บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2013

WWII:Hit Back

รูปภาพ
สถานการณ์โดยรวมหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายรุกอักษะก่อนปฏิบัติการ “โอเวอร์ลอร์ด และปฏิบัติการ “บาร์ราติออน” เมื่อสัมพันธมิตรสามารถขับไล่อิตาลีออกจากแอฟริกาเหนือและยกพลขึ้นบกโจมตีที่เกาะชิชิลียังผลให้ฮิตเลอร์สั่งยกเลิกปฏิบัติการ ปฏิบัติการที่เคริตส์ และจากการโจมตีที่ซิชิลีนั้น ยังส่งผลให้มุสโสลินีถูกโค่นจากอำนาจ ปฏิบัติการฮัสกี้ เป็นการยกพลขึ้นพื้นแผ่นดินใหญ่ยุโรปเป็นครั้งแรกของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งการยกพลครั้งนั้นย่อมจะต้องถูกต่อต้านอย่างหนัก สัมพันธมิตรรู้ถึงความเสียงนี้จึงเปิดปฏิบัติการ มีนส์มิทย์ ซึ่งเป็นการล่วงทางการข่าวซึ่งได้ผลและการยกพลขึ้นบกในครั้งจึงส่งผลต่อฝ่ายอักษะเป็นอย่างมาก เมื่อมุสโสลินีลงจากอำนาจแล้ว เขาถูกแขวนคอประจานกลางเมือง รัฐบาลใหม่อิตาลีเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร สถานการณ์ทางรัสเซียหลังจาก “ยทธการที่เคิสก์”เยอรมันถอนกำลัง แม้ความสูญเสียของ เยอรมันจะไม่มากเท่ารัฐเซียแต่รัสเซียนั้นสามารถเรียกกำลังเสริมได้อีกมหาศาลในขณะที่ทางฝ่ายเยอรมันยากที่จะหาทดแทน รุสเซียรุกคืบเข้ายึดครองโปลแลนด์โดยให้การสนับสนุนผู้นำที่นิยมคอมมิวนิสต์ สมรภูมิแปซิฟิก นายพลเรือยามาโมโต

WWII:1944

รูปภาพ
      มกราคม - ยุทธการ Monte Cassino เริ่มต้นการรบครั้งแรกของยุทธการทัพอเมริการล้มเหลว..กองทหารราบที่ 36 ของสหรัฐอเมริกาในอิตาลีได้รับความสูญเสียอย่างหนักในการพยายามข้ามแม่น้ำ Rapido.. กองกำลังอเมริกันยกพลขึ้นบกที่หมู่เกาะ Admiralty ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิวกีนี..ทัพสหรัฐฯรุกเข้า Majuro ในหมู่เกาะมาร์แชลยกพลขึ้นบกที่เกะ Kwajalein และเกาะอื่นๆ ในหมู่เกาะมาร์แชลซึ่งอยู่ในอาณัติของญี่ปุ่น..กองกำลังอเมริกันยังคงพยายามป้องกันหัวหาดที่ Anzio - กองทัพอังกฤษเข้ายึดครอง Maugdaw เมื่องท่าสำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตรในประเทศพม่า..กองทัพอังกฤษในอิตาลีเดินทัพข้ามแม่น้ำ Garigliano.. กองทัพอากาศอังกฤษทิ้งระเบิด 2,300 ตันเหนือกรุงเบอร์ลิน - กองทัพยูเครนที่ 1 ของกองทัพแดงบุกเข้าถึงโปแลนด์..กองทัพแดงรุกคืบไปทางตะวันตกเข้าสู่กลุ่มประเทศบอลติก - ฝ่ายสัมพันธมิตรเร่มปฏิบัติการ Shingle เข้ายึด Anzio อยู่นานถึง 4 เอื่นโดยที่กองปืนเยอรมันรุกใกล้จะถึงชายหาด.. ทัพสัมพันธมิตรพ่ายแพ้ในการพยายามข้ามแม่น้ำ Rapido      กุมภาพันธ์ - การยึดครองหมู่เเกะมาร์แชลของกองทัพอเมริกันใกล้จะสมบูรณ์ แผนการบุกฝรั่งเศสของฝ่ายสัมพันธ

