disorganization

      โดยปกติแล้ว สมาชิกส่วนใหญของสังคมยอมรับกฎระเบียบความประพฤติทางสังคม ซึ่งสังคมคาดหวังให้ปฏิบัติตาม แต่ก็มีบางคนที่พยายามจะเบี่ยงเบนหรือทำลายกฎเกณฑ์
       จอห์น แฮร์แกน กล่าวถึงทฤษฎีที่สำคัญ ซึ่งอธิบายเกี่ยวการละเมิดกฎระเบียบความประพฤติทางสังคมของบุคคลคือ
     - ทฤษฎีการเสียระบบทางสังคม และ
     - ทฤษฎีการควบคุม
      ทฤษฎีการเสียระบบทางสังคม มีรากฐานมาจากแนวความคิดแนวคิดของสำนักชิคาโกและผลงานของสมาชิกคนสำคัญหลายท่าน ลักษณะเด่น ในผลงานของนักอิาชญาวิทยาของสำนักชิคาโกทุกคนในระยะเริ่มแรก ก็คือความคิดเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคม นักทฤษฎีเหล่านี้มีความเชื่อเช่นเดียวกับเดอร์ไคม์ ซึ่งอธิบายพฤติกรรมเบี่ยงเบนเนื่องจากการขาดกลไกการควบคุม
      "The Unadjusted Girl" ธอมัสสังเกตว่าในสังคมทุนนิยม สังคมเมืองหรือสังคมสมัยใหม่ได้ถูกกำหนดลักษณะด้วยคำจำกัดความพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในเชิงการแข่งขัน และทำลายระบบทางสังคม รวมทั้งแนวความคิด "สิทธิสตรี" ในแต่ละศตวรรษที่ผ่านมาของเมืองชิคาโก ธอมัสเห็นว่า ผู้หญิงสาวพยายามแสวงหาโอกาสใหม่ในโรงเรียน โรงงาน ร้านค้า สำนักงาน และสถานที่อื่นๆ ที่ไม่สามารถหาได้ในสมัยก่อน การออกนอกบ้านและหลุ่มพ้นไปจากความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ กลายเป็นสิ่งที่มองว่าเป็นตัวทำให้กำไกการควบคุมแบบดั้งเดิมลดความสำคัญลง และทำให้หญิงสาวตกอยู่ในสภาพที่เกิดการขัดแย้งในการให้คำนิยามของสภานการณ์ ธอมัสสนใจในการใช้แนววามคิดเหล่านี้ อธิบายถึงการที่ผู้หญิงสาวเข้าไปพัวพันในกาต้าประเวณี
     ในหนังสื่อชื่อเรื่อง "The Unadjusted Girl" ธอมัสได้แย้งว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในเมือง เช่น เมืองชิคาโกได้ทำลากำไกการควบคุมที่มีอยู่เดิม และอำนาจของการให้คำนิยามที่ก่อให้เกิดความชอบ เป็นต้นว่าความคิดเกี่ยวกับ "ความเป็นสาวพรหมจารีย์" หรือ "ความบริสุทธ์ิ" โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีข้อจำกัดด้านทรัพย์สินทางเศรษฐกิจ ธอมัสได้โต้แย้งว่าปัจจุบันคำว่า เพศก็ต้องให้ความหมายใหม่ "เพศเป็นสื่อหรือตัวเชื่อม ซึ่งสมารถทำให้หญิงสาวที่มีฐานะยากจนสามารถบรรลุความปรารถนาในด้านความมั่นคงปลอดภัยประสบการณ์ใหม่ และสนองตอบ" กล่าวโดยสรุป  การค้าประเวณีอาจมองเป็นผลจากพลังในเชิงทำลายระบบทางสังคมของเมือง และทำให้คำนิยามสถานการณ์เปลี่ยแปลงไปจากเดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีหญิงสาวที่ขาดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังเกตได้ว่าแนวความคิดเกี่ยวกับ
