Perjudice

     Discrimination การแบ่งแยก หรือการแบ่งพรรคแบ่งพวกมีผู้ให้คำจำกัดความดังนี้
          David Dressler  กล่าวว่า คือการกีดกันคนอื่นโดยแบ่งคนอื่นแยกพวกออกไปอย่างไม่ยุติธรรมและเป็นวิธีการที่ไม่มีความเสมอภาค
          Williams ให้คำจำกัดความว่าเป็นการแยกพวกแยกกลุ่มโดยปฏิบัติต่อกลุ่มคนแต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไปอยา่งเลือกที่รักมักที่ชัง แล้วแต่ว่าบุคคลเหล่านั้นมาจากกลุ่มสังคมใด
          Simpson and Yinger กล่าวว่า โดยปกติหมายถึงการแสดงออกที่ปรากฎอย่างเปิดเผย หรือการแสดงออกทางพฤติกรรมเมื่อมีอคติอยู่ในใจ เป็นการปฏิบัติตอบต่อบุคคลโดยแบ่งประเภทของเขาแล้วแต่ว่าบุคคลนั้นเป็นสมาชิกจากกลุ่มใดแน่ และโดยทั่วไปบุคคลที่ได้รับการปฏิบัติดังกล่าวจะถูกกีดกันสิทธิ หรือสิทธิพิเศษบางอย่างที่คนอื่นๆ ในสังคมซึ่งไม่ได้มาจากลุ่มชนกลุ่มน้อยจะมี หรือได้รับ
            นอกจากนี้ยังอาจเกิดจาdโดยไม่มีความรู้สึกอคติด้วย เช่นคนๆ หนึ่งปฏิเสธที่จะรับเป็นสมาชิกผู้อุปถัมภ์ของกลุ่มชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง เพราะรู้สึกว่าการทำเช่นนั้นอาจจะกระทบกระเทือนกับธุรกิจของตนที่ดำเนินอยู่ โดยอาจไม่มีอคติอยู่ด้วยเลยเป็นส่วนตัว เพียงรู้สึกว่าตัวอขาต้องคำนึงถึงธุรกิจก่อนอื่นเท่านั้น ดังนี้เป็นต้น
         อคติและ discrimination เกิดขึ้นจากต้นเหตุหลายเรื่อง หรือหลายคน หลายพวก และอาจจะเป็นหลายสิ่งก็ได้ แต่ในที่นี้กล่าวถึงในแง่ที่เกี่ยวข้องในเรื่อง เชื้อชาติ ชาติพันธ์ และคนกลุ่มน้อย
         ลัทธิชาติพันธ์อาธิ ลัทธิชาติพันธ์ในหมู่นาซีที่ถือว่าประชากรของแต่ละเผ่าพันธ์นั้นมีลักษณะทางกายเด่นเฉพาะอย่าและมีคุณลักษณะกรรมพันธ์ทางปัญญาและอารณ์ ไปตามเผ่าพันธ์ทีมีลักษณะทางกายนั้นๆ ซึ่งจะไม่มีการเปล่ียนแปลงไม่วาจะไปอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไร และกลุ่มเผ่าพันธ์นั้นๆ จะประพฤติในวิถีทางของตนอยู่เสมอตลอดไป ด้วยเหตุนี้นาซีจึงเชื่อว่ากลุ่มคนบางกลุ่มเกิดมาเพื่อเป็นนายพวกอื่นๆ และเชื่อว่าชาติพันธ์บางเหล่าเกิดมาเพื่อเป็นทาสหรือเพื่อรับใช้คนอื่น ลักษณะความเชื่อของพวกนาซีโดยพื้นฐานแล้วจะคล้ายคลึงกับทฤษฎี "Negro Inferiority"
        ลักษณะบ่งชี้ทางชาติพันธ์เป็นความแตกต่างทางสังมที่สำคัญอยางหนึ่งที่จะมีผลต่อการแสดงออกและพฤติกรรมของคนเราภายในสังคม
        ทัศนคติทางชาติพันธ์ุกับพฤติกรรมที่แสดงออก
- ในสังคมมนุษย์ส่วนมากแล้ว คนมักมีความโน้มเอียงที่จะชื่นชมกับคุณสมบัติของตัวเองแล้วและจะแสดงออกกับคนนอกกลุ่มที่ต่างชาติพันธ์ุออกไปในทางลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นพวกที่มีสถานภาพต่ำต้อยกว่าทั้งหลาย
     ความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์ที่เป็นแบบตายตัว นั้นเป็นพฤติกรรมที่มีต่อสมาชิกของกลุ่มชาติพันธ์ุที่มาเกี่ยวข้องด้วย และบ่อยครั้งที่ลักษณะนี้ก็มักจะได้รับการยอมรับจากสมาชิกภายในชนกลุ่มนั้นๆ เองด้วย
      ความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์แบบตายตัว มักจะเป็นตัวกำหนดวางเงื่อนไขให้คนเรามีปฏิกิริยาโต้ตอบไปในลักษณะใดลัษณะหนึ่ง แนวใดแนวหนึ่ง ในระหวา่งคนกลุ่มใหญ่ กับคนกลุ่มน้อย และมักไม่ค่อยเปลี่ยนง่ายๆ
- องค์ประกอบของโครงสร้างบางอย่างในสังคมก็อาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกอคติ หรือ พรีจูดิช Prejudice และการแบ่งพวกแบ่งหล่าต่อชนกลุ่มน้อยได้เช่นเดียวกัน
      ผู้ที่มีอคตินั้นปกติจะประเมินความรู้สึกอคติที่ตัวเองมี น้อยไปกว่าความรู้สึกจริงๆ ที่ตนมีอคติอยู่ คนที่มีอคติมักจะไม่ทันนึกถึงอิทธิพลของความรู้สึกอคติที่จะมีผลต่อการแสดงออกของตน และมักไม่อายที่ตนมีควมรู้สึกเช่นนั้ ตรงข้ามมักจะมองเห็นว่าความรู้สึกรุนแรงหรือความรู้สึกชิงชังของตนที่มีต่อชนกลุ่มน้อยที่ตนไม่ชอบนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมชาติและสาสมกันแล้วกับความประพฤติไม่ดีไม่งามของชนกลุ่มน้อยนั้นๆ ซึ่งตนไม่ชอบ
      ในสหรัฐอเมริกา "แรกเริ่มที่เดียว อคติทางเชื้อชาตินั้นมีจุดเร่ิมจากความจำเป็นทางด้านอุตสาหกรรม ระยะนั้นคนจีนเป็นพวกครต่างด้าวหรือพวกอพยพเข้าเมืองที่ถือกันว่ามีประโยชน์ เพราะเป็นพลเมืองที่ขยันขันแข็ง อยู่ในระเบียบวินัยดีถือกันว่าเป็นพวกอพยพที่ดีที่สุดสำหรับรัฐแคลิฟอร์เนีย เพราะเป็นพวกขีเหนียวไม่ขี้เหล้าเมายา ว่าง่ายไม่เกะกะระรานใคร เพราะเคารพกฎหมายดี ทั้งยังมีความสามารถรอบด้าน ปรับตัวได้เก่ง...หลายปีต่อมา พวกยุโรปอพบพเข้ามา ปัญหาเกิดขึ้นจากากรที่นจีนไม่เลืองานและขยันทำได้หลายอย่าง ทำให้ก่อสถานการณ์ไปในรูปของการแข่งขันเชื่อดเฉือนกับการทำมาหากินรับจ้างของพวกยิวขาวหรือพวกฝรั่ง ในระยะนี้ใครๆ ก็แยกคนจนที่นั้นออกเป็นพวกต่างหาก ว่าเป็นพวกที่ไม่ยอมทำตัวเข้ากับเจ้าของประเทศ ยึดมั่นในขนบประเพณีกับกฎเกณฑ์กฎหมายเฉพาะของพวกตัวเอง เกิดความรู้สึกว่าพวกคนจีนที่เข้ามานั้นไม่ได้มาตั้งรกรากหลักฐานในอเมริกา แต่เข้ามาเพื่อขนทรัพย์สมบัติ กลับประเทศตน เกิดทัศนคติว่าชาวจีนมีเลห์เหลี่ยม โกหกมดเท็ด..ต่ำกว่าพวกอินเดียแดงที่เคยดูถูก
      ความรู้สึกฯ อย่างนี้มีอยู่ภายในสังคมหนึ่ง ๆมักมีแนวโน้มที่บุคคลในสังคมนั้นๆ จะร่วมรับไปเลียนแบบตามกันไปด้วยอย่างไม่รู้ตัว
