The Truman Doctrine 1947

      ทรูแมน เข้ารับตำแหน่งต่อจาก รูสเวลส์ที่เสียชีวิตอย่างกระทันหันในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นผู้ซึ่งลงนามอนุมัติคำสั่งทิ้งระเบิดนิวเคลียที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ และเป็นผลให้ญี่ปุ่นยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข และได้ริเริ่มแผนการมาแชลล์ในกาฟื้อนฟูทวีปยุโรป
     ประธานาธิปดี ฮาร์รี่ เอส.ทรูแมน เผชิญสงครามเย็น นโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีทรูแทนช่วงผี 1945-1953 นอกเนือจากยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 และก่อตั้งองค์การสหประชาชาติแล้วยังมีอีกสองเรื่องคือ ต่อต้านและสกัดกั้นการอิทธิลพพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ และสร้างความมั่นคงก้าวหน้าทางเศรษฐกิจด้วยการขยายตลาดต่างประเทศเพื่อการค้า การลงทุนและแสวงหาวัตถุดิบราคาถูก เหตุการณ์โลกที่ประธานนาธิบดีทรูแมนต้องเผชิญและดำเนินการแก้ไขหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 คือสงครามเย็น

     สงครามเย็นเป็นคำอธิบายการต่อสู้ระหว่างกลุ่มประเทศสองกลุ่มคือกลุ่มชาติคอมมิวนิสต์ยึดมั่นชื่นชอบในลัทธิคอมมิวนิสต์มีรุสเซียเป็นผู้นำ กับกลุ่มชาติประชาธิปไตยยึดมั่นชื่นชอบในระบอบประชาธิปไตยเรียกโลกตะวันตก มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำสาเหตุที่เรียกวาสงครามเย็นเพราะเป็นสงครามจิตวิทยาหรือการต่อสู้ที่เลี่ยงการปะทะเสียเลือดเนื้อเป็นการต่อสู้แข่งขันหรือข่มกันทางวิชาการ ความคิด เศรษฐกิจ และการเมือง ได้แก่การแข่งขันสะสมกองกำลงและอาวุธร้ายแรง เช่น การมีระเบิดปรมาณู ระเบิดไฮโดตเจน และอาวุธนิวเคลียร์ ไว้ในครอบครอง การโฆษณาชวนเชื่อโดยใช้สื่อ..รวมถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ชาติด้อยพัฒนาเพื่อนำเข้าเป็นสมาชิกในฝ่ายตน เหตุที่มาของสงครามเย็นสืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อเยอรมันบุกโจมตีรุสเซีย ปี 1941 พันธมิตรด้านการทหารได้เร่มขึ้นนระหว่างรตุสเซียกับฝ่ายสัมพันธมิตรและเป็นไปด้วยดีตลอดเรื่อยมา จากการล่าถอยของกองกำลังเยอมันจากยุโรปตะวันตก  รุสเซียมั่นใจว่าเยอมันต้องเป็นฝ่ายพ่ายปพ้แน่ ความเป็นพันธมิตรระหว่างรุสเซีย กับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีอุดมการณ์การเทืองต่างกันชนิดที่ไปด้วยกันไม่ได้แน่ในอนาคต จำเป็นที่รุสเซียต้องหาพันธมิตรใหม่วมอุดมกาณ์การเมืองเดียวกัน และเสริมสร้างกองกำลังและอาวุธเพื่อปกป้องกพันธมิตรด้วยความคิดดังกล่าว
     รัสเซียเริ่มเคลื่อนไหวทันที่หลังสิ้นการประชุมที่ยัลดฃต้าด้วยการเคลื่อนกองกำลังทหารรุสเซียเข้ายึดกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกในคาบสมุทรบอลข่าน ได้แก่ แอดลาเนีย บัลกาเรีย โรมาเนีย และยูโกสลาเวีย รวมถึง โปแลนด์ ฮังการี และเยอมันตะวันออกตามข้อตกลงพอทสดัม สหรัฐอเมริกาขมขื่นกับพฤติกรรมของรุสเซียดังกล่าว และตระหนักดีว่ารุสเซียเป็นชาติผู้ก้าวร้าว นำการยึดมั่นในลัทธิคมมิวนิสต์ซึ่งเป้นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย จำเป็นต้องมีมาตรการสกัดกั้นการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์