การค้าประเวณีอาจช่วยในการอธิบายความกระตือรือร้นของผู้รักมนุษยชาติ โดยพยายามให้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณีให้เป็ฯระบเียบแบบแผน ทฤษฎีการเสียระบบทางสังคมเห็นว่า กลำกการควบคุมทางสังคมแบบไม่เป็นทางการเสื่อมลง และสังคมต้องอาศัยกลไกการควบคุมแบบทางการซึ่งก็คือกฎหมายเข้ามาแทนที่ แนวความคิดนี้ไม่ได้สอดคล้องเสียทีเดียวกับความคิดเห็นที่ว่า การค้าประเวณีเป็นอาชีพเก่าแก่ที่สุดของโลก ดังนั้น จึงไม่ไใช่ผลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเมื่อไม่นามนี้เอง หรือไม่ได้สอดคล้องกับขอสันนิษฐานโดยทั่วไป ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิสตรีนี้ในช่วงแรกเริ่มศตวรรษได้แพร่หลายอย่างมากในระหว่างผู้หญิงชั้นสูง ชั้นกลาง มากกว่าผู้หญิงช้นต่ำ อย่างไรก็ตาม แนวความคิดของธอมัสก็คงมีอิทธิพลอยู่มาก

     "The Gang" มโนทัศน์เกี่ยวกับวามปรารถนา 4 ประการของธอมัส (ได้แก่ความปรารถนาประสบการณ์ใหม่ ความมั่นคงปลอดภัย การตอบสนองและการยอมรับ) กลายเป็นพื้นฐานในการศึกษาแ็งวัยรุ่นในชิคาโก แธรชเชอร์เรียกว่า ความปรารถนาเหล่านนี้ว่า "พลังรื่อเริง"(lively energies)เขาแย้งว่าพลังดังกล่าวทำให้ชีวิตวัยรุ่นเป็นอิสระตามธรรมชาิ ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมสภาวะที่ปล่อยให้พลังเลห่านี้แสดงอย่างอิสระนั้น เชื่อมโยงกับการเสียระบบของชุมชน และการสูญเสียกลไกควบคุมแบบดั้งเดิม ตามความคิดของเเธรชเชอร์เห็นว่า สภาพเหล่านี้พบได้ตามสลัมของเมือง ซึ่งกำหนดลักษณะโดยความเสื่อทางกายภาพ  การเข้าครอบครองพื้นที่ของประชากรกลุ่มือ่นแทนกลุ่มเดม และมีการจราจรภาพทางสังคมสูง มำให้มองแก็งเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติต่อสภาพดังกล่าว หน้าที่ของแก็งก็เพื่อสร้างระเบียบและทำให้ความปรารถนาของมนุษย์สมหวัง แก็งก่อให้เกิดพฤติกรรมรวมหมู่ซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใด และไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้ามาก่อน
       แธรชเชอร์ได้วางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการรวมตัวและถอนตัวของแ็ง ตัวแปรหลักคือการควบคุมทางสังคม เขาแย้งว่าเด็กผู้หญิง เด็กผู้ชายก่อนที่จะเป็นวัยรุ่น หากเด็กทั้งสองเพศอยู่ในกลุ่มชาติพันธ์ุที่แน่นอน จะเข้าร่วมแก็งได้ยาก เพราะว่าพวกเขาได้ถูกควบคุมจากครอบครัวอย่งมีประสิทธิภาพ  กล่าวอีกแง่หนึ่งคือ เด็กผู้ชายถอนตัวจากแก็ง เมื่อมีข้อผูกมัดทางการสมรสและงาน ซึ่งจะนำเอากลไกการควบคุมแบบใหม่มาใช้กับพฤติกรรมของพวกเขา
       ทั้งหมดนี้ เราจะเห็นข้อเท็จจริงว่า แธรชเชอร์มองทุรกรรมในลักษณะที่ดำเนินไปด้วยการชอบเล่น และมีความสนุกสนาน การบรรยายถึงสลัมของเมืองชิคาโกของแธรชเชอร์เป็นภาพที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้น โดยใช่ย่านทางรถไฟ "อาณาจักรสำหรับการผจญภัยในสนามเล่นที่ไม่มีใครเหมือน หรือในส่วนของเมืองที่เป็ฯระเบียบ" จากส่ิงดึงดูดความสนใจที่ให้ไว้ และหากไม่มีกลไกการควบคุม ทุรกรรมอาจมองเป็นการสนองตอบปกติตามธรรมชาติ
