ในศตวรรษที่ 14 มีการดึงอำนาจที่ในหมู่ขุนนางศักดินากลับคือสู่ราชบัลลังก์ โดยได้รับความช่วยเหลือที่มีพลังทางเศรษฐกิจและมีความรู้ความสามรถอันเป็นผลจากความสำเร็จของครอบครัวทางการค้า หรืออุตสาหกรรม กลายเป็นสังคมรัฐประชาชาติ มีการต่อต่อสู้ช่วงชิงอำนาจทางการเมืองภายในรัฐ ระหว่างรัฐในยุโรปกับสถาบันสันตะปาปา กลุ่มชนใหม่ หรือชนชั้นกลางซึ่งประกอบด้วยกลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ นายธนาคาร และผู้มีการศึกษา ร่วมกันสนับสนุนประมุขการเมืองของรัฐปราบปรามบรรดาขุนนางศักดินาภายในรัฐ และต่อต้านสถาบันสันตะปาปาจากภายนอก ทั้งนี้ในศตวรรษที่ 15-16 สันตะปาปาในความสำคัญในทางโลกและละเลยหน้าที่รับผิดชอลทางธรรม มีการขายใบไถ่บาป และการบูชาเรลิกของนักบุญอย่างงมงาย มีการซื้อขายตำแหน่งสมณศักิด์ มีการอุดหนุนบุคคลในครอบครัวในรับตำแหน่งสำคัญในศาสนา
เหตุการณ์ที่สำคัญอีกเหตุการณ์คือ ในสภาสังคายนาแห่งคอนสแตนซ์ เปิดเผยหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าเอกสาร “บรรณการของคอนสแตนติน”เป็นเอกสารปลอมที่สถาบันสันตะปาปาจัดทำขึ้นในศตวรรษที่ 8 ซึ่งมีผลให้อำนาจของคริสตจักยิ่งเสื่อมและสูญเสียความนิยม
ช่วงเวลาของการปฏิรูปศาสนากินเวลาประมาณหนึ่งร้อยสามสิบปี นับตั้งแต่การเรียกร้องของลูเธอร์เพื่อปฏิรูปศาสนา จนกระทั้งการต่อสู้ระหว่างนิกายโรมันคาทอลิก กับนิกายโปรเตสแตนต์และรัฐบาล ซึ่งสิ้นสุดโดยสนธิสัญญาเวสท์ฟาเลีย ในปี ค.ศ. 1648
ภายใต้อาณาจักรโรมัน สันตะปาปาและบรรดาผู้นำของโบสถ์โรมันคาทอลิกมีความรับผิดชอบสำคัญในการสร้างพ้อนฐานสำหรับพระผู้มาโปรด ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าจึงทรงประทานตำแหน่งและอำนาจที่มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมและประทศชาติให้แก่เขาทั้งหลาย ในยุคกลาง การทุจริตและการเกี่ยวข้องในชีวิตของประชาชนมากเกินไปได้ขัดขวางการสร้างพื้นฐานสำหรับพระผู้มาโปรด การใช้อำนาจสงฆ์ในทางที่ผิดใรระบบศักินายุคกลางที่เข้มงวดกับการทุจริต และความเสือมศีลธรรมในหมู่สงฆ์ได้สร้างความอึดอัดให้กับความพยายามของมนุษย์เพื่อบรรลุถึงความปรารถนาต่าง ๆ ของธรรมชาติเริ่มแรกที่มนุษย์ได้รับมาในเวลาแห่งการสร้างสรรค์
การเคลื่อนไหวเพื่อล้มล้างสภาพสังคมในยุคกลางและระบบ ศาสนาที่เสื่อมทราม เกิดจากความปรารถนาของธรรมชาติเร่มแรกของมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์จึงแสวงหาทั้งด้านซองซัง (ภายใน) และฮยองซัง(ภายนอก)ซึ่งตรงกับธรรมชาติเร่มแรกสองด้านของมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์จึงแสวงหาความพึงพอใจให้กับความปรารถนาภายในเช่น ความปรารถนาเพื่อชีวิตแห่งศรัทธา เกียรยศ หน้าที่ ความเคร่งศาสนาและความสัมพันธ์กับพระเจ้าและแสวงหาความพึงพอใจให้กับความปรารถนาภายนอกเช่น ความปรารถนาที่จะพัฒนาความรู้(โดยวิทยาศาสตร์) อำนาจแห่งเหตุผลและสิทธิอันชอบธรรม
การเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูลัทธิความคิดกรีก เป็นการเคลื่อนไหวแบบคาอินเพื่อแสวงหากรรมแห่งความปรารถนาภายนอกของมนุษย์เกิดได้ขึ้นก่อน แล้วจึงเกิดการเคลื่อนไหวแบบอาแบลเพื่อแสวงหากรรมแห่งความปรารถนาภายในของมนุษย์ การเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูลัทธิความคิกรีกที่รู้จักกันในชื่อของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ยุคเรอเนซองส์ เป็นการเน้นความสนใจแบบนักมนุษยนิยมที่สนใจความงามของธรรมชาติเสรีภาพส่วนบุคคลและคุณค่าของชีวิตในโลก การปฏิรูปศาสนาเกิดขึ้นจากความปรารถนาภายในของมนุษย์เพื่อฟื้นฟูหนทางชีวิตที่มีศูนย์กลางที่พระเจ้าขึ้นหม่ และมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ซึ่งต่างจากการเน้นทางโลกหรือการเน้นทางมนุษยนิยมแบบลัทธิความคิดกรีก Heiienism เราเรียกการปฏิรูปศาสนานี้ว่าเป็น การฟื้นฟูลัทธิความคิดฮิบรู Hebraism
มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นหนึ่งในผู้ปฏิรูปศาสนาคริสต์ โดยแยกมาเป็นนกกายโปรเตสแตนต์ เพราะไม่
บิดามารดาลูเทอร์ ยากจนไม่มีเงินจะให้ลูเทอร์เข้าเรียน โชคดีของลูเธอร์มีหญิงมั่งคั่งเกิดความเมตตาและช่วยเหลือให้เข้าอยู่ในมหาวิทยาลัย
ลูเทอร์ศึกษาเทววิทยา วรรณดคี ดนตรี และเขาชื่นชอบ กฎหมายเป็นพิเศษ และพ่อของเขาก็ต้องการให้ลูเทอร์เป็นนักกฎหมายลูเทอร์กลายเป็นคนขี้ขลาด กลัวผีเมือเขาต้องมาอยู่ในเหตุการดวลกันและเพื่อนของเขาตาย จากนั้น ในวันฝนตก ได้เกิดฟ้าผ่า ใกล้ๆ เขาและเขาสาบานว่าหากรอดตายจะบวชเป็นบาทหลวง และด้วยดวงของเขาหรืออะไรก็แล้วแต่เขาเข้าไปยู่ในอารามคณะออกัสติเนียนในมหาวิทยาลัยวิตเทนบูร์ก ศึกษาไบเบิลอย่างเอาใจใส่ และในที่สุดก็ได้เป็ฯอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้น
เมือเขามีโอกาสไปแสวงบุญที่กรุงโรม เขาได้เห็นชีวิตของสันตะปาปา และเห็นว่านักบวชไม่ควรดำเนินชีวิตหรูหรา โอ่โถงเช่นนี้ ในปี ค.ศ. 1515 สันตะปาปาเลโอที่ 20 ขายใบฎีกาไถ่บาป เพื่อจะนำเงินไปสร้างโบสถ์ โดยตั้งบัญญัติใหม่ว่า ถึงแม้จะทำความผิดเป็นอุกฉกรรจ์มหันตโทษเพียงไร ก็สามารถล้างบาปได้โดยซื้อใบฎีกาไถ่บาป
