บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2014

Taming The Bull

รูปภาพ

In my mind

รูปภาพ
     ทรรศนะทางพุทธปรชญาเถรวาท สรุปธรรมชาติของจิตดังนี้ - ภาวะเดิมของจิตผ่องใน แต่เศร้าหมองเพราะกิเลสต่าง ๆ - ภาวะของจิตขณะที่รับอารมณ์ไม่คงที่ เปลี่ยนอารมณ์อยู่เสมอ - จิตไม่มีรูปร่าง การเกิดของจิตเป็นที่ละขณะเมื่อถึงคราวดับก็ดับไปที่ละขณะ จิตสามารถรับอารมณ์แม้จะอยู่ในที่ไกล อาศัยอยุ่ในเรื่อนกายมนุษย์และสัตว์      ความหมายของจิต สิ่งที่วิจิตรทั้งหลายในโลก เกิดขึ้นเพราะอาศัยจิตต้นคิด ตัวจิตเองเป็นธรรมชาติอันวิจิตรรวมอยุ่ด้วย ภูมิ อารมณ์ ทั้งที่เลว ประณีต และปานกลาง มีวิบาก(กรรมและกิเลสที่เก็บสังสมไว้ )พฤติกรรมต่างๆ ซึ่งเก็บสังสมไว้คือสันดานของตนและเกิดขึ้นเป็นวิถีจิต จิตนั้นรับอารมณ์มากมายไม่มีที่สิ้นสุด จิตจะเว้นจากอารมณ์ไม่ได้      ลักษณะของจิตแบ่งออกเป็น - จิตเป็นสภาพธรรมที่รุ้แจ้งอารมณ์ - จิตสั่งสมสันดานของตนด้วยการเสพอารมณ์ - จิตเป็นสภาพธรรมอันประกอบด้วยกิเลสสั่งสมวิบากผล - จิตทุกดวงเป็นธรรมชาติวิจิตร        หน้าที่ของจิต - ทำหน้าที่สืบต่อภพ จากอดีตภพเรียกว่ ปฏิสนธิจิต(เกิด) - ทำหน้าทีรักษาภพของบุคคล เช่น เกิดปฏิสนธิจิตมาด้วจิตใดก็ไห้จิตนั้นเป็นไปตลอดชีวิตในภพหนึ่ง เรียก

Life Continuum

รูปภาพ
ภวังคจิต   ภวังคะ หรือ ภะ-วัง-คะ ภว+องฺคะ แปลตามพยัญชนะว่า "องค์ของภพ" มักใช้รวมกับจิต เป็นภวังคจิต ในทาง พระพุทธศาสนา   ถือว่า   จิต มีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการสืบต่อ สันตติ ของจิต ย่อมอาศัยการถ่ายทอดข้อมูลจากภวังคจิตจิตดวงเดิม ไปสู่จิตดวงใหม่ ด้วยกระบวนการของการทำงานของภวังคจิต เพราะเหตุว่าภวังคจิตเป็นเหตุให้สร้างจิตดวงใหม่ตลอดเวลาก่อนจิตดวงเก่าจะดับไป จึงชื่อว่าเป็นเหตุแห่ง "ภพ" หรือเป็นเหตุสร้าง"ภพ" จิต ในทางศาสนาพุทธแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1. วิถีจิต   จิตสำนึก 2.ภวังคจิต จิตใต้สำนึก ภวังคจิต   คือจิตใต้สำนึกในทางศาสนาพุทธหมายถึงเป็นกระบวนการทำงานแบบอัตตโนมัติของจิต จิตใต้สำนึกในความหมายของภวังคจิตนี้จึงอาจแตกต่างจากทาง จิตวิทยา ภวังคจิต มี 3 อย่าง คือ ภวังคบาท คือภวังคจิตที่ทรงอารมณ์เก่า อันเป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพหรือจิตดวงก่อน และกำลังกระทบอารมณ์ใหม่ ภวังคจลนะ คือ เป็นภวังคจิตที่ไหวตัว เพราะเหตุที่มีอารมณ์ใหม่ มากระทบ จึงน้อมไปในอารมณ์ใหม่(สร้างและถ่ายทอดข้อมูลสู่จิตดวงใหม่) ภวังคปัจเฉทะ คือเป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสภวังค คือ ปล่อยอารม

