วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

English Civil War


       ความไม่พอใจที่รัฐสภาบางส่วนยังคงสนับสนุนพรเจ้าชาร์ลส์ทำให้กองทหารกลุ่มหนึ่งที่นำโดยทอมัส ไพรด์ บุกเข้ายึดรัฐสภา รัฐสภาที่เหลือเรียกว่ารัฐสภารัมพ์ได้รับคำสั่งให้ก่อตั้ง “ศาลยุติธรรมสูงสุดในการพิจารณาคดีพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1” ในข้อหากบฏต่อแผ่นดินการกระทำครั้งนี้เป็นที่รู้จักกันว่า “การยึดรัฐสภาของไพรด์”

   เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ,สกอตแลนด์และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่อกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภาและฝ่ายกษัตริย์นิยมตั้งแต่ปี ค.ศ.1642-1651
     - ครั้งที่ 1 เกิระว่างปี ค.ศ. 1642-1646 Riot_against_Anglican_prayer_book_1637
     - ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ.1648-1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพรเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 และผู้สนับสนุน รัฐสภายาว(รัฐสภาแห่งอังกฤษสมัยหนึ่ง เป็นสมัยประชุมที่ได้รับอนุมัติจากพระราชบัญญัติพิเศษเพื่อเป็นการป้องกันการยุบโดยมิได้รับมติเห็นชอบจากสมาชิกของรัฐสภาเอง )
     - ครั้งที่ 3 ระหว่างปี ค.ศ.1649-1651เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์( รัฐสภาซึ่งเกิดจากการยึดรัฐสภายาว เป็นรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มีเสียงข้างมากในการเป็นปฏิปักษ์ต่อการพิจารณาโทษของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ในข้อหากบฎต่อแผ่นดิน ซึ่งหมายถึง รัฐสภาที่หลงเหลือจากรัฐสภาพที่ถูกต้องตามกฎหมาย)
 
   สงครามกลางเมืองอังกฤษเริ่มขึ้นหลังการสวรรคตของพระราชินีอลิซาเบธที่  1 สี่ปี เมื่อเพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ขึ้นครองราชย์ อังกฤษและสกอตแลนด์อยู่ในความสงบพระเจ้าชาร์ลส์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะรวม ราชอาณาจักรอังกฤษ,ราชอาณาจักรสกอตแลนด์และราชอาณาจักรไอร์แลนด์เข้าเป็นราชอาณาจักรเดียกัน แต่ฝ่ายรัฐบาลมีความเคลือบแคลงใจในพระราชประสงค์นี้ว่า เพราะการก่อตั้งราชอาณาจักรใหม่อาจจะเป็นการทำลายวัฒนธรรมและประเพณีโบราณของอังกฤษที่เคยปฏิบัติมา ประกอบกับ พระองค์ทรงเชื่อว่า เป็นผู้ที่ได้รับเลือกจากพระเจ้าให้ปกครองอาณาจักรภายใต้กฎ “เทวสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์”ปรัชญาของพระองค์ยิ่งทำให้รัฐสภาเพิ่มความหวั่นระแวงต่อนโยบายของพระองค์ยิ่งขึ้น ความขัดแย้งและความเคลื่อบแคลงต่าง ๆที่เกิดขึ้นระหว่างพระเจ้าชาร์ลและรัฐสภาแห่งอังกฤษเป็นผลที่ทำให้ความสัมพันธ์แตกหักลงและนำไปสู่สงครามกลางเมืองในที่สุด
     ยุคสมัยนั้นรัฐสภาแห่งอังกฤษเป็นเพียงคณะผู้ถวายคำแนะนำและเป็นเพียงเครื่องมือของพระมหากษัตริย์เท่านั้น กษัตริย์จะมีสิทธิ์เรียกประชุมหรือยุบรัฐสภาเมื่อใดก็ได้ตามพระราชประสงค์
     แต่เหตุการณ์ที่ทำให้รัฐสภาเป็นกังวลคือการเสกสมรสระหว่งพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียแห่งบูร์บอง ผู้เป็นเจ้าหญิง “โรมันคาทอลิก”จากฝรั่งเศส ผู้ได้รับการเลี้ยงดูอย่างคาทอลิก ซึ่งทำให้เป็นที่หวันกลัวต่อชาวอังกฤษโปรเตสแตนต์
      และเจ้าชายชาร์ลยังมีประสงค์ที่จะเข้าร่วมในสงครามความยุ่งเหยิงของสงครามสามสิบปี …
    … การเข้าร่วมสงครามต้องใช้ทุนทรัพย์มหาศาล หนทางเดียวที่จะหาทุนทรัพย์คือการจัดเก็บภาษี รัฐสภาจำกัดให้ทรงเก็บภาษีได้เพียงปีเดียว ถ้าจะเก็บในปีต่อไปพระเงค์ก็ต้องต่อรองขออนุมัติจากรัฐสภาเป็นปีๆ ไป ซึงทำให้พระองค์ทรงมีปัญหาทางการเงิน แต่ก็ไม่ทำให้พระองค์หยุดยั้งการเข้าเกี่ยวข้องในสงคราม โดยการส่งกองทัพเข้าช่วย อูเกอโนท์ ที่ถูกล้อมใน ลาดรแชลล์โดยมีดยุคแห่งบัคคิงแฮมที่ 1 เป็นแม่ทัพ แตก็ล้มเหลว
     ในการดำเนินการทางการศาสนาของพระองค์ทรงทำให้การสนับสนุนนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ให้ไกลจากลัทธิคาลวินิสม์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยอัครบาทหลวง วิลเลียม ล็อด ที่ปรึกษาทางการเมืองส่วนพระองค์ และทรงแต่งตั้งเป็น อาร์ชบิชอปแห่งแคนเตอร์บรี และบาทหลวง ล็อดพยายามทำให้สถาบันศาสนาเป็นอันหนึ่งอันเดียกันโดยการปลดนักบวชที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนโยบายและองค์การต่าง ๆ ของกลุ่มเพียวริตัน ซึ่งเป็นการต่อต้านการปฏิรูปศาสนาของประชาชนทั้งในอังกฤษและสกอตแลนด์ พระเจ้าชาร์ลทรงพยายามนำนโยบายทางศาสนาที่บังคับใช้ในอังกฤษไปในสกอตแลนด์  แต่ทางสกอตแลนด์ประท้วงอย่างรุนแรงจนเกิดจลาจล กระทั่งเป็นที่มาของ  “สงครามบาทหลวง” การสู้รบไม่ทราบว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายที่ชนะอย่างเป็นที่แน่นอน ในที่สุดพระองค์ก็ยอมรับข้อเสนอยิตุการศึกจากฝ่ายสกอตแลนด์ แต่ก็เพียงชั่วคราวเมื่อสงครามบาทหลวงครั้งที่สองเร้มขึ้น ครั้งนี้ฝ่ายสกอตแลนด์ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด พระเจ้าชาร์ลทรงยอมตกลงที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการศาสนาในสกอตแลนด์และยังต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครมให้แก่ฝ่ายสกอตแลนด์ด้วย
       สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1
พระเจ้าชาร์ลพยายามจะจับกุมสามชิกห้าคนในสภาสามัญฐแต่ไม่สำเร็จ จึงเสด็จหนีจากลอนดอนมีการตต่อลองกับรัฐสภายาวเพื่อหาทางประนีประนอมแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
    นักประวัติศาสตร์ประมาณว่าทั้งสองฝ่ายมีกองำลังรวมกันเพียง ไม่เกิน 15,000 คนแต่เมืองสงครมขยายตัว ความกระทบกระเทือนก็มีผลต่สังคมทุกระดับ ชุมชนบางชุมชนพยายามรักษาตัวเป็นกลาง และป้องกันชุมชนจกากองทหารของทั้งสองฝ่าย
     พระเจ้าชาร์ลเสด็จต่อไปยังน็อตติงแฮมและทรงยกธงประกาศสงครามกับฝ่ายรัฐสภา
ยุทธการเพาะวิคบริดจ์  เป็นยุทธการในสงครามกลางเมือง ที่เมืองวูสเตอร์ในมณฑลวูสเตอร์เชอร์ ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ และฝ่ายสัฐสภา ผลของสงครามครังนี้ ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ความเสียหายของฝ่ายนิยมกษัตริย์มีผู้เสียชีวิตที่เป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย ส่วนฝ่ายรัฐสภามีผู้เสียชีวิต 40 คนและบาเจ็บอีก 100 คน
สงครามอย่างเป็นทางการเริ่มสู้กันครั้งแรกในยุทธการเอ็ดจฮิลล์ การต่อสู้ในยุทธการครั้งนี้ทั่งสองฝ่ายต่างก็อ้างตนเป็นฝ่ายชนะ  การปะทะกันครั้งที่ 2 เกิดขึ้นที่ยุทธการเทอแนมกรีนพระเจ้าชาร์ลทรงถูกบังคับให้ให้ถอยไปยังเมืองอ็อกฟอร์ด ซึ่งกลายเป็นที่ตั้งมั่นของพระองค์จนสงครามยุติลง
ในช่วงครึ่งแรกของสงครามทางฝ่ายนิยมกษัตริย์เป็นฝ่ายได้เปรียบ จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1643 เมื่อกองทัพของเอิร์ลแห่งเอสเซ็กซ์ได้รับชัยชนะในยุทธการนิวบรีครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1643 เมื่อกองทัพของเอิร์ลแห่งเอสเซ็กซ์ได้รับชัยชนะในยุทธการนิวบรีครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1643 เมื่อกองทัพของเอิร์ลแห่งเอสเซ็กซ์ได้รับชัยชนะในยุทธการนิวบรีครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1643 ที่ทำให้สามารถกลับเช้ากรุงลอนดอนได้ นอกจากนั้นทางฝ่ายรัฐสภาก็ยังได้รับชัยชนะในยุทธการวินซบีย์ทำให้มีอำนาจในการควบคุมลิงคอล์น นการพยายามเพิ่มจะนวนทหารในการต่อสู้กับฝ่ายรัฐสภาพระเจ้าชาร์ลก็ทรงหันไปต่อรองตกายุติสงครามในไอร์แลนด์เพื่อจะได้นำกำลังทหารกลับมาต่อสู้ในอังกฤษ ขณะที่ทางฝ่ายรัฐสภาไปหาทางตกลงกับสกอตแลนด์ในการขอความช่วยเหลือ เมื่อได้รับความช่วยเหลือ ทางฝ่ายรัฐสภาก็ได้รับชัยชนะในยุทธการมารสตันมัวร์ ซึ่งทำให้มีอำนาจควบคุมในลริเวณยอร์คและทางเหนือของอังกฤษ การเป็นผู้นำในการสู้รบของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ในยุทธการต่าง ๆ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงควารมสามารถของการเป็นทั้งผู้นำทั้งในทางการทหารและทางการเมือง
     ทางฝ่ายสนับสนุนพระเจ้าชาร์ลมีความเชื่อว่าจุดประสงค์ในการต่อสู้เพื่อเป็นการอนุรักษ์สภาบันรัฐบาลในสถาบันศาสนาและราชอาณาจักรตามที่เคยเป็นมา ส่วนฝ่ายรัฐสภาก็เชื่อว่าการจับอาวุธขึ้นก็เพื่อเป็นการทำให้เกิดความสมดุลของรัฐบาลในสถาบันศาสนาและราชอาณาจักรที่เกิดจากการใช้อำนาจในทางที่ผิดของพระเจ้าชาร์ลและผู้เกี่ยวข้องในระหวางสิลเอ็ดปีของสมัยการปกครองส่วนพระองค์ทัศนคติของสมาชิกรับสภามีตั้งแต่ผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลอย่างเต็มที่ไปจนถึงมีความคิดเห็นรุนแรงที่ต้องการปฏิรูปเพื่อเสรีภาพทางศาสนา และผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการกระจายอำนาจทางการเมืองระดับชาติ
          สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2
การก่อความไม่สงบโดยฝ่ายกษัตริย์นิยมเริ่มเกิดขึ้นโดยทั่วไปอีกครั้งในอังกฤษและการรุกรานโดยสกอตแลนด์ก็เริ่มขึ้นในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1648 กองกำลังของฝ่ายรัฐสภา สามารถกำหราบความไม่สงบเล็กๆ น้อย ๆ ในอังกฤษได้เกือบทั้งหมดแต่ความไม่สงบในเค้นท์ เอสเซ็กซื คัมเบอร์แลนด์ การปฏิวัติในเวลส์ และการรุกรานของสกอตแลนด์เป็นการต่อสู้แบบประจันหน้าและเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อกว่า
    หลังสงครามกลางเมืองครั้งที่ 1 ฝ่ายกษัตริย์นิยมที่ร่วมในสงครามเกือบทั้งหมดได้รับการอภัยโทษโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามถืออาวุธในการต่อต้านฝ่ายรัฐสภาหลังจากนั้น ผู้มีศักดิ์ศรีฝ่ายกษัตริย์นิยมเช่นเจคอป แอสต์ลีย์ บารอนแอสลีย์แห่งเรดดิงที่ 1 ไม่ยอมเสียคำพูดโดยการไม่ร่วมในสงครามกลางเมืองครั้งที่ 2 ฉะนั้นฝ่ายรัฐสภาผู้ได้รับชัยชนะในสงครามครั้งที่ 2 จึงมิได้แสดงความปราณีต่อผู้ลุกขึ้นจับอาวุธเป็นครั้งที่สอง ค่ำวันที่โคลเชสเตอร์ยอมแพ้ฝ่ายรัฐสภาก็ประหารชีวิตเซอร์ชาร์ลส์ ลูคัสและเซอร์จอร์จ ลิสเซิล ผู้มีอำนาจฝ่ายรัฐสภาตัดสินลงโทษผฝุ้เนการต่อสู้ในเวลส์ที่รวมทั้งนายพล โรว์แลนดื ลาฟาร์น นายพันจอห์น พอยเยอร์ และนายพันไรซ์ เพาเวล โดยการประหารชีวิต แต่อันที่จริงแล้วก็สังหารพอยเยอร์เพีงคนเดียว โดยการเลือกจาบรรดาผู้น้ำที่เป็นขุนนางคนสำคัญ ๆ ซึ่งจับได้สามคนจากทั้งหมด ห้าคน และอาร์เธอร์ เคเพลล์ บารอนคาเพลล์แห่งฉฮดฉฮมที่ 1 ถูกประหารชีวิตโดยการตัดหัวที่เวสต์มินสเตอร์
      การทรยศของพระเจ้าชาร์ลส์ในการก่อสงครามกลางเมืองสองครั้งทำให้ฝ่ายรัฐสภาต้องโต้แย้งกันว่าเป็นการสมควรหรือไม่ที่จให้พระองค์ทรงปกครองประเทศต่อไป ผู้ที่ยังคงสนับสนุนพระองค์ก็ยังคงพยายามเจรจาต่อรองกับพระองค์
       เมื่อการพิจารณาคดีสิ้นสุดลงก็มีคณะกรรมการผู้พิพากษา 59 คนก็ตัดสินวาพระเจ้าชาร์ลส์ทรงมีความผิดในข้อหากบฎต่อแผ่นดินเพราะทงเป็นผู้ “กดขี่ ทรยศ ฆาตกรรม และเป็นศัตรูต่อประชาชน การปลงพระชนม์ด้วยการตัดพระเศียรเกิดขึ้นหน้าตึกเลี้ยงรับรองของพระราชวังไวท์ฮอล์   หลังการฟื้นฟูราชวงศ์ ในปี ค.ศ. 1660 พระเจ้าชาร์ลที่ 2 ก็ทรงประหารชีวิต คณะกรรมการผู้พิพาษาบางคนที่ยังมีชีวิตอยู่และทียังไม่มีโอกาศหลบหนีไปต่างประเทศ หรือไม่ก็จำคุกตลอดชีพ
     สงครามกลางเมืองครั้งที่ 3
            ไอร์แลนด์
ไอร์แลนด์มีสงครามติดต่อกันมาตั้งแต่การปฏิวัติไอร์แลนด์ โดยมีสหพันธ์ไอร์แลนด์ เป็นผู้มีอำนาจควบคุมไอร์แลนด์เกือบทั้งหมด แต่อำนาจของกองทัพฝ่ายรัฐสภาของอังกฤษก็เพิ่มมากขึ้นทุกวันหลังจากที่พระเจ้าชาร์ลทรงถูกจับได้ แล้วฝ่ายสหพันธ์ก็ลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรกับฝ่ายกษัตริย์นิยมอังกฤษ กองกำลังร่วมระหว่างฝ่ายกษัตริย์นิยมอังกฤษและฝ่ายสหพันธ์ไอร์แลนด์ภายใต้การนำของเจมส์การนำของเจมส์ บัตเลอร์ ดยุคแห่งออร์มอนด์ที่ 1 พยายามที่จะกำจัดกองทัพฝ่ายรัฐสภาพของอังกฤษที่ยึดดับลินอยู่ แต่ฝ่ายรัฐสภาก็ดึงการต่อสู้ไปที่ยุทธการรัธไมน์ส อดีตสมาชิกรัฐสภานายพลโรเบิร์ต เบลค หยุดยั้งกองทัพเรือของเจ้าชายรูเปิร์ตที่ดินสเซล แต่โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ขึ้นฝั่งได้ที่ดับลิน พร้อมกับกองทัพท่นำมาปราบฝ่ายพันธมิตรของกษัตริย์นิยมอังกฤษและสหพันธ์ไอร์แลนด์
      การกำหราบฝ่ายกษัตริย์นิยมในไอร์แลนด์ของครอมเวลล์ในไอร์แลนด์ มีผลกระทบต่อชาวไอร์แลนด์เป็นเป็นระยะเวลานาน หลังจากได้รับชัยชนะ การล้อมเมืองโดรเกดา แล้วทางฝ่ายรัฐสภารัฐสภาก็จัดการสังหารหมู่ของผุ้คนร่วมสามพันกว่าคน ในจำนวนนั้นสองพันเจ็ดร้อยคนเป็นทหารฝ่ายกษัตริย์นิยม แต่อีก 700 คนไม่ใช่ทหารแต่รวมทั้งประชาชน นักโทษและนักบวชโรมันคาทอลิก
        ความทารุณจากเหตุการ์ครั้งนี้กลายมาเป็นสาเหตุหนึ่งของความบาดหมางระหว่างชาวไอร์แลนด์ที่มีต่อชาวอังกฤษ และระฟว่างผุ้เป็นโรมันคาทอลิกต่อผู้เป็นโปรเตสแตนต์เป็นเวลาร่วมสามร้อยปีต่อมา การสังหารหมู่เป็นการกระทำที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของภาพพจน์ที่ชาวไอร์แลนด์มีต่อความทารุณของครอมเวลล์ แม้ว่าชาวไอร์แลนด์จะยังมาเสียชีวิตอีกเป็นจำนวนมากมายกว่าที่เกิดขึ้นที่โดรเกดา และเว็กซ์ฟอร์ดในสงครามกองโจร ทีเกิดขึ้นต่อมาหลังจากนั้น แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายรัฐสภาก็มิได้รับชัยชนะต่อไอร์แลนด์ กระทั่งอีกสี่ปีต่อมา เมื่อกองทัพฝ่าย สหพันธ์ไอร์แลนด์และฝ่ายกษัตริย์นิยมยอมแพ้
       นักประวัติศาสตร์ประมาณกันว่าในบั้นปลายของสงครามไอร์แลนด์สูญเสียประชากรไปราว สามสิบเปอร์เซ็น ซึ่งไม่ก็จากสงครามหรือจากการหนีไปต่างประเทศ ผู้ที่ได้รับชัยชนะก็ยึดที่ดินที่เป็นของโรมันคาทอลิกแต่เดิมเกือบทั้งหมดและแจกจ่ายให้แก่เจ้าหนี้รัฐสภา ทหารฝ่ายรัฐสภาที่ไปรบที่ไอร์แลนด์ และแก่ชาวอังกฤษที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในไอร์แลนด์ก่อนสงคราม
            สก็อตแลนด์
       การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เป็นการเปลี่ยนแนวทางของสงครามสามอาณาจักร ซึ่งเป็นสงครามของความขัแย้งระหว่าง่ายกษัตริย์นิยม และกลุ่มพันธสัญญา ความขัดแย้งก็ทำให้ฝ่ายกษัตริย์นิยมอยู่ในสภาวะที่ปั่นป่วนส่วนเจมส์ แกรม มาร์ควิสแห่งมอนท์โรสที่ 2 ผุ้นำก็หนีไปต่างประเทศเมื่องเริ่มแรกพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงหนุนให้มาร์ควิสแห่งมอนท์โรสรวบรวมกองทัพในสกอตแลนด์ในมาร่วมกับฝ่ายกษัตริย์นิยม แต่กลุ่มพันธสัญญา และความมีอิสระของสกอตแลนด์ภายใต้เครือจักภพแห่งอังกฤษ ก็ถวายราชบัลลังก์สกอตแลนด์ภายใต้เครือจักรภพแห่งอังกฤษ ก็ถวายราชบัลลังก์สกอตแลนด์ให้แก่พระเจ้าชาร์ลที่ 2 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงทิ้งมาร์คควิสไว้กับศัตรู แต่มาร์ควิสแห่งมอนท์โรสผู้ไปรวบรวมกองทหารมาจากนอร์เวย์มาขึ้นฝั่งได้และไม่สามารถยุติการต่อสู้ได้ ในที่สุดฝ่ายพันธสัญญาก็ได้รับชัยชนะต่อมอนท์โรสที่ยุทธการคาร์บิสเดล ในรอสไชร์มอนท์โรสถูกฝ่ายพันธสัญญาจับได้หลังจากนั้นไม่นานนักและถูกแขวนคอในวันต่อมา
     พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงขึ้นฝั่งสกอตแลนด์ที่การ์มัธในมลฑลมอเรย์เชอร์และทรงลงนามในพันธสัญญาแห่งชาติ และข้อตกลงระหวางฝ่ายรัฐสภากับกลุ่มพันธสัญญา ทั้นที่หลังจากที่ทรงขึ้นฝั่ง ด้วยความสนับสนุนของฝ่ายกษัตริย์นิยมของสกอตแลนด์เดิมและกองทัพของกลุ่มพันธสัญญาใหม่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ก็กลายเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณรัฐอังกฤษ ในการตอบโต้ต่อความมั่นคงของสาธารณรัฐ ครอมเวลล์ก็ทิ้งนายทหารบางคนไว้ที่ไอร์แลนด์เพื่อปราบปรมความไม่สงบที่นั่นต่อไปและตนเองเดินทางกลับอังกฤษ
   ในเดือนกรกฎา 1651 กองทัพของครอมเวลล์ข้ามปากน้ำเฟิร์ธออฟฟอร์ธไปยังเมืองไฟฟ์และได้รับชัยชนะต่อฝ่ายสกอตแลนด์ในยุทธการอินเวอต์คีทธิง กองทัพตัวอย่างเดินทัพล่วงหน้าไปยังเพิร์ธ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้พระเจ้าชาร์ลนำกองทัพสกอตแลนด์เดินทัพลงใต้ไปยังอังกฤษ ครองเวลล์จึงเดินทัพตามกองทัพสกอตแลนด์โดยท้ง จอร์จ มองค์ ดยุคแห่งอาลเบยัดสเตอร์ลิง เป็นการกำหราบการต่อต้านที่กระเส็นกระสายของฝ่ายต่อต้านเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น จากนั้นภายใต้ “ข้อเสนอสหภาพ” ก็เป็นตกลงกันว่าสกอตแลนด์มีสิทธิที่จะมี่นั่งรัฐสภาในลอนดอนร่วม 30 ที่นั่งโดยมีนายพลองค์เป็นข้าหลวงแห่งสกอตแลนด์