! ลูเทอร์เริ่มวิพากษ์วิจารณ์ และเรียกประชุมผู้รู้ทั้งหลายมาปรึกษา โต้เถียงกับบัญญัติใหม่ ในปี ค.ศ. 1517 ลูเทอร์นำประกาศที่เรียกว่ “ญัตติ 95 ข้อ” ปิดไว้ที่ประตูหน้าโบสถ์เมืองวิตเทนบูร์ก ซึ่งเนื่อหาเป็นการประณามการขายใบยกโทษบาปของสันตะปาปา แลการกระทำเหลวแหลกอื่น ๆ ปี 1520 ลูเทอร์ได้รับหมาย “การตัดขาดจากศาสนา” โดยที่ลูเทอร์ต้องออกจากเขตปกครองของจักรพรรดิ ไปหลบที่วอร์มส์พร้อมผู้ติดตามจำนวนหนึ่ง ที่นั่นลูเทอร์ได้แปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาเยอรมัน และได้เขียนงานเกี่ยวกับพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งพิธีมิสซา และศีลศักดิ์สิทธิ ซึ่งลูเทอร์ตั้งใจที่จะให้ชาบ้านซึ่งไม่เข้าใจภาษาละติน สามารถเข้าถึงหลักคำสอนและมีส่วนร่วมในพิธีกรรมต่าง ๆ ได้
Ein’feste burg ist unser Gott (A mighty fortressis) เป็นบทเพลงสวดสรรเสริญของนิกายโปรเตสแตนต์ที่มีชื่อเสียงของ มาติน ลูเทอร์ กล่าวกันว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการปฏิรูปศาสนา
นักประพันธ์เพลงหลายคนได้รับอิทธิพลจากบทเพลงสวดนี้และนำมาใช้ในผลงานประพันธ์ของตนกระทั่งในยุคปัจจุบัน
ผลของการปฏิรูปศาสนา
ทางการเมือง การปฏิรูปศาสนาได้ทำให้พวกที่ไม่ต้องการระเบียบแบบแผน และพวกที่มีความคิดเห็นรุนแรงทางศาสนาก่อการจลาจลวุ่นวายขึ้นเรียกว่า “กบฎชาวนา” ในปี ค.ศ. 1525 ที่โบฮีเมีย มีทั้งกลุ่มอัศวินต่อสู้กับเจ้านายของตน และพวกชาวนาที่ก่อการปฏิวัติต่อเจ้าของที่ดินโดยต่างยื่นข้อเสนอเรียกร้องสิทธิของตน และกำหนดกฎเกณฑ์ตามใจชอบ บ้างก็ขอเสรีภาพในการถือศาสนา ดังนั้นลูเทอร์จึงได้ลุกขึ้นมาสอนให้ประชาชนเคารพประมุข และกฎหมายของรัฐ และต่อต้านการจลาจล โดยถือว่าประมุขของรัฐมีอำนาจอันชอบธรรมในสายตาของศาสนา ที่จะดำเนินเด็ดขาดกับขบวนการเหล่านี้ เพราะนั้นคำสอนของลัทธิลูเทอร์ส่งเสริมอำนาจชนชั้นปกครอง
ทางศาสนา
เกิดการปฏิรูปศาสนาทั่งยุโรปโดยแบ่งออกเป็น
- แยกนิกายเป็น โปรเตสแตนต์และโรมันคาทอลิก
- การปฏิรูปภายในนิกายโรมันคาทอลิกเอง เช่น เกิดคณะเยสุอิด ที่เน้นการศึกษาวิทยาการใหม่เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สภาสังคายนาแห่งเทรนต์ ซึ่งต้องการแก้ไขข้อติเตียนของขบวนการปฏิรูปศาสนาโปรเตสแตนต์ ทั้งหมด แต่ยังเชื่อว่าสทิธิอำนาจมาจากพระคัมภีร์และขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ที่คริสตจักรได้รับสืบทอดมาจากเปโตรและยอมรับอำนาจของสันตะปาปาว่าบังมีอยู่ ผลการปฏิรูปนิกายโรมันคาทอลิก ทำให้สามรถป้องกันการขยายตัวของความนิยมในนิกายโปรเตสแตนส์แย่งมีประสิทธิภาพ แม้ว่าสันตะปาปาต้องเสียอำนาจในยุดรปไปมาก แต่ก็ยังสามารถรักษาอิทธิพลทางจิตใจเหนือประชากร จำนวนมากของโลกตะวันตกไว้ได้ และสามรถฟื้นฟูความศักดิ์สิทธิของโรมได้จนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น