บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2012

Da Vinci

รูปภาพ
          เลโอนาร์โด ดา วินชี  เป็นชาวอิตาเลียน(ค.ศ.1452-1519) เป็นอัจฉริยะบุคคล มีความสามารถหลากหลาย มีผลงานทั้งศิลปะ มากมาย  ผลงานที่มีชื่อเสียง อาทิ โมนาลิซ่า  พระกระยาหารมื้อสุดท้าย  ทั้งยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิศวกรรมโยธาด้วย                                                                                                                                   วิทูเวียนแมน เป็นการพิสูจน์ทฤษฎี ของ “มอร์คัส วิทรูเวียส โพลิ ออ” ซึ่งเป็นนักเขียน สถาปนิก และวิศวกร แห่งอาณาจักรโรมัน มีหน้าที่น้างเครื่องกลต่าง เพื่อใช้ในการทำสงคราม ในยุคสมัยของเขา เขาไม่ใช้คนสำคัญหรือมีชื่อเสียงแต่อย่างใด นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า วิทรูเวยสเป็นผู้เขียนตำราชื่อ “เดออาร์คิเท็คทูร่า” หรือรู้จักกันในนามของ “เท็น บุคส์ ออฟ อาร์คิเทคเจอร์” เป็นหนังสือเล่มเดียวเกียวกับสถาปัตยกรรมในยุคนั้นที่มีหลักฐานหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน      ข้อความที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุด และยังคงใช้กันมาต่อเนื่องกระทั่งปัจจุบัน คือ สถาปัตยกรรม ต้องมี คุณลักษณะสามประการ ได้แก่ เฟริมเนส คือ ความแข็งแรง

Renaissance

รูปภาพ
“เรอเนสซองซ์” หมายถึงการเกิดใหม่ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวทิยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14-17  เป็นการระลึกถึงศิลปกรีกและโรมันในอดีตซึ่งเคยรุ่งเรืองให้กลับมาอีก โดยมีรากฐานมาจากประเทศอิตาลี และแผ่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ ทั่วยุโรป       สงครามครูเสด เป็นเหตุที่ทำให้ยุโรปได้ติดต่อและใกล้ชิดกับโลกมุสลิม จึงเกิดความสัมพันธ์ระหว่างตะวันออกและตะวันตก อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนทั้งความคิด วัฒนธรรม ของดินแดนทั้งสองนี้ ความรู้ของประชาชนที่มีความเจริญก้าวหน้าในแถบตะวันออกเป็นแรงดันทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางสติปัญญาขึ้นในแถบตะวันตก สงครามครูเสด จึงมีบทบาทสำคัญในการนำมาซึ่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุโรป  คริสตจักร พ่อค้าผู้ร่ำรวย ชนชั้นสูงในตระกูลต่าง ๆ ทั้งในมิลาน ฟรอเลนซ์ และสฟอร์ซา เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปินในยุคนี้  การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จ ผลงานของศิลปินมีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ศิลปินในหลายคนในยุคนี้เป็นที่รู้จัก

SunWu:The Art of War :Lesson 12

รูปภาพ
คนส่วนใหญ่อาจเคยได้ยินคำนี้แล้วก็จะรู้เลยว่าเป็ฯคำสอนของซุนวู แต่เป็นเพียงการรวมคำพูดทั้งสองประโยคที่ซุนวูพูดไว้เท่านั้นคือ "การชนะร้อยทั้งร้อยมิใช้วิธีการอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไมม่ต้องรบเลย จึงถือว่าเป็นวิธีวิเศษยิ่ง" กับ "หากรู้เขารู้เรา แม้นรบกันตั้งร้อยครั้งก็ไม่มีอันตรายอันใด ถ้าไม่รู้เขาแต่รู้เพียงตัวเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่ หากไม่รู้ในตัวเขาตัวเราเสียเลย ก็ต้องปราชัยทุกครั้งที่มีการยุทธนั้นแล" ฉะนั้นคำสอน "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" จึงไม่มีปรากฎในตำราพิชัยสงครามแตอย่างใด       บทที่ สิบสอง โจมตีด้วยไฟ อันการโจมตีด้วยเพลิงมีห้า หนึ่งคือเผาไพร่พล สองคือเผายุ้งฉาง สามคือเผายุทธสัมภาระ สี่คือเผาคลังพัสดุ ห้าคือเผาอุปกรณ์ขนส่ง      ใช้เพลิงพึงดูโอกาส ของใช้พังเตรียมให้พร้อม วางเพลิงพึงดูเวลา จุดเพลิงพึงกำหนดวัน ที่ว่าเวลาคือ ความแห้งแล้ง ของอากาศ ที่ว่าวัน คือดวงจันทร์โคจรไปถึงตำแหน่ง จี ปี้ อี้ เจิ่น   อันสี่ตำแหน่งนี้เป็นวันลมจัด       อันการโจมตีด้วยเพลิงนั้น พึงใช้กำหนดพุกประสานตามลักษณะเพลิงทั้งห้า เพลิงไหม้จากภายใน พึงรุกประสาน