           อังกฤษ
     แม้ว่ากองทัพตัวอย่างของครอมเวลล์จะได้รับชัยชนะต่อกองทัพสกอตแลนด์ที่ดันบาร์แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งพรเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ในการเดินทัพทางไปทางตะวันตกไปในบริเวณที่ผู้สนับสนุนฝ่ายกษัตริย์นิยมหนาแน่นแต่แม้วาจะมีผู้มาสมทบแต่ก็เป็นจำนวนน้อยกว่าที่พระเจ้าชาร์ลส์และกองทัพสกอตแลนด์ของพระองค์คาดหวังไว้ ในที่สุดกองทัพฝ่ายกษัตริย์และฝ่ายรัฐสภาก็เข้าประจันหน้ากันโดยครอมเวลฃ์เป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะที่วูสเตอร์พระเจ้าชาร์ลจึงจำต้องเสด็จหนีและในที่สุดก็ข้ามไปฝรั่งเศสซึ่งเป็ฯการทำให้สงครามกลางเมืองอังกฤษยุติลง
 
      สงครามทำให้อังกฤษ สอกตแลนด์และไอร์แลนด์กลายเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในยุโรปในขณะนั้นที่ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข หลังจากการปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลที่ 1 รัฐบาลสาธารณรัฐของเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ปกครองอังกฤษ รัฐสภามีการแบ่งตัวเป็นฝักฝ่ายและมีความขัดแย้งภายใน ในที่สุด โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ขึ้นปกครองรัฐผู้พิทักษ์(ซึ่งเท่ากับเป็นระบอบเผด็จการ) บ้านเมืองกำลังจะกลายเป็นอนาธิปไตย  นายพลจอร์จ มองค์ ผุ้เป็นข้อหลวงของสกอตแลนด์ภายใต้ครอมเวลล์พร้อมด้วยกองทัพสกอตแลนด์ก็ยกทัพมาจากสกอตแลนด์เพื่อปูทางในการฟื้นฟูราชวงศ์
     4 เมษา 1660 ตามพระราชประกาศเบรดาพรเจ้าชาร์ลที่ 2 ทรงวางเงื่อนไขต่าง ๆ ในการยอมรบกลัลมาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอังกฤษ จึงเกิดเหตุการณ์อันเป็นที่รู้จักกันดีว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ”
     สงครามกลางเมืองมีผลในการวางพื้นฐานในระบบการปกครองอังกฤษและสกอตแลนด์เป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นรากฐานของการก่อตั้งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
        หลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์ฝักฝ่ายของรัฐสภาก็กลายเป็นพรรคการเมือง ที่ต่อมากลายเป็นพรรคทอรี และพรรควิก ที่มีปรัชญาการปกครองที่แตกต่างกันในการมีอิทธิพลต่อการตัดสินพระทัยของพระมหากษัตริย์

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Sir Isaac Newton

     เซอร์ไอแซค นิวตัน นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษ1329910201
   physicist3   Philosophiae Naturalis Primcipia Mathematica หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า Principia เป็นหนึ่งในหนังสือที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัตศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานของวิชากลศาสตร์ดั้งเดิม ในงานเขียนชิ้นนี้ นิวตันพรรณนาถึง กฎแรงโน้มถ่วงสากล และกฎการเคลื่อนที่องนิวตัน ซึ่ง เป็นกฎทางวิทยาศาสตร์อันเป็นเสาหลักของการศึกษาจักรวาลทางกายภาพตลอดช่วง 3 ศตวรรษถัดมา นิวตันแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนที่ของวัตถุต่าง ๆ บนโลกและวัตถุท้องฟ้าล้วนอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติชนิดเดียวกัน โดยแสดงให้เห็นความสอดคล้องระหว่างกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์กับทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของตน ซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล และช่วยให้การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
      นิวตันสร้างกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงที่สามารถใช้งานจริงเป็นเครื่องแรก และพัฒนาทฤษฎีสีโดยอ้างอิงจากผลสังเกดตการณ์ว่า ปริซึมสามเหลี่ยมสามารถแยกแสงสีขาวออกเนหลายๆ สีได้ ซึ่งเป็นที่มาของสเปกตัมแสงที่มองเห็น เขายังคิดค้น กฎการเย็นตัวของนิวตัน และศึกษาความเร็วของเสียง
170496      ในทางคณิตศาสตร์ นิวตันกับก็
อตฟรีด ไลย์นิซ ร่วมกันพัฒนาทฤษฎีแคลคูลัสเชิงปริพันธ์และอนุพันธ์ เขายังสาธิตทฤษฎีบททวินามและพัฒนากระบวนวิธีของนิวตันขึ้นเพื่อการประมาณค่ารากของฟังก์ชัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการศึกษาอนุกรมกำลัง
      นิวตันไม่เชือ่เรื่องศาสนา เขาเป็นคริสเตียนนอกนิกายออร์โธดอกซ์ และยังเขียนงานตีความคัมภีร์ไบเบิลกับงานศึกษาด้านไสยศาสตร์มากว่างานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อีก เขาต่อต้านแนวคิดตรีเอกภาพอย่างลับ ๆ และเกรงกลัวในการถูกกล่าวหาเนืองจากปฏิเสธการถือบวชTele-reflector
      ไอแซก นิวตัน ได้รับยกย่องจากปราชญ์และสมาชิกสมาคมต่าง ๆ ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธฺพลที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

