composition

     นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ดร. เอช. อาร์. แวน ฮิงเกอิรนได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินเทะซึ่งทำขึ้นโดยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณใกล้สถานีบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี ดดยมีข้อสันนิษฐานว่ามนุษย์เหล่านี้อาจเป็นมนุษย์ชวาและมนุษย์ปักกิ่ง ซึ่งอยู่อาศัยเมื่อประมาณห้าแสนปีมาแล้ว อันเป็นหลักฐานในยุคหินเก่า
     ในประเทศไทยพบหลักฐานของมนุษย์ยุคหินกลางในหลายจังหวัดโดยที่อำเภอไทรโค ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินและโครงกระดูกจึงทำให้สันนิษฐานว่าดินแดนซึ่งแม่น้ำหลองไหลผ่านได้มีมนุษย์อยู่อาศัยมานานกว่า 20,000 ปี ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าที่สุดในประเทศไทย อายุเกือบพันปี ถูกค้นพบที่แม่ฮ่องสอนจึงทำให้เกิดแนวคิดที่ว่าเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นถิ่นกำเนิดของการกสิกรรมครั้งแรกของโลกนอกจานี้ยังค้นพบขวามหินขัดในหลายถาคของประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักฐานของมนุษย์ยุคหินมหท่
     จากหลักฐานด้านโบราณคดี ตำนาน นิทานพื้บ้าน บันทึกราชการของจีนและบันทุกของพระภิกษุจีนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในพุทธศตวรรษที่ 12 ทำให้ทราบว่ามีอารยธรรมมนุษย์ได้สถาปนาอำนาในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้วโดยอาณาจักรโบราณในอินแดนประเทศไทยปัจจุบัน....

     ประเทศไทยมีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตรตั้งอยุ่ใจกลางคาบสมุทรอินโดจีนในเอเซียตะวันออกเฉฉียงใต้ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศมีอิทธิพลต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย ประเทศไทยยังเป็นทางบกทางเดียวที่ติดต่อกับมาเลเซียและสิงคโปร์ ด้วยสภาพพื้นที่ราบซึงน้ำท่วมถึงอันอุดมสมบูรณืและภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนทำให้ประเทศไทยมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรรมการทำนา และดึงดูดผู้ตั้งถิ่นฐานมายังใจกลางดินแดนมากกว่าพื้นที่สูงและภูเขาในภาคเหนือและที่ราบสูงโคราชในทางตะวันออกเฉียงเหนือใจคริสต์ศตวรรษที่ 12 รัฐจำนวนหนึ่งซึ่งติดต่อกันอย่างหลวมๆโดยการปลูกข้าวและการค้าได้เกิดขึ้นในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนเริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 รัฐเหล่านี้ค่อย ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ใต้สุดของที่ราบลุ่มแห่งนี้ เมืองหลวงในอดคตของไทยซึ่งตั้งอยู่บนหลายจุดตามแม่น้ำ
เจ้าพระยากลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรคนไทยซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการปลูกข้าวและการค้าระหว่างประเทศไม่เหมือนกับเืพ่อบ้าน ชาวเขมรและขาวพม่าไทยได้มุ่งหน้าค้าขายกับเมืองท่าต่างชาติโดยอาศัยอ่าวไทยและทะเลอันดามัน...
      ประเทศไทยมีลักษณะคล้ายขวาน โดยภาคใต้เป็นด้ามขวาน แนวด้านตะวันตกเป็นสันขวานภาคเหนือเป็นหัวขวาน ภาคตะวันออกเฉพียงเหนือและภาคตะวันออกเป็นคมขวาน จากลักษณะดังกว่าความยาวจาเหนือสุดถึงใต้สุด วัดจาอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลามีความยาว 1,650 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างสุดจาตะวันออกไปตะวันตก วัดจาอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ไปยังอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นระยะทาง 800 กิโลเมตร บริเวณแผ่นดินส่วนที่แคบที่สุดของประเทศต้งอยู่ระหว่างแนวชายแดนกัมพูชากับพื้นที่บ้านโขดทราย ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีระยะเพียง 450 เมตร และส่วนพื้นที่ย้านวังก์ด้วน ตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วัดจากชายแดนประเทศพม่าจนถึงทะเลอ่าวไทย มีระยะยทาง 10.6 กิโลเมตร สำหรับส่วนที่แคบทีสุดของแหลมมลายู อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดชุมพรและระนองมีระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร เรียก่วนนี้ว่า "คอคอดกระ"
    
