บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2016

Belife

             ความเชื่อ : การยอมรับว่าสิงใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือการมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน              ความเชื่อทางศาสนา เป็นลักษณะประจำของมนุษย์อย่างที่มีปรากฎอยู่ทุกสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมที่เจริญแล้ว หรือสังคมที่กำลังเจริญ ทั้งเพราะศาสนาเป็นอำนาจอย่างหนึ่ง ซึค่งมีสภาพอันเป็นไปตามลักษณะ :  เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติ สำหรับผุ้นับถือศาสนาประเภทเทวนิยม, เกี่ยวกับเหตุผล อันเกิดจากความนึกคิดของนักคิดและักปราชญ์ต่างๆ ในด้านเหตุผลสำหรับผู้นับถือศาสนาประเภทอเทวนิยม ฉะนั้นศาสนาทั้งเทวนิยมและอเทวนิยม เมื่อว่าโดยสรุปแล้ว จะเป็นตัวกำหนดหลักเกณฑ์ความเชื่อทางศาสนาอย่างหนึ่ง เพื่อใช้เป็นเกณฑ์พิจารณา ในการศึกษาอันจะเป็นการช่วยในการสาวถึงต้นตอของเหตุเกิดศาสนาต่างๆ ได้               ตามปกติเรื่องควาเชื่อ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับจิตใจของทุกคน ซึ่งจะผูกพันธอยู่กับความรู้สึกทั่วๆ ไป แต่ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับศาสนา ดังนั้น ความเชื่อทางศาสนาจึึงมีผ้ให้ลักษณะ ดังนี้                     - เป็นการเเสดงออกตาททัศนาคติทีมนุษ์มีต่อสิ่งที่เคาพรนับถือ โดยเฉพ

Religious Behavior

รูปภาพ
          พฤติกรรมทางศาสนา เป็นพฤติกรรมร่วม หรือพฤติกรรมกลุ่ม อันเป็นการแสดงออกตามความเชื่อทางศาสนาร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะและวัตถุประสงค์ฯ ร่วมกันเพื่อการใดการหนึ่ง ในการร่วมพฤติกรรมทางศาสนากันนี้ ผู้ร่วมแสดงพฤติกรรมทางศาสนาแต่ละท่านอาจจะมีอายุ เพศ และลักษณะอื่นๆ อย่างเดียวกันก็มี ต่างกันก็มี ..            พฤติกรรมทางศาสนาที่แสดงออกมานั้น จัดเป็นปรากฎการณ์ที่แสดงออกตามประสบการณ์ทางศาสนาที่มนุษย์ยอมรับนับถืออยู่ ซึ่งมีทั้งศาสนาที่ปรากฎในสังคมที่เจิรญแล้ว และสังคมที่บยังด้อยความเจริญ อาทิสังคมของคนบางกลุ่มซึ่งขึ้นอยู่กับระบบความเชื่อถื่อที่สังคมนั้นๆยอมรับกันอยู่การแสดงออกตามความเชื่อถือทางศาสนานั้น ก็จัดเป็นพฤติกรรมทางศาสนาเช่นกัน           "พฤติกรรม" เป็นศัพท์ทางจิตวิทยา ซึ่งหมายถึงการแสดงออกเมื่อสิ่งเร้ามากระทบอันเป็ฯการแสดงตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งสามารถนำมาใช้ในกระบวนทางศษสนาได้เมื่องกล่าวถึงศาสนาอันเป็นการแสดงออกตามความเชื่อของมนุษย์            "พฤติกรรม" มีความหมายไปได้หลายลักษณะด้วยกัน แต่มีลักษณะหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันมาก ก็คือการพูดถึงพ

The Relation of Religion and Society

รูปภาพ
          ศาสนาและสังคมมีความสัมพันธ์กันอย่างสนิท และต่างเกื้อกูลต่อกันและกัน ตั้งตั้งโบราณกาลมากระทั้งปัจจุบัน สังคมจะเรียบร้อยก็เพราะมีหลักทางศาสนาคอยกำกับ ศาสนาจะมีอยู่ได้ต้องดูจาพฤติกรรมทางสังคม ศาสนาและสังคมจึงต่องต้องเกื้อกูลต่อกันและกัน ดังนั้นเราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า "ศาสนา"            - ศาสนา กันก่อน ศาสนาเป็นปรากฎการณ์ด้านความศักดิ์สิทธิ์อันย้ำถึงลักษณะที่พึงประสงค์ด้านประสบการณ์ทางศาสนา ศาสนาเป็นนามธรรม เกิดขึ้นเพราะมนุษย์เอง ศาสนาจะอยู่โดยลำพังไม่ได้ จำต้องมีที่เกาะอาศย เพื่อให้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวสำหรับพักพิง ซึ่งได้แก่สังคมอันเป็นรวมของบุคคลผู้เป็นสมาชิกของสังคม โดยแสดงออกด้านการนับถือศาสนาในรุปของพฤติกรรม การที่ศาสนาจะดำรงมั่นคงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับค่านิยมอันมีอยู่ที่ตัวของศาสนาเอง ว่าจะสามารถผูกพันจิตใจของสมาชิกของสังคมนั้นๆ ได้มากน้อยเพียงใด เพราะศาสนานั้นขึ้นอยู่กับการยอมรับของมนุษย์ในสังคม หากมนุษย์ยอมรับศาสนาจึงจะดำรงอยู่ต่อไปได้ ศาสนาไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกันทุกสังคม การที่ศาสนาจะดำรงอยู่ได้ก็เพราะความต้องการของสังคม  เช่นรูปแบบทางศาสนา หลักธรรมหรื