     สงครามผิวในสหรัฐอเมริกา คนชาตินิโกร หรือถ้าเรียกให้ถูกต้อง เชื้อชาตินิโกรสัญชาติอเมริกันได้เข้าสมัครสอบและเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี ขณะที่เรียนก็เกิดการจลาจลขึ้น เพราะมีพวกผิดขาวบางคนต่อต้านไม่ให้เข้าเรียน การจลาจลครั้งนี้ร้ายแรงมากมีผู้เสียชีวิตสองน เป็นเหตุให้รัฐบาลกลางต้องส่งทหารและตำรวจเข้าควบคุมสถานการณ์และความปลอดภัย
     ลัทธิเหยียดผิดในสังคมประเทศคอมมิวนิสต์
     การเหยียดผิวมิได้เกิดขึ้นเฉพาะโลกเสรี แม้แต่คอมมิวนิสต์ยังมีลัทธิเหยียดผิว ดังจะเห็นได้จากการแตกกันระหว่างจีนแดงกับรัสเซีย ซึ่่งเป็นชาติผิวเหลือและผิวขาวที่เป็นคอมมิวนิสต์ด้วยกันบาดหมางกัน จีนแดงโจมตรรัสเซียเป็นฝรั่งเหมือนกับอังกฤษและอเมริกา ซึ่งคนผิวดำผิวเหลืองควรจะต่อต้าน...
      การสังหารหมู่ชาวยิว ซึ่งเป็นต้วอย่างที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นอคติในเรื่องเกี่ยวกับชาติพันธ์ุ...

      เงื่อนไขของอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก  ความเกี่ยวพันระหว่างการที่คนเราจะมีอคติ มีความรุนแรง หรือมีมิตรภาพไม่ตรีจิตกับคนนอกกลุ่ม หรือกลุ่มชาติพันธ์ที่ไม่ใช่พวกตนนั้นพบว่า สืบเหนื่องมาจากต้นตอหลายอย่างด้วยกันอาจท้าวความจากจุดเร่ิมจากความโน้มเอียงตั้งแต่อดีตในประวัติศาสตร์ ไปจนถึงต้นตอจากแผงผลักดันทางจิตใจในส่วนลึกต่างๆ นานาส่วนบุคคลก็ได้
     - "อคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่ใช่เรื่องที่มีมาแต่กำเนิ ไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ เป็นิส่งที่มีขึ้นที่หลังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบครัว จะเป็นหน่วยสำคัญที่จะปลูกฝังหรือสร้างอคติ การแบ่งพรรคแบ่งพวกให้กับเด็กในครอบครัวและมักเป็นไปโดยที่ไม่ทันได้ตั้งใจที่จะสร้างภาวะเช่นนั้น"
     "อคติต่างๆ นั้น โดยทั่วไปแล้วจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ กินเวลานานกินเวลาสักระยะหนึ่ง เด็กจะได้รับ จะได้เรียนรู้คุณค่า หรือค่านิยมเกี่ยวกับชาติพันธุ์และรับรู้รับเอาทัศนคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ในแนวต่างๆ ตลอดเวลาที่ไปสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคนอื่นในสังมคสิ่งแวดล้อมครอบตัว อาจเป้นจากผู้ใหญ่จากเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน และจากประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตของตนเองตั้งแต่วัยเด็กเรื่อยมาก็ได้ คนจะเรียนรู้ที่จะทึกทัก หรือสรุปเอาว่า กลุ่มใดที่แยกออกไปต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่โรงเรียนหรือภายในชุมนุมชนนั้นๆ ถือว่ามีความด้อยกว่าเดกทึกทักเช่นนั้นด้วยเหตุว่า สังคมคคประพฤติกับพวกนั้นอย่างที่เหยีดพวกนั้นว่าต่ำกว่า ด้อยกว่านั้นเอง..."