      ชอว์และแม็คเคย์พยายามที่จะตัดสินลักษณะของชุมชนประเภทต่าง ๆที่สัมพันธ์กับทุรกรรม เพื่อที่พวกเขาจะได้อ้างจากลักษณะดังกล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญอะไรบ้าง ที่ทำให้เกิดการเสียระบบทางสังคมและเป็นสาเหตุให้เกิดทุรกรรมได้อย่างไร โดยได้กำหนดเอกลักษณ์ที่มีความสัมพันะ์กัน 3 ประการ คือ สถานภาพทางเเศรษฐกิจของชุมชน การจราตรภาพของชุมชน และความหลากหลายของชุมชน ทำให้กลไกการควบคุมไม่มีประสิทธิภาพ ในทางกลับกันอัตราของทุรกรรมสูงขึ้น ความยากจน การจราจรภาพและความหลากหลายในศูนย์กลางของเมืองในอเมริกามีลักษณธที่แตกต่างกันในบางเวลาเท่านั้น
      ทฤษฎีการควบคุม
       ทฤษฎีการควบคุมทางอาชญากรรมและทุรกรรมมีรากฐานมาทฤษฎีการเสียระบบทางสังคม ดังนี้น แนวความคิดส่วนใหญ่จึงค่อนข้างคุ้นเคย อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดก็เสนอส่วนหนึ่งที่สำคัญหรือเด่น ไม่เหมือนแนวคิดอื่น ทฤษฎีการควบคุมทางอาชญากรรรมและการเบี่ยงเบนทางสังคมสันนิษฐานว่าคนนั้น "ดี" เว้นเสียแต่เขาถูกผลักดันให้เกลายเป็นคน "เลว" ไม่ว่าจะมาจากความไม่ยุติธรรม หรือปัญหาบางอย่างที่อยู่นอกเหนือกาควบคุมของเขาในการเปรียบเทียบกัน ทฤษฎีการควบคุมมองสภาวะของมนุษย์โดยที่ยึดแนวความคิดที่เป็นกลางมากกว่า โดยสันนิษฐานว่า คนส่วนมากมีความโน้มเอียงที่เป็นทั้ง "เลว" และ "ดี" เท่าเทียมกัน ตามแรวความคิดนี้ คนเป็นคนดีได้ เพราะว่าสังคมทำให้คนดี สังคมให้คำจำกัดความคุณสมบัติ "ดี" และ "เลว" โดยอาศัยบรรทัดฐานและค่านิยมของสังคม ดังนั้น บรรทัดฐานและค่านิยมเหล่านนี้จึงมีอยู่ร่วมกันอย่างกว้างขวาง  และที่ทุกสังคมพยายามที่จะกำหนดบรรทัดฐานและค่านิยมของสังคมให้แก่สมาชิก เป็นข้อสันนิษฐนที่สำคัญของทฤษฎีการควบคุม ความสนใจของนักทฤษฎีการควบคุมอยู่ที่สิ่งซึ่งเหนี่ยวรั้งบุคคล แทนที่จะถามบุคคลที่เบี่ยงเบนว่า "ทำไมท่านทำสิ่งนี้" นักทฤษฎีการควบคุมอยากจะรู้ว่า "ทำไมคนเราทั้งหมดไม่ทำสิ่งนี้" การเห็นด้วยกับ "ความชั่วเป็นิสิ่งดี" นั้น นักทฤษฎีการควบคุมท่านหนึ่งตอบว่า "เราคงทำ หากเรากล้า"
      ตามแนวความคิดที่สืบทอดกันมา ทฤษฎีการควบคุมมองการบังคับในลักษณะที่เป็นการกระทำภายในและภายนอกบุคคลดังนั้น วอลเทอร์ รีคลีซ เสนอเค้าโครงโดยกล้าง ๆ เกี่ยวกับกความสนใจของนักทฤษฎีการควบคุมโดยเน้น "วงกรอบภายใน" และ "วงกรอบภายนอก" ในอีกแง่หนึ่ง วงกรอบภายในประกอบด้วยส่วนประกอบของตนเอง เป็นหลัก เป็นต้นว่า การควบคุมตนเอง และความคิดที่ดีเกี่ยวกับ "ตนเอง" ในขณะที่ "วงกรอบภายนอกแสดงถึงตัวกั้นกลางเชิงโครงสร้างในโลกทางสังคมที่ใกล้ชิดของบุคคล ซึ่งสามารถยึดบุคคลไว้ภายในขอบเขต" วงกรอบภายในถูกมองว่ามีผลมาจากความสำเร็จของครอบครัวอันดับแรกตรงที่ทำให้ค่านิยมที่ดีของสังคมเข้าไปอยู่ในจิตใจของบุตรหลาน หากครอบครัวล้มเหลว นักทฤษฎีการควบคุมก็ให้ความสนใจในบทบาทของชุมชน ตำรวจ และตัวแทนที่เป็นทางการอื่น ๆ จากวงกรอบภายนอก
