aggressive

    คำจำกัดความของความก้าวร้าวตามแนวคิดนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาเรื่องความก้าวร้าง คือ บารอน Baron ได้กล่าวถึงนิยามความก้าวร้าวไว้ว่า คือ "พฤติกรรมใดก็ตาม ที่มีจุดมุ่งหมายในการทำร้าย หรือทำให้เกิดการบาดเจ็บแก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยทีสิ่งมีชีวิตนั้น พยายามหลีกหนีจากการถูกทำร้ายนั้นๆ"
     คำจำกัดความนี้จะเห็นว่าความก้าวร้าวเป็นพฤติกรรมทางสัังคมที่มีความเกี่ยวข้องทางสังคมหลายระดับ เช่น ระหว่างมีชีวิตอย่างน้อย 2 สิ่ง คือ ผู้รุกราน และเหยื่อ นอกจานี้ก็มีความเกี่ยวข้องทางแรงขับเข้ามาประกอบ คือแรงขับที่จะทำร้ายผู้อื่น และแรงขับที่จะหลีกหนีการถูกทำร้ายนั้น ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันก็คือ พลังอำนาจของผู้รุก และผู้ต้าน จะต้องแตกต่างกัน การทำร้ายผู้อื่นได้นั้นจะต้องหมายความว่าผู้รุกจะต้องมีพลังอำนาจพอที่จะเอาชนะการต่อต้านของฝ่ายตรงข้ามได้ ตัวแปรสุดท้ายของความเกี่ยวข้องกันก็คือ สภาพสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา กล่าวคือ ผู้รุกราน และเหยื่อจะต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่การรุกจะเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้รุกอยู่ขั้วโลกเหนือ และเหยื่ออยู่ขั้วโลกได้ การรุกรานอาจทำได้โดยไม่สะดวกนักเป็นต้น
     ทฤษำีที่เกี่ยวกับความก้าวร้าว แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่ม ดังนี้
     - กลุ่มที่เน้นเรื่องสัญชาติญาณ
     - กลุ่มที่เน้นเรื่องแรงขับ
     - กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้
ทฤษฎีทางสัญชาติญานและชีววิทยา ตามแนวคิดของฟรอย และทฤษฎีจิตวิเคราะห์นั้นได้รากฐานมาจากความเชื่อทางสรีวิทยา กล่าวคือ มนุษย์มีความต้องการทางสรีรวิทยาอยู่เสมอ และเมื่อมีความต้องการเกิดขึ้นก็ได้ก่อให้เกิดความกระวนกระวายใจ และความกดดันขึ้นแก่บุคคลกลายเป็นพลังงานที่ร่างกายจะต้องขับออกไปด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้นพลังงานความก้าวร้าวนี้จึงเป็นส่ิงที่เกิดจากการสะสมของความต้องกาทางร่างกายนี้เอง เป็นสัญชาติญาณส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต
     นักสัตว์ศาสตร์มีความสนใจศึกษาแบบแผนพฤติกรรมทางสัญชาติญาณของสิ่งมีชีวิต นักสัตว์ศาสตร์มักจะศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ในสภาพธรรมชาิตเพื่อแสวงหาความเข้าใจในแบบแผนทางพฤติกรรมของสัตว์เหล่านั้นอย่างชัดเจนและนำมาประยุกต์ในการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ได้อีกด้วย
     ในเรื่องของความก้าวร้าวนี้ นักสัตว์ศาสตร์มีความเห็นใกล้เคียงกับพวกนักจิตวิเคราะห์มาก กล่าวคือพวกนี้มีความเชื่อว่าการแสดงออกของพฤติกรรมก้าวร้าวนั้น กำเนดจากการที่พลังงานได้ถูกเก็บสะสมเอาไว้มากๆ แต่กลุ่มนี้มีความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ในการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการแสดงความก้าวร้าวจะเกิดโดดๆ ไม่ได้ จะต้องมีสิ่งกระตุ้นเกิดขึ้นเป็นตัวลือพฤติกรรมก้าวร้าวจึงปรกกฎตามมา กลุ่มนี้จึงย้ำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวล่อกับพฤติกรรมก้าวร้าวว่าจะต้องเกิดร่วมกันเสมอ
     กล่าวโดยสรุป ทั้งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และทฤษฎีทางชีววิทยานี้ ต่างก็มองความก้าวร้าวว่าเกิดจากพัลังงานที่ร่างกายเก็บสะสมเอาไว้ และมาแสดงออกในลักษณะของความก้าวร้าวแต่ทฤษฎีทางชีววิทยานี้ได้เปรียบกว่าทฤษฎีทางจิตวิเคราะห์อยู่ตรงที่ ได้นำปัจจัยหรือตัวกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาสัมพันธ์กับการแสดงความก้าวร้าวด้วย แต่ทั้ง 2 ทฤษฎีต่างก็เชื่อในเรื่องของสัญชาติญาณความก้าวร้าวเป็นสวนที่กำเนิขึ้นเองภายในบุคคลและสัตว์ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ
     ทฤษฎีแรงขับ
