Human Rights


      มักเชื่อกันว่ามนุษย์โดยทั่วไปเป็นส่ิงมีชีวิตที่มีความรุนแรงอยู่โดยธรรมชาติ มีคนสรุปว่า "มนุษย์" คือสัตว์ล่าเหยื่อที่มีการฆ่าโดยใช้อาวุธเป็ฯสัญชาตญาณตามธรรมชาติผู้ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางคนก็เชื่อว่า ความก้าวร้าวรุนแรงนั้นเป็ฯสิ่งที่มีคุณต่อสิงมีชีวิตทั้งนี้เพราะความก้าร่วงรุนแรงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต หากปราศจากสัญชาติญาณนี้แล้วสิ่งมีชีวิตก็จะอดตาย ยิ่งไปกว่านั้นความก้าวร้าวรุนแรงนี้เป็ฯสิ่งที่เกิดขึ้น-ายในตัวส่ิงมีชีวิตและไม่ใ่ผลของปัจจัยแวดล้อม ความรุนแรงก็เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์ด้วยประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติไม่เคยว่างเว้นความขัดแย้ง ไม่ว่าะเป็นในระดับบุคคล หรือในระดับสังคม มนุษย์มิได้ถือกำเนิดมาเหมือนกันทุกประการ หากมีความแตกต่างอันเป็นผลมาแต่ "พันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อมทางสังคม ความแตกต่างทำนองนี้มักเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งแต่ขณะเดียวกันบ่อยครั้งที่ความขัดแย้งเป็น "พลังทะยานชีวิต"ของมนุษย์เพราะมันโน้มนำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อันยังประโยชน์แก่สังคมมนุษย์ แต่จุดสำคัญนั้นคือความรุนแรงหรือสงครามมิใช่ผลของความขัดแย้ง หากเป็นวิธีการแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้แก้ไขหาข้อยุติให้กับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยสาเหตุต่างๆ

      กฎบัติสหประชาชาติ แม้นว่าในแต่ละระบบการเมืองจะมีความกังวลห่วงใยต่อมนุษย์อันเป็นองค์ประกอบมูลฐานที่สำคัญของสังคม และต่างก็มีความพยายามที่จะพัฒนาปรับปรุงให้มนุษยชาติมีสภาพการณ์มูลฐานที่สำคัญของสังคม และต่างก็มีความพยายามที่จะพัฒนาปรับปรุงให้มนุษยชาติมีสภาพการณ์ต่างๆ ที่ดีขึ้น แต่ในสังคมของมนุษยชาตินั้น การกดขี่และการฆ่าฟันต่อกลุ่มชนต่างๆ ก็เกิดขั้นมากมาย ชีวิตและเสรีภาพของแต่ละบุคคลต่างก็ดูไร้ค่า ไม่มีราคาแต่อย่งใด มีผู้คนล้มตายผู้อพยพและผู้ไร้ถิ่นฐานเป็นจำนวนนับล้าน ๆ คน สหประชาชาติจึงมีจุดมุ่งมั่นและได้กล่วยืนยันไว้ในคำปรารภของกฎบัติสหประชาชาติโดยยืนยันถึงความตั้งใจที่จะรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมเพื่อประชาชนแห่งสหประชาชาติ และนับเป็นครั้งแรกที่มีการกล่าวรับรองเรื่องสิทธิมนุญชนไว้โดยตรงในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีองค์การระหว่างประเทศทำหน้าที่เป็นกลไกการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในคำปรารภได้ยืนยันถึงหลักการนี้ว่า "..ยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักมูลในเกี่ยรติศักดิ์และคุณค่าของมนุาย์บุคคล ในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี และของประชาชาิตใหญ่น้อย" จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นได้ว่า สหประชาชาติมีความปรารถนาในความตั้งมั่นและจริงจังโดยความผูกพันทางกฎหมายที่จะตามมา
      แม้จะมีการยอมรับในเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วยการร่วมมือระหว่างประเทศแล้วก็ตามแต่การเคารพสิทธิมนุษยชนโดยหลักการไม่เลือปฏิบัตินั้นก็กลายเป็นปัญหาในการคุ้มครองระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพราะภายใต้กฎบัติสหประชาชาติไม่ได้มีการกำนหดถึงรายละเอียดของสิทธิว่ามีอะไรบ้าง ดังนั้งจังมีการพิจารณาจากกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยพันธกรณีที่กำหนดไว้ให้มีการเคารพและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพอันเป็นหลักมูลมีความหมายค่อยช้างกว้าง