change(III)

        ประเทศกำลังพัฒนาจะประสบกับวัฏจักรของการมีส่วนร่วมแบบเทคโนเครตและบางประเทศที่อยู่ในรูปของมวลประชา นั้นคือลักษณะการเมืองของประเทศกำลังพัฒนาซึ่งผู้ปกครองมักจะมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ และเพื่อที่จะให้เกิดความสัมฤทธิผลในการนี้ได้ ก็จำเป็นต้องจำกัดการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของบรรดาสมาชิกของสังคม
        แต่เมื่อพัฒนาไป ผลพวงของความเจริญตลอดจนความทั่งคั่งทางเศรษฐกิจ นำมาซึงความไม่เสมอภาคทางสังคมขึ้น กล่าวคือ ผู้ที่ได้รับประโชน์ก็คือกลุ่มชนชั้นสูงและนักธุรกิจจำนวนหนึ่งซึ่งไม่ใช่กับคนส่วนใหญ่ที่กลับยากจนกว่าเดิม ช่องว่างระหว่างชนชั้นจึงกว้างมากขึ้นทุกที ในที่สุดเหตุการณ์ก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยการใช้กำลังรุนแรง เพื่อล้มล้างผู้ปกครองเก่า หรือสถรบันทางการเืองแบบเก่าที่ไม่เอื้อต่อคนส่วนใหญ่

        การไร้เสถียรถาพทางการเมือง จะเกิดขึ้นเมื่อสถาบันทางการเมืองตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ไม่ได้พัฒนาอย่างเป็นสัดส่วนกบระดับของการเข้ามมามีส่วนร่วมทางการเมือง เมื่อระบบพัฒนาไป แต่ละกลุ่มต่างก็พยายามใช้วิธีการที่เป็นของต้นเอง อาทิ การให้สินบน นักศึกษเดินขบวน กรรมกรประท้อง การจลาจล การรัฐประหาร

        ในประเทศกำลังพัฒนาอาจกล่าวได้ว่า การต่อสู้สับเปลี่ยนกันในระหว่างพลังของสถานภาพเดิมกับพลังของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการเมืองหนึ่ง ก็เป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคมในช่วงเวลาหนึ่งๆเท่านั้น จึงไม่อาจที่จะแก้ไปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตลอดไป

                                      รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
- การเปลี่ยนแปลงแบบสถิตย์ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในขอบเขตจำกัด จะเกิดขึ้นในสังคมหรือระบบการเมืองแบบดั้งเดิมเป้ฯส่วนใหญ่ซึ่งสังคมเหล่านี้มีลักษณะของวัฒนธรรมร่วมและมีระดับของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในสังคมสูง การเปล่ียนแปลงจึงเกิดขึ้นได้ยากจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นต่อเมื่อกษัตริย์หรือผู้ปกครองของสังคมนั้น ๆ สิ้นชีวิตและมีการสืบทอดอำนาจทางการเมืองเท่านั้น
   เราจะพบว่าการที่สังคมชนิดนี้อยู่รอดได้ หาใช่เป็นผลมาจากความสามารถของสังคมเองในการที่จะแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง แต่เป็นผลมาจากความสามารถในการักษาหรือพิทักษ์ไว้ไม่ให้มีสาเหตุของการเปลี่นแปลงเกิดขขึ้น และถ้าเผอิญเกิดสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา สังคมนี้จะตอกยู่ในภาวะอันตรายทันที
- การเปลี่ยนแปลงแบบกลมกลืน หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองที่สมารถปรับตนให้เข้ากันได้อย่างผสมกลมกลืน โดยที่โครงสร้างพื้นฐานของระบบการเมืองที่สามารถปรับตนให้เข้ากันได้อย่างปสมกลมกลืน โดยที่โครงสร้างพื้นฐานของระบบเองไม่กระทบกระเทือนโครงร่างของอำนาจหน้าที่ทั่วๆ ไปของการเปลี่ยนแปลงแบบนี้คงอยู่ในลักษณะเกี่ยวกันกับแผนสถิตย์ แต่ต่างกันที่ว่าแบบนี้มีเสถียรภาพอยู่ได้ไม่ใช่เป็นผลมาจากการปิดกั้นไม่ให้เกิดพลังของการเลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม แต่เป็นผลมาจากความสามารถของระบบในการซึมซาบเอาผละกระทบของพลังต่างๆ ไว้ได้และในขณะเดียวกัน ระบบก็ยังคงไว้ซึ่งความต่อเนื่องของกฎระเบียบทางการเมืองให้ดำเนินต่อไปได้ แม้ว่าพื้นฐานของระบบจะไม่เปลี่ยนแปลง ในระยะเวลาต่อมา กฎหมายนโยบาย วิธีการในการเข้าไปมีอิทธิพลต่อการเมือง รูปแบบของกลุ่มการเมืองในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีรัีฐธรรมฉบับเดียว ในขณะที่มีการเลือกตั้ง มีระบบพรรคการเมืองที่ไม่เปล่ียนแปลงและมีวิวัฒนาการของประเพณีและค่านิยมทางการเมืองที่เป็ไปตามขึ้นตอนมาตลอด
- การเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งที่ระบบ คือเปลี่ยนจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งการปฏิวัติจึงมักใช้กำลังรุนแรง เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติโซเวียต การปฏิวัติจีน
     การเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัตินั้น จะมีผลกระทบต่อสังคมอย่างทันทีทันใด แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างความชอบธรรมให้กับระบบใหม่ หรืออุดมการณ์แบบใหม่ การปฏิบัติจึงไม่ใช่เป็นเพียงการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจระหว่างผู้นำหรือกลุ่มทางการเมืองเท่านั้น
- การเปี่ยนแปลงแบบไร้เสถียรภาพ หมายถึงลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ไม่ปะติดปะต่อกัน โดยมากจะใช้กำลังรุนแรงเข้าห้ำหั่นกันโดยที่ความสัมพันะ์ในเชิงอำนาจภายในสังคมไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้มักจะพบกันมากในประเทศด้วยพัฒนาแถบลาตินอเมริกาและเอเซีย