     โครงสร้างสังคมไทย  
      - กลุ่มต่าง ที่อยู่ร่วมกันในสังคมไทย
          ครอบครัวไทย มีลักษณะเป็นครอบครัวขยายประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นประชากรไทย จำนวนครัวเรือนในสังคมไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 11.3 ล้านครัวเรือน มีจำนวนสมาชิกโดยเฉลี่ยครัวเรอนละ 4.99 คน และมีแนวโน้มว่า จำนวนสมาชิกเฉลี่ยในแต่ละครัวเรือนจะลดลง ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายควบคุมขนาดประชากรของรัฐ
          - ชุมชน คือ กลุ่มครอบครัวซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน มีวัฒนธรรมและกิจกรรมบางประการร่วมกันเพื่อสนองความต้องการของสมาชิก และเพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินชัวิตประจำวันร่วมกันชุมชนในสังคมไทยมี 2 ประเภอ คือ ชุมชนชนบทและชุมชนเมืองซึ่งมีลักษณะเปรียบเทียบได้คือ
      ชุมชนชนบท มีประชากรจำนวนมากแต่อยุ่กระจัดกระจายเป็นชุมชนเล็ก สถาบันการศึกษามีไม่มากนักรายได้ยังน้อย มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เป้นการปกอรงส่วนภูมิภาค มีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย สถาบันศาสราสำคัญมากของชุมชนบทไทยมีศรัทธาในศาสนาเคร่งครัด มีความสัมพันธ์เป็นแบบส่วนตัวแลกันเองเป็นไปตามประเพณี มีการเปลี่ยนแปลงช้าและมีปัญหาสังคมน้อย
       ชุมชนเมือง ประชากรมีเป็นจำนวนมากและอยู่กันอย่างหนาแน่นมักเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่สำคัญ เศรษฐกิจ มีรายได้รายจ่ายสูง เป็นศูนย์รวมทางเศรษฐกิจและมีอาชีพหลากหลาย เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองของประเทศเป็นศูนย์รวมของศาสนาและความเชื่อ แต่ระดับความศรัทธาในศาสนาไม่สูง มีความสัมพันธ์แบบทางการ ยึดถือประโยชน์เป็นเกฑณ์ มีการเปลี่นแปลงรวดเร็ซและมีปํยหาสังคมมาก
           - ชาติพันธ์ต่างๆ ในสังคมไทย นอกจากสังคมไทยจะประกอบไปด้วยชนเช้อชาติไทย ซึ่งเป็นสมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมแล้ว ยังประกอบไปด้วยชนชาติพันธ์ุือ่นๆ ซึ่งดำรงชีวิตอยุ่ร่วมในสังคมไทยดัวยกัน เช่น ชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นต้น
     ค่านิยมทางสังคมไทย ได้มาจากศษสนาพุทธ ปะปนกับศาสนาพราหมณ์ ระบบศักดินา เช่น การนับถือเจ้านาย ยศถาบรรดาศักดิ์ เป็นต้น จากระบบสังคมเกษตร เช่น ความเฉื่อย ขาดความกระตือรือร้น ยึดตัวบุคคล ความเชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์โชคลาภ
     ปัญหาสังคมไทยมีลักษณะ คือ ปัญหาความยากจน ปัญหารสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมในสังคมไทย ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์  ปัญหาอาชญากรรม  ปัญหาสุขภาพอนามัย ปัญหาการฉ้อราษฎรบังหลวง ปัญหาโสเภณี เป็นต้น
   