      โดยทั่วไปอคติจะก่อตัวเพ่ิมมากขึ้นหรือรุนแรงมากขึ้นตอนวัยรุ่น ซึ่งอคติที่มีขึ้นจะเกิดควบคู่กันไปกับทัศนคติคต่างๆ ที่ซับซ้อน ก่อตัวขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงวัยนี้ ตลอดจนการแสดงออกที่เป็นอคติ จะมีชัดขึ้น และเป็นไปสม่ำเสมอมากกว่าวัยเด็ก
     อคติกับการแบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นไปในทำนองเดียวกับพฤติกรรมแบบอื่นๆ ส่วนมาก ซึ่งจะเป็นไปหรือตามรอยแบบอย่างของขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคมที่ประพฤติปฏิบัติกันมาในชุมชนนั้น ๆ
      ผลจากอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ประการหนึ่ง คือคนทั้งในกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อย ต่างก็รู้ตัวขึ้นใจว่าลักษณะเด่นชัดของชนกลุ่มน้อยคืออะไร เป็นอย่างไร ซึ่งจะนำไปไปให้ความหมาย ขอบเขตข้อจำกัด  ความสัมพันธ์ระหว่างกันควรจะมีแค่ไหน อย่างไร ตลอดจนนำไปสร้างความรู้สึกและความคิดต่อชาติพันธ์อย่างตายตัว ซึ่งกันและกัน
     ผลอีกประการหนึ่งซึ่งสืบเนื่องจากอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกแยกกลุ่มแยกเหล่าก็คือ สมาชิกในหมู่ชนกลุ่มน้อยมักจะสงสัยตนเอง,เกลียดตัวเอง,มีพฤติกรรมแบบเชื่อถือโชคลาภและหุนหันพลันแล่น,ประพฤติปฏิบัติเกเร ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ข้อบังคับ,มีปมด้อย,ความไม่เป็นสุขภายในครอบครัว,สุขภาพจิตเสื่อมโทรม..