    ไอแซก นิวตัน เกิดที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ในลินคอล์นเชียร์ อังกฤษ บิดาของเขาเป็นชาวนาผู้มั่งคั่ง เสียชีวิตก่อนเขาเกิด 3 เดือน มารดาของเขาแต่งงานใหม่และเขาไม่ชอบพ่อเลี้ยง นิวตันเคยหมั้นครั้งหนึ่งในช่วงปลายวัยรุ่น แต่เขาไม่เคยแต่งงาน
    นิวตันเข้าเรียนที่ วิทยาลัยทรินิตี้ เคมบริดจ์ ในฐานะซีซาร์ (คือทุนชนิดหนึงซึ่งนักศึกษาต้องทำงานเพ่อแลกกับที่พักอาษรและ ค่าธรรมเนียม) การเรียนการสอนสมัยนั้นอยู่บนพื้นฐานความคิดของอริสโตเติล แต่เขาชอบแนวคิดของนักปรัชญายุใหม่คนอื่น ๆ เขาค้นพบ ทฤษฎีบทวินาม และเริ่มพัฒนาทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ซึ่งต่อมากลายเป็นแคลคูลัสกนิกนันต์ และจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1665 หลังจากนั้นไม่นานมหาวิทยาลัยต้องปิดลงชั่วคราวเนื่องจากโรคระบาดครั้งใหญ่
     การหล่นของผลแอปเปิล ทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่าแรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่นน่าจะเป็นแรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่นและทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ผลการคำนวณเป็นสิ่งยืนบันความคิดนี้แต่ยังไม่แน่ชัดกระทั้งการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างนิวตันและโรเบิร์ต ฮุก ที่ทำให้นิวตันมีความมั่นใจและยืนยันหลักการกลศาสตร์ เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ได้เต็มที่ 
     ในปีเดียวกัน เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ได้มาเยียมนิวตันเพื่อถกเถียงเกี่ยวกับคำถามเรื่องดาวเคราะห์ ฮัลเลย์ต้องประหลาดใจที่นิวตันกล่าวว่าแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ที่ทำให้การโคจรที่ทำให้วงโคจรเป็นรูปวงรีได้นั้นเป็นไปตากฎกำลังสองที่นิวตันได้พิสูจน์ไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งนิวตันได้ส่งเอกสารในเรื่อนี้ไปให้ฮัลเลย์ดุในภายหลังและฮัลเลย์ก็ได้ชักชวนขอให้นิวตันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และหลังการเป็นศัตรูคู่ปรกปักษ์ระหว่างนิวตันและฮุกมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ค้นพบ “กฎกำลังสอง” แห่งการดึงดูด หนังสือเรื่อง “หลักการคณิตศาสตร์ว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ” ก็ได้รับการตีพิมพ์ เนื้อหาในเล่นอธิบายเรื่องความโน้มถ่วงสากลและเป็นการวางรากฐานของกลศาสตร์ดั้งเดิม (กลศาสตร์คลาสสิค) ผ่านกฎการเคลื่อนที่ ซึ่งนิวตัน ตังขึ้น นอกจากนี้ นิวตันยังมีชื่อเสียงร่วมกับ กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลนิซ ในฐานะที่ต่างเป็นผู้พัฒนาแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์อีกด้วย
     งานชิ้นสำคัญซึ่งรอการตีพิมพ์อยุ่หลายปีทำให้นิวตันได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกสกายภาพที่ยิ่งใหญ๋ที่สุดผลกระทบสูงมาก นิวตันได้เปลี่ยนโฉมวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่มีมาแต่เกิดโดยสิ้นเชิง นิวตันได้ทำให้งานที่เริ่มมตั้งแต่สมัยกลางและได้รับการเสริมต่อโดยความพยายามของกาลิเลโอเป็นผลสำเร็จลง และ “กฎการเคลื่อนที่” นี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของงานสำคัญทั้งหมดในสมัยต่อ ๆ มา
นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลโรงผลิตกษาปณ์เนื่องจากรัฐบาลต้องการบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตและมีความเฉลียวฉลาดเพื่อต่อสู้กับการปลอมแปลงที่ดาษดื่นมากในขณะนั้น และได้รับการแต่งตั้งเป็ฯผู้อำนวนการในปี ค.ศ. 1699 หลังจากได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม ในปี ค.ศ. 1704 นิวตันตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “ทัศนศาสตร์” Optics ฉบับภาษาองกฤษ ซึ่งนิวตันรอกระทั้งฮุก คูปรับเก่าถึงแก่กรรมแล้ว
          นิวตันไม่เคยแต่งงาน และไม่มีหลักฐานใดบ่งว่าเขามีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับผุ้ใด แม้จะไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ก็เชื่อกันโดยทั่งไปว่าเขาถึงแก่กรรมโดยที่ยังบริสุทธิ์
          นิวตันมักมีอาการปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็ฯเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงออกมาให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี ค.ศ. 1693 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี ค.ศ. 1705 นิวตันไช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตัสไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็ฯอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่งหลัง ๆ และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1703 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งนายกราชสมาคมแห่งลอดดอน โดยได้รับสมญาว่า “นายกสภาผุ้กดขี่” เมื่อนิวตันเสียชีวิตลง พิธีศพของเขาจัดยอ่างยิ่งใหญ่เที่ยบเท่ากษัติรย์ ศพของเขาฝั่งอยู่ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระบรมวงศานุ
วงศ์ชั้นสูงของอังกฤษ
      




                               “ ฉันไม่รู้หรอกว่าโลกเห็นแนเป็นอย่างไร แต่กับตัวเองแล้ว ฉันเหมือนจะเป็นเด็กที่เล่นอยู่ริมชายฝั่ง
                                  เพลิดเพลินกับการเสาะหาก้อนกรวดเรียบ ๆ หรือเปลือกหอยที่สวยเป็นพิเศษ
                                  ขณะที่มหาสมุทรแห่งความจริงอันยิ่งใหญ่ทอดตัวอยู่เบื้องหน้าโดยยังไม่ถูกค้นพบ”

                                                                                                                                บันทึกในช่วงหลัง ของนิวตัน

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Galileo Galilei

galileo-lodestone-150-768x835

  กาลิเลโอ กาลิเลอิ  เกิดที่เมืองปิซาในอิตาลีเมื่อปี ค.ศ. 1564 กาลิเลโอได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานของวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ผู้ผลิตผลงานด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และ ปรัชญาวิทยาศาสตร์มากมาย โดยเฉพาะในวิชาดาราศาสตร์นั้น กาลิเลโอได้รลบล้างความเชื่อเรื่องเอกภพของอริสโตเติลที่ผู้คนเชื่อตามกันมานานเกือบ 2,000 ปี ด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้สำรวจท้องฟ้า ดวงดาว และได้เห็นปรากฎการณ์อัศจรรย์ที่สำคัญมากมาย ซึ่งเป็นการปูทางให้นักคิด นักวิทยาศาสตร์ในรุ่นต่อๆ มาอาทิ  เซอร์ไอแซค นิวตัน เรนท์ เดสคาร์เทส และ จอห์นเนส เคปเลอร์ ในเวลาต่อมา
       บิดากาลิเลโอ ชื่อ วินเซนโซ่ กาลิเลอิ มีอาชีพเป็นนักดนตรีผู้เชี่ยวชาญทั้งทฤษฎีและการเล่นพิณน้ำเต้า มารดาชื่อเดิมว่า กิอูล่า แอมแมนนาตี้ มาจากครอบครัวฐานะปานกลางแห่งเมืองผลอเรนซ์ กาลิเลโอเป็นบุตรคนโตในบรรดาพี่น้อง 7 คน


     กาลิเลโอวัยเด็ก
      กาลิเลโอเริ่มเรียนหนังสือเมืออายุ 8 ขวบบิดาอพยพครอบครัวไปยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ และฝากกาลิเลโอไว้กับเพื่อชื่ จาโคโป โบร์จฮินี่ เพื่อจะได้เรียนหนังสือที่โบส์ถ ครอบครัวของกาลิเลโอมีฐานะไม่สู้ดี บิดามีหนี้สินมาก จึงมีความปรารถนาที่จะให้ลูกชายคนโตเรียนแพทย์เพื่อจะหด้นที่พึ่งของครอบครัว ด้วยเหตุนี้กาลิเลโอในวัย 17 ปีจึงเข้าเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยปิซา เขาพบว่าวิชาแพทย์เป็นวิชาที่ต้องใช่วิธีท่องจำเป็นอย่างมาก ในขณะที่วิชาวิทยาศาสตร์ของอริสโตเติลนั้นจะต้องเชื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่อริสโตเติลเขียนและ กาลิเลโอตระหนักว่าคำสอนบางอย่างมิได้มีหลักฐานใดสนับสนุน  เขาจึงตั้งประเด็นสงสัยในความรู้ที่ครูนำมาสอนบ่อยจนได้รับฉายาว่า  Wrangler (นิสิตผู้ชอบถกเถียงเชิงวิชาการ) กาลิเลโอรู้สึกสนุกสนานกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของยุคลิค เพราะเห็นว่าเป้นวิชาที่มีหลักการและใช้เหตุผลในกาอธิบายและพิสูจน์ ไม่ต้องอาศัยความจำ
    galileo04  เมื่ออายุ 18 เขาคับพบกฎการแกว่างของลูกตุ้ม pendulum กาลิเลโอพบกฎนี้จากการสังเกณฑ์ พนักงานในโบสถ์ต้องการจุดตะเกียงที่แขวนห้อยด้วยโซ่ ยาวจากด้านสูงของมหารวิหารปิซาเขาจะใช้ตะขอ คล้องตะเกียงเขาหาตัวและจึงจุดๆฟแล้ะวปล่อยให้ตะเกียงแกว่งไปมา และกาลิเลโอด็ได้พบความจริงว่า ไม่ว่าตะเกียงดวงนั้นจะถูกดึงไปจากตำแหน่งต่ำสุด ในระยะทางใกล้หรือไกลเพียงใดเวลาที่ตะเกียงใช้ในการแกว่งจนครบ 1 รอบจะเท่ากันเสมอ แม้ในสมัยนั้นจะไม่มีเวลานาฬิกาจับเวลา กาลิเลโอใช้วชีพจรของคนปรกติซึ่งเต้นเป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอต่างนาฬิกา  และยังพบต่อไปอีกว่า เวลาช้าเร็วต่างกันขึ้นอยู่กับความยาวของโซ่ ในกรณ๊ที่ตุมน้ำหนักต่างกัน ถ้าโซ่ที่ใช้แขวนมีความยาวเท่านกัน ในการแกว่งครบรอบก็ไม่ต่างกัน นั้นหมายความว่าในการแกว่งครบรอบของต้ำมน้ำหนักไม่ขึ้นกับน้ำหนักของลูตุ้ม ซึ่งเขารู้สึกแปลกใจในเรื่องนี้ เพราะตามที่อริสโตเติลสอนวัตถุหนักจะตกถึงพื้นเร็วกว่าวัตถุที่เบา ถ้าคำสอนของอริสโตเติลถูกต้อง ตุ้มที่มีน้ำหนักมากก็ควรแกว่งเร็วกว่าตุ้มที่มีน้ำหนักน้อย กาลิเลโอจึงไม่แน่ใจว่าความรู้ต่าง ๆ ที่อริสโตเติลเขียนไว้ในหนังสือ Physica ว่าถูกต้องทั้งหมด
     กาลิเลโอ นำความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์โดยการประดิษฐ์ อุปกรณ์วัดชีพจร โดยเรียกว่า Pulsilogia และตัดสินใจเลิกเรียนแพทย์หัสปเรียนวิทยาศาสตร์แทน เขาจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ และรูปแบบจำลองของภพจากปราชญ์ต่าง ๆ อาทิ ปฏตเรมี กล่าวว่า โลกเป็นศูนย์กลาง มีดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ต่าง ๆ โคจรไปรอบโลกโดยมีโคจรเป็นวงกลม
    แบบจำลอง ของอริสโตเติล กล่าวว่าองค์ประกอบของดาวต่าง ๆ ที่ว่าสรรพสิ่งประกองด้วย อิน น้ำ ลมและไฟที่ไม่สมบูรณ์และไม่ถาวร ขณะที่ดาวและบนฟ้าที่พรเจ้าสร้างมีความสมบูรณ์จนหาที่ติมิได้
     นิโคลัส นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวโปแลนด์ สร้างแบบจำลองของภพซึ่งแตกต่างจากภพของปโกเรมี คือมีดวงอาทิตย์อยู่ที่ศูนย์กลาง โลกและดาวเคาะห์ดวงอื่นๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์โดยวิถีวงโคจรเป็นวงกลม และโลกหมุนรอบตัวได้ด้วย  ซึ่งถูกโจมตีว่าเป็นแนวคิดที่เหลวไหล หากโลกหมุนรอบตัวเองทำไม่ไม่มีใครรู้สึกว่าโลกหมุนรอบตัวเอง และเป็นแนวคิดที่ขัดต่อคำจารึกในคัมภีร์ไบเบิล ความคิด นิโคลัศจึงเป็นความคิดที่นอกรีตจนสถาบันศาสนาแห่งโรมต้องสั่งห้ามเผยแพร่อย่างเด็ดขาด
     เมื่ออายุ 22 ปี กาลิเลโอประสบปัญหาด้านการเงิน จึงได้ลาออกจกมหาวิทยาลัยทั้งที่ยังเรียนไม่สำเร็จ และหาเงิน ด้วยความสาม รถทางการออกแบบอุปกรณ์จึงได้ประดิษฐ์ตาชั่งเพื่อใช้หาความหนาแน่นสัมพัทธ์ระหว่งวัตถุต่างชนิด และพบวิธีหาจุดศูนย์ถ่วงของกรวยที่มีผิวโค้งแบบพาราโบลา