WWII:Yamamoto Isoroku

รูปภาพ
     พลเรือเอกยามาโมโต้ แห่งกองทัพเรือจักรพรรดนาวีญีปุ่น และผุ้บัญชาการทัพเรือผสมรหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดที่เมืองนากาโอกะ จังหวัดนีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น รับปริญญาที่โรงเรียนนายเรือของญี่ปุ่นและนิสิต เก่าของวิทยาลัย      พลเรือเอกอิโซะโระกุ ยะมะโมะโตะ เป็นผู้บัญชาการในปีแรกสำหรับการวางแผนในสงครามหลัก ในสงครามอ่าวเพิร์ล ฮาเบอร์ แผนการรบทั้งหมด นายพลเรืออิโซโรกุ ยามาโมโต้เป็นผู้คิดทั้งหมด และได้ดัแปลงตอร์ปิโด ทำให้ดอร์ปิโดสามารถยิงในน้ำตื้นได้      ในการวางแผนรบที่ยุทธการมิดเวย์ แผนของยามาโมโต้สลับซับซ้อนแต่หนักแน่น ยามาโมโต้รู้ว่าหากเขาโจมตีมิดเวย์ กองเรือแปซิฟิคจะต้องออกมาป้องกันอย่างแน่นอน การต่อสู้ระยะไกลจากญี่ปุ่นขนาดนี้เป็นปัญหาอย่างแน่นอน  แต่กองเรือผสมของญี่ปุ่นเห็นว่ามีโอกาสที่จะล่อกองเรือ บรรทุกเครืองยินสหรัฐฯมาติดกับ ซึ่งถ้าเป็นไปตามแผนการที่วางไว้ย่อมคุ้มแน่นอน จึงเสี่ยงที่จะปฏิบัติการ โดยเรื่อบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ จะเป็นกำลังหลักที่จะเข้าโจมตีมิดเวย์ โดยมีกองเรือผิวน้ำที่เข้ามแข็งเป็นกองเรือสนับสนุน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างแน่นอน จำเป็นต้องโจมตีเกาะอาลิวเซียน ซึ่งห่

WWII:pol

รูปภาพ
      เยอรมันรุกเป็นครั้งสุดท้ายในแนวรบด้านตะวันออกในเดือนกรกฎาคม 1943 ที่ยุทธการ เคิสก์ กองทัพแดงกระหน้ำไม่ยั้งสามารถยันกำลังทัพเยอรมันกลับไปได้ หลังสมรภูมิรบที่สตาลินกราดแล้ว โซเวียตเป็นฝ่ายรุกในที่ทุกแห่งและภายหลังการขับเคียวต่อสู้อย่างหนักก็ประสบชัยชนะในที่สุด..      ฝ่ายประเทศพันธมิตรตะวันตก ก็สามารถเอาชนะคืบหน้าได้ในยุทธภูมิทุกแห่งเช่นกัน และเร่มระแวงกันเองต่างเกรงว่าอีกฝ่ายจะทำสัญญาสันตะภาพแยก สตลินเปลี่ยนท่าทีที่มีต่อประเทศพันธมิตรตะวันตก ภายหลังจากที่รุสเซียรุกคืบเข้ายึดครองดินแดนยุโรปตะวันออกและเยอรมัน สตาลินอ้างการแก้แค้นเยอรมันและการประกันความปลอดภัยจากการโจมตีของเยอรมันในอนาคตขึ้นบังหน้า เพื่อสร้างวงรัฐบริวารทางตะวันตกขึ้น และขยายลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าสู่ยุโรป ประเทศพันธมิตรตะวันตกมีสภาพอ่อนล้าเกินกว่าจะจัดการกับสตาลินได้ เมื่อประเทศพันธมิตรตะวันตกไม่สามารถเปิดแนวรบที่ 2 ตามที่สตาลินต้องการได้ โซเวียตดำเนิการตั้งรับเพื่อรักษาพรมแดนด้วยการจัดตั้งระบบคอมมิวนิสต์และการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ สตาลินยึดอูเครนคืนจากเชคโกสโลวะเกีย แม้ว่าโซเวียตจะเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติ แต่สตาลินก็ไ