Structuralism

รูปภาพ
           วิลแฮม  วุ้นด์ : จุดเริ่มต้นของโครงสร้างทางจิต             วุ้นด์ เป็นผู้ "แยก" จิตวิทยาออกจากปรัชญาและนำจิตวิทยาเข้าสู่การทดลอง วุ้นด์ให้ความสำคัญกับสรีรจิตวิทยาดังนั้นจึงใช้วิธีการและเครื่องมือต่างๆ ทางสรีรวิทยา วุ้นด์มีคามตั้งใจที่จะศึกษาเรื่องของ "จิต"(mind)หรือ "จิตสำนึก" (consciousness)และในการนี้วิธีการที่ใช้จะรวมเรื่องของการทดลองและการสำรวจทางจิต ผลสรุปที่ได้จากห้องทดลองในด้านต้านต่างๆ ดังนี้       การสัมผัสและการรับรู้ จัดเป็นหัวใจสำคัญของการทดลอง การมองเห็นและการได้ยินเป็นวิธีการทางสรีรจิตวิทยาที่สำคัญในการที่จะศึกษาAbsolute และ Difference Threshold นอกจานี้แล้วยังศึกษาเรื่องของความแตกต่างของสี การผสมสี การเคลื่อไหวของดวงตา รวมทั้งเรื่องของมโนภาพและการสัมพัส       ปฏิกิริยาตอบสนอง ได้ถูกศึกษาโดยเฮมโฮลล์และดอนเดอร์ แต่สำหรับวุ้นด์นั้นได้พัฒนาการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์การรับรู้ที่สลับซับซ้อนขึ้นนปฏิกิริยาตอบสนองทั่วไปนั้นจะมีปฏิกิริยาใกนากรตอบสนองให้เร็วที่สุดกับส่ิงเร้าเพียงอย่างเดียว แต่ในปฏิกิริยาตอบสนองทั่วๆ ไปนั้นจะมีปฏิกิริยาในก

Conduct Disorder

รูปภาพ
ความตั้งใจบกพร่อง และพฤิตกรรมบกพร่อง       ความตั้งใจบกพร่อง การไม่อยู่นิ่ง มีอาการขาดสมาธิ ไม่อยู่นิ่ง ควบคุมตนเงไม่ได้ หุนหันพลันแล่น ซึ่งเป็นนานต่อกันกว่า 6 เดือน จนถึงระดับที่ไม่อาจปรับตัวได้และไม่เข้ากับระดับพัฒนาการ       การขาดสมาธิ คือการที่ไม่สามารถจดจ่อกับรายละเอียด เลินเล่อต่อกิจกรรมต่างๆ ขาดสมาธิในการฟัง การประกอบการงาน ไม่สามารถทำตามคำสั่ง ทั้งงานที่โรงเรียน บ้าน หรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ขาดความใส่ใจพยายาม ขาดความรับผิดชอบ เช่น ทำของที่จำเป็นหาย วอกแวก และหลงลืม นอกจากนี้ยังมีอาการ ไม่อยู่นิ่ง หยุกหยิก นั่งไม่ติดที่ วิ่ง ปีนป่าย อย่างมาก ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ มีความยาก ลำบากในการทำงานอย่า่งเงียบๆ พูดมาก ขาดความอดทน เช่น มักชิงตอบคำถามก่อนจะถามจบ รอคอยไม่ได้ มักแทรกขึ้นระหว่างการสนทนา หรือระหว่างกิจกรรมต่างๆ อาการมักเกิดก่อนอายุ 7 ปี และมักพบว่าบกพร่องในสถานการที่บ้าน และที่โรงเรียน       พฤติกรรมต่อต้านสังคม มีพฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิพื้นฐานของคนอื่น โดยมีแบบแผนพฤติกรรมที่เป็นซ้ำๆ และคงอยู่ตลอด โดยไม่เคารพกฎบรรทัดฐานที่สำคญของวันนั้น อันได้แก่ ก้าวร้าวต่อคน หรือสัตว์

aggressive

รูปภาพ
    คำจำกัดความของความก้าวร้าวตามแนวคิดนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาเรื่องความก้าวร้าง คือ บารอน Baron ได้กล่าวถึงนิยามความก้าวร้าวไว้ว่า คือ "พฤติกรรมใดก็ตาม ที่มีจุดมุ่งหมายในการทำร้าย หรือทำให้เกิดการบาดเจ็บแก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยทีสิ่งมีชีวิตนั้น พยายามหลีกหนีจากการถูกทำร้ายนั้นๆ"      คำจำกัดความนี้จะเห็นว่าความก้าวร้าวเป็นพฤติกรรมทางสัังคมที่มีความเกี่ยวข้องทางสังคมหลายระดับ เช่น ระหว่างมีชีวิตอย่างน้อย 2 สิ่ง คือ ผู้รุกราน และเหยื่อ นอกจานี้ก็มีความเกี่ยวข้องทางแรงขับเข้ามาประกอบ คือแรงขับที่จะทำร้ายผู้อื่น และแรงขับที่จะหลีกหนีการถูกทำร้ายนั้น ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันก็คือ พลังอำนาจของผู้รุก และผู้ต้าน จะต้องแตกต่างกัน การทำร้ายผู้อื่นได้นั้นจะต้องหมายความว่าผู้รุกจะต้องมีพลังอำนาจพอที่จะเอาชนะการต่อต้านของฝ่ายตรงข้ามได้ ตัวแปรสุดท้ายของความเกี่ยวข้องกันก็คือ สภาพสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา กล่าวคือ ผู้รุกราน และเหยื่อจะต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่การรุกจะเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้รุกอยู่ขั้วโลกเหนือ และเหยื่ออยู่ขั้วโลกได้ การรุกรานอาจทำได้โดยไม่สะดวกนักเป็นต้น     