      โดยส่วนใหญ ทฤษฎีการควบคุมมีแนวโน้มที่จะมองการเบี่ยงเบนเป็นผลของการขัดเกลาค่านิยมที่ "เลว"ให้เป็นค่านิยมที่ "ดี" กล่าวคือการทำให้บุคคลเชื่อว่าเขาปรารถนาที่จะกระทำสิ่งที่สังคมนิยามไว้ว่าเป็น "การดำเนินชีวิตที่ดี" ความปรารถนาร่วมกันดังกล่วเป็นหัวใจของสิ่งที่นักทฤษำีการควบคุม เรียกว่ "ความผูกพันทางสังคม" หรือสายสัมพันธ์ทางสังคมตามแนวความคิดในทฤษฎีการควบคุม หากความผูกพันทางสังคมลดน้อยลงหรือถูกทำลายพฤติกรรมเบี่ยงเบนก็มีแนวโน้มที่เกิดตามมา
        เนื่องจากความผูกพันทางสังคมปกป้องบุคคลจากการเบี่ยงเบนแล้ว จึงควรจำเป็นต้องรู้ว่า อะไรก่อให้เกิดความผูกพันดังกล่าว และการไม่มีความผูกพันนั้นเกี่ยวโยงกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนอยางไร เทรวิส ฮิรสชิ เสนอองค์ประกอบของความผูกพันทางสังคม ประกอบด้วย มิตรภาพซึ่งผูกพันจิตใจกัน ข้อผูกมัด การเข้าไปมีส่วนร่วมหรือรู้สึกร่วมและความเชื่อ
        ความสำคัญของมิตรภาพซึ่งผูกพันจิตใจกับคนอื่นๆ กระตุ้นให้บุคคลเกิดความไวต่อความปรารถนาและความคาดหวังของคนอื่น การผูกพันกับผู้เลี้ยงดู บิดามารดา ครู หรือใครๆ จะเกี่ยวข้องกับความรู้สึก ดังนั้น แม้เราจะเคยทำให้คนที่เรารักเสียใจบ่อย ก็เป็นการกระทำโดยไม่ได้ตั้งใจ ยิ่งไปกว่านั้นโดยทั่วไป บุคคลพยายามที่จะปกป้องคนที่รักจากความเจ็บปวด การสูญเสียและความยุ่งยากใจ... การแยกความรู้สึกผูกพันออกจากตัวบุคคล ทำให้มีอิสรภาพในการเบี่ยงเบนมากขึ้น
        ข้อผูกมัดหรือความรู้สึว่าเป็นภารกิจ หมายถึงการทุ่มเทเวลาและกำลังกายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเ
        ความเชื่อในค่านิยมของสังคม เป็นองค์ประกอบสุดท้ายของความผูกพันทางสังคม โดยเน้นที่การเบี่ยงเบนไม่ได้มีสาเหตุมาจากความเชื่อที่ว่าต้องกระทำพฤติกรรมเช่นนั้น การเบี่ยงเบนอาจเกิดขึ้นได เนื่องจากการขาดความเชื่อที่ทำหน้าที่ห้ามปรามพฤติกรรมเบี่ยงเบนไว้
        ทฏษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของ เอเคอร์ ให้เหตุผลที่ดีว่า "ทำไมจึงเกิดอาชญากรรมและการเบี่ยงเบนขึ้น" เอเคอร์ ตั้งคำถามนี้พร้อมทั้งให้คำตอบว่า "ความยึดมั่นกับการปฏิบัติตามของบุคคลได้ถูกทำลายลงก็อาจทำให้บุคคลเบี่ยงเบนได้ ไม่ว่าเขาจะกลายเป็นคนเพบี่ยงเบนโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยนอกเหนือรางวัลทางสังคม หรือรางวัลอื่น ๆ ก็ตาม คำตอบของเอเคอร์มาจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมทีเกี่ยวกับอาชญากรรมและการเบี่ยงเบน เอเคอร์ ตั้งข้อสังเกตว่า "ทฤษฎีการควบคุมสอดคล้องกับการเรียนรู้ทางสังคมมากที่สุด"


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)