      เศรษฐกิจไทย เป็นประเทศอุตสาหกรรมใม่ ที่พึงพาการส่งออกเป็นหลัก โดยมีมูลค่าการส่งออกคิดเป็นสองในสามของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแป่งชาติ รายงานว่า ประเทศไทยมีจีดีพี 11.375 ล้านล้านบาท เศรษฐกิจไทยเติบโต 6.5% โดยมีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 3.02%
      ประเทศไทยมีเศรษฐกิจใหญที่สุดเป็นอันดับสองในเอเซียตะวันออกเฉพียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซีย ทว่าจีดีพีต่อหัวในปี 2555 ค่อนข้องต่ำ ในเอเซียตะวันออกเฉพีงใต้ ประเทศไทยจัดว่ามีจีดีพีต่อหัวกลาง  รองจากประเทศสิงคโปร์ บรูไนและมาเลเซีย ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 ประเทศไทยถือครองทุนสำรองระหว่างประเทศ 171,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ มากเป็นอันดับสองในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้(รองจากประเทศสิ่งคโปร์) ประเทศไทยยังมีปริมาณการค้าต่างประเทศมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจาสิ่งคโปร์
       ธนาคารโลกกว่าถึงประเทศไทยว่าเป็น "หนึ่งในนิยายความสำเร็จการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" จากตัวชี้วัดทางสังคมและการพัฒนาแม้รายได้มวลรวมประชาชาิต ต่อหัวก่ำ และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ อยู่ในอันดับ 103 แต่ประชากรมีอยู่ตำ่กว่าเส้นความยากจน อัตรว่างงานของไทยอยู่ที่ 0.7% ซึ่งเป็นอันดับ สี่ของโลก

      การเมืองการปกครอง ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะณาษฎร ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นแบบประชาธิปไตย มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามบั่วคราว เมื่อวันที่ 27 มิถนายน ปีเดียวกัน ซึ่งเป็นัฐธรรมนูญฉบับแรก แม้จะเป็นกฎหมายที่ใช้ชั่วคราวก็ตาม
      ประเทศไทยมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและทรงอยุ่ใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นหลักหรือกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 กำหนดไว้ว่า "องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสัการะ ผู้ใดะละเมิดมิได้ จะหล่าวหาหรือฟ้องร้องใดๆ มิได้" ในระบอบประชาธิปไตยพระมหากษรัริข์จะทรงเป็นกลางทางการเมืองคือจะไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งโดยเฉพาะเมือใดบ้านเมืองมีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น พระองค์จะทรงอยู่ในฐานะพระประมุข
       การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำคณะรัฐมนตรีในกระทรวงต่าง ๆ ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินจึงแบ่งการปกครองออเป็น 3 ส่วนคือ
        การปกครองส่วนกลาง มีลักษณะเป็นการรวบอำนาจได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงทบวง มีรัฐมนตรีเป็นผู้บริหาราชการแต่ละกระทรวงจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กำหนดไว้อย่างเป็นสัดส่วน อันจะทำให้แต่ละกระทรวงปฏิบัติภารกิจบังเกิดผล การบริหารงานแบ่งออกเป็นกรม กรมแบ่งเป็นกอง มีข้าราชการรับผิดขอบบริหารงานตามลำดับ
       การปกครองส่วนภูมิภาค เป็นการแบ่งอำนาจจากส่วนกลางเพื่อสร้างเอกภาพและความมั่นคงของประเทศ การบริหารงานแบ่งออกเป็นจังหวัดต่างๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารร่วมกับคณะกรรมการจังหวัด แต่ละจังหวัดแบ่งส่วนราชการออกเป็นอำเภอ มีข้าราชการคอยปกครองดูแล
       การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการกระจายอำนาจ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และการปกครองแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพและเมืองพัทยา...