     กาลิเลโอในฐานะอาจารย์ 474px-Galileo_Galilei_2
      กาลิเลโอได้พบกับ คริสโตเฟอร์ คลาเวียส นักดาราศาสตร์ผู้สร้างปฏิทินถวายสันตะปาปา เกรกอรี่ ที่ 13  เขารู้สึกประทับใจในความสามารถของกาลิเลโอมาก ดังนั้นเมือตำแหน่งศาสตราจารย์คณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปิซาว่างลง คลาเวียสจึงได้ขียนคำรับรองให้กาลิเลโอไปสมัครงานทันที กาลิเลโอรู้สึกไม่สบายใจที่ต้องกลับมาทำงานที่มหาวิทยาลัยที่ตนเคยเรียนเพราะเขาถูกอาจาร์กล่าวหาเป็นพวกชอบเถียงครู  แต่เขาก็เข้าสอนเป็นเวลา 3 ปี
    การทำงานของเขาไม่เป็นที่น่ารื่นรมณ์นัก ทั้งเขาคงเห็นว่าการเรียนการสอนไม่เหมาะสมคือเป็นการสอนแบบถ่องจำ กาลิเลโอ ใช้วิธีสอนโดยให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นและให้เหตุผล เช่น ขาถามว่าระหว่างเพลโตกับอริสโตเติลใครเก่งกว่ากัน หรือโง่ทั้งสองคน  และให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น
   20090826galileo-galilei-telescopioเมื่อครั้งเป็นอาจารย์ กาลิเลโอ ทำการตรวจสอบความรู้ “ความเชื่อ”ที่ถ่องจำกันมาเป็นเวลาแสนนานกว่า 2,000 ปี โดยการเชิญขุนนาง นักบวช และประชาชนมาเป็นพยาน โดยการขึ้นไปที่ยอดหอเอนปิซา เพื่อปล่อยวัตถุที่มีน้ำหนักต่างกันลงมาพร้อมกัน แล้วก็พบว่าวัตถุทั้งสองตกถึงพื้นพร้อมกันทุกครั้งไป กาลิเลโอแถลงว่า เมื่อระยะทางเท่ากัน เวลาที่วัตถุใช้ในการตกไม่ขึ้นกับน้ำหนักของวัตถุ ดังนั้น การทดลองนี้จึงมีผลที่ขัดแย้งกับคำสอนของอริสโตเติล
      แม้ผู้ที่ถูกเชิญมาจะเห็นด้วยตาตนเองแต่หลายคนก็ยังปฏิเสธสิ่งทีตาเห็น โดยอ้างว่ากาลิเลโอเล่นมายากลให้ดู จากการทดลอ
ดังกล่าวกาลิเลโอมีศัตรูเพิ่มขึ้นมากมาย คนที่ยังเชื่อและศรัทธาอริสโตเติลนั้นต่างก็เห็นว่ากาลิเลโอตั้งใจลบหลู่และจาบจ้วงอริสโตเติล โดยพยายามล้มล้างคำสอนของปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ เขาถูกต่อต้านจากเหล่าคณาจราย์ กระทั่งลาออกจากตำแหน่างอาจารย์ในที่ถสุด
      กาลิเลโอ ได้งานใหม่เป็นอาจารญืสอนที่มหาวิทยาลัยปาดัว แค้วนเวนิซ ที่เดียวกับที่ โคเปอร์นิคัส เคยสอน และกวีดังเตเคยเรียน เขาได้รับเงินมากกว่าที่เดิมถึง 3 เท่า และจะต้องสอนวิชา เราขาคณิต กลศาสตร์ และดาราศาสตร์ ถึงอย่างไรกาลิเลโอก็ทำการสอนพิเศษเพื่อให้เพียงพอแก่สมาชิกทุกคนในครอบ บิดาของกาลิเลโอถึงแก่กรรมเมื่อครั้งกาลิเลโอ ลาออกจามหาปิซาไม่นานเขาจึงเป็ผู้ดูแลครอบครัวต่อจากบิดา เขาอยู่กินอย่างไม่เป็นทางการกัย มารีนา แกมบ้า ครอบครัวเจ้าสาวไม่มีเงินมากพอให้กาลิเลโอ ลูกสาวนอกสมรสทั้งสองของกาลิเลโอ ไม่สามารถแต่งงานได้ กาลิเลโอจึงจัดให้บวชชีตั้งแต่อายุ 13 ปี คนหนึ่งเสียชีวิตเนื่องจาสถขภาพไม่แข็งแรงหลังจากบวชชีได้ไม่นาน433px-Galileo_moon_phases
    ขณะใช้ชีวิตเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลับปาดัว กาลิเลโอรับงานออกแบบอุปกรณ์เพื่อนำออกขายหลายอย่าง เช่นเข็มทิศสำหรับทหารปืนใหญ่ และอื่นๆ เวลาว่างก็วิเคราะห์ตำราวิทยาศาสตร์ของอาร์คิมีดีส และอริสโตเติล และเรียบเรียงเป็นตำราชือ De motu
     ในปี ค.ศ. 1608 กาลิเลโอเริ่มสนใจดาราศาสตร์เมือได้อ่านหนังสือ De Revolutionibus Orbium Coelestium ของโคเปอร์นิคัส ซึ่งถูกห้ามเผยแพร่ ห้ามอ่าน ห้ามเล่า ห้ามใช้สอน และห้ามใช้เรียนอย่างเด็ดขาด เพราะสถาบันศาสนาแห่งวาติกันมีความเห็ฯวาเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ขัดแย้งและโจมตีคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลอันศักดิ์สิทธิ์ สำนักวาติกันประกาศ คนที่คิดและเชื่อตามโคเปอร์นิคัสเป็นนอกรีต สมควรถูกลงโทษ เช่นกรณี จีออร์ดาโน บรูโนGalileo Galilei นักบวชผู้นำความคิดของโคเปอร์นิคันออาเผยแพร่โดยได้เทศนาชัดนำให้ประชาชนเชื่อว่า ถ้าโลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ ดังนั้ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในเอกภพก็น่าจะมีมนุษย์อาศัยอยู่เช่นกัน และถ้ามนุษย์ต่างดาวมีจริง มนุษย์โลกก็มิไดยิ่งใหญ่หรือสำคัญแต่เพียงผู้เดียว การชี้นำเช่นนี้เป็นการลบหลู่คำสอนในไบเบิล ศาลศาสนาจึงพิพากษาให้เผาบรูโนทั้งเป็นที่จตุรัส  Campo de’Fiori ในกรุงโรม
    กาลิเลโอนำกล้องส่องทางใกล้มีใช้อยุ่ในยุคสมัยนั้นมาดัดแปลงและส่องไปสำรวจดวงจันทร์ กาลิเลโอเห็นภาพผิวที่เป็นรอยกระดำกระด่างของดวงจันทร์ที่คนสมัยนั้นเชื่อว่าเป็นเมฆบดบัง แต่กาลิเลโอได้พบว่าแท้จริงแล้วคือภูเขาและหลุมมากมาย ซึ่งต่างจากที่กล่าวไว้ในไบเบิล! 
   หลังจากนั้นกาลิเลโอก็สำรวจเห็นดาวบริวาณของดาวพฤหัสทั้ง 4 ดวงซึ่งไม่มีกล่าวไว้ในตำราดาราศาสตร์ของอริสโตเติล และดาวบริวารหรือดวงจันทร์ของดางพฤหัสนั้นก็โคจรรอบดาวพฤหัส หาได้โคจรรอบโลกดังคำสอนของปโตเลมีไม่
     ในครั้งแรกไม่มีใครเชื่อในสิ่งที่ กาลิเลโอ พบเห็นกระทั่งได้รับการยืนยันจาก คริสโ ตเฟอร์  คลาเวียส ว่าดวงจันทร์ที่เห็นคือเรื่องจริง กาลิเลโอจึงได้รับการต้อนรับเยี่ยงวีรบุรุษ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้กาลิเลโอ มีชื่อเสียง กาลิเลโอรู้สึกอยางกลับไปทำงานที่มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ เพราะมีบรรยากาศทางวิชาการดีกว่า และจะได้อยู่ใกล้ลูกด้วย ดังนั้น จึงลาออกจากตำแหน่งศาสตราจารย์คณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ตามคำสั่งของท่านดยุคแห่งทัสคานี ซึ่งได้มอบบ้านพักที่  Le Selve แก่กาลิเลโอ เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการถกเถียงวิชาการ

      กาลิเลโอและคริสต์จักร
      กาลิเลโอยังทำการสังเกตทางดาราศาสตร์ต่อไป โดยสำรวจทางช้างเผือก และพบดาวศุกร์แสดงข้างขึ้นและข้างแรมอันเป็นหลักฐานสำคัญว่า ดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์มิใช่โคจรรอบโลก กาลิGalileo-3 (1) เลโอจึงเชื่ออย่างมั่นใจว่า เอกภพของโคเปอร์นิคัศถูกต้อง ส่วนเอกภพของปโตเรมีนั้นผิด และถ้าโลกเคลื่อนที่ได้จริง กาลิเลโอจะต้องหาหลักฐานมายืนยัน และเขาคิดว่า เหตุการณ์น้ำขึ้นน้ำลงและคลื่นในทะเลคือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงว่าโลกหมุน เมื่อได้หลักฐานและคำอธิบายค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว กาลิเลโอวัย 52 ปี จึงตัดสินใจเดินทางไปโรมในฐานะทูตวิทยาศาสตร์ของท่านดยุคแห่งแคว้นทัสคานี เพื่อเข้าเฝ้าสันตะปาปา พอลที่ 5 แต่ทุกสิ่งไม่เป็นไปดังหวัง กาลิเลโอจึงเดินทางกลับฟลอเรนซ์และทำงานต่ออย่างระมัดระวังเนื่องจากมีศัตรูผุ้มีอิทธิพลอยู่มากมาย
      ความกังวลมีมากขึ้น เพราะกลัวภัยศาสนา กาลิเลโอจึงได้เขียนจดหมายถึง มารดาของท่านดยุคผู้อุปถัมภ์กาลิเลโอ โดยได้อธิบายให้นางเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสนา ประกอบกับช่วงเวลานั้นด้วยวัย 52 ปี กาลิเลโอล้มป่วยด้วยโรคไขข้ออักเสบ เมื่อเดินทางกลับจากโรมจึงฉวยโอกาสไปพักฝ่านที่วิลล่า ของ ฟิลิโป ซาลเวียติ เพื่อสนิทที่มีฐานะดีเป็นการชั่วคราว ก่อนจะย้ายไปที่วิลล่า เบลโลสควอโด้ ความกังวลทำให้ผลงานของเขาลดลง แต่เขาก็ยังคงหาวิธีปรับปรุงประสิทธิภาพของกล้องดทรทรรศน์และศึกษาอุปราคา ของดวงจันทร์ของดาวพฤหัส26010315
   กาลิเลโอเขียนหนังสือ เรื่อง Il Saggiatore(The Assayer)ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีหาความรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการสังเกต การตั้งสมมุติฐาน การทดลองเชิงปริมาณ เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวดับธรรมชาติ และอุทิศหนังสือเล่มนี้แก่สันตะปาปา Urban VIII และเมื่อสันตะปาปา Unban VIII ทรงดำรงตำแหน่งไม่ถึงปี พระองค์มีบัญชาให้กาลิเลโอเข้าเผ้าที่โรม และได้ตรัสชื่นชมผลงาน  The Assasyer
     กาลิเลโอจึงทูลว่าจะเขียนหนังสือเรืองการเปรียบเทียบเอกภพของปโตเลมีกับโคเปอร์ นิคัส และสันตะปาปาก็ได้เสนอแนะให้กาลิเลโอเขียนอย่างเป็นกลาง คือไม่ตำหนิไบเบิล เพื่อจะได้ช่วยปกป้องไม่ให้ถูกประณาม และต้องไม่สนับสนุนโคเปอร์นิคัสอย่างออกหน้าออกตา เพราะกลิเลโอไม่มีหลักฐานสนับสนุนอย่างสมบูรณ์
     Dialogo sopra i due massimi sistemi del mondo(Dialogue Concerning the Two Chief Worlf Systems) ก็ปรากฎ ข้อเขียนนี้มีตัวละคร สามคน คนแรกคือ “คนโง่”ผุ้ศรัทธาในคำสอนของอริสโตเติล คนที่ 2 คือ ผู้ที่เชื่อในโคเปอร์นิคัส และคนที่ 3 คือ ผู้ตั้งคำถามต่างและมีใจเปิดกว้าง
    ผลสรุปของหนังสือเล่มนี้ กาลิเลโอ ถูกศาลศาสนากังขังบริเวณ