WWII:Alliance’s Conference

รูปภาพ
     ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การประชุมครั้งสำคัญๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อยุติสงครามและสร้างสันติภาพแก่โลก ดังนี้      1 การประชุมที่คาซาบลังก้าปี 1943 The Casablanca Conference of 1943 ในเดือนมกราคม ผุ้นำของสองชาติคือ ประธานาธิบดีรูสเวลท์ และนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิล ร่วมประชุมกันที่เมืองคาซาบลันก้า เมืองท่าทางตะวันตกเยงเหนือของโมร็อคโค มติการเจรจาคือยุติการรบในแอฟริกา ร่วมปฏิบัติการรบจนดว่าฝ่ายอักษาะจะยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข ให้ดไวท์ ดี.ไอเซนฮาวร์ เป็นผู้บัญชาการกองกำลัง สัมพันธมิตร ในสมรภูมิรบในอแฟริกาเหนือและจัดการให้อิตาลียอมจำนน ผลการปฏิบัติการรบในแอฟริกาปรากฎว่าในวันที่ 12 พฤษภาคม 1943 กองกำลังอักษะกวาสองแสนคนยอมจำนนตอ่กองกำลังสัมพันธมิตร เป็นการยุติการรบในแอฟริกา งานที่ต้องทำต่อไปคือปฏิบัติการรบให้อิตาลียอมจำนน เริ่มด้วยต้นเดือนกรกฎา 1943 กองกำลังสัมพันธมิตรประกอบด้วยอังดฤษ สหรัฐอเมริกา และแคนาดาจากตูนิเซียข้ามทะเลเมดิเตอเรเนียนบุกเข้ายึดเกาะซิซิลี Sicily ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิตาลี ซิชิลียอมจำนน ปลายเดือนกรกฎาคม มุสโสลินีถูกโค่นล้มอำนาจ รัฐบาลใหม่อิตาลีประกาศสงครามกับเยอรมัน  

The price

รูปภาพ
     แนวความคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์สมัยใหม่ Modren Strategy แนวคิดเกียวกับเรื่องยุทธศาสตร์สมัยใหม่นั้น ได้เริ่มในตอนปลายศตวรรษที่ 15 ต่อตอนต้นศตวรษที่ 16 กล่าวคือ ได้มีรัฐบุรุษที่มีชื่อเสียงชาวอิตาเลียนผู้ไน่งชื่อ มาเคียวเวลลี ซึ่งนับเป็นบุคคลแรกที่ได้พัฒนากฎเกณฑ์ในการใช้กำลังอำนาจทางการเมือง      ในโลกปัจจุบัน มาเคียเวลลี ได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มด้วยกัน สิ่งสำคัญที่มาเคียเวลลีกล่าวถึงก็คือ รูปแบบและวิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ “พลังอำจาจของรัฐ”ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า “องค์ประกอบของพลังอำนาจแห่งชาติ”ตามแนวคิดของมาเคียวเวลลี่ นั้น ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักสำคัญ 3 ประการ การเมือง สังคม และการทหาร ซึ่งแต่ละประเทศมีพลังอำนาจไม่เท่ากัน บางประเทศีพลังอำนาจมากบางประเทศมีพลังอำนาจน้อย ประเทศที่มีอำนาจมากสามารถใช้พลังอำนาจบับบังคับให้ประเทศที่มีพลังอำนาจน้อยปฏิบัติตามในส่งที่ตนต้องการ ในสมัยนั้นไม่มีการคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญอีกประการคือ “เศรษฐกิจ” ซึ่งมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อองค์ประกอบอื่นๆ ในระยะต่อมา      “พลังอำนาจแห่งชาติ” เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งในการศึกษายุทธศาสตร์ส

WWII:Thai-Japan

รูปภาพ
    สงครามโลกครั้งที่ 2 ตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระประเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ จอมพลป.พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำฝ่ายทหารของคณะราษฎร์     พ.ศ.2483 (ค.ศ.1940) กรณีพิพาทอินโดจีน สถานการณ์ในประเทศไทยเริ่มในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2483(ค.ศ.1940)เมื่อคณะนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองรวมทั้งประชาชนร่วมกันเดินขบวนเรียกร้องรัฐบาลเรียกเอาดินแดนคือจากฝรั่งเศสจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112(