิดเช่นนั้น ในระหว่างการประคารม การปฏิวัติวัฒนธรรมผลักดันให้ชนกลุ่มน้อย ยูกูร์ อพยพข้ามพรมแดนจากซินเกียงเข้าไปในดินแดนรุสเซียประมาณเกือบแสน ต่างฝ่ายต่างปิดพรมแดนและลาดตระเวนชาแดนอย่างเข้มวงดกวดขันบางครั้งบางคราวก็มีพวกเรดการ์ดก่อกวนตามพรมแดนทางซินเกียงและแมนจูเรีย การต่อต้านเป็นปฏิปักษ์ต่อรุสเซียนี้ดำเนินไปอย่างรุนแรงถึงขั้นทำลายทรัพย์สินและทำร้ายชาวรุสเซียตามเมืองท่าเดเรน จนรุสเซียต้องขู่คุกคามว่าจะตัดการค้าขายด้วย รัฐบาลจีนจึงพยายามจำกัดขอบเขตของการประท้วงรุสเซียไว้ แต่ก็ทำได้ยากมิใช้น้อยเพราะเรดการ์ดมีพลังยากแก่การควบคุม
     เอกภาพของโลกคอมมิวนิสต์นั้นไร้ความมหายและเป็นไปมิได้แล้วสำหรับรุสเซียโดยเฉพาะความแตกแยกระหว่างจีนกับรุสเซยได้เปิดโอกาสให้บรรดารัฐบริวารฉวยโอกาสปกครองตนเองที่ละน้อย ที่สำคัญคือ แอลบาเนีย ยูโกสลาเวีย รูเมเนีย ภายในโลกคอมมิวนิสต์เต็มไปด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์วิธีการที่รุเซียปกครองรัฐบริวาร  โลกคอมมิวนิสต์แตกแยกแต่ยังมิได้มีขบวนการแยกออกจากโลกคอมมิวนิสต์ เพราะรัฐบริวารยังเกรงกลัวกำลังแสนยานุภาพและอำนาจของรุสเซีย อีกทั้งรัฐบริวารยังต้องพึ่งพาอาศัยความคุ้มครองปกป้องจากรุสเซียเพราะรัฐบริวารเองส่วนใหญ่มิได้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันนัก รุสเซียสามารถให้หลักค้ำประกันเสถียรภาพความมั่นคงแก่โลกคอมมิสวนิสต์มาก ประการสุดท้าย สงครามเวียดนามมีส่วนทำให้ความผิดพ้องหมองใจในโลกคอมมิวนิสต์ในด้านต่าง ๆ ลดลงมากและอำพรางข้อเท็จจริงว่า โลกคอมมิวนิสต์ขาดเสียงเอกฉันท์ในการกำหนดจุดประสงค์ร่วมกันเพื่อโลกคอมมิวนิสต์ รุสเซียเน้นเสมอว่า ความช่วยเหลือที่รุสเซียจะให้ขบวนการมีลักษณะฮักเหิมก่อศึกสงครามซึ่งจะทำให้เกิดภาวะการเผชิญหน้ากันเองของอภิมหาอำนาจและอาจทำให้เกิดสงครามนิวเคลียร์ได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)