    กาลิเลโอถูกกักบริเวณ250px-Galileo.arp.300pix
      การถูกกักบริเวฯหมายึวามว่า เวลากาลิเลโอจะไปที่ใดต้องขออนุญาตสันตะปาปาก่อน ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้รับอนุญาต แต่ถึงสถานการณ์จะลำบากยากเย็นปานใด กาลิเลโอก็ยังคงทำงานวิทยาศาสตร์ต่อไปอย่างเงียบๆ
  เขาเรียบเรียงหนังสือชื่อ Discourse on new sciences เป็นการรวบรวมปรัชญาของวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะกลศาสตร์ที่เขาได้เคยทดลองเมือ 40 ปีก่อน
  galileo_harrsch_preview ต่อมาอีก 1 ปีเขียนเรื่อง การเคลื่อนที่ที่ไม่ปรกติของดวงจันทร์ และเป็นผลงานดารศาสตร์ชิ้นสุดท้ายของกาลิเลโอ ในขณะนั้นตาทั้งสองข้างของเขาเร้มเป็นต้อหิน
  เมื่อตาใกล้บอดสนิท กวีชาวอังกฤษผู้เห็นอกเห็นใจต่อกาลิเลโอเดินทางมาเยี่ยมและกล่าววา “อิสรภาพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแสวงหาความรู้ และการบีบบังคับคือการทำลายความรู้”
   ปี 1638 กาลิเลโอทดลองวัดความเร็วแสงโดยให้คนทั้งสองยืนถือตะเกียงในระยะห่างกัน กาลิเลโอตระหนักว่าถ้าให้ครแรกเปิดตะเกียง แล้วให้อีกคนจับเวลาทันที่ที่เห็นแสงจากตะเกียงดวงแรก การรู้ระยะทางและเวลาจะทำให้รู้ความเร็วแสง และกาลิเลโอก็พบว่าเขาวัดเวลาในการเห็นตะเกียงไม่ได้
  ในส่วนของคณิตศาสตร์ กาลิเลโอเชื่อมั่นว่า “เอกภพถูกเขียนด้วยภาษคณิตศาสตร์”
หลังจากที่บุตรสาวของกาลิเลโอเสียชีวิตได้ไม่นาน สุขภาพของกาลิเลโอเริ่มทรุดลงอยางรวดเร็ว ในที่สุดตาทั้งสองข้างก็บอดสนิท และเสียชีวิตในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 ขณะที่อายุ 78 ปี
      ดยุคแห่งทัสคานี ต้องการฝังศพของกาลิเลโอในโบสถ์ที่ แซนต้า ครอซ และตั้งใจจะให้มีรูปปั้นหินอ่อนบนโลงศพเพื่อเป็นเกียรติแก่กาลิเลโอ แต่ก็ต้องเปลี่ยนความตั้งใจเพราะสันตะปาปา Urban V III ทรงประท้วง ในที่สุดศพของกาลิเลโอก็ถูกฝั่งทใกล้ๆ กับศพของลูกสาว ที่ ซานต้า ครอซ โดยไม่มีพิธีสวด กระทั่งปี 1737 จึงมีอนุสาวรีย์ประดับหลุทศพ

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Michel de Nostredame(นอสตาร์ดามุส)



    หรือ มิเชล เดอ นอสตราดาม หรือ นอสตราดามุส เป็นแพทย์และโหราจารย์ชื่อดังชาวฝรั่งเศส เชื้อสายยิว เกิดที่เมืองแซงต์ เรมี (ค.ศ. 1503-1566)  ในครอบครัวนายทะเบียนู้รุ่งเรืองของเมือง นอสตราดามุสจบการศึกษาด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยมองต์เปลีเยร์ เขาเสียชีวิตด้วยโรคเกาต์
     นอสตราดามุส เกิดร่วมสมัยกับ มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำแห่งศาสนาคริสเตียนนิกายโปรเตสแตนต์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ทางมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ชาวยิวทุกคนให้เปลี่ยนศาสนาเดิมมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ เรียกว่า คริสเตียน โดยเช้ารับศีลจุ่ม
     ท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่ร้อนระอุ ครอบครัวนอสตราดามุสไม่มีทางเลื่อกที่ดีกว่าผู้นำของครอบครัวเป็ฯปัญญาชนรักชาติรักแผ่นดิน รักที่อยู่อาศัยมากกว่าที่จะเป็นพลเมืองชั้นสองที่ต้องหลบ ๆ ซ่อนๆหนีภัยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ครอบครัวยิวในฝรั่งเศสจึงเลือกทางออกอ้วยการรับศีลเป็นคริสเตียนแต่ภายในบ้านก็ยังยึดถือปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อของยิวอย่างลับ ๆ ชีวิตของนิสตราดามุสจึงเติบโตขึ้นมาในสภาพที่เคยชินต่อการซ่อนเร้นปกปิดสถานภาพที่แท้จริงของครอบครัวในสายตาชาวบ้านด้วยการอยู่ภายใต้สภาวการณ์ดังกล่าว ทำให้นอสตราดามุสเรียนรู้ชีวิตของการหลบหลักหนีภัยมาตั้งแต่เด็กมีสัญชาตญาณแห่งการเอาตัวรอดดีกว่ากาลิเลโอ ทั้งๆ ที่ผลงานของนอสตราดามุส ที่ชนชั้นกษัตริย์และสาธารณชน รวมทั้งทั่วยุโรป รับรู้กันในสมัยนั้นมีลักษณะของการท้าทายและขัดต่อกฎเกณฑ์ของศาสนจักรมากกว่าของกาลิเลโอหลายเท่า
    พื้นฐานครอบครัว นอสตราดามุส มีความระแวดระวังภัยรอบตัว มาแต่อ้อนแต่ออกจึงทำให้เขารอดจากการจ้องจับผิดของเจ้าหน้าที่สังฆจักรโรมันคาทอลิกอยู่เรื่อยมาชื่อนอสตราดามุสอยู่ในบัญชีดำ เป็นผู้ถูกเพ่งเล็งหมิ่นเหม่ต่อการถูกเรียกตัวเข้าคอกเป็นจำเลยเพื่อไต่สวนหลายครั้งแต่ความเป็นนายแพทย์ที่สร้างคุณประโยชน์อาจหาฐรักษาเพื่อร่วมชาติที่ล้มตายด้วยโรคระบาดตามหัวเมืองต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงความน่าสยดสยองของโรคร้ายจึงมีส่วยช่วยเป็นเกราะกำบังภัยให้นอสตราดามุสเรื่อยมาคุณปู่และคุณตาของนอสตราดามุส ต่าเนแพทย์หลวง ในราชสำนักฝรั่งเศส ทั่งสองเป็นเพื่อนรักสนทิกัน ฝ่ายแรกมีลูกชาย “ช้าคส์”ฝ่ายหลังมีบุตรสาว “เรอเน” โตขึ้นก็จับคู่แต่งงานกลายเป็นทองแผ่นเดียวกัน
     พื้นฐานการศึกษา  เมื่ออายุครอบ14 ปี คุณปู่ แนะนำให้เข้าเรียนต่อด้านศิลปศาสตร์ ที่เมืองอาวียองแหล่งวิชาสำคัญของฝรั่งเศสยุคนั้น นอสตราดามุสศึกษาวิชาปรัชญา ไวยากรณ์ และศิปการพูดภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของพระ ยามว่างนอสตราดามุสมักใช้เวลาหมดไปในห้องสมุดและที่แห่งนี้ เขาได้พบหนังสือหลายเล่มที่เขียนบันทึกเกี่ยวกับเรื่องไสยศาสนตร์ผีสางและเวทมนตร์รวมทั้งชีวประวัติของศาสดาพยากร์ ยิ่งทำให้นอสตราดามุสเกิดความสนใจในวิชาโหราศาสตร์มากขึ้น มากเพียงพอที่จะผลักดันให้นอสตราดามุสค้นคว้าหลักการทำนายอนาคต การเรียนการสอนในยุคสมัยนั้นศาสตร์ต่าง ๆถูกควบคุมภายใต้กฎเกณฑ์ของศาสนาจักรอยางเข้มงวดทฤษฎีใหม่ข้อใดที่ขัดต่อคำสอนทางศาสนาจะถูกห้ามหรือให้ใช้สอตามแนวที่สังฆจักรอนุมัติอาจารย์ผุ้สอนในยุคนั้นเมือกระทบเรื่องใดที่เป็นหัวข้อหมิ่นเหม่ มักจะหันเหไปสอนลูกศิษย์ในเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เป้นพิษเป็นภัยกับตน การอภิปรายในชั้นเรียนนอสตราดามุสมักจะปกป้องความคิดใหม่ไ ของตนเอง รวมทั้งความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์มิหนำซ้ำยังยืนหยัดเชื่อใน “ทฤษฎีโคเปอร์นิคัน” นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัน นอสตราดามุสมีความรู้แตกฉานด้านดาราศาสตร์ หรือจะด้วยพลังจิตทัศน์ที่แผงอยู่ในตัวมาก่อนนอสตราดามุสเชื่อและยืนหยัดปกป้องทฤษฎีโคเปอร์นิคัสดังกล่าวก่อนหน้าที่กลิเลโอจะเสนอทฤษฎีของตนในลักษณะเดียวกันเกือบ 100 ปีเสี่ยงต่อการถูกตั้งข้อหาฉกรรจ์จากสังฆจักรในข้อหาสร้างทฤษฎีซาตานขึ้นมาขัดแย้งความเชื่อเดิมลบหลู่ท้าทายคำสอนทางศาสนา ซึ่งในศตวรรษต่อมา กาลิเลโอได้ถูกไต่สวนและถูกจองจำหลายครั้งในข้อหาเดียวกัน



คำพยากรณ์เซ็นจูรี่ เล่มที่ 2:ลูกชายคนสุดท้ายของชายที่มีชื่อเดียวกับพระผู้เป็นเจ้าจะนำเจ้าหญิงไปสู่วันพักผ่อนชั่วนิรันดร์ เชื่อว่าเป็นคำทำนายที่เกี่ยวกับเจ้าหญิงไดอาน่า

พ่อของนายโดดี อัลฟาเยด ซึ่งเป็นเจ้าของ สรรพสินค้า “แฮร์รอด”ชื่อดังกลางกรุงลอนดอน มีชื่อว่า โมฮัมหมัด ซึ่งเป็นชื่อของพระเจ้าในศาสนาอิสลาม ทั้งนาย โด อัล ฟาเยค เป็นเพื่ยนชาย คนสนทิของเจ้าหญิงไดอาน่า ที่เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ด้วยกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม








ท้องฟ้าจะลุกเป็นไฟ เพลิงจะผลาญเข้าสู่เมืองใหม่(New York)
คำพยากรณ์เซ็นจูรี่ เล่มที่ 6: ท้องฟ้าจะลุกเป็นไฟ เพลิงจะผลาญเข้าสู่เมืองใหม่
     “ท้องฟ้าจะถูกเผาผลาญ ณ องศาที่ 45 เพลิงจะพุ่งเข้าสู่เมืองใหม่ในบัดดล ดวงไฟใหญ่จะแตกกระจายทะลวงพุ่งขึ้นมา”
     “มาบัส MABUS จะตายในไม่ช้า จะมีการฆ่าหมู่คนและสัตว์อย่างสยดสยอง ทันใดนั้นการแก้แค้นจะปรากฎขึ้นจากร้อยแผ่นดิน ความกระหาย อดอยาก จะเกิดขึ้นเมือดาวหางโคจรฝ่านมา..”
     “ศาสนาที่มีชื่อเหมือนทะเลจะมีชัย การต่อต้านนิกายของอะดาลูนกาทิฟผู้บุตรพวกหัวดื้อ พวกโศกเศร้าตำหนิ นิกายจะกลัวเกรง อาลิฟ กับ อาลิฟ ที่ได้รับบาเจ็บทั้งสอง…”
เชื่อกันว่าเป็นคำทำนายที่เกี่ยวกับเหตุการณ์เครื่องบินชนตึกเวิร์ดเทรดส์

     นอสตราดามุสพยากรณ์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 3 ไว้ 265 บท อาทิ
คำพยากรณ์ที่ 8
La grande montagne ronde de sept stades,
Apres paix, guerre, faim, inondation,
Roulera loin abimant grands contrades,
Memes antiques, et grande fondation. (I,69)
          ในขณะที่เอเชียประสบกับความเดือดร้อนทั่งทุกหย่อมหญ้า
ทุกหนทุกแห่งกำลังตกอยู่ในภาวะสงคราม เกิดทุพภิกขภัย
และอุทกภัยอยู่นั้น จะมีหินกลมขนาดยักษ์ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งไมล์
หมุนลอยละล่องตกจาท้องฟ้าลงสูโลก ผลจกาการตกมาของหินยักษ์นี้
จะทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงในประเทศใหญ่ ๆ ที่มีอายุเก่าแก่ในโลหลายประเทศ
คำพยากรณ์ที่ 9-10
     II entera vilain, mechant, infame,
Tyrannisant la Mesopotamie :
Tous amis fait d’adulterine dame,
Terre horrible noir de physionomie.  (VIII,70)
     Le Prince Arabe Mars, Sol, Venus, Lion,
Renge d’Eglise par mer succombera :
Devers la Perse bien pres d’un million,
Bisance, Egypte, ver serp invadera. (V,25)
           จะมีบุรุษผุ้น่าเกลี่ยดชั่วร้ายเลวทรามผู้หนึ่งก้าวขึ้นสู่อำนาจ
เขาจะปฏิบัติการก่อกรรมทำเข็ญประเทศทั้งหลายในลุ่มแม่นำเมโสโปเตเมีย
เขาจะสร้างมิตรโดยวิธีการหลอกลวง ดินแดนทั้งหลายจะถูกทำลายล้างจนกลายเป็นเถ้าถ่าน
และต่อมาจอมเผด็จการผู้นี้จะได้เป็นผู้นไของชาติอาหรับทั้งหมด เมือดาวอังคาร
ดาวอาทิตย์และดาวศุกร์โคจรมาอยู่ในรศีสิงห์ จอมเผด็จการผู้นี้จะโจมตีนักบวชนิกายโรมันคาทอลิกในทะเล
นอกจากนั้นก็จะใช้กำลังทหารจำนวนหนึ่งล้านคนบุกโจมตีประเทศอิหร่าน ตุรกีและอียิปต์
คำทำนายที่เกี่ยวกับศรัทธาใหม่
"He will appear in Asia at home in Europe
One who is issued from great Hermes…"
เขาจะปรากฎตัวในเอเซีย จากบ้านในทวีปยุโรป
บุคคลหนึ่งเป็นผู้มาจากผู้ส่งสาร์นสำคัญของเทพเจ้า
"The man from the East will come out of his seat,
Passing across the Apentines to see France
He will fly through the sky, the rains and snows,
And strike everyone with the rod."
ผู้ชายจากโลกตะวันออก
จะมาสู่ตำแหน่งของเขาผ่านข้ามผู้เลียนแบบ
ไปยังประเทศฝรั่งเศสเขาจะเดินทางโดยเครื่องบินทางอากาศ
ฝนและหิมะตกจากนั้นโจมตีทุกคนพร้อมด้วยปืนสั้น
"Second to the last of the prophet’s name,
Will take Diana’s day(The moon’s day) as his day of silent rest…
He will travel far and wide in his drive to infuriate,
delivering a great people from subjection."
ลำดับที่สองถึงสุดท้ายของชื่อผู้รู้เหตุการณ์ภายหน้า
จะใช้วันของเทพธิดาแห่งพระจันทร์
ขณะที่ช่วงเวลาของเขาเงียบสงบ
เขาจะเดินทางกว้างและไกล มุ่งไปในความโกรธของเขา 
ปลดปล่อยประชาชนที่ดีจากการตกอยู่ใต้อำนาจ
"They see the truth with eye closed,
Speak the fact with closed mount…
Then at the time of need the awaited one will come late…"
พวกเขาเห็นข้อเท็จจริงด้วยการหลับตา 
พูดความจริงร่วมกับนำออกแสดงเฉพาะกลุ่ม 
หลังจากนั้น ณ เวลาแห่งความต้องการ  การรอคอยสิ่งหนึ่งจะมาล่าช้า
"the great amount of silver of Diana (Moon) and Mercury (Hermes)
The images will be seen in the lake (the mind of meditation)
the sculptor looking for new clay,
He and his followers will be soaked in Gold."
ผลรวมธาตุเงินที่สำคัญของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ 
มโนภาพจะอยูภายในจิตใจแห่งการทำสมาธิ 
ช่างแกะสลักจะค้นหาดินแบบใหม่ 
แขและผู้ติดตามของเขาจะอยู่ในสีทอง