Political participation

รูปภาพ
             "การมีส่วนร่วมทางการเมือง" ต่อคำถามที่ว่า แม้การเมืองจะยุ่งเกี่ยวกับเรา แต่เราจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้หรือไม่ "การยุ่งเกี่ยว" มักจะอยู่ในรูปแบบหรือลักษณะของการออกกฎหรือนโยบายใดๆ เพื่อหวังที่จะแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าต่างๆ รวมทั้งควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมโดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือการกินดีอยู่ดีของปวงชน จึงเป็นไปได้ว่าในบาสงสังคมกฎหรือนโยบายที่ออกมาไม่สนองตอบต่อการกินดีอยู่ดีของส่วนรวม แต่กลับไปสนองตอบความต้องการของกลุ่มทางสังคมไดๆ เมื่อเรามองว่าทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์อีกกลุ่มหนึ่งก็ย่อมต้องเสียประโยชน์ ปัญหาเรื่องความเป็นธรรมจึงเกิดขึ้น และจากความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมรู้สึกว่ตนเองถูกฉกชิงในสิ่งที่ตนเองควรจะได้รับ จะเป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่้งอันจะนำไปสู่การเข้าไป "ยุ่งเกี่ยว" กับการเมือง และการที่ประชาชนเข้าไป "ยุ่งเกี่ยว" กับการเมืองในที่นี้ก็คือ "การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง" นั่นเอง                การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการทางการเมืองของระบบกา

Political Development

รูปภาพ
          การเมือง คือ  เรื่องราวของรัฐ,  การเมือง  คือ  เรื่องราวที่เกี่ยวกับอำนาจและอำนาจหน้าที่ อำนาจทางการเมือง คือ "อำนาจที่ใช้โดยรัฐ หรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อให้รัฐดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง",  การเมือง คือ การแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม, การเมือง คือ เรื่องของพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญๆ ทางการเมือง เราจะพบว่าประเด็นที่เกี่ยวกับการเมืองที่เป็นประเด็นสำคัญ ๆ เช่น ความขัดแย้งอำนาจและอิทธิพล ผู้นำ การตัดสินนโยบายต่างก็มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า "การเมือง" คือ การใช้อำนาจในการแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าในสังคมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม                                                                                                                                              การพัฒนาทางการเมือง   คือ การเปลี่ยนแปลงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมโดยมีเป้าหมายใดๆ ที่เเน่นอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้อำนาจเพื่อแจกแจงสิ่งที่มีคุณ ค่าให้กับสมาชิกของสังคมอย่างเป็นธรรมกว่าเดิม                                               แนวคิดการพัฒนาก

Political Socialization

รูปภาพ
              เนื่องจากวัฒนธรรมทางการเมือง เป็นเรื่องของความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม แนวคิดและพฤติกรรมของบุคคลในสังคม วัฒนธรรมทางการเมืองจึงมีอิทธิพลต่อบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมในหลายประการด้วยกัน               ที่มาของวัฒนธรรมทางการเมือง  ความโน้มเอียงทางการเมืองอันประกอบด้วย ความรู้ ความเชื่อ ความรู้สึกและประเมินค่าในทางการเมือง ซึ่งรวมกันเข้าเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของบุคคลแต่ละคนในสังคมนี้ คนจะได้มาและสามารถที่จะถ่ายทอดไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งได้โดยผ่านทางกระบวนการที่เรียกว่า "การเรียนรู้ทางการเมือง"กระบวนการชนิดนี้ ถือได้ว่าเป็นตัวกลางที่เชื่อโยงระหว่างวัฒนธรรมกับมนุษย์ กล่าวคือ เป็นตัวที่ดึงเอาวัฒนธรรมเข้าไปมีส่วนหรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์อย่างมากมาย บางครั้งกระบงวนการเรียนรู้ทางการเมืองนี้ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมืองของผู้นำ เช่น กรณีของจีน คิวบา และสหภาพโซเวียตรัสเซีย เป็นต้น กระบวนการการเรียนรู้ทางการเมือง                 Kenneth P. Langton  นิยามว่า การเรียนรู้ทางการเมือง คือ "กระบวนการที่บุคคลได้เรียนรู้แบบแผนพฤติกรรม และอุปนิสัย ในทางที่เกี่ย