     ในบางกรณีสภาวะที่ก่อร่างสร้างอคติและความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์เป็นแบบตายตัว ขึ้นมาอาจจะค่อนข้างเห็นได้ชัดและองค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้อคติและการแบ่งกลุ่มแบ่งพวกคงอยู่เป็นช่วงเวลาระยะหนึ่งๆ นั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก โดยอาจมององค์ประกอบที่ยังให้อคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกคงอยู่เป็น 3 ระดับคือ องค์ประกอบจากโครงสร้างของสังคม ความเป็นมาหรือพ้นฐานของบุคลิกภาพส่วนตัว และวัฒนธรรม

      องค์ประกอบจากโครงสร้างทางสังคม
      การทำตามบรรทัดฐานทางอคติซึ่งคนส่วนใหญ่ในสังคมมีอยู่แล้ว
     "เมื่อใดที่อคติและความรู้สึกความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์ุแบบตายตัว ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นบรรทัดฐาน อย่างหนึ่งสำหรับสังคมนั้นแล้ว การแสดงออกซึ่งอคติและการแสดงออกซึ่งการแบ่งพวกแบ่งกลุ่มกันอย่างชัดแจ้งกน่าจะเปนไปเนื่องจากตค้องการ การคยอมรคับจากสมาชิกคนอื่นๆ ในสังคมนั้นๆ
      และการแสดงทัศนคติฉันท์มิตรกับสมาชิกที่เป็นชนกลุ่มน้อย หรือไม่ยอมแบ่งพวกแบ่งกลุ่มแยกตัวต่างหากออกจากพวกคนนอกกลุ่มหรือพวกชนกลุ่มน้อยก็จะมีผลเท่ากับว่าท้าทายบรรทัดฐานแห่งอคติของสังคมนั้ และมักจะจุดชนวนนำมาซึ่งการโต้แย้งไม่ยอมรับ และการตัดสินด้วยวิธีการต่างๆ จาบรรดาสมาชิกในกลุ่ม"
     รูปแบบการมีปฏิกิริยาตอบโต้กัน
     อคติคและการแบ่งพรรคแบ่งพวกจะนำให้เกิดรูปแบบของปฏิกริยาบางอย่างขึ้นมา เพื่อที่จะทำหน้าที่ช่วยรักษาสถานภาพให้คงที่เอาไว้ มีรูปแบบของปฏิกริยาอยู่หลายอย่างที่ช่วยเพิ่มพูนความสามัคคีเหนียวแน่นและเพิ่มพลังอำนาจให้กับกลุ่มในอันที่จะผลักดันการกระทำตามบรรทัดฐานแห่งอคติและการแบ่งกลุ่มแบ่งพวกนั้นให้เข้มข้นคงตัว องค์ประกอบใดก็ตามที่ทำให้บรรดาสมาชิกในกลุ่มต้องพึงพาอาศัยคนในกลุ่มด้วยกันแล้ว ก็มักช่วยเพิ่มความสามัััคคีของกลุ่มขึ้นไปด้วย
      การสนับสนุนจากผู้นำ
      ความคงอยู่ของอคติและการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยังมาจากการสนับสนุนของหัวหน้าหรือตัวผู้นำกลุ่ม ดังที่เคยกล่าวนั้น พวกผู้นำทางการเมือง เป็นต้น หากเอาใจผู้มีสิทธิออกเสียงเลื่อกตัวด้วยประเด็นของลักษณะเกี่ยวกับบรรทัดฐานบางอย่างทางสังคม บุคคลที่ยึดถือทัศนคติแตกต่างไปจากบรรทัดฐานมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการสมัครรับเลื่อกตั้ง ดังน้นบรรดาผู้นำเล่รนี้เมื่อได้อำนาจแล้วก็จะใช้อิทธิพลแห่งตำแหน่งที่ได้ไปในทางที่จะสนับสนุนส่งเสริมสถานภาพของตนให้ลอยตัว คงตัวอยู่ได้เรื่อยๆ โดยคงรักษาคสภาพความอคติและการแบงพรรคแบ่งพวกที่กลุ่มมีอยู่เอาไว้ เป็นต้น