Martin Luther...Protestant Reformation

     ระหว่างปี ค.ศ. 1305-1375 สถาบันสันตะปาปาตกอยู่ใต้อำนาจของสถาบัน พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส ที่เรียกกันว่า “การคุมขังแห่งบาลิโลเนีย หรืออาวีญง”ซึ่งทำให้สถาบันฯเสื่อมอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นชนนให้ผู้ใฝ่ในศาสนาดิ้นรนที่จะศึกษาถึงแก่นแท้ของคำสอน เกิดเป็นขบวนการ การศึกษาภาษาฮิบรูและกรีกโดยมีศูนย์ที่เมืองฟลอเรนซ์ และมีการค้นคว้าศ฿กษาวิจัยคัมภีร์ไบเบิลอย่างมากมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสัจจะในคำสอน การได้ศึกษาพระคัมภีร์ด้วยตัวเองทำให้นักคิดชั้นนำสามารถวิจารณ์โจมตีสถาบันศาสนาอย่างเต็มที่  การพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์แบบเรียงพิมพ์ที่เยอรมัน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประชาชนสามารถศึกษาจากคำภีร์ด้วยตนเองcaxton2
    ในศตวรรษที่ 14 มีการดึงอำนาจที่ในหมู่ขุนนางศักดินากลับคือสู่ราชบัลลังก์ โดยได้รับความช่วยเหลือที่มีพลังทางเศรษฐกิจและมีความรู้ความสามรถอันเป็นผลจากความสำเร็จของครอบครัวทางการค้า หรืออุตสาหกรรม กลายเป็นสังคมรัฐประชาชาติ มีการต่อต่อสู้ช่วงชิงอำนาจทางการเมืองภายในรัฐ ระหว่างรัฐในยุโรปกับสถาบันสันตะปาปา กลุ่มชนใหม่ หรือชนชั้นกลางซึ่งประกอบด้วยกลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ นายธนาคาร และผู้มีการศึกษา ร่วมกันสนับสนุนประมุขการเมืองของรัฐปราบปรามบรรดาขุนนางศักดินาภายในรัฐ และต่อต้านสถาบันสันตะปาปาจากภายนอก  ทั้งนี้ในศตวรรษที่ 15-16 สันตะปาปาในความสำคัญในทางโลกและละเลยหน้าที่รับผิดชอลทางธรรม มีการขายใบไถ่บาป และการบูชาเรลิกของนักบุญอย่างงมงาย มีการซื้อขายตำแหน่งสมณศักิด์ มีการอุดหนุนบุคคลในครอบครัวในรับตำแหน่งสำคัญในศาสนา
   เหตุการณ์ที่สำคัญอีกเหตุการณ์คือ ในสภาสังคายนาแห่งคอนสแตนซ์ เปิดเผยหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าเอกสาร “บรรณการของคอนสแตนติน”เป็นเอกสารปลอมที่สถาบันสันตะปาปาจัดทำขึ้นในศตวรรษที่ 8 ซึ่งมีผลให้อำนาจของคริสตจักยิ่งเสื่อมและสูญเสียความนิยม

     ช่วงเวลาของการปฏิรูปศาสนากินเวลาประมาณหนึ่งร้อยสามสิบปี นับตั้งแต่การเรียกร้องของลูเธอร์เพื่อปฏิรูปศาสนา จนกระทั้งการต่อสู้ระหว่างนิกายโรมันคาทอลิก กับนิกายโปรเตสแตนต์และรัฐบาล ซึ่งสิ้นสุดโดยสนธิสัญญาเวสท์ฟาเลีย ในปี ค.ศ. 1648
    ภายใต้อาณาจักรโรมัน สันตะปาปาและบรรดาผู้นำของโบสถ์โรมันคาทอลิกมีความรับผิดชอบสำคัญในการสร้างพ้อนฐานสำหรับพระผู้มาโปรด ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าจึงทรงประทานตำแหน่งและอำนาจที่มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมและประทศชาติให้แก่เขาทั้งหลาย ในยุคกลาง การทุจริตและการเกี่ยวข้องในชีวิตของประชาชนมากเกินไปได้ขัดขวางการสร้างพื้นฐานสำหรับพระผู้มาโปรด การใช้อำนาจสงฆ์ในทางที่ผิดใรระบบศักินายุคกลางที่เข้มงวดกับการทุจริต และความเสือมศีลธรรมในหมู่สงฆ์ได้สร้างความอึดอัดให้กับความพยายามของมนุษย์เพื่อบรรลุถึงความปรารถนาต่าง ๆ ของธรรมชาติเริ่มแรกที่มนุษย์ได้รับมาในเวลาแห่งการสร้างสรรค์
    การเคลื่อนไหวเพื่อล้มล้างสภาพสังคมในยุคกลางและระบบ ศาสนาที่เสื่อมทราม เกิดจากความปรารถนาของธรรมชาติเร่มแรกของมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์จึงแสวงหาทั้งด้านซองซัง (ภายใน) และฮยองซัง(ภายนอก)ซึ่งตรงกับธรรมชาติเร่มแรกสองด้านของมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์จึงแสวงหาความพึงพอใจให้กับความปรารถนาภายในเช่น ความปรารถนาเพื่อชีวิตแห่งศรัทธา เกียรยศ หน้าที่ ความเคร่งศาสนาและความสัมพันธ์กับพระเจ้าและแสวงหาความพึงพอใจให้กับความปรารถนาภายนอกเช่น ความปรารถนาที่จะพัฒนาความรู้(โดยวิทยาศาสตร์) อำนาจแห่งเหตุผลและสิทธิอันชอบธรรม
    การเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูลัทธิความคิดกรีก เป็นการเคลื่อนไหวแบบคาอินเพื่อแสวงหากรรมแห่งความปรารถนาภายนอกของมนุษย์เกิดได้ขึ้นก่อน แล้วจึงเกิดการเคลื่อนไหวแบบอาแบลเพื่อแสวงหากรรมแห่งความปรารถนาภายในของมนุษย์  การเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูลัทธิความคิกรีกที่รู้จักกันในชื่อของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ยุคเรอเนซองส์ เป็นการเน้นความสนใจแบบนักมนุษยนิยมที่สนใจความงามของธรรมชาติเสรีภาพส่วนบุคคลและคุณค่าของชีวิตในโลก การปฏิรูปศาสนาเกิดขึ้นจากความปรารถนาภายในของมนุษย์เพื่อฟื้นฟูหนทางชีวิตที่มีศูนย์กลางที่พระเจ้าขึ้นหม่ และมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ซึ่งต่างจากการเน้นทางโลกหรือการเน้นทางมนุษยนิยมแบบลัทธิความคิดกรีก Heiienism เราเรียกการปฏิรูปศาสนานี้ว่าเป็น การฟื้นฟูลัทธิความคิดฮิบรู Hebraism

  มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นหนึ่งในผู้ปฏิรูปศาสนาคริสต์ โดยแยกมาเป็นนกกายโปรเตสแตนต์ เพราะไม่images เห็นด้วนกับคำสอนของคริสตจักรโรมันคาทอลิกบางข้อ โดยการปฏิรูปนี้เกิดขึ้นในยุคฟื้นฟูศิปลวิทยา เรียกว่า “การปฏิรูปศษสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์” นิกายที่ถือหลักเทววิทยาตามแนวคิดของลูเทอร์เรียกว่านิกาย “ลูเทอแรน”ซึ่งเป็นนิกายย่อยในนิกาย โปตเตสแตนต์
   บิดามารดาลูเทอร์ ยากจนไม่มีเงินจะให้ลูเทอร์เข้าเรียน โชคดีของลูเธอร์มีหญิงมั่งคั่งเกิดความเมตตาและช่วยเหลือให้เข้าอยู่ในมหาวิทยาลัย
   ลูเทอร์ศึกษาเทววิทยา วรรณดคี ดนตรี และเขาชื่นชอบ กฎหมายเป็นพิเศษ และพ่อของเขาก็ต้องการให้ลูเทอร์เป็นนักกฎหมายลูเทอร์กลายเป็นคนขี้ขลาด กลัวผีเมือเขาต้องมาอยู่ในเหตุการดวลกันและเพื่อนของเขาตาย จากนั้น ในวันฝนตก ได้เกิดฟ้าผ่า ใกล้ๆ เขาและเขาสาบานว่าหากรอดตายจะบวชเป็นบาทหลวง และด้วยดวงของเขาหรืออะไรก็แล้วแต่เขาเข้าไปยู่ในอารามคณะออกัสติเนียนในมหาวิทยาลัยวิตเทนบูร์ก ศึกษาไบเบิลอย่างเอาใจใส่ และในที่สุดก็ได้เป็ฯอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้น
     เมือเขามีโอกาสไปแสวงบุญที่กรุงโรม เขาได้เห็นชีวิตของสันตะปาปา และเห็นว่านักบวชไม่ควรดำเนินชีวิตหรูหรา โอ่โถงเช่นนี้ ในปี ค.ศ. 1515 สันตะปาปาเลโอที่ 20 ขายใบฎีกาไถ่บาป เพื่อจะนำเงินไปสร้างโบสถ์ โดยตั้งบัญญัติใหม่ว่า ถึงแม้จะทำความผิดเป็นอุกฉกรรจ์มหันตโทษเพียงไร ก็สามารถล้างบาปได้โดยซื้อใบฎีกาไถ่บาป

    ! ลูเทอร์เริ่มวิพากษ์วิจารณ์ และเรียกประชุมผู้รู้ทั้งหลายมาปรึกษา โต้เถียงกับบัญญัติใหม่ ในปี ค.ศ. 1517 ลูเทอร์นำประกาศที่เรียกว่ “ญัตติ 95 ข้อ” ปิดไว้ที่ประตูหน้าโบสถ์เมืองวิตเทนบูร์ก ซึ่งเนื่อหาเป็นการประณามการขายใบยกโทษบาปของสันตะปาปา แลการกระทำเหลวแหลกอื่น ๆ ปี 1520 ลูเทอร์ได้รับหมาย “การตัดขาดจากศาสนา” โดยที่ลูเทอร์ต้องออกจากเขตปกครองของจักรพรรดิ ไปหลบที่วอร์มส์พร้อมผู้ติดตามจำนวนหนึ่ง ที่นั่นลูเทอร์ได้แปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาเยอรมัน และได้เขียนงานเกี่ยวกับพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งพิธีมิสซา และศีลศักดิ์สิทธิ ซึ่งลูเทอร์ตั้งใจที่จะให้ชาบ้านซึ่งไม่เข้าใจภาษาละติน สามารถเข้าถึงหลักคำสอนและมีส่วนร่วมในพิธีกรรมต่าง ๆ ได้Luthers_Ein_Feste_Burg
    Ein’feste burg ist unser Gott (A mighty fortressis) เป็นบทเพลงสวดสรรเสริญของนิกายโปรเตสแตนต์ที่มีชื่อเสียงของ มาติน ลูเทอร์ กล่าวกันว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการปฏิรูปศาสนา
   นักประพันธ์เพลงหลายคนได้รับอิทธิพลจากบทเพลงสวดนี้และนำมาใช้ในผลงานประพันธ์ของตนกระทั่งในยุคปัจจุบัน
     ผลของการปฏิรูปศาสนา
ทางการเมือง การปฏิรูปศาสนาได้ทำให้พวกที่ไม่ต้องการระเบียบแบบแผน และพวกที่มีความคิดเห็นรุนแรงทางศาสนาก่อการจลาจลวุ่นวายขึ้นเรียกว่า “กบฎชาวนา” ในปี ค.ศ. 1525 ที่โบฮีเมีย มีทั้งกลุ่มอัศวินต่อสู้กับเจ้านายของตน และพวกชาวนาที่ก่อการปฏิวัติต่อเจ้าของที่ดินโดยต่างยื่นข้อเสนอเรียกร้องสิทธิของตน และกำหนดกฎเกณฑ์ตามใจชอบ บ้างก็ขอเสรีภาพในการถือศาสนา ดังนั้นลูเทอร์จึงได้ลุกขึ้นมาสอนให้ประชาชนเคารพประมุข และกฎหมายของรัฐ และต่อต้านการจลาจล โดยถือว่าประมุขของรัฐมีอำนาจอันชอบธรรมในสายตาของศาสนา ที่จะดำเนินเด็ดขาดกับขบวนการเหล่านี้ เพราะนั้นคำสอนของลัทธิลูเทอร์ส่งเสริมอำนาจชนชั้นปกครอง