     สมมุติว่า ท่านมีธุระจะต้องไปขึ้นรถไฟให้ทัน ปรากฎว่ารถที่นั่งไปยางเกิดแตกโดยที่ในรถไม่ียางอะไหล่ และเป็ฯถนนเปลี่ยวที่ไม่ใคร่มีรถวิ่งผ่าน ท่านจะรู้สึกอย่างไร..โมโห..ฉุนเฉียว..มนุษย์ทุกคนคงเคยประสบเหตุการณ์ที่ทำให้เราต้องหัวเสีย หงุดหงิด โกระแค้นกันแทบทั้งสิ้น  และแต่ละคนก็คงมีปฏิกริยาตอบโต้ต่ความหงุดหงิดในลักษณะที่แตกต่างกันทฤษฎีแรงขับมีความเชื่อว่า ความก้าวร้าวจะมีสาเหตุโดยตรงมาจากมาจากความคับข้องใจ
     ดอลลาร์ดและเพื่อนเขามีความเห็นว่าความคับข้องใจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดปฏิกริยาก้าวร้าวเสมอ ถ้าแปลตรงตัวตามทฤษฎีนี้ก็จะหมายความว่า ความคับข้องใจนั้นไม่ว่าจะเกิดจำนวนสักน้อยนิดหรือมากมายเพียงใดก็ตาม ย่อมจะต้องนำไปสู่การแสดงออกถึงความก้าวร้าวเสมอ
     เบอร์โกวิท ได้ทำการปรับปรุงทฤษฎีแรงขับ ความเห็นของเขามีดังนี้
- สภาพอารมณ์ที่ถูกปิดกั้น ไม่ให้ไปถึงจุดหมายที่ต้องการจะเป็นปัจจัยทำให้บุคคลโกรธ
- ความโกรธจะไม่นำไปสู่ความก้าวร้าวในทันที แต่อารมณ์โกรธจะทำให้บุคคลเตรียมพร้อมที่จะก้าวร้าว
- ความก้าวร้าวจะเกิดได้ต้องมีตัวกระตุ้นที่เหมาะสม ตัวกรุตุ้นนี้อาจเป็นสิ่งในสถานการณ์อดีต ปัจจุบันก็ได้  อาจเป็นสิ่งที่อยู่นอกหรือในตัวลุคคลผู้นั้นถ้าโกรธมีปริมาณรุนแรงมากพอ
- การแสดงความก้าวร้าวบ่อยๆ จะก่อให้เกิดเป็นอุปนิสัยก้าวร้าว แม้ในระยะหลังปราศจากความคับข้องใจ ก็อาจแสดงความก้าวร้าวออกมาได้เช่นกัน
     สถานภาพความคับข้องใจหรือสภาพอารมณ์โกรธจะนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวได้ หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือความก้าวร้าวนั้นมีสาเหตุประการหนึ่งมาจากอารมณ์โกรธที่เป็นความคับข้องใจนั้นเอง
     ทฤษฎีการเรียนรู้
     ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า มนุษย์เรียนรู้โดยการเลียนแบบ สังเกต และจดจำจากแม่แบบ โดยเฉพาะการเียนรู้จากแม่แบบนั้นทางกลุ่มที่เชื่อเรื่องเรียนรู้นี้เห็นว่ามีความสำคัญมากกว่าการเรียนรู้ด้วยวิธีอื่นได จอห์นสัน
     นักจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เชื่อในเรื่องความก้าวร้าวเกดจากการเรียนรู้จากแม่แบบนี้ ได้ทำการทดลองเรื่องการเรียนรู้ความก้าวร้าวนี้ไว้ ผลสรุปของแบนดูราถูกวิจารณ์ในแง่ของความก้าวร้าวที่มาจากสื่อมวลชน กล่าวคือ เด็กจะแสดงกริยาก้าวร้าวตามแม่แบบที่ได้สังเกต นอกจากนี้แบนดูร่ายังได้แสดงให้เห็นอีกด้วยว่า แม่แบบที่เด็กๆ เรียนรู้วิธีการนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเด็กเสมอไป อาจเป็นสิ่งที่เด็กเห็นและสังเกตได้จากจอโทรทัศน์ได้เช่นกัน
     ผลสรุปของแยนดูราถูกวิจารณ์ในแง่ของความก้าวร้าวมาจากสื่อมวลชน  กล่าวคือ ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยเด็ดขาดว่าความโหดร้ายทารุณที่สื่อมวลชนเสนอ โดยเฉพาะทางโทรทัศน์นั้นจะเป็นสาเหตุให้เกิดความก้าวร้าวเป็นที่แน่นอน อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่เราจะปฏิเสธไม่ได้จากการทอลองของแบนดูราคือ การเลี่ยนแบบได้นำไปสู่พฤติกรรมหลายประเภท และพฤติกรรมก้าวร้าวนี้ก็เป็นส่วนหสค่งที่เกิดจากการเห็นจากแม่แบบ หรือเราอาจจะพูดสรุปได้กว้างๆ ว่า พฤติกรรมก้าวร้าวนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ มากมาย การเรียนรู้โดยการสังเกต และมีแม่แบบก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวได้
     ทฤษฎีทั้งสามกล่าวถึงสาเหตุของความก้าวร้าวไว้ต่างกัน ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และทางชีววิทยามีความเชื่อว่าความก้าวร้าวเป็นสัญชาติญาณ เป็นการแสดงออกของความต้องการทางสรีรวิทยา ความก้าวร้าวในที่นี้คือพลังงานที่เก็บสะสมไว้และต้องการแสดงออก ส่วนความเชื่อทางทฤษฎีแรงขับนั้นเห็นว่าสภาพอารมณ์โกรธจะนำไปสู่ความก้าวร้าวได้โดยเฉพาะเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสม ในขณะที่ความเชื่อของทฤษฎีการเรียนรู้นั้น ย้ำในเรื่องความสำคัญของการเลี่ยนแบบโดยเฉพาะจากแม่แบบ ถ้าแม่แบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะมีผลทำให้ผู้สังเกตจดจำและมีพฤติกรรมก้าวร้าวบ้างในโอกาสต่อไป
     

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)