       กฎหมายไทย..ประเทศไทยคงความเป็นเอกราชมากว่าพันปี นับแต่ไทยมีการรวมกันเป็นหน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างเจ้านครในอดีต 3 พระองค์ อันได้แก่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย ทพ่อขุนงำเมืองแห่งแคว้นพะเยา และพญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา มีการปกครองภายใต้กฎหมายอาทิ "มังรายศาสตร์" โดยมีการปครองแบบพระโอรสและเครอญาติไปปกครองตามหัวเมืองต่างๆ และเข้าใจว่ากฎหมายฉบับนี้ได้รับอิทธิพลมาจาก กฎหมายธรรมศาสตร์ ของมอญ เป็นต่น เช่นเดียวกับการปกครองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งนับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงและอาณาจักรสยามได้มีการปครองแบบพอ่ปกครองลูก โดยมีกฎหมายแรกที่ปรกกฏเป็นหลักฐายอยู่ในศิลาจารึกพ่อขุนรมคำแหง เรียกว่า กฎหมายสี่บท เป็นต้น
      สมัยกรุงศรีอยุทธยา ราชธานีที่สองของไทย พระมหากษรัิย์ในยุคนั้น ได้สร้า กฏหมายซึ่งเรียกว่าพระราชศาสตร์ไว้มากมาย พระราชศาสตร์เหล่านี้เมื่อเริ่มต้นได้อ้างถึงพระธรรมศาสตร์ฉบับของมนูเป็นแม่บทเรียกกันวว่า "มนูสาราจารย์" เป็นกฎหมายที่มีต้นกำเนินในอินเดีย เรียกว่าคำภีร์พระธรรมศาสตร์ ต่อมามอญได้เจริญและปกครองดินแดนแหลมทองมาก่อนได้แปลต้นฉบับคำภีร์ภาษาสันสกฤตมาเป็นภาษาบาลีเรียกว่ "คำภีร์ธรรมสัตถัม" และได้ดัดแปลงแห้ไขบทยัญญัติบยางเรื่องให้เมีความเมหาะสมกับชุมชนของตน ต่อจานั้นนักกฎหมายไทยในสมัยนั้นจึงนำคำภีร์ของมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎมหายของตน ลักษณะเป็นกฎหมายอาญาเป็นส่วนใหญ่ เชื่อกันว่าการออกกฎหมายในสัมยก่อนนั้น จะคงมีอยู่ในราชการเพียงสามฉบับเท่านั้น ได้แก่ ฉบับที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้งาน ฉบับให้ขุนนางข้าาชกรทั้งไปได้อ่นกัน หรือคัดลอกนำไปใช้ ฉบับสุดท้ายจะอยู่ที่ผุ้พิพากษา...
      กรุงธนบุรี ซึ่งส่วนใหญ่อ้างอิงจากกรุงศรีอยุธยา
      สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กฏหมายที่สำคัญ ได้แก่ "ตราสามดวง" ถือเป็นประมวลกฎหมายของแผ่นดินที่ไดรับการปรับปรุงให้มีความรัดกุม ยิตุธรรมทั้งทางแพ่งและอาญา นอกจาจะได้บรรจุพระธรรมศาสตร์ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ยังคงมีกฎหมายสำคัญๆ อีกหลายประการ
      ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้อยู่หัว ได้ทรงจัดวางระบบศาลขึ้นใหม่ และได้ให้ผู้เชียวชาญทางกฎหมายทั้งจากอังกฤษ ฝรั่งเศษ เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น และลังกามาเป็นที่ปรึกษากฎมหาย และในสัมยนั้นพระราชโอรสของพระองค์ที่ได้ทรงให้ไปศึกษาด้านกฎหมายคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ก็ได้ร่วมกันแก้ไขชำระกฎหมายตราสามดวงเดิมขึ้นใหม่ และจัดพิมพ์ลงในหนังสือเป็นรูปเล่ม ขึ้นในชื่อ "กฎหมายราชบุรี" ... กระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้จัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นบังคับใช้

       ความเป็นพลเมืองไทย การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยนั้น นอกจากจะมีสิทธิเสรีภาพแล้ว ส่ิงที่จะขชาดไม่ได้อีกประการคือ หน้าที่และความรับผิดชอบ ในสังคมประชาธิปไตยนอกจากได้กำหนดในเรื่องของสิทธิเสรีภาพไว้แล้ว ยังได้กำหนดหน้าที่ของประชาชไว้อีด้วย การที่ต้องกำหนดหน้าที่ของประชาชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐไว้เช่นนี้ก็เพื่อให้ประชาชนในระบอบประชธิปไตยได้เกิดความตระหนักวว่า ภายใต้การปกครองนี้ประชาชนจะต้องเสียลสละความรู้ความสามารถของตนเองเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและความเจริญก้าวหน้าของการปกครองระบอบประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดหน้าที่สำคัญๆ อัน จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมของชนชาวไทยไว้ในหลายๆ ด้าน
              สังคมประชาธิปไตยจะพัฒนสได้นั้น จำเป็นต้องสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิไตยใให้เกิดขึ้นโดยประชาชน ต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง "พื้นฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย" ที่ถูกต้อง เมื่อมีความรู้แล้ว จะต้องนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตตามวิถีสังคมไทย

      วัฒนธรรมไทย คนไทยมีความสัมพันะ์กับพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานานนับพันปีมาแล้ว พุทธ ศาสนิกชนทั้งหลายมีความรู้สึกเคารพศรัทธา พุทธศาสนราฝังรากลงในจิตใจของ คนไทยทั้งในอดีต ปัจจุบัน คนไทยจึงแสดงออกทางศิลปกรรมต่าง ดนตรีจะเป็นแนวเยือกเย็นตามแนวทางสันติของพุทธศาสรา  ความเชื่อที่พบอยู่ในสังคมไทยนับแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันนี้ได้แก่ เรื่อง ไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ ที่มีความใกล้ชิดซึ่งกันและกัน และใกล้ชิดกับชีวิตของคนไทยทั้งที่อยุ่ในสังคมดั้งเดิมและที่อยู่ในสังคมเมือง คนไทยมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ความเชื่อที่รู้สึกเกรงขามหรือกลัวในส่ิงที่เข้าใจว่า อยุ่เหนือธรรมชาติหรือในส่ิงลึกลับ อันไม่สามารถจะทราบด้วยเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ และสิ่งนั้นอาจจะให้ดีหรือร้ายแก่ผู้ที่เชื่อถือก็ได้ และสท้อนออกมาในรูปแบบพิธีกรรมประกอบด้วยคาถาและเวทมนตรืเพื่อส่งผลดีต่อผู้ที่เชื่อถือ การเชื่อเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่ไม่นอนและไม่มั่นคงของสังคม
      ประเพณีไทย เอกลัษณ์ของประเพณีไทย ได้แก่การผสมผสานทั้งลัทธิ ผีสางเทวดา ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธเข้าด้วยกัน 
      ประเพณีที่เกียวกับชีิวิต เช่น ประเพณีการเกิด เช่น การทำขวัญโกนผมไฟ พิธีลงอู่ ตั้งชื่อ ปูเปลเด็ก โกนจุกเป็นต้นประเพณีการบวช เช่นการบวชเณรเมื่อยังเป็นเด็ก และการบวชพระเมื่ออายุครบ 20 ของผู้ชายชาวไทยส่วนใหญ่ ประเพณีการแต่งงาน จะต้องเกิดขึ้นภายหลังเมื่อผู้ชายได้บวชเรียนแล้ว ประเพณีเกี่ยวกับการตาย ตามคติพุทธ ถือตามความจริงที่ว่าร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ การเผาจึงเป็นส่ิงที่ดี
      ประเพณีเกี่ยวกับสังคม ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ประเพณีการทำบุญสารท ประเพณีลอยกระทง
      ประเพณีเกี่ยวกับศาสนา เช่นการทำบุญวันพระ และวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีการทอดกฐิน ทอดผ้าป่า
     
      ลักษณะนิสัยคนไทย ความเชื่อมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและเป็นตัวกำหนดการแสดงออกทางพฤติกรรมของคนในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต เมื่อคนมีความเชื่อย่างใดอย่างหนึ่ง อสจทำให้เกิดการกระทำหรือพฤติกรรมที่ตอบสนองความเชื่อนั้น  ๆแสดงในลักษณะข้อห้าม ข้อปฏิบัติ หรือค่านิยมในการดำนเนินชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ
       บุคคลิกของคนไทยมีัลักษณะ คือ ไม่รักษาเวล ขาดความกระตือรือร้น ขาดระเยียบวินัย อยากรู้อยากเห็น รักพวกพ้อง ไม่ชอบเห็นคนอื่นดีกว่าตนหรือชอบจับผิดหรือตำหนิ เชื่อโชคลาง ตัดสินใจด้วยความรู้สึกมากกว่าเหตุผล ชอลต่อรอง ไม่กล้าเสี่ยงหรือไม่ชอบอะไรที่เสี่ยง แต่ก็ชอบพนันขันต่อ ชอบงานพิธีเป็นการทำเืพ่อเกี่ยรติหรือศักดิ์ศรี ขอบของแจกหรือของแถม  ขาดความอดทน ชอบทำอะไรตามใชอบ...ขี้เกรงใจ ลืมง่าย ยิ้มแย้มแจ่มใส ขี้เล่นและเป็นกัเอง สถภาพเรียบร้อย...
         จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงส่งผลให้ลักษณะนิสัยและการใช้ชีวิตของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย อิทธิพลของค่านิยมและวัฒนธรรมจากต่างประเทศที่แพร่กระจายเข้ามา ก่อให้เกิดการครอบงำทางสังคมวัฒนธรรมโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมีผลต่อความเชื่อ ค่านิยมร่วมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป  ปัจจุบันเด็กไทยกำลังเผชิญกระแสวัฒนธรรมบริโภคที่เรียกว่า วัฒนธรรมกิน ดื่ม ช็อป ซึ่งพบว่าเด็กและเยาวชนไทย อายะ 5-14 ปี มีเงินซื้อขนมปีละ 161,580 ล้านบาท

     
    

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)