     ทางศาสนา
เกิดการปฏิรูปศาสนาทั่งยุโรปโดยแบ่งออกเป็น
- แยกนิกายเป็น โปรเตสแตนต์และโรมันคาทอลิก
- การปฏิรูปภายในนิกายโรมันคาทอลิกเอง เช่น เกิดคณะเยสุอิด ที่เน้นการศึกษาวิทยาการใหม่เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สภาสังคายนาแห่งเทรนต์ ซึ่งต้องการแก้ไขข้อติเตียนของขบวนการปฏิรูปศาสนาโปรเตสแตนต์ ทั้งหมด แต่ยังเชื่อว่าสทิธิอำนาจมาจากพระคัมภีร์และขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ที่คริสตจักรได้รับสืบทอดมาจากเปโตรและยอมรับอำนาจของสันตะปาปาว่าบังมีอยู่ ผลการปฏิรูปนิกายโรมันคาทอลิก ทำให้สามรถป้องกันการขยายตัวของความนิยมในนิกายโปรเตสแตนส์แย่งมีประสิทธิภาพ แม้ว่าสันตะปาปาต้องเสียอำนาจในยุดรปไปมาก แต่ก็ยังสามารถรักษาอิทธิพลทางจิตใจเหนือประชากร จำนวนมากของโลกตะวันตกไว้ได้ และสามรถฟื้นฟูความศักดิ์สิทธิของโรมได้จนถึงปัจจุบัน

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Age of Discovery...Christopher Columbus

       ในยุคแห่งการสำรวจ หรือยุคแห่งการค้นพบ เป็นช่วงระยะเวลาในประวัติศาสตร์ที่โลกที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ? 15-17 ซึ่งเป็นช่วงที่ยุโรปออกเดินทางไปสำรวจทางทะเลในโลกที่กว้างออกไปจากตัวทวีปยุโรปเองโดยมีจุดประสงค์เพื่อหาคู่ค้าขายใหม่ โดยเฉพาะเพื่อการแสวงหาสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดตามต้องการ สินค้าที่เป็นที่ต้องการกันมากในยุโรปในขณะนั้นคือ ทอง เงิน และเครื่องเทศ คาราเวล
    Carrack 
  ยุคแห่งการสำรวจประจวบเหมาะกับช่วงที่ชาวยุโรปตะวันตกเริ่มใช้เข็มทิศในการกำหนดและระบุเส้นาง การใช้วิธีการเดินเรือเดินทะเลแบบใหม่ไปยังเอเซียโดยเลี่ยงอุปสรรค ถ้าการใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของมหาอำนาจที่เป็นปฏิปักษ์ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่วิวัฒนาการขึ้นสำหรับการเดินทาง ทางทะเลคือเรือชนิดใหม่สองแบบที่ออกแบบโดย โปรตุเกศ คือ เรื่อคาร์แร็ค และเรือคาวาเวล ที่วิวัฒนาการมาจากการออกแบบเรือในยุคกลางที่ใช้ในการเดินเรือในทะเลเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เรือสองชนิดนี้เป็นเรือสองชนิดแรกที่ให้ควมปลอดภัยพอที่จะฝ่าคลื่นฝ่าลมในมหาสมุทรแอตแลนติก ได้เมือเทียบกับเรือรุ่นก่อนหน้านั้นที่ใช้กันเฉพาะในบริเวณที่คลื่นลมไม่รุนแรงเทียบเท่ากับการเดินทางกลางมหาสมุทร

      การสำรวจทางบก mysilkroad
ก่อนหน้ายุคสำรวจมีชาวยุโรปเดินทางไปเอเชียหลายครั้งในสมัยยุคกลางตอนปลาย ผู้เดินทางเกือบทั้งหมดในครั้งแรกเป็นชาวอิตาลี เพราะการค้าระหว่างยุโรปกับตะวันออกกลางแทบทั้งหมดตกอยู่ในมือของพ่อค้าจากนครรัฐต่าง ๆ ในอิตาลี การสำรวจนอกจากความต้องการทางการค้ายังมีเหตุผลอื่นอีกเช่น ผุ้นำคริสเตียน อาทิ เจ้าชายเฮนรีนักเดินเรือ นำคณะสำรวจเพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสต์
    นักเดินทาง ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ มาโคโปโล ผู้บันทึกการเดินทางของการสำรวจไปทั่งเอเชียตั้งแต่ปีค.ศ. 1271-1295 ในสมัยราชวงศ์หยวน จักรพรรดิ์ กุบไล ข่าน การเอนทางของมาร์โค โปโลบันทึกในหนังสือชื่อ “บันทึกการเดิน16ทาง” ซึ่งเป็นหนังสือที่แพร่หลายและอ่านกันไปทั่วยุโรปในปี ค.ศ. 1439 นิคโคโล เด คอนติ พิมพ์บันทึกการเดินทางไปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างปี 1466-1472 พ่อค้าชาวรัสเซีย อฟานาซิ นิคิติน ก็เดินทางไปอินเดียและเขียนบรรยายในหนังสือ “การเดินทางเลยไปจากสามทะเล” หลังจากการล่มสลายอย่างรวดเร็วของอาณาจักรมองโกลทำให้เส้นทางทางบกค่อยๆ ถูกปิดไป การเดินทางเป็นไปอย่างลำบากและอันตรายจึงไม่มีผู้ติดต่อค้าขายกันโดยใช้เส้นทางสายไหมดังแต่ก่อน

         โปตุเกส การเดินทางเพื่อการสำรวจหาเส้นทางค้าขายทางทะเลใหม่ไปยังเอเชีย มิได้เริ่มโดยชายยุโรปอยางจริงจังมาจนกระทั่งเมื่อมีการวิวัฒนาการเรือคาร์แร็ค และต่อมา เรื่อคาวาเวลขึ้น เหตุที่กระตุ้นการริเริ่มการสำตวจเกิดขึ้นหลังจากการยึดคอนสแตนติโนเปิล โดยชาวเตอร์ก จากนั้นจักรวรรดิออตโตมานก็มีอำนาจควบคุมการค้าขายในบริเวณนั้น และกีอกันชาวยุโรปจากการใช้ “เส้นทางสายไหม” และเส้นทางการค้าผ่านทางแอฟริกาเหนือ ที่มีความสำคัญสำหรับยุโรปในการเป็นเส้นทางการค้าผสมระหวางทางบกและทางทะเลผ่านทางทะเลแดงไปยังเอเชีย ทั้งเครื่องเทศและไหมเป็นธุรกิจใหญ่ในยุคนั้นและรวมทั้งเครื่องเทศที่ใช้ประโยชน์ทั้งในการถนอมอทหารและปรุงรสซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างน้อยก็สำหรับผู้มีฐานะดีหรือผู้มีอันจะกิน

     การสำรวจในระยะแรกนำโดยโปรตุเกศภายใต้การนำของเจ้าชายเฮนรี่นักเดินเรือ การเดินเรือของชาวยุโรปก่อนหน้านั้นจะเป็นการเดินทางเลียบฝั่งทะเลที่มองเห็นฝั่งทะเล  การเดินเรือของเจ้าชายเฮนรี่เป็นการท้าทายความเชื่อต่าง ๆ และทรงพบหมู่เกาะมาเดราในมหาสมุทรแอตแลนติก และยึดดินแดนทั้งสองที่พบเป็นอาณานิคม จุดมุ่งหมายของการเดินเรือของเจ้าชายเฮนรี่ก็เพ่อสำรวจฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของแอฟริกาและเขียนแผนที่เดินเรือ “พอร์โทลาน”และเหตุผลทางการค้า ทางศษสนา


Age of Discovery.small
    ทางการค้าขาย เป็นเวลาหลายศตวรรษที่เส้นทางการค้าที่เชื่อมแอฟริกาตะวันตกกับทะเลิมดิเตอร์เรเนีนเป็นเส้นทางที่ต้องเดินผ่านทางด้านตะวันตกของทะเลทราย “ซาฮารา” เส้นทางนี้เป็นเส้นทางการค้าขาย “ทาสและทอง”ที่ควบคุมโดยรัฐอิสลามในแอฟริกาเหนือ ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของทั้งโปรตุเกสและสเปน กษัตริย์โปรตุเกสจึงทรงหาทางเลี่ยงการค้าขายที่ต้องฝ่านรัฐอิสลามโดยการค้าโดยตรงกับแอฟริกาตะวันตกทางทะเล และรัฐเหล่านี้อาจจะกลายมาเป็นรัฐคริสเตียนซึ่งทำให้เป็นพัมธมิตรในการต่อต้านรัฐอิสลามในกาเกร็บ ในปี ค.ศ. 1434 นักสำรวจชาวโปรตุเกส กิล เออเนส สามารถพิชิอุปสรรคของแหลมโบฮาดอร์ได้ ยังผลให้พระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ทรงออกพระบัญญัติ “โรมานัสพอนทิเฟ็กซ์” ที่ระบุว่าประเทศใดที่พบที่ไกลไปจากแหลมโบฮาดอร์เป็นของโปรตุเกส
     ภายในยี่สิบปีการสำรวจของโปรตุเกสก็ทำให้สามารถทำการค้าขายทาสและทองได้โดยตรงกับคู่ค้าที่ปัจจุบันคือ เซเนกัล และสร้างป้อมการค้าที่ เอลมิน แหลมแวร์เด กลายเป็นอาณานิคมผู้ผลิตน้ำตาลเป็นแห่งแรก ในปี ค.ศ. 1482 การสำรวจภายในการนำของ ดิเอโก้ โคด ก็ทำให้เกิดการติดต่อกับราชอาณาจักรคองโก และจุดเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์เกิดเมือ บาร์โตโลมิว ดิอัซ เดินทางรอบแหลมกูดโฮพ และพบว่าเป็นทางที่ใช้เดินทางติดต่อกับมหาสมุทรอินเดียได้จากด้านมหาสมุทรแอตแลนติก การสำตัวจทางบกของ เปโร เด โควิชา ทำให้ได้ขอ้มูลสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับทะเลแดงและฝั่งทะเลเควเนีย ในปี ค.ศ. 1498 สาสโก ดา กามา เดินทางไปถึงอินเดีย

    ในขณะเดียวกันดิโอโก ซิลเวสก็พบซานตามาเรีย และพบเกาะอื่นในหมู่เกาะอาโซเรซ เกาะเทอร์เซรา ซึ่งกลายมาเป็นฐานทางการเดินเรือสำหรับการสำรวจใน เทอรราโนวา และนิวฟันด์แลนด์ โดยพี่น้อง คาร์เท รีอาล

คริสโตเฟอร์ โครลัมบัสimages
   ค.ศ.1451-1506 เป็นนักสำรวจ นักเดินเรือและพ่อค้า เชื่อกันว่าเป็นชาวสาธารณรัฐเจนัว ภายใต้ การสนับสนุนของราชสำนักสเปน เขาเดินเรือข้ามมหาสมุทรแดอแลนติกและทำให้ชาวยุโรปรู้จักทวีปอเมรากาในซีกโลกตะวันตกเป็นผลสำเร็จการเดินทางทั้งสี่ครั้งและความพยายามที่จะตั้งถิ่นฐานบนเกาะฮิสปันโยลาของโคบัมบัสยังเป็นจุดเริ่มต้นของการล่าอาณานิคมของอาณาจักรต่างๆ ในทวีปยุโรปด้วย ในช่วงที่ลัทธิจักวรรดินิยมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ผ่านทางการควบคุมเส้นทางการค้าและการล่าอาณานิคม กำลังเริ่มขั้นนั้นโคลัมบัสได้วางแผนการเดินทางไปยังอินเดียตะวันออกโดยเดินเรือมุ่งไปทางตะวันตก เข้าเชื่อว่าโลกมีรูปร่างเป็นทรงกลม ซึ่งเป็นความเชื่อที่ขัดแย้งกับความเชื่อในยุคนั้นที่เชื่อว่าโลกนั้นมีรูปทรงแบนแต่ปัฯหา คือ ความเป็นไปได้ของการเดินทางรอบโลกเนื่องมาจากอุปสรรคเรื่องของอาหารและข้อจำกัดทางเทคโนโลยีการเดินเรือในสมัยนั้น โคลัมบัสนำโครงการเดินเรืองดังกล่าวไปเสนอต่อราชสำนักโปรตุเกสเพื่อขอทุนทรัพย์ในการแต่งกองเรือออกไปค้นหาดินแดนใหม่ ๆ แต่ถูกปฏิเสธ เขาจึงไปขอรับการอุปถัมภ์จากพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 5 และสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบบาที่ 1 แห่งอาณาจักรคาสตีล และได้รับการอนุมัติให้ออกเอนทางเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1492 แต่แทนที่โคลัมบัสจะไปถึงหมู่เกาะญี่ปุ่นอย่างที่ตั้งใจไว้ เขาหลับไปพบหมู่เกาะบาฮามาสและขึ้นฝั่งบนเกาะแห่งหนึ่งที่เขาตั้งชื่อว่า “ซานซัสบาดอร์” และค้นพบหมู่เกาะเกรดเตอร์แอนทิลลิส เลสเซอร์แอนทิลลิส รวมทั้งชายฝั่งทะเลแคริบเบียนของเวเนซูเอลและอเมริกากลาง และประกาศให้ดินแดนเหล่านั้นเป็นกรรมสิทธ์ของจักวรรดิสเปนแม้ว่าโคลัมบัสไม่ได้เป็นบุคคลแรกที่เดินทางมาถึงทวีปอเมริก (เนื่องจากเลฟ เอริสัน และกองเรือชาวนอร์สได้มาถึงทวีปนี้ก่อนแล้ว) แต่การเดินทางของโคลัมบัสก็ทำให้เกิดการติดต่ออย่างถาวรและต่อเนื่องระหว่างโลกใหม่ (ฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก) กับโลกเก่า (ฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก) นำไปสู่ช่วงเวลาของการสำรวจและการล่าอาณานิคมในดินแดนภายนอกทวีปยุโรปที่ดำเนินฝ่านเวลาหลายศตวรรษและส่งผลอย่างใหญ่หลวง โคลัมบัสเรียกชนพื้นเมืองบนดินแดนที่เขาไปเยือนว่า “อินดีโอส” โดยไม่ทราบว่าเขาได้ค้นพบทวีปที่ชาวยุโรปไม่เคยรู้จักมาก่อนแล้วโดยบังเอิญ ไม่กี่ปีต่อมาความขัดแย้งระหว่างโคลัมบัสกับราชบัลลังก์สเปนและผู้ปกครองอาณานิคมคนอื่นทำให้เขาถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้บริหารอาณานิคมบนเกาะฮิสปันโยลาในปี 1500 และถูกส่งตัวกลับมายังสเปน ทายาทของเขาใช้เวลาฟ้องร้องราชวัลลังก์สเปนอยู่เป็นเวลาหลายสิบปีหลังจากเขาเสียชีวิตกว่าจะได้รับส่วนแบ่งจากผลประโยชน์ในดินแดนต่าง ๆ ที่เขาเคยไปสำรวจมา
     การขยายตัวของยุโรปเหนือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของอำนาจของโปรตุเกสในแอฟริกาและในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ดัตช์,ฝรั่งเศสและอังกฤษส่งเรือผ่านไปในดินแดนที่เป็ฯของโปรตุเกส แต่โปรตุเกสก็ไม่มีหนทางใดที่จะหยุดยั้งได้เพราะขาดกำลังคนและทุนทรัพย์  และประเทเลห่านี้ก็ยังก่อตั้งสถานีค้าขายของตนเองขึ้นมาด้วย ส่วนแบ่งทางการตลาด ของโปรตุเกสและสเปนก็เริ่มลดลง นอกจากนั้นแล้วยุโรปเหนือก็ขยายการสำรวจไปยังบริเวฯที่ยังไม่ได้รับการสำรวจในมหาสมุทรแปซิฟิกและฝั่งทะเลทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ
          ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฝั่งตะวันตกและฝั่งเหนือของออสเตรเลียได้รับการเขียนเป็นแผนที่ แต่ฝั่งตะวันออกยังคงต้องรอต่อมาอีกร้อยปี นักสำรวจเข้าไปถึงใจกลางของทวีปอเมริกในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และก็ยังคงมีอาณาบริเวฯที่ยังไม่ได้รับการสำรวจจกระทั้ง คริสต์ศตวรรษที่ 18-19 เพราะบริเวณนี้ไม่มีแน้วโน้มที่ประดยชน์ต่อการค้าขายนอกจากนั้นก็ยังเป็นบริเวฯที่เต็มำปด้วยโรคร้ายของเมืองร้อนต่างๆ
           เมื่อสินค้าต่าง ๆ ทีเคยเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยมาจากากรสำรวจเป็ฯที่แพร่หลายมากขึ้นก็ทำให้ราคาสินค้าเหล่านี้เริ่มคงตัวการค้าขายทางมหาสมุทรแอตแลนติกมาแทรที่อำนาจการค้าขายของอิตาลีและเยอรมนีที่เคยใช้ทะเลบอลติกในหารเดินทางขนส่งสินค้ากับรัสเซีย และมาแทนการค้าขายผ่านชาติอิสลาม นอกจากนั้นสินค้าใกม่ก็ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่โครงสร้างทางสังคม เมือน้ำตาล,เครื่องเทศ,ไหม,และเครื่องถ้วยชามของจีนเข้ามาในตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยของยุโรป ความมั่งคั่งที่สเปนประสบและภาวะเงินเฟ้อทั้งภายในสเปนและยุโรปทั่วไป ภายในไม่กี่สิบปีการทำเหมืองในทวีปอเมริกาก็มีผลผลิตมากกว่าการทำเหมองในยุโรปเอง สเปนยิ่งต้องพึ่งรายได้จากากรค้าจากทวีปอเมริกาเพิ่มขึ้นจนในที่สุดก็นำไปสู่การล้มละลายของสเปนในครั้งแรกเมือปี 1557 ที่เป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายทางการทหารที่มากเกินตัว การทวีตัวของราคาเป็นผลให้มีการหมุนเวียนทางการเงินในยุโรปมากขึ้นและทำให้เกิดการขยายตัวทางการค้าในบรรดาชนชั้นกลางในยุโรปที่มามีอิทธิพลต่อสภานะทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมในหลายประเทศในยุโรปโดยทั่วไป