     ปฏิบัติการสงครามเย็นช่วงปี 1945-1953 ระหว่างกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออก รุสเซียเป็นผุ้เปิดสงครามเย็นเร่มด้วยกลางปี 1945 กองกำลังทหารรุสเซียเข้ายึดกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกในคาบสมุทรบอลข่าน รุสเซียควบคุมสื่อทั้งสิ่งพิมพ์และการกระจายเสียงภายในรุสเซียปฏิบัติการโฆษณาชวยเชื่อประกาศความสามารถคุนความดีของรุสเซียและหล่าวดจมตีสหรัฐอเมริกา รุสเซียลดจำนวนคนอเมริกันที่ต้องการเดินทางเข้าสู่ประเทศกลุ่มตะวนออกด้วยเกรงการลดศรัทธาในลัทะคอมมิวนิสต์ของชาติสมาชิก รุสเซียปฏิเสธการเข้าตรวจสอบของคณะกรรมการพลังงานประมาฯองค์การสหประชาชาติจัดตั้งคณะกรรมการพลังงานปรมาณูองค์การสหประชาชาติในปี 1949 อันถือเป็นบทบาทแรกของสหรัฐอเมริกาในสงครามเย็น ผลจากการศึกษาค้นคว้ารุสเซียผลิตระเบิดปรมาณูได้เป็นชาติที่สองใป  1949
     ในปี 1946 รุสเซีย มุ่งขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ในดินแดนตะวันออกกลางเริ่มด้วยปฏิเสธการเคลื่อกองกำลังทหารรุสเซียออกจากดินแดนตอบเหนือของอิหร่านเพราะต้องการครอบครองธุรกิจนำมันรวมทั้งให้การสนับสนุนคนอิหร่านในพื้ที่ดังกล่าวก่อการกบฎ แยกตัวจากรัฐบาลอิหร่านเตหะรานเพื่อรุสเซียจะได้นำพื้นที่ดังกล่าวซึ่งอุดมด้วยน้ำมันมาเป็นส่วนหนึ่งของโลกคอมมิวนิสต์ในอนาคต สหรัฐแมริกาประท้วงให้โลกรู้ กองกำลังรุสเซียต้องถอยกลับรุสเซีย
     ท่าทีของสหรัฐอเมริกาในสงครามเย็นประการแรกในปี 1947 คือ สหรัฐเมริกาเชื่อในหลักการยับยั้งสกัดกั้นของจอร์ช เอฟ เคนแนน เคนแนนเป็นนักการทูตหนุ่มอเมริกันเชี่ยวชาญเรื่องรุสเซีย จากพฤติกรรมการก้าวร้าวในรูปสงครามเย็นของรุสเซียที่ปฏิบัติมาช่วงปี 1945-1946 เป็นผลให้ในเดื่อกรกฏาคม 1947 เคนแนนได้เขียนบทความชื่อหลักการยับยั้ง ใช้นามปากกาว่านายเอ็กซ์ ในนิตยสารชื่อฟอเรน เอฟแฟร์ กล่าวว่าลัทธิคิมมิวนิสต์ของรุสเซียจะแพร่ขยายไปในทีกพื้นที่ที่รุสเซียจะสามารถทำได้ การหยุดยั้งปฏิบัติการของรุสเย ต้องใช้นโยบายยับยั้งสกัดกั้น ทำอย่างรอบคอบระมัดระวัง แน่วแน่มั่นคงและตื่นตัวปรับเปลี่ยนรับสถานการณ์เสมอ ควรเลี่ยงการเผชิญหน้าหรือการปะทะเสียเลือดเนื้อกับรุสเซีย ควรมีมาตรการขีดวงล้อมรุสเซยและชาติบริวารออกจากความสัมพันธ์กับโลกตะวันตก และสหรัฐอเมริกาควรให้ความช่วยเหลือชาติด้อยพัฒนาและชาติเล็กๆ อย่างเต็มที่เพื่อให้ชาติเหล่านี้รอบพ้นจากการก้าวร้าวคุกคามของรุสเซียอันจะทำให้ชาติเหล่านี้ปฏิเสธลัทะคอมมิวนิสต์และคงระบอบประชาธิปไตยต่อไป
    ท่าทีของสหรับประการที่สอง คือ ประธานาธิบดีทรูแมนประกาศหลักการทรูแมน ปี 1947 The Truman Doctrine 1947 คือ ประธานาธิบดีทรูแมนประกาศหลักการทรูแมน โดยในปี 1945 กรีก Greece เป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกในคาบสมุทรบอลข่านที่รอดพ้นการยึดครองของกองกำลังรุสเซีย เพราะอังกฤษให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจแก่กรีกเพื่อต้านรุสเซีย ตุรกีเป็นประเทศในดินแดนเอเชียไมเนอร์มีสิทธิถือครองเหนือช่องแคบคาร์ดาแนลส์ รุสเซียต้องการยึดครองตุรกีเพื่อเพิ่มชาติสมาชิกโลกตะวันออกและมีสิทธิถือครองเหนือช่องแคบคาร์ดาแนลส์อันจะเป็นทางให้รุสเซียขยายลัทธิคอมมิวนิสต์สู้ดินแดนตะวันออกกลาง ยึดครองแอฟริกาและคลองสุเอซ ซึ่งเป็นเส้นทางน้ำลัดเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดงออกสู่มหาสมุทรอินเดีย