                                       สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
      โดยทั่วไป เมื่อสัฝคมใดเกิดขบวนการอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง และขบวนการนี้จะใช้วิะีการต่างๆ เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ กัน สังคมนั้นจะประสบกับภาวะตึงเครียดอย่างหนัก และจะมีปัญหาเกิดขึ้น ความอยู่รอดของสังคม ขึ้นอยู่กับความสามารถของสังคมเองในการที่จะสนองตอบ หรือซึมซาบเอาพลังของการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นไว้ได้มากน้อยขนาดใด สามารถที่เพิ่ม ซับพอร์ต และลด ดีมาร์น ได้หรือไม่ในระดับใด สาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงอาจกล่าวได้ดังนี้
     - การสร้างความเป็นทันสมัย  ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับปัจจัยต่างๆ มากมาย ฮันติงตัน กล่าวว่า ถ้าการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองเพ่ิมมากขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่างความสามารถของระบบหรือสถาบันทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในรูปแบบที่รุนแรงก็จะเกิดขึ้น
     - สภาพทางจิตวิทยา Gurr แบ่งประเด็นในการวิเคราะห์หลักๆคือ
            ศักยภาพที่จะนำไปสู่การใช้กำลังรุนแรงร่วมกันในบรรดาประชาชน
            ศักยภาพที่จะนำไปสู่การใช้กำลังรุนแรงทางการเมือง
            ขนาดของการใช้กำลังรุนแรงทางการเมือง
            รูปแบบของการใช้กำลังรุนแรงทางการเมือง
กูรร์ วางแนวทางในการวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันในระหว่างประเด็นทั้งสี่ข้างต้นเป็น 3 ขั้นตอนคือ
            พัฒนการหรือการขยายตัวของความไม่พอใจ
            การทำให้ความไม่พอใจนั้นเป็นประเด็นทางการเมือง
            เปลี่ยนสภาพของความไม่พอใจให้กลายเป็นการใช้กำลังรุนแรงทางการเมือง
      พัฒนการ "ความไม่พอใจ" มีสาเหตุมาจากการที่คนรับรู้ว่าตนเองถูกแย่งชิงในสิ่งที่ตนเองควรจะได้รับ ซึ่งสภาวะนี้หมายถึง ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มีคุณค่าอันเป็นที่คาดหวังกัยสิ่งที่มีคุณค่าที่สามารถจะหามาได้จริงๆ  ในระดับหรือความเข้มข้นของความคาดหวังเพิ่มสูงขึ้น โดยที่ไม่มีการเพิ่มในความสามารถก็จะเป็นผลให้ควมเข้มข้นในความไม่พอใจจะสูงมากขึ้น แนวโน้มที่จะนำไปสู่กำลังรุนแรงก็จะยิ่งมากขึ้นด้วย แต่แรงผลัักที่จะทำให้คนใช้กำลังรุนแรงนั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อเกี่ยวกับที่มาของการถูกแย่งสิทธิและการยอมรับในความถูกต้องของการใช้กำลังรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบด้วย
     นอกจากนี้ยังมีตัวแปรที่กระทบต่อความมุ่งหมายที่ความไม่พึงพอใจมีต่อเป้าหมายทางการเมืองอื่นๆ อีก เช่น ขอบเขตของการลงโทษในทางวัฒนธรรมและวัฒนธรรมย่อยที่มีต่อการกรทำที่ก้าวร้าว ขอบเขตและระดับของความสำเร็จในการใช้กำลังรุนแรงในอดีต ความชอบธรรมของระบบการเมืองใช้เพื่อแก้ไขสภาวะของความรู้สึกว่าถูกแย่งชิง เป็นต้น
       - วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึงระบบความเชื่อสัญญลักษณ์ที่แสดงออก ตลอดจนค่านิยมของทั้งผุ้นำกและประชาชนอันจะนำไปสู่พฤติกรรมทางการเมืองในรูปแบบใดๆ ขึ้น บางสังคมมีวัฒนธรรมที่เอื้ออำนวยต่อการใช้กำลังรุนแรง
       