Humanism

     มนุษย์นิยม หมายถึง ประเภทกว้าง ๆ ของปรัชญาเชิงจริยศาสตร์ที่ยืนยันถึงความสง่างามและคุณค่าของมนุษย์ทุกคน โดยอาศัยกลักความสามารถของบุคคลนั้นในการบ่งชี้ได้ด้วยตนเองว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด โดยได้การยอมรับโดยมนุษย์ทั่งไปที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะคุณภาพเชิงตรรกะหรือเชิงเหตุผลมนุษยนิยมเป็นองค์ประกอบเฉพาะหลายๆ ตัวของระบบปรัชญาและได้รับการผนวกไว้ในหลายสำนักคิดทางศาสนา
     มนุษยนิยม วางเงื่อนไขไว้ให้มีการค้นหาความจริงและศีลธรรมในวิธีการที่มนุษย์จะนำมาใช้สนองความต้องการของมนุษย์ด้วยกันเมืองมองไปที่ ความสามารถในการกำหนดและการตัดสินได้ด้วยตนเองมนุษยนิยมจะไม่รับการชั่งใจและตัดสินใจโดยสิ่งที่อยู่เหนือความเข้าใจ เช่นการตัดสินใจที่ขึ้นอยู่กับ “ความเชื่อที่ปราศจากเหตุผล” สิ่งเหนือธรรมชาติ หรือด้วยคำทำนายที่อ้างไว้ในคัมภีร์ใด ๆ มนุษยนิยมสนับสนุนจริยธรรมสากล ที่อยู่พื้นฐานของมนุษย์ทั่วไปที่มีความเป็ฯอยู่ธรรมดาซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่า การแก้ปัญหาในสังคมมนุษย์และปัญหาทางวัฒนธรรมของมนุษย์จะใช้แนวทางเฉพาะกลุ่มชนแคบ ๆ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ได้
     มนุษยนิยมในการศึกษา เริ่มมีบทบาทสำคัญในระบบโรงเรียนตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งกำหนดไว้ว่าการศึกษาที่จะพัฒนาปัญญาของมนุษย์ได้คือการศึกษาที่ “ทำมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ได้มากที่สุด” พื้นฐานทางปฏิบัติที่ไปได้ดีที่สุดคือ จิตวิทยาสมรรถพล หรือความเชื่อในถุทธิปัญญาที่เด่นชัด เช่นในเชิงวิเคราะห์ คณิตศาสตร์และภาษาศาสตร์ เชื่อกันว่าการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ จิตวิทยา สมรรถพลสามรถทำให้สมรรถพลอื่น ๆ ได้รับประโยชน์เช่นกัน ผู้มีบทบาทสำคัญในการศึกษามนุษยนิยมเมือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แฮริส เจ้าของผลงาน “หน้าต่างทั้งห้าแห่งจิตวิญญาณ” (คณิตศาสตร์ ภูมิศาศตร์ ประวัติศาสตร์ ไวยากรณ์และวรรณคดี/ศิลปะ) ซึ่งเชื่อว่ามีความเหมาะสมที่สุดใน การพัฒนาสมรรถพล การศึกษาด้านมนุษยนิยมเชื่อว่า”การศึกษาที่ดีที่สุดสำหรับเด็กๆ” คือ การศึกษาที่ดีที่สุดสำหรับเด็กทุกคน ถึงม้ว่ามนุษยนิยมในการศึกษาจะถูกหักล้างโดยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่ก็ยังคงยังมีอยู่ต่อไปในโรงเรียประจำของชนชั้นสูงหลายแห่ง และก็ยังมีอยู่ในวิชาต่าง ๆ หลายวิชาในโรงเรียนมัธยมโดยเฉพาะในวิชาวรรณคดี

     มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา คือขบวนการทางปัญญาของยุโรปซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญด้านหนึ่งของสมัยเรอเนสซองส์ ขบวนการมนุษยนิยมเริ่มขึ้นเมือผุ้คงแก่เรียนชาวยุโรปเริ่มพบวรรกรรม ภาษละติน และปรับปรุงขึ้นมาใหม่ ในระยะแรกนักมนุษยนิยมก็เพียงแต่เป็นปัญญชนหรือครูที่สอนวรรณคดี ภาษาละติน แต่เมือถึงกลางคริสต์สตวรรษที่ 15 มนุษยนิยมก็พัฒนาขึ้นมาเป็นหลักสูตรการศึกษ “หลักสูตรการศึกษามนุษยนิยม” ที่ประกอบด้วยการศึกษาไวยากรณ์, วาทศาสตร์, ปรัชญาจริยธรรม, กวีนิพนธ์, และประวัติศาสตร์จากงานที่เขียนโดยผู้ประพันธ์เป็นภาษาลาตินและกรีกนักมนุษยนิยมมักจะเป็นปฏิปักษ์ต่อขบวนการปรัชญาของกลุ่มอัศมาจารย์นิยมพัฒนากมาจากความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์ และปรัชญาของยุคกลาง อาทิ ทอมัสอควีนาส ผู้ที่พยายามสังเคเคราะห์ปรัชญาของอริสโตเติลในบริบทของ ลัทธิคาทอลิก แต่แตกต่งจกหลักของมนุษยนิยมเรือเนสซองซ์ตรงที่กลุ่มอัสสมาจารย์นิยมไม่พึงวรรกรรมหรือตำราประวัติศาสตร์จากสมัยกรีกโรมัเนเท่ากับเมืองถึงสมัยมนุษยนิยม การกลับมาให้ความสนใจกับวรรณกรรม และตำราประวัติศาสตร์, วาทศิลป์ และเทวปรัชญาที่ยังไม่ได้รับการศึกษาโดยนักปรัชญาอัสสมาจารย์นิยม ทำให้มนุษยนิยมเรอเนสซองซ์เปลี่ยนแนวทางวัฒนธรรมทางปรัชญาของยุโรปอย่างส้นเชิงทางด้านปรัชญานักมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์จะเน้นบทเขียนของเพลโตที่บางชิ้นนำกลับมาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่เร่มเสื่อมโทรมและให้ความสนใจน้อยกว่ในปรัชญาของอริสโตเติลที่ได้รับการศึกษาอย่างชักซึ้งแล้วโดยนักอัสสมาจารย์นิยมในระหว่างยุคกลาง
      วรรณกรรมแนวมนุษยนิยม ที่สำคัญในยุคนี้ได้แก่
The Price
     นิคโคโล แมคเคียเวลลีโดยกล่าวถึง ธรรมชาติของมนุษย ว่า มนุษย์เป็นสัตว์เห็นแก่ตัว ก้าวร้าว และแสวงหา และพยายามที่จะหลีกเลี่ยงอันตรายต่าง ๆ แต่แสวงหากำไร จึงทำใwebmachmansfieldhbfc0226500438ห้ชีวิตมนุษย์ต้องดิ้นรน และแข่งขันอยู่เสมอ มาเคียเวลลีมองว่า มนุษย์เป็นผู้ที่โง่เขลาปล่อยให้จิตตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกิเลสตัณหา บางครั้งมนุษย์ยินยอมที่จะมอบตัวเองให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ที่แข็งแรงกว่าอย่างไม่รู้ตัว
     รัฐชาติ มาเคียเวลลีมองว่า รัฐชาตมิได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามที่พระเจ้าบันดาล แต่มีรากฐานเกิดรัฐมาจาก การอ่อนแอ ไร้ประสิทธิภาพของคนส่วนมากที่ไม่สามารถพิทักษ์รักษาความปลอดภัยให้ตนเองได้จึงเกิดรัฐชาติ
     รัฐมิได้ถูกสถาปนาขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายที่จะจัดตั้งศีลธรรมหรือบังคับใช้กฎหมายธรรมชาติ ศีลธรรมและกฎหมายธรรมชาติ คือ สังกัป ที่ได้รับการพัฒนาภายหลังจากที่คนร่วมมีปฏิกิริยาร่วมกันในการต่อต้านผู้ใช้อำนาจล้าง
     รูปแบบการปกครอง
- มาเยเวลลีสนับสนุนรูปแบบการปกครงแบบ ราชาธิปไตย โดยเขาให้เหตุผลว่า การปกครองโดยคน ๆ เดียวมีอำนาจเด็ดขาดสูงสุดเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุดในทัศนะของเขา
- มาเคยเวลลีเชื่อว่า ราชาธิปไตย และอภิชนาธิปไตย โดยเขามองว่าระบอบประชาธิปไตยเป็ฯระบอบที่ดีแต่ มีข้อเสียคือขาดเสถียรภาพ และความดีของระบอบมักถูกทำลายด้วยตัวของมันเองแต่เขากับบอกว่ารูปแบบที่เขาพอใจคือ แบบสาธารณรัฐที่มีลักษณะผสมผสานระหว่าง อภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตย
 


images

Utopia
เป็นหนังสือของ เซอร์ โทมัส มอร์ ในปี ค.ศ. 1516 ซึ่งเขียนเป็นภาษาละติน เป็นงานเขียนร้อยแก้วพรรณนาถึงสังคมบนเกาะในจินตนาการแห่งหนึ่งเล่าเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ ลักษณะทางสังคมและการปกครองบนเกาะแห่งนั้น ชื่อเกาะที่นำมาจากภาษากรีก มีความหมายว่า “ดินแดนที่ไม่มีจริง” ( ดินแดนที่น่าชื่นชมยินดี)
     เขาสร้างภาพของสังคมที่ตรงกันข้ามกันระหว่างดินแดนในจินตนาการซึ่งมีแนวคิดการปกครองที่ไม่เหมือนใคร กับการเมืองอันยุ่งเหยิงวุ่นวายในยุคสมัยของเขา เพื่อเป็นโครงร่างสำหรับการวิพากษ์วิจารย์เกี่ยวกับสภาพสังคมกันต่อไป
     หนังสือตีพิมพ์ที่ Leuven โดยมี Erasmus เป็นบรรณาธิการ มอร์ได้ปรับปรุงเนื้อหาอีกครั้งและพิมพ์ในเบเซิล ในเดือนพฤศจิกายน แต่กว่าที่หนังสือจะได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในประเทศอังกฤษ ก็ล่วงไปถึง ค.ศ. 1551 สิบหกปีหลังจากการประหารชีวิตมอร์ โดย ราล์ฟ โรบินสัน เป็นผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษ แต่ฉบับที่นิยมใช้อ้างอิงกันมากที่สุดคือฉบับที่แปลโดย กิลเบิร์ต เบอร์เน็ต ในปี ค.ศ. 1684

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...