อังกฤษให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจแก่ตุรกีเพื่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์รุสเซียและรักษาผลประโยชน์อังกฤษด้านเศรษฐฏิจการค้าและการคมนาคมเหนือพื้นที่ดังกล่าว ในเดือนกุมภาพันธ์ 1947 อังกฤษบอกอย่างเป็นทางการแก่สหรัฐอเมริกาว่าหลังวันที่ 31 มีนาคม 1947 อังกฤษไม่อาจให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจแก่กรีกและตุรกีเพื่อต้านการแผ่ขยายลัทะคอมมิวนิสต์รุสเซียได้อีกต่อไ ประธานาธิบดีทรูแมนเห็นความจำเป็นต้องรับสืบทอดงานต่อจากอังกฤษด้วยเกรงว่ากรีกและตุรกีอาจต้องตกเป็นชาติบริวารรุสเซีย และลัทธิคอมมิวนิสต์อาจแผ่ขยายสู่ดินแดนตะวันออกกลางกระทบต่อธุรกิจน้ำมันอเมริกัน ในทางปฏิบัติประธานาธิบดีทรูแมนประกาศหลักการรูแมน กำหนดสหรัฐฯจะให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและการทหารแก่กรีกและตุรกี เพื่อต้านการก้าวร้าวคุกคามของกองกำลัง รุสเซียและลัทธิคอมมิวนิสต์และเพื่อคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยสืบต่อไปในกรีกและตุรกี หลักการทรูแมนเป็นการประกาศชัดแจ้งในนโยบายยับยั้งสกัดกั้นของสหรัฐอเมริกาต่อการก้าวร้าวคุกคามของลัทะคอมมิวนิสต์รัสเซีย รัฐสภาตอบรับหลักการทรูแมนทันที่ด้วยการอนุมัติวบประมาณ 400 ล้านดอลล่าช่วยกรีกและตุรกี สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่รุสเซีย รุสเซียตอบโต้โดยกล่าวโจมตีสหรัฐฯในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เรียกสหรัฐฯ ว่าผู้ค้าสงครามหรือผู้กระหายสงคราม
     ท่าที่ของสหรัฐฯในสงครามเย็นประการที่สาม สหรัฐฯกอบกู้ เศรษฐกิจ ยุโรปด้วยแผนมาร์แชล สงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน เศรษฐกิจสังคมและการเมือง ดดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมัน ผู้คนอดอยาย เศรษฐกิจพังพินาส จากสภาพขาดแคลนและเศรษฐกิจล้มเหลวสหรัฐอเมริกาเกรงว่ากลุ่มประเทศยุโรปเหล่านี้อาจยอมรับความช่วยเหลือของรุสเซีย และยุโรปตะวันตกอาจต้องตกเป็นชาติบริวารรุสเซียในอนาคต ด้วยการคาดคิดดังกล่าวเป็นปลให้จอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศประกาศแผนมาร์แลล ในการกล่าวปราศรัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เชิญชวนกลุ่มประเทศยุโรปร่วมมือกันกำหนดแผนกอบกู้ปรับปรุงเศรษฐกิจยุโรป โดยสหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ด้วยแผนมาร์แชล อังกฤษและฝรั่งเศสนำการิชญชวนชาติยุโรปร่วมประชุมที่กรุงปารีสเพื่อร่างแผนกอบกู้ปรับปรุงเศรษบกิจยุโรป มี 16 ชาติเข้าร่วมประชุมกำหนดจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือเศรษฐกิจยุโรป ทำหน้าที่ศึกษาปัญหาและแสวงหาแนวทางแก้ไขกอบกู้ปรับปรุงเศรษฐกิจยุโรป ในเดือนกันยายน 1947 คณะกรรมการความร่วมมือเศรษฐกิจยุโรปเสนอของความช่วยเหลือด้านการเงินจากสหรัฐอเมริกาเพื่อกอบกู้ปรับปรุงเศรษฐกิจยุโรปช่วงสี่ปีแรก ในวงเงิน 19-22 พันล้าน ในเดือนเมษายน รัฐสภามีมติเห็ฯชอบอนุมัติเงินเพื่อกอบกู้ปรับปรุงเศรษฐกิจยุโรป  รุสเซียประกาศไม่ให้ชาติบริวารยุโรปตะวันออกรับความช่วยเหลือเข้าร่วมในแผนกอบกู้ยุโรป เป็นผลให้แผนกอบกู้ยุโรป จำกัดเพียงในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกเท่านั้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)