     ความสัมพันธ์สนับสนุนทารงสิ่งแวดล้อมให้คงความอคตินั้นๆ
     Krech และ Cruchfield ได้สังเกตเห็นว่า ที่ใดซึ่งมีอคติอยู่อย่างแพร่หลายบุคคลจะสามารถสังเกตได้ว่า ที่นั้นมีสภาพแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวในรูปแบบต่าง ๆ นานา ที่ต่างก็จะช่วยสนับสนุนเสริมทัศนคติในทางอคติที่มีอยู่เดิมของเขาอย่างมาก
      การแบ่งพวกเกิดขึ้นมาได้จากความสัมพันธ์บางอย่างระหว่างคนในกลุ่มกับคนนอกกลุ่ม แล้วทัศนคติต่อคนนอกกลุ่มที่มีขึ้นจะมีลักษณะตามบรรทัดฐานที่เป็นอยู่และเท่าที่เห็นพ้องปฏิบัติตามกันมา

      พื้นฐานส่วนตัวทางบุคคลิกภาพ
      อคติเกิดขึ้นและคงอยู่ได้ในแต่ละบุคคลคด้วยเหตุผลเฉพาะตัวทางบุคลิกภาพของแต่ละคนในหลายๆ แง่ ซึ่งจะมองข้ามไม่ได้คือ
       ความขับข้องใจกับการก้าวร้าวโดยใช้วิธีแพาะรับบาป ปกติเมื่อคนเราถูกกีกกั้น ขัดขวางไม่ให้เราสมความต้องการในบางสิ่งบางอย่างเราก็มักจะมีพฤติกรรมแบบก้าวร้าว แต่เมื่อใดสิ่งที่นำมาคับข้องใจมาให้ ไม่สามารถเป็นที่รองรับระบายอารณ์ก้าวร้าว อารมณ์ผิดหวังที่ถูกขัดขวางกีดกันได้ ความรุนแรงทางอารมณ์หรือความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะพุ่งไปสู่คนที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวที่เรียกกันว่า "แพะรับบาป"
       ภาวะทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่และสถานภาพที่ได้รับ วิธีการป้ายโทษไปยังแพระรับบาปดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด ในที่ที่ซึ่งมีการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันอย่างรุนแรง และในที่ซึ่งสถานภาพถูกคุกคาม สภาพการณ์เหล่านนี้ดูเหมือนจะกระตุ้นความรู้สึกอคติได้มากที่สุด
       ความต้องการส่วนบุคคล อาทิ ความไม่ทนต่อความคลุมเคลือกำกวม คนเราจะวุ่นวายใจแตกต่างกันไม่เท่ากันเมื่อพบกับสภาพการณ์ที่สับสนหรือคลุมเคลือคกำกวม พวกที่จัดว่าอยู่ในแบบสุดกู่อาจเป็นในลักษณะที่ว่าต้องการให้ทุกสิ่งทุกอย่างชัดเจนแจ่มแจ๋วไปเลยทุกอย่าง ทุกเมื่อ ว่าขาว หรือดำ หรืออย่างไรให้แน่นอน กับอีกพวกหนึ่งซึ่งไม่สนใจแยแส ไม่ทุกข์ร้อยวุ่นวายใจเลยแม้แต่สักนิดเมื่อพบสภาพการณ์คลุมเคลือกำกวม โดยคนที่ไม่อดทนต่อสภาวการณ์คลุมเคลือมักจะมีอคติมากกว่าด้วย
       ความต้องการที่จะมีสถานภาพดีกว่าคนอื่น ที่ทำให้จุดชนวนอคติได้ง่ายมาก เพราะความรู้สึกอคติจะทำให้บุคคลที่มีความต้องการนั้น ๆ จัดแยกคนคบางกลุ่มออกไปเสร็จสรรพว่าตำ่ต้อยในทางสถานภาพกว่าตนแน่ๆ แล้วก็อาจจะเกิดความรู้สึกที่จะเลี่ยนแบบอย่างคนพวกเดียวกันโดยอาศัยความอคติเป็นสื่อชักนำ
      Allport กล่าวไว้ว่า "คนเราอาจจะย้อเน้นการยกย่องตัวเอง ชื่นชมกับตัวเองโดยการยกตัวเองไว้เหนือคนอื่น ยกตัวเองดีกว่าคนอื่น เบนความสนใจไปที่คนนอกกลุ่มเพื่อช่วยคงเกียรติภูมิของตัวเองเอาไว้"