การเมืองเปรียบเทียบ

                 กลุ่มผลประโยชน์ของอังกฤษและฝรั่งเศส           กลุ่มผลประโยชน์ในประเทศอังกฤษนั้นสร้างความสำคัญให้แก่ตนเองช้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ทั้งนี้เนื่องมาจากคนอังกฤษปฏิเสธที่จะยอมรับถึงกลุ่มผลประโยชน์ โดยทัศนคติเห็นว่าเป็นการแทรกแซงและเป็นการแสดงอันไม่ดีงามต่อกฎของสังคม แต่ที่จริงแล้วอังกฤษมีกลุ่มผลประโยชน์มาตั้งนานแล้ว แลบะในทางปฏิบัติกลุ่มผลประโยชน์นี้มีบทบาททางการเมืองอย่างกว้างขวางและมีอยู่มากมาย บางกลุ่มก็ได้จัดตั้งมาเป็นเวลานาน และเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มโดยแท้จริง เช่น สมาพันธ์อุตสาหกรรมอังกฤษ สภาสหพันธ์แรงงาน T.U.C. สมาพันธ์เผยแพร่อังกฤษ หรือ บางกลุ่มจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง สภาแห่งชาติเพื่อเสรีภาพประชาชน สภาป้องกันการทำทารุณกรรมต่อสัตว์ โครงสร้างกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศอังกฤษและความสัมพันธ์กับรัฐบาลในกระบวนการทางการเมืองนั้น มีลักษณะเฉพาะตัวสูงมาก กล่าวคือ กลุ่มผลประโยชน์แบบผลิตนั้น มีมาตรการต่อสู้กับรัฐบาลที่ออกกฎหมายก็คือการปฏิเสธจะร่วมมือ ซึ่งในทางปฏิบัติสามารถที่จะหยุดยับยั้ง หรือ เป็นตัวอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของรัฐบาลได้ กลุ่มผลประโยชน

ปัจฉิมบท สงครามร้อยปี

รูปภาพ
        หลังจากการเสียชีวิตของ โจนส์แล้วสงครามร้อยปียังคงดำเนินต่อมาเป็นเวลาอีก 22 ปี พระเจ้าชาร์ลที่ 7 ทรงสามารถรักษาสิทธิอันถูกต้องในการครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสแม้ว่าดยุกแห่งเบดฟอร์ดจะจัดให้มีพระราชพิธีราชาภิเษกสำหรับเฮรีที่ 6 เมื่อทรงพระชนมายุ 10 พรรษาก็ตาม ก่อนที่อังกฤษจะสร้างเสริมผู้นำทางการทหารและกองขมังธนูที่เสียไป อังกฤษก็สูญเสียพันธมิตรคือเบอร์กันดีในสนธิสัญญาอาร์ราส และในปีเดียวกัน ดยุกแห่งเบคฟอร์ดก็เสียชีวิต  ความอ่อนแอในการเป็นผู้นำของพระองค์อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งทีทำให้สงครามร้อยปียุติลง การใช้ปืนใหญ่และการโจมตีโดยตรงอยางหนักมีอิทธิพลต่อยุทธวิธีตลอดการต่อสุ้ในสงครามร้อยปีของฝรั่งเศส      ฌาน ดาร์ก หรือ โจนส์ออฟอาร์ค กลายเป็นตำนานมาเกือบสี่ศตวรรษ ที่มาของข้อมูลเกี่ยวกับโจนส์ส่วนใหญ่มาจากบันทึกพงศาวดาร และในศตวรรษที่ 19 มีการค้นพบบันทึกการพิจารณาคดีครั้งแรกฉบับดั้งเดิม 5 เล่ม ต่อมารนักประวัติศาสตร์ก็พบหลักฐานการพิจารณาคดีครั้งที่สองทั้งหมดซึ่งเป็นบันทึกของคำให้การจากพยานที่ฝ่านการสัตย์สาบาน 115 คน และบันทึกภาษาฝรั่งเศสของการพิจารณาคดีครังแรกที่เป็นภาษาละติน นอกจากนั้

