บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2014

Yonisomanasikāra/10

รูปภาพ
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณะ – มองเห็นลักษณะพื้นฐานร่วมกันของสิ่งต่างๆ อริยสัจ จ์ – คิดแยกแยะ แก้ปัญหา อรรถธรรมสัมพันธ์ – เข้าใจว่าหลักการ (ธรรม) นี้ มีจุดมุ่งหมายอะไร (อรรถ) เห็นคุณ โทษ ทางออก รู้คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม – รู้คุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนี้ รู้คุณค่าที่เสริมขึ้นมา เร้่าคุณธรรม อยู่กับปัจจุบัน วิภัชชวาท – คิดจำแนกแยกแยะให้ครบถ้วนทุกแง่มุม ทุกขั้นตอน ทุกทางเลือก ... วิภัชชวาท ความจริงวิภัชชวาท ไม่ใช่วิธีคิดโดยตรง แต่เป็นวิธีพูดหรือการแสดงหลักการแห่งคำสอนแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การคิดกับการพูดเป็นกรรมใกล้ชิดกันที่สุด ก่อนจะพูดก็ต้องคิดก่อน สิ่งที่พูดล้วนสำเร็จมาจากความคิดทั้งสิ้น ในทางธรรมก็แสดงหลักไว้ว่า วจีสังขาร(สภาวะที่ปรุงแต่งคำพูด) ได้แก่วิตกและวิจาร ดังนั้น จึงสามารถกล่าวถึงวิภัชชวาทในระดับที่เป็นความคิดได้ ยิ่งกว่านั้นคำว่าวาระต่าง ๆ หรือที่เรียกกันว่าวาทะอย่างนั้นอย่างนี้ ก็มีความหมายลึกซึ้งเล็งไปถึงระบบความคิดทั้งหมด ซึ่งเป็นที่มาแห่งร

Dialectical materialism(วัตถุนิยมวิภาษ)

รูปภาพ
        1. สรรพสิ่งสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่ได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว พึ่งพาอาศัยกัน บังคับกำหนดซึ่งกันและกัน ด้วย เหตุนี้ ในการมอง ศึกษาค้นคว้า และรับรู้ปรากฏการณ์ใด ๆ  ถ้าหากมองมันเป็นปรากฏการณ์ที่มีความสัมพันธ์อันแยกออกจากกันมิได้กับ ปรากฏการณ์ที่ห้อมล้อมอยู่รอบ ๆ  และถูกบังคับกำหนดโดยปรากฏการณ์ที่ห้อมล้อมอยู่รอบ ๆ แล้ว ก็จะเข้าใจและพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ กล่าวคือสรรพสิ่งมีบริบทของมันเสมอ หลักวัตถุนิยมวิภาษวิธี หรือการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุของมาร์กซ์          2. โลกธรรมชาติที่ดำรงอยู่จริงนั้น ล้วนอยู่ในภาวะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เกิดใหม่และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา  ภายในนั้น มีบางสิ่งบางอย่างกำลังเกิดและกำลังพัฒนา  มีบางสิ่งบางอย่างกำลังพังทลายและกำลังเน่าเปื่อย เป็นเช่นนี้เสมอไป ดังนั้นการพิจารณาปรากฏการณ์ใด ๆ จึงไม่อาจพิจารณาเฉพาะแง่มุมที่ปรากฏการณ์แต่ละอย่างสัมพันธ์และกำหนดซึ่งกันและกันเท่านั้น หากแต่ยังต้องพิจารณาจากแง่มุมที่มันเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงและพัฒนา  รวมทั้งแง่มุมที่มันเกิดขึ้นและการดับสูญไปของมันด้วย        3.สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจากปริมาณไปสู่คุณภาพ กระบว