     ความต้องการที่จะมีความมั่นคง ความต้องการแบบนี้จะสมใจได้เหมือนกันจากการใช้วิธีการกีดกันคนนอกกลุ่ม มีหลายคนตั้งข้อสังเกตไว้ว่าความขัดแย้งระหว่างคนในกลุ่ม กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งกับพวกนอกกลุ่ามจะช่วยนำปสู่การรวมพลังเหนียวแน่นในหมู่สมาชิกของพวกคคนในกลุ่มนั้นๆ ดังนั้น จึงอาจคาดได้ว่าการคกีคดกัคนแบ่งพรรคแบ่งพวก กับความขัดแย้งกับคนนอกกลุ่มมีทางที่จะชวยทำให้บุคคลรู้สึกมั่นคงในการเป็นสมาชิกในกลุ่มที่ตนสังกัดอยู่มากขึ้นและทั้งกินความหมายถึงว่าทำให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกเป็นพวกเป็นพ้องกับกลุ่มของตนมากขึ้น
      บุคลิกภาพแบบวางอำนาจเผด็จการ เป็นแบบแผนของอุปนิสัยซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยข้องกับอคติเป็นอย่างมาก นักจิตวิทยาที่สำคัญหลายท่านได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบวางอำนาจมักจะมีพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่ชอบใช้ระเบียบวิธีอย่างเคร่งครัด อบรมสั่งสอนมาอย่างเข้มงวดกวดขันมีการวางเงื่อนไขว่า จะให้ความรักใคร่หรือไม่โดยขึ้นกับว่าได้ทำตัวหรือประพฤติปฏิบัติสอดคล้องกับที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองวางเกณฑ์กำนหดไว้หรือไม่ เพียงใด พ่อแม่หรือผู้ปกครองยอมรับเห็นด้วยกับการแสดงออกต่าง แค่ไหน จึงเกิดความเก็บกดอารมณ์ความรู้สึกเพื่อให้มีนิสัยยอมตามและรองรับการวางอำนาจข่มขู่บังคม ตลอดจนการถูกกำหนดสถานภาพส่วนตัวไว้แตกต่างออกไป ผลจึงนำไปสู่การขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับอารมณ์แท้จริงของตนได้ ทั้งยังทำให้ก่อเกิดทัศนคติท่าทีที่กระด้าง ไม่มีความยือหยุ่นในการติดต่อหรือคบหาสมาคมกับคนอื่น ได้ง่ายมาก
       บุคลิกภาพและท่าที่ในแนวนี้เป็นพ้ืนฐานการก่อตัวของอคติต่อคนนอกกลุ่มหรือพวกต่างกลุ่มหรือชนกลุ่มน้อย อย่างสำคัญเมื่อเติบโตขึ้น
       ด้วยภาวะที่ต้องเก็บกดความรู้สึกก้าวร้าวเกลียดชังรุนแรงเป็นเวลานาน แต่มาเรียนรู้ว่าการมีอคติกับพวกนอกลุ่มหรือพวกต่างกลุ่มกลับเป็นสิ่งที่สังคมของตนยอมรับและสนับสนุนดังนั้น อติก็จะทำหน้าที่กลายเป็นเสมือนทางออกทางหนึ่งให้แก่ความกดดันที่รู้สึกเกลียดชังอย่างจะก้าวร้าวแต่ไม่เคยแสดงออกได้โดยที่คนในครอบครัวยอมรับมาก่อน
      ความคงที่ทางทัศนคติ บุคคลมักดิ้นรนให้คงตัวอยู่ในภาวะพอดีพอ กันระหว่างอารฒ์การรับรู้ และการแสดงออก  ดังนั้น พลังใด ที่จะมาผลักดันให้เปลี่ยนแปลงส่วนประกอบส่วนใดส่วนใหนึ่งใน 3 อย่างดังกล่าวจะได้รับการต่อต้าน ตราบเท่าที่ส่วนประกอบอีก 2 ส่วนที่เหลือยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ด้วยหลักการนี้ทำให้คนเราตีความหมยหรือรับรู้การแสดงออกหรือพฤติกรรมของคนนอกกลุ่มหรือคนที่ไม่ใช้พวกตน ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนไปจากที่เป็นจริงที่ควรจะมองหรือรับรู้ ถ้าหากรับรู้เกี่ยวกับคนนอกลุ่มหรือต่างกลุ่มเป็นไปในแบบไหน และมีความพร้อมจะรู้สึกต่อคนเหลานนันไปในแนวใดแล้ว การณ์กลับเป็นว่าคนต่างกลุ่มอกกลุ่มที่ว่านั้นกระทำผิดแผกไปจากแบบที่ตั้งไว้  ก็จะถูกตีความหมายให้ผิดเพี้ยนไปในแนวทางที่ให้สอดคล้องกับความรู้สึกและการรับรู้ที่มีอยู่เดิมแล้ว

     องค์ประกอบทางวัฒนธรรม
     ค่านิยมกับอคติ ทัศนคติที่บุคคลมีต่อชนกลุ่มน้อยอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งในลัทธิทางวัฒนธรรมหรือความเชื่อทางวัฒนธรรม ลัทธิทางวัฒนธรรม าหรือความเชื่อทางวัฒนธรรมคือระบบอันซับซ้อนเกี่ยวกับความเชื่อต่าง  และเกี่ยวกับไอเดียนานาประการที่ทั้งหมดต่างสัมพันธ์ื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับค่านิยมทางวัฒนธรรม
      ขบวนการเรียนรู้ทางสังคมของเด็ก จากผลการวิจัยของ Horowizt พบว่าอคติเป็ฯผลสืบเนื่องจากขบวนการเรียรรู้ทางสังคม โดยตรง เขาศึกษาโดยเปรียบเทียบพัฒนาการอคติต่อพวกนิโกร ในหมู่เด็กนักเรียนที่เมืองเทนเนสซี่ หลายต่อหลายกลุ่ม และกลุ่มเด็กที่เมืองนิวอร์ค ทัศนคติในหมู่เด็กจากเทนเนสซี่ กับนิวยอร์คคล้ายคลึงกัน โดยมีแนวโน้มแสดงชัดถึงอคติที่มีต่อนิโกร แต่ความแตกต่างที่น่าสนใจพบว่ามีอยู่ในระหว่างกลุ่มเด็กที่อาศัยอยู่ย่านโครงการณ์สหกรณ์เคนะ ที่องคการคอมมิวนิสต์แห่งหนึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ซึ่งแตกต่างจากเด็กกลุ่มอื่น ทั้งหมดระยะที่ทำการวิจัยอยูในช่วงปี 1930 ซึ่งช่วงนั้นคอมมิวนิสต์เน้นอยู่ที่ความเสมอภาคของทุกเชื้อชาติ ดังน้ันเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีพ่อแม่เป็นคอมมิวนิสต์ก็จะเรียนรู้ความเชื่อเช่นนี้จากพ่อแม่ของตน
      ทัศนคติต่อชนกลุ่มน้อยจะผสมผสานรวมตัวอย่างซับซ้อนเป็นแบบแผนของความคิดเห็น ท่าทีความรู้สึกและความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งจะสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับค่ีานิยมทางวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด ลัทธิความเชื่อที่มีอยู่แพร่หลายเช่นนั้น ยิ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดมีอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกกีดกันเด่นชัดขึ้น และเมื่อ Prejudice  และ ความรู้สึกนึกคิด..ที่มีต่อชนกลุ่มน้อยแบบตายตัวขยายวงกว้างออกไปทั่วถึงภายในสังคมหนึ่ง ๆ ขบวนการเรียนรู้ทางสังคมของเด็กที่จะเป็นไปในลักษณะของการยอมรับเอาลัทธิความเชื่อที่มีอยู่ตลอดจนการเรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรมต่อคนกลุ่มน้อย นั้นจะเป็นไปได้อย่งแน่นอน

     

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)