Political Culture

รูปภาพ
            วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และความเหมาะสม วัฒนธรรมส่วนหนึ่งแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น ทั้งนี้ นักมานุษยวิทยา ยังรวมไปถึง เทคโนโลยี ศิลปะ วทิยาศาสตร์ และศีลธรรมด้วย             วัฒนธรรมทางการเมือง เป็นตัวแปรที่สำคัญของแต่ละประเทศที่จะทำให้ประเทศนั้น ๆ ม่ีเสถียรภาพทางการเมือง แม้จะเป็นประเทศที่มีระบอบการปกครองเหมือนกัน มีระบบโครงสร้างเหมือนกันแต่เสถียรภาพทางการเมืองอาจไม่เหมือนกัน คำว่าวัฒนธรรมทางการเมืองมีผู้ให้นิยามไว้ดังนี้              Lucain W. Pye ได้ให้นิยามว่า "วัฒนธรรมทางการเมือง คือแบบแผนของทัศนคติ ความเชื่อสภาวะอารมณ์ ค

Comparative Economic System

รูปภาพ
            ข้อสมมติฐานว่าลงท้ายแล้วระบบเศรษฐกิจทั้งสองน่าจะมุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกัน              ซึ่งดูจากพัฒนาการของระบบทุนนิยมและสังคมนิยมแล้วจะเกิดมีลัษณะต่างๆ ที่เหมือนๆ ดันทั้งในด้านโครงสร้าง การพัฒนาและการปรับตัวของโรงสร้างของระบบทั้งสอง ถ้ามองอย่างกว้างๆ จะมีลักษณะที่เหมือนกันดังต่อไปนี้              - เมื่อทั้งสองระบบได้พัฒนามากขึ้น ซึ่งการพัฒนาในโลกสังคมนิยมพัฒนาช้ากว่าโลกทุนนิยมโดยเฉพาะในยุโรปตะวันออกเริ่มพัฒนาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จะมีโครงสร้างทางเศรษฐฏิจโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่คล้ายคลึงกันมีพฤติกรรมทางเศรษฐกิจและมีปัญหาหลายๆ ประการที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกัน  ความเหมือนกันในด้านโครงสร้างอุตสหกรรม ปรากฎว่าไม่ว่าจะเป็นประเทศทุนนิยมหรือสังคมนิยมเมื่อพัฒนาก้าวหน้าขึ้นจะมีลักาณะดังต่อไปนี้เช่นเดียวกันคือ บทบาทของภาคเกษตรกรรมจะมีแนวโน้มลดลง การจ้างงานในภาคเกษตรกรรมลดลง ส่วนแบ่งของผลผลิตทางเกษตรในผลิตภัณฑ์ประชาชาติลดลง ความสำคัญของชนบทในแง่ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยลดลง ลักษณะดังกล่าวเหมือนกันทั้งสองค่าย ขณะเดียวกันก็มีการขยายตัวคล้ายๆ กันคือการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวมากขึ้

Capitalism

รูปภาพ
        ระบบทุนนิยมที่ปรากฎภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น มีลักาณะการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปจากระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีจนเราไม่อาจจะเรียกว่าเป็นระบบทุนนิยมจริงๆไ ได้ เราอาจจะเรียกได้ว่าระบบทุนนิยมในทางปฏิบัติเป็น "ระบบเศรษฐกิจที่มุ่งไปสู่ตลาด" ในที่นี้เราจะศึกษาถึงระบบเศรษฐกิจอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส โดยจะถือว่าระบบเศรษฐกิจอเมริกาในทางปฏิบัติที่มีลัษณะแตกต่างไปจากระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีเป็นปม่แบบ และระบบนิยมในอังกฤษและฝรั่งเศสประกอบ         ระบบทุนนิยมอเมริกา หลังจากการเผชิญหน้ากับปัฐหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในทศตวรรษที่ 30 และภัยของสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบทุนนิยมอเมริกาจึงมีลักษณะที่แตกต่างไปจากระบบทุนนิยมนทางทฤษฎี จนไม่อาจจะหันกลับไปสู่ระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีได้อีก         ลักษณะความแตกต่างของระบบทุนนิยมอเมริก         1. บทบาทของรัฐบาล ก่อนเกิดภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในทศตวรรษที่ 30 ความเชื่อที่ว่า ไระบบทุนนิยม" ในตัวของมันเองมีพลังโดยธรรมชาติที่ดำรงอยู่และสามารถทำให้เศรษฐกิจได้ดุลยภาพเสมอ และกำไกตลาดจะทำหน้าที่ให้ระบบทุนนิยมดำเนินไปได้โดยอัตโนมัติ"ได้รับการยอมรั