Jeanne d'Arc

รูปภาพ
         ฌาน ดาร์ก หรือโจนออฟอาร์ก หรือ โยนออฟอาร์ค วีรสตรีของฝรั่งเศสและเป็นนักบุญในนิกายโรมันคาทอลิก โจนมาจากครอบครัวชาวนา ตระกูล “ดาร์ค” (ฐานะค่อนข้างดี และถูกเรียกว่า เกษตรกร) ทางตะวันออกของฝรั่งเศส สันนิษฐานว่าเกิดที่เมือ ดอมเรมี ในแถบแค้วนลอเร้นน์ ได้รับฉายาว่า สาวพหรหมจรรย์แห่งออร์เลออง เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของ ฝรั่งเศส เป็นคนเคร่งศาสนา ทุกวันเสาร์เธอชอบไปสวดมนต์ที่โบสถ์แบร์มงต์    และเป็นผู้นำกองทัพฝรั่งเศสในสงครามร้อยปีหลายครั้งที่ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายอังกฤษโดยอ้างว่ามีพระเจ้าเป็นผู้ชี้ทาง และเป็นผู้มีส่วนทางอ้อมในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของพระเจ้าชาร์ลที่ 7โจนถูกจับโดยฝ่ายเบอร์กันดีและถูกขายให้แก่ฝ่ายอังกฤษ ถูกพิจารณาคดี และถูกเผาทั้งเป็นในข้อหาว่าเป็นพวกนอกรีตเมืออายุ 19 ปี        ยี่สิบสี่ปีต่อมาพระเจ้าชาร์ลที่ 7 ไม่สามารถที่จะแสดงได้ว่าได้รับอำนาจมาจากผู้ที่ถูกประณามว่าเป็นผู้นอกรีต สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ลุสที่ 3 จึงมีคำสั่งให้มีตั้งศาลใหม่ในการพิจารณาการดำเนินการ การพิจารณาศาลสรุปว่าโยนส์เป็นผู้บริสทุธิ และทางวาติกันประกาศให้โจนเป็น “มรณสักขี”(หม

สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) ค.ศ.1455-1489

รูปภาพ
ระหว่างปีค.ศ. 1453-1487 ที่ อังกฤษ เวลส์ และฝรั่งเศส ราชวงศ์ทิวดอร์(ราชวงศ์แลงแคสเตอร์)ได้รับชัยชนะในที่สุด คู่สงคราม ราชวงศ์ยอร์ก :  ผู้บัญชาการ ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก,พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4, พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์ : พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6, เอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์, เจ้าชายแห่งเวลส์, พระเจ้าเฮนรี่ที่ 7        เป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษระหว่าง ผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์แลงคาสเตอร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับยอร์ก  ราชวงศ์ทั้งสองต่างมีเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งราชวงศ์แพลนเทเจเนต ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นเจ้านายที่เป็นเจ้าของที่ดินและกองทัพของผู้ครองที่ดินผู้สนับสนุนของทั้งสองฝ่ายต่างก็เปลี่ยนไปตามความเกี่ยวข้องทางราชวงศ์เช่นการแต่งานเข้ามาในราชวงศ์ ตำแหน่างผู้ครองที่ดิน ความมีอาวุโส และผลประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งบางครั้งยากที่จะติดตามได้ว่าใครอยู่ข้างใครเพราะการเข้าเป็นหรือ ยกเลิกการเป็นพันธมิตรอาจจะขึ้นอยู่กับการได้หรือเสียตำแหน่างจากการแตงงานหรือการถูกยึดทรัพย์สมบัติ..         ชื่อสงครามดอกกุหลาบนั้นเป็นชื่อมาจากตราประจ

Henry V of England

รูปภาพ
       พระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แลงคาสเตอร์ของราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1413-1422 ทรงเป็นพระราชโอรสของเฮนรี่แห่งโบลิคโบรค และ แมรี เดอโบฮุน ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงเสกสมรสกับแคทเธอรีนแห่งวาลัวร์ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักรบที่สำคัญที่สุดพระองค์หนึ่งในยุคกลาง เมื่อครั้งพระราชสมภพ มิได้มีสิทธิใกล้เคียงในการสืบราชบัลลังก์แม้วันและปี่ที่ประสูติก็มิได้บันทึกไว้เป็นที่แน่นอน พระองค์ไม่ทรงแต่เป็นผูรวบรวมอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษเท่านั้นแต่ทรงทำในสิ่งที่บรรพกษัตริย์ในอดีตพยายามจะทำคือไม่สำเร็จในงครามร้อยปี  คือการรวมราชบัลลังก์อังกฤษและฝรั่งเศษภายใต้พระมหากษัตริย์องค์เดียว        พระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศษ ปี ค.ศ. 1368-1321 แห่งราชวงศ์วาลัวส์ ได้รับการขนานนามว่า “ผู้เป็นที่รัก” หรือ “ผู้เสียสติ” พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์เมืองพระชนมายุเพียง 11 พรรษา ในพิธีบรมราชภิเษกที่มหาวิหารแรงส์ ต่อมาอีกห้าปีทรงเสกสมรสแบ อิสซาเลลาแห่งบาวาเรีย และทรงเริ่มปกครองประเทศด้วย พระเจ้าชาร์ลที่ 6 ทรงเริ่มมีอาการเหมือนทรงเสียสติเป็นพักๆ มาตั้งแต่อายุ 20 พรรษาก