People's Republic of China (PRC)

     ตลอดระยะเวลาตั้งแต่สงครามฝิ่นเมื่อปี 1839-1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีได้ครองอำนาจ จีนเผชิญกับความแตกแยกทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจที่คลอนแคลน และความไม่สงบภายในประเทศด้วยสงคราม รบพุ่งกันเองจีนพยายามฝ่าผันอุปสรรคมากมายในการปฏิรูปและปฏิวัติจีนให้ก้าวหน้าทัดเทียมชาติมหาอำนาจตะวันตก เป็นความพยายามที่จะเปลียนจีนทุกด้าน การเปลี่ยนแปลงจีนนี้ได้รเริ่มขึ้นเพราะแรงกดดำนจากภายในและภายนอกเป็นเบื้องต้น ภาวะเศรษฐกิจทีฝือเคื่องทำให้ประชาชนไม่พอใจในความเป็นอยู่ของคนและก่อความไม่สงบเป็นกบฎหลายครั้ง ในขณะเดียวกันมหาอำนาจตะวันตกได้บังคับจีนให้เป็นประทเศโดยพลการ ภาวะดังกล่าวทั้งด้านนี้เป็นความหายนะเบื้องต้นของจีนและอารยธรรมจีที่ได้ธำรงมาช้านาน ระบบการปกครองที่ค่อนข้างจะมีลักษณะศักดินาสวามิภักดิ์ สถาบันทางสังคมและทัศนคติค่านิยมของวัฒนธรรมจีนได้เปลี่ยนไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป

     ความพยายามที่จะสร้างจีนใหม่ ตั้งแต่ปี 1860 เป็นต้นมา ทุกระดับขั้น ตั้งแต่การริเร่มสร้างพลังอำนาจ การปรับปรุงและการปฏิวัติ การปฏิวัติมวลปัญญาชนที่แสวงหาสัจธรรมในการสร้างชาติตลอดจนถึงการต่อสู้แย่งชิงอำนาจทางการเมือง ล้วนเต็มไปด้วยการต่อสู้ดิ้นรที่จะสร้างจีนให้ก้างหน้าทันสมัยอย่างค่อยเป็นค่อยไป แตก่การเปลี่ยนแปลงจีนนั้นแม้จะเร่มมาช้านานมักจะเป็นการเปลี่ยนเฉพาะด้าน มีขอบเขตจำกัด การเปลี่ยนแปลงเหล่นี้มักยึดถือรูปแบบอย่างตะวันตกโดยปฏิบัติตามแบบฉบับของตนเอง นอกจากนั้นจีนยังคงไม่เต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเคยยึดถือมาแต่อดีต มีความดื้อดึงไม่รับรู้เปตุผลความจำเป็ฯใด  ๆ แต่เมื่อภัยใกล้ถึงตัวจึงตระหนักถึงความจำเป็นต่าง ๆ ที่จะต้องปรับปรุงตัว จีนจึงมุ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและฉับพลัน การเปลี่ยนแปลงจีนจึงเต็มไปด้วยการเสียเลื่อดเนื้อและชีวิต มีผู้กล่าวว่า “จีนคอมมิวนิสต์ทำอะไรรวดเร็วมากในด้านการเมืองต่างประเทศเท่า ๆ กับการเมืองภายในประเทศ ต้องการกระทำการต่าง ๆ ตามวิถีทางแนวปฏิบัติแบบจีนแท้ซึ่งเป็นลักษณะเด่นเฉพาะให้งานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและเป็นการกระทำที่ถูกต้องแล้ว”
     ปัญหาสำคัญเร่งด่วนคือ เสถียรภาพความมั่นคงของวรัฐ การรวมประเทศภายใต้รัฐบาลกลาง การวางรากฐานการปกครองที่มีอำนาจเด็ดขาดโดยขจัดฝ่ายปฏิปักษ์ทางการเมืองทุกเหล่าทักชั้นและเป็นโครงการสร้างระบบการปกคีครองที่มีประสิทธิภาพ และปัญหาท้ายสุดที่เรื้อรังร่วมศตวรรษคือ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่รัฐบาลชิงและรัฐบาลพรรคชาตินิยมประสบความล้มเหลวในการขจัดปัดเป่าทุกข์สุขแก่คนจีน จีนแดงซึ่งสืบทอดอำนาจจากรัฐบาลพรรคชาตินิยม จึงได้รับมรดก 2 ประการคือ ปัญหาทางการเมือง คือลักษณะที่แตกแยก และประเทศที่ยังรัวกันไม่ติดเพราะขาดรัฐบาลกลางที่มีประสิทธิภาพ และปัญหาทางเศรษฐกิจ
     การสร้างชาติที่อยู่ในสภาพเช่นนี้ เป็นการที่หนักซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์อมตระหนักดี  จีนแก้ปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าของจีนได้ช่วยให้จีนรอดพ้นจากภาวะเงินเฟ้อ จีนมุ่งนดยบายสร้างจีนเป็นรัฐอุตสหกรรมด้วยการใช้นโยบาย มุ่งความสำคัญ เปลี่ยนจากกสิกรรมชนบท มาสู่ อุตสาหกรรมในตัวเมือง เป็นการปฏิบัติตามอุดมการ์ลัทะคอมมิวนิสต์ที่มาร์คซ์เคยเสนอว่า พลังปฏิวัติต้องเป็นชนชั้นกรรมาชีพ การสร้างอุตสาหกรรมเป็นการสร้างชนชั้นกรรมาชีพตามหลักการทุกประการ จีนแดงมุ่งที่จะสร้างจีนเป็นรัฐสังคมนิยมให้ได้ใน ปี 1973