disorganization

รูปภาพ
      โดยปกติแล้ว สมาชิกส่วนใหญของสังคมยอมรับกฎระเบียบความประพฤติทางสังคม ซึ่งสังคมคาดหวังให้ปฏิบัติตาม แต่ก็มีบางคนที่พยายามจะเบี่ยงเบนหรือทำลายกฎเกณฑ์        จอห์น แฮร์แกน กล่าวถึงทฤษฎีที่สำคัญ ซึ่งอธิบายเกี่ยวการละเมิดกฎระเบียบความประพฤติทางสังคมของบุคคลคือ      - ทฤษฎีการเสียระบบทางสังคม และ      - ทฤษฎีการควบคุม       ทฤษฎีการเสียระบบทางสังคม มีรากฐานมาจากแนวความคิดแนวคิดของสำนักชิคาโกและผลงานของสมาชิกคนสำคัญหลายท่าน ลักษณะเด่น ในผลงานของนักอิาชญาวิทยาของสำนักชิคาโกทุกคนในระยะเริ่มแรก ก็คือความคิดเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคม นักทฤษฎีเหล่านี้มีความเชื่อเช่นเดียวกับเดอร์ไคม์ ซึ่งอธิบายพฤติกรรมเบี่ยงเบนเนื่องจากการขาดกลไกการควบคุม       "The Unadjusted Girl" ธอมัสสังเกตว่าในสังคมทุนนิยม สังคมเมืองหรือสังคมสมัยใหม่ได้ถูกกำหนดลักษณะด้วยคำจำกัดความพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในเชิงการแข่งขัน และทำลายระบบทางสังคม รวมทั้งแนวความคิด "สิทธิสตรี" ในแต่ละศตวรรษที่ผ่านมาของเมืองชิคาโก ธอมัสเห็นว่า ผู้หญิงสาวพยายามแสวงหาโอกาสใหม่ในโรงเรียน โรงงาน ร้านค้า สำนักงาน และสถานที่อื่น

Social Control

รูปภาพ
      กลไกการควบคุมทางสังคมภายใน คือการที่บุคคลยอมรับเอาบรรทัดฐานและค่านิยมของกลุ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลและปรารถนาที่จะปฏิบัติตามบรรทัดฐานดังกล่าวทำให้มีผลต่อการควบคุมตนเอง กระบวนการี้เป็นผลมาจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หากกระบวนการขชัดเกล่าทางสังคมไม่สัมฤทธิ์ผล บุคคลน้นมีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมเบียงเบน สังคมจึงต้องอาศัยการควบคุมทางสังคมภายนอกมาต่อต้านกับพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อความเป็นระเบียบของสังคม     การควบคุมทางสังคมไม่ควรสับสนกับการเป็นประมุขศิลปหรือความเป็นผู้นำส่วนบุคคล เมื่อบุคคลหนึ่งพยายามควบคุมพฤติกรรมคนอื่นๆ นั้น แสดงว่าเป็นการใช้ความเป็นผู้นำหรือมุขภาพ มากกว่าเป้นการควบคุมทางสังคม แต่เมืี่่อเขารวบรวมกลุ่มที่ประกอบด้วยเพื่อสมาชิกเข้าร่วมกับเขา และพยายามที่จะใช้อิทธิพลต่อความประพฤติของกลุ่มที่มีขนาดใหญ่กว่า นั่นคือ เขากำลังกระทำในฐานะตัวแทนการควงคุมทางสังคม เราอาจกล่าวได้ว่า บางครั้งความเป็นผู้นไใช้ในลักษณะความหายของการเห็นพ้องระหว่างผู้ที่มีความพยายามในการควบคุมทางสังคมกับความปรารถนาเหรือค่านิยมในการดำเนินชีวิตของคนใดคนหนึ่งในทำนองเดียวกัน การโฆษณาชวนเชื่ออาจเป็นคำที่