              ตัวนำของการเปลี่ยน
     ตัวนำที่สำคัญยิ่งอันจะนำไปสู่การเปล่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมก็คือ "คน" แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นทุกคนไป จะมีก็เพียงบางคนเท่านั้นที่อาจถือได้ว่าเป็นตัวนำที่แท้จริง พวกนี้จะเป็นผุ้วิพากษ์วิจารณ์สังคม ตลอดจนให้แนวทางใหม่ ๆ แต่ก็ใช่ว่าคนเหล่านี้จะต้องมาจากคนชั้นต่ำ ผุ้นำของขบวนการก้ายหน้า มักจะเป็นผุ้ที่ได้รับการศึกษามาอย่างดีเป็นคนชั้นกลางหรือ คนชั้นสูง เช่น ฟิเดล คาสโตร ..มหาตมะ คานธี เป็นต้น
             วิธีการเปลี่นแปลงทางการเมือง โดยทั่วไปอาจแบ่งเป็น 2 วิธีหลักๆ คือ
      - การเปลี่ยนแปลงโดยสันติ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับกาพัฒนาและนำมาใช้ในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยกันมาก กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเปล่ียนแปลงวิะีนี้จะใช้ได้ดีก็ต่อเมือระบบการเมืองได้ให้ความั่นใจต่อมลชนในระดับหนึ่งว่า แม้จะมีพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายเกิดขขึ้นในช่วงดำเนินการบ้าง รัฐก็จะไม่ใช้เครื่องมอของรัฐ คือ ตำรวจทหารทำลายขบวนการนั้นๆ
      - การเปลี่ยนแปลงแบบรุนแรง ในการดำเนินการเพื่อหใ้ได้มาซึ่กงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนั้น การใช้กำลังรุนแรงถือเป็นวิธีการที่จะนำมาใช้กันจนเป็นปกติวิสัยทางการเมืองปัจจุบันวิธีการใช้กำลังรุนแรงทางการเมืองนี้ อาจแบ่งหยาบๆ ได้เป็น
             การก่อการร้าย เป็นวิธีการที่สามารถสร้างความสพึงกลัวได้มากกว่าแบบอื่นๆ เพื่อที่จะโจมตีหรือท้าทายอำนาจรัฐในการที่จะรักษากฎ ระเบียบ ตลอดจนให้ความมั่นใจในความปลอดภัยแก่ประชาชน หรือบางครั้งการก่อการร้ายถูกใช้เพื่อสร้างความสนใจให้แก่กลุ่มของตน
      - การจลาจล คือ การที่กลุ่มบุคคลเข้ากระทำการรุนแรงต่อทรัพย์สินหรือบุคคล แต่เป็นการดำเนินการที่ปราศจากการางแผน หรือมีขบวนการควบคุมอย่างเช่น การก่อการร้ายทั้งผู้ที่เข้าร่วมในการดำเนินการโดยที่ไม่จำกัดจำนวน
      - การรัฐประหาร หมายถึงการโค่นล้มรัฐบาลโดยใช้กำลังเป็นการเปลี่ยนผู้ปกครองใหม่ ซึ่งอาจจะมีผลให้เกิดนโยบายใหม่ แต่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองอย่างเช่นการปฏิวัติ
      - สงครามปฏิวัติ เป็นลักษณะหนึ่งของวิธีการปฏิวัติซึ่งเกิดขึ้นเมือมีข้อขัดแย้งในเรื่องการปกครอง โดยมีกลุ่มชนเข้าใช้กำลัง ด้วยความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง รูปแบบของสงครามปฏิวัติในโลกปัจจุบัน ก็คือสงครามกองโจรซึ่งมีเป้าหมายทางการเมืองคือบ่อนทำลายรัฐบาล พร้อมกับสร้างความจงรักภักดีทางการเมืองที่มีต่อขชบวนการปฏิวัติให้เกิดขึ้นกับประชาชน
     
      
   

   

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)