และกฎบัติสหประชาชาติเองก็ไม่ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าอะไรคือสิทธิมนุษยชน และอะไรคืออิสรภาพอันเป็นหลักมูลที่สามารถเห็นได้โดยชัดเจนคือการส่งเสริมให้มีการเคารพโดยสกกลและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนสำหรับทุกคน ซึ่งนับได้ว่าเป็นการยอมรับหลักการพื้นฐานใหม่ที่สำคัญอันเป็นสากลคือบุคคลทุกๆ คนควรจะได้รับสิทธิมนุษยชนซึ่งพึงมี ดังนั้นเพื่อให้การเคารพและปฏิบัติตามเป็นจริงได้นั้น รัฐสมาชิกและองค์การระหว่างประเทศจะต้องดำเนินการโดยเป็นรูปธรรมและมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพ
      รัฐสมาชิกนอกจากจะต้องดำเนินการตามพันธกรณีในรัฐของตนแล้วยังต้องดำเนินการร่วมมือกบรัฐอื่น ๆ และกับองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ด้วยโดยเฉพาะอย่งยิ่งกับองค์กรซึ่งมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
     กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนซึ่งเปรีบเสมือนกฎหมายที่มีการอกล่าวอ้างโดยทั่วไปในเวลทีระหว่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตา สิทธิมนุษยชนตามกฎบัติสหประชาชาตินั้น ย่อมไม่มีลักษณะของกฎหมายระหว่างประเทศแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะสิทธิมนุษยชนในแต่ละรัฐเป้ฯเรื่องเขตอำนาจภายในของแต่ละรัฐนั้น
      แต่เดิมนั้นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่มีอำนาจอธิปไตยโดยเฉพาะเท่านั้น หรืออาจกล่าวได้ว่า "รัฐ" นั้นเป็น "เป้าประสงค์" ตามกฎหมายระหว่างประเทศที่สามารถใช้หรือดำเนินการตามขอบเหขตที่กำนดแม้ว่ากฎหมายระหว่างประเทศจะพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ แต่ในช่วงระยะเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง "บุคคล" ตามกฎหมายระหว่างประเทก็ยังเป็นเพียง "ผลของเป้าประสงค์" อยู่เหมือนเดิม ขณะเดียวกันเมื่อสิทธิมนุษยชนเข้ามามีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น "บุคคล" ตามกฎหมายระหว่งปรเทศก็ค่อย ๆ เปลี่ยนสถานะ จาก "ผลของเป้าประสงค์" เป็น "เป้าประสงค์" แทน และยัะงเป็น "เป้าประสงค์" ที่กระตือรือร้นส่งผลตามมาให้เกิดกฎกมายและการดำนเนนการต่าง ๆเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ด้วย ดังนั้นองค์การระวห่างประเทศจึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันใก้เป็นจริงทั้งในระดับภูมิภาคและสากร สิทธิมนุษยชนจึงเป็นกฎหมายที่สำคัญส่้วนกนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศนับตั้งแต่นี้ไป
   
     สิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ และเราคงไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากสิทธิมนุษยชน โศกนาฎกรรมที่เกกิดขึ้นต่อมวลมนุษยชาติ ความไม่สงบสุขที่เกิดขึ้นในทางสังคมและทางการเมือง ความรุนแรงในสังคมที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกเป็นมูลเหตุที่ผลักดันให้ประเทศต่างๆ รวมตัวกันเพื่อจัดทำข้อกำหนดในการให้ความคุ้มครองต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพข้นมูลญานต่างๆ นับได้ว่าเป็นแนวความคิดร่วมกันของประชาชนทุกคนและของรัฐต่างๆ ทุกรัฐในความปรารถนาให้มีการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของความเป้นมนุษชาติอันเป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรมและสันติภาพในโลก
     เป็นที่ยอมรับกันว่า กฎหมายพื้นฐานที่มีเนื้อหาไม่มากนักได้ส่งผลต่อมา ทำให้เกิดเป็นกฎหมายของประชาคมระหว่างประเทศร่วมกันซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของศักดิ์ศรี และความเท่าเทียมกันของมนุษย์ กฎหมายดังกล่าวจึงเป็ฯของทุกชนชาติและศาสนาโดยไม่อาจมีการแบ่งแยกได้ปฏิญญาสากำลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเปรียบเสมือนเป็นกฎหมายพื้นฐนของสิทธิมนุษยชนทั้งมวล ปฏิญญาฯนี้ไม่มีผลผูกพันให้รัฐต่างๆ ต้องปฏิบัติตาม แต่ก็เป็นผลให้เกิดกฎหมายต่างๆ ตามมา ทั้งกฎหมายระหว่างปะเทศและกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็กล่าวอ้างถึงหลักการสิทธิมนุษยชนต่างๆ ไม่โดยตรงก็โดยอ้อมด้วยสำหรับกฎหมายภายในประเทศ กฎหมายรัฐธรรมนูญของหลายประเทศได้บัญญัติถึงสิทธิมนุษยชนต่างๆ ไว้
      คงกล่าวได้ว่ากฎหมายระหว่างปรเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิของปัจเจกชน ส่วนกฎหมายภายในของแต่ละประเทศนั้นเป็นกฏหมายที่ให้การเคารพต่อความเป็นมนุษยชนแย่างแท้จริง กล่าวคือ เป็นการให้ความเคารพและคุ้มครองประชาชนให้มีศักดิ์ศรีสิทธิและเสรีภาพ อันเป็นแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคมโดยเท่าเทียมกันกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยกับสิทธิมนุษยชนโยทั่วไป นั้นจะมีการกำหนดถึง "สิทธิและเสรรีภาพบางประการที่ไม่อาจหลักเลี่ยงได้ไว้ด้วย" สิทธิต่างๆ เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญจึงมีการบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือยกเว้นไม่ปฏิบัติตามได้ กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นกฎหมายทั่วไปซึ่งกำหนดถึงสที่เป็นกฎหมายทั่วไปซึ่งกำหนดถึงสิทธิและเสรีภาพบางประการทีไม่อาจหลีกเลี่ยงได้มีอยู่ 3 ฉบับ
     หลักการและจุดมุ่งหมายของสหประชาชาติ
      " เราบรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ตั้งเจตจำนง ที่จะช่วยชนรุ่นหลังให้พ้นจากภัยพิบัติแห่งสงคราม ซึ่งได้นำความวิปโยคอย่างสุดจะพรรณนามาสู่มนุษยชาติในชั่วชีวิตของเราถึงสองครั้งแล้ว และที่จะยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักมูลในเกี่ยรติศักดิ์และคุณค่าของมนุษย์บุคคล ในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี และของประชาชาติใหญ่น้อย และที่จะสถาปนาภาวการณ์ อันจะธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความเคารพต่อข้อผูกพันทั้งปวงอันเกิดมาจากสนธิสัญญาและที่มาอื่นๆ ของกฎหมายระหว่างประเทศ และที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคม และมาตรฐานอันดีย่ิงขึ้นแห่งชีวิตในอิสรภาพที่กว้างขวางยิ่งขึ้น"
      การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องในระดับประเทศและระว่างประเทศ ประเทศต่างๆ จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาสิทธิมนุษยชนไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเมื่อพิจารณากฎบัติสหประชาชาติแล้วะเห็นว่า องค์การสหประชาชาติมีหลักการส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ มีการดำเนินการร่วมกันหรือแยกกันเพื่อให้มีการเคารพและปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนโดยสากล แต่ขณะเดียวกันก็ขัดแย้งกับหลักการไม่แทรกแซงซึ่งเป็นหลักการสน่วนหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
      กลไกในการทำงานและดำเนินงานที่สหประชาชาติจะต้องจัดตั้งขึ้นจัดทำกฎหมายและพัฒนามาตรฐานของกฎหมาย ติดตามเผ้าดูสถานการณ์ทางสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทุกมุมโลก และผลักดันให้กฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ มีผลใช้บังคับและมีการปฏิบัติตามอย่างได้ผล การจัดตั้งกลไกในการทำงานเพื่อให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชนแาจจะเกิดขึ้นได้โดยกฎบัติสหประชาชาติส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งจากฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)