     เมื่อแก้ปัหาเศรษฐกิจทั่งไปได้แล้ว จีนมุ่งไปยังกสิกรรมซึ่งคอมมิวนิสต์จีนเองยังต้องการความสนับสนุนจากประชาชนอยู่ จนเมือได้รณรงค์รวมประเทศด้วยกำลังทหารสำเร็จสมบูรณ์ในปี 1952 คอมมิวนิสต์จีนจคงเร่มโครงการปฏิรูปสังคมก่อน โดยการประกาศปฏิรูปที่ดิน
     วิธีปฏิรูปที่ดิน ได้แก่การที่พรรคจีนคอมมิวนิสต์ส่งเจ้าหน้าที่พรรคไปสู่ชนบทเรียกประชุมบรรดาชาวนาทังหมด ทำการรณรงค์บังคับทุกคนให้วิพากษ์วิจารณ์กล่าวดทษตนเอง เพื่อเจาะจงดึงแต่ชนชั้นเศรษฐีที่ดินออกจากกลุ่มชาวนา จานั้น เจ้าหน้าที่ก็หนุนหลังชาวนาให้ใช้กฎหมู่ทำลายล้างลัทะชนชั้นถือที่ดิน โดยการตั้งสมาคมชาวนาขึ้นทำการวิเคราะห์วิจัยฐานะแต่ละบุคคลในกลุ่มชาวนาเพื่อแยกว่าผุ้ใดในชนชั้นใดเมื่อแยกแล้วก็ริบทรัพย์สินและที่ดินของพวกเศรษฐีที่ดิน นำมาจำหน่ายจ่ายแจกแก่พวกชาวนาทั่วไปเป็นการเปลี่ยนกรรมสิทธิจากลุ่มแล็ก ๆ มาสูกรรมสิทธิเอกชน การดำเนินการดังกล่าวปรากฎว่าเป็นไปอย่างรุนแรงเกินจุดประสงค์ของพรรคเป็นอย่างยิ่ง การปฏิรูปที่ดินดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเพียงมาตรการเบื้องต้นไปสู่ระบบนารวม นอกจากกำจัดชนชั้นผู้นำในชนบทคือพวกเศรษฐีที่ดินแล้ว จีนแดงได้เล็งเห็นเรแงงานมหาศาลอันพังไดรับจากหญิง และเห็ฯวัฒนธรรมเดิมมิได้ให้ความเป็นธรรมแก่หญิง จึงออกประกาศกฎหมายสมรส เมื่อปี 1950 ให้สิทธิเสมอภาคแก่หญิงชายในการเลือกทางชีวิตสมรส และประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นการปลดแอกครอบครัว  การปฏิรูปที่ดินและออกกฎหมายสมรสจึงอาจจะนับได้ว่าเป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดพลิกปฏิวัติวัฒนธรรมจีนนด้ารระบบเศรษฐกิจในชั้นต้น
     จีนประสบปญหาในการปกครองประเทศที่จะให้มีประสทิธภาพโดยมีอำนาจสิทธิชาดอยู่ที่รัฐบาลกลาง การปกครองที่อำนาจอยู่ส่วนกลางเท่านั้นจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการรวมประเทศและสร้างชาติให้เจริญทัดเทียมโลกตะวันตกรัฐบาลพรรคชาตินิยมประสบความล้มเหลวในการสร้างอำนาจส่วนกลาง ไม่สามรถจะปกครองทั้งประเทศได้ จีนแดงได้ปรับปรุงข้อบกพร่องและเรียนความผิดพลาดแต่อดีตเป็นบทเรียนอันมีค่า จีนแดงในปี 1949 เป็นพวกที่มีประสบการณ์ทั้งในการรบและการปกครอง มัชนชั้นผุ้นำและมีอุดมการณ์ที่แน่วแน่เป็นหลัก จีนแดงได้สร้างระบบการปกครองใหม่ที่พื้นฐานอำนาจอยู่ที ไตรภาคี คือรัฐบาล กองทัพและพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นการปกครองในรูปของการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จควบคุมประเทศ
     ในระยะแรกที่ปกครองจีนพรรคคอมมิวนิสต์ดำเนินนโยบายผ่อนปรนเต็มไปด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะพรรคจีนคอมมิวนิสต์และประชาชนเองมีความปรารถนาตรงกันประการหนึ่ง คือ ต้องการสันตุภาพความสงบสุข และต้องการระเบียบวินัยแบบแผนประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนจีนแดงมาแต่ต้น เพราะต้องการสิ่งเหล่านี้มากกว่าการซึมซาบในลัมะอุดมการณ์และการเมืองแต่อย่างวใด เมื่อคอมมิวนิสต์รณรงค์โฆษณาชวนเชื่อก็มิได้กล่าวพาดพงไปถึงจุดประสงค์ของตน ซึ่งได้แก่การสร้างระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศจีน

     ตามทัศนะ ของเมาเซตุง จีนจะดำเนินการตามแบบอย่างของลัทะมาร์ค หรือลัทธิเลนินอย่างเต็มที่ไม่ได้ เพราะสถานะการณ์สิ่งแวดล้อมตลอดจนวัฒนธรรมต่างกัน อนึ่ง เลนินได้ เคยพยายามจะครอบครองรัสเซีย ดดยยอมตนให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคหนึ่งในหลายพรรคของรัฐบาลแรก ๆ ของรัสเซีย ในขณะนั้นรัสเซียมีพรรคต่าง ๆ ซึ่งล้านประกอบด้วยปัญญาชนนักธุรกิจนายทุนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย พรรคคอมมิวนิสต์ในระยะแรกมิได้เป็นผู้ปกครอง พรรคคอมมิวนิสต์ในระยะแรกมิได้เป็นผุ้ปกครองรัสเซียโดยตรง เมืองเกิดการแย่งชิงอำนาจกันจึงต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากกมายที่สำคัญคือ ต้องทำสงครามกวาดล้างฝ่ายปฏิปักษ์เมือง ซึ่งหนุนหลังโดยบรรดามหาอำนาจยุโรปตะวนตกในระยะนั้นซึ่งไม่ต้องการให้รัสเซียเปลี่ยนระบบการปกครองและการถอนตัวจากสงครามดลกครั้งที่ 1 การเมืองภายใรระส่ำระสายอยู่หลายปีกว่าพรรคคอมมิวนิสต์จะรวมอำนาจปกครองรัสเซียได้อย่งแท้จริง ตัวอย่างรัสเซียนั้นทำใหเมาเซตุงเล็งเห็นว่าไมควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
   เมาเซตุง ได้แยกพรรคต่าง ๆ และชนชั้นต่าง ๆ ออกเป็น 4 ฝ่าย
- ชนชั้นกรรมาชีพ
- ชนชั้นชาวนา
- ชนชั้นกฏุมพีระดับต่ำ
- ชนชั้นกฏุมพีรักชาติรุนแรง
     การปกคอรงต้องอยู่ภายใต้การนำของชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นชาวนา ซึ่งตั้งพรรคขึ้นเรียกว่าพรรคคอมมิวนิสต์ ทุกพรรคทุกชนนชั้นรวมตัวกันภายใต้รัฐบาลของตน เลือกรัฐบาลปกครองเองำเนินการกวาดล้างบรรดาเศรษฐีที่ดิน บรรดานายทุนที่เป็นข้าราชการประจำและบรรดาพวกพรรคชาตินิยมทียังคงมีอยู่ ลักษณปกครองโดยอิสระด้วยการที่ประชาชนเหลือผุ้แทนเองนี้เป็นลักษณะประชาธิปไตยโดยมวลชนและมีลักษณะเผด็จการนด้านที่รัฐบาล ดดยประชาชนตามท้องถิ่นกวาดล้างมีอำนาจเหนือพวกที่เป็นก)ปักษ์ต่อรัฐบาลกลางที่เรียกกันว่า พวกที่ปฏิกริริยา ทั้งลักษณะประชาธิปไตยและเผด็จการในการปกครองระบอบคอมมิวนเสต์เบพื้องต้นนี้ เมาเซตคุงกล่าว่าเป็นกลัการสำคัญ เรียกว่า ประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการโดยประชาชน ซึ่งเมาเซตุงได้ปรับปรุง ให้มีสทิธิเลือกตั้งปกครองตนเอง แสดงความคิดเห็นแนะนำใด ๆ ให้คำปรึกษาได้ แต่เมื่อลงมติเป็นเอกฉันท์ยุติเมือได จะคัดค้านเป็นปฏิปักษ์ต่อมติเช่นนั้นไม่ได้
    ในด้านการปกครอง กฎหมายรัฐ คือ รัฐธรรมนูชั่วคราวระบุการตั้งรีฐบาลกลางและระบุอำนาจหน้าที่ขององค์การทุกฝ่ายทางการเมือง เป็นการแบ่งแยกอำนาจในการปกครอง กฎหมายนี้ได้ใช้เเป็นหลักกระทั่งมีการใชรัฐธรรมนูญที่เเท้จริงจึงเลอกใชกฎหมายนี้ การปกครองมีโครงสร้างเป็นแบบเทียบขนาน คือ พรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลขนานไปด้วยกัน
     พรรคคอมมิวนิสต์มีโครงสร้างที่ประยุกต์ตามความเหมาะสม มีอุดมการของตนเอง คือลัทธิมาร์คซ์ลัทธิเลนิน และความความคิดของเมาฯ โครงสร้างของพรรครับจากแบบเลนิน เหน้หลักการรวมอำนาจมากกว่าหลักประชาธิปไตย คำนึงถึงการรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความเป็นปึกแผ่นมั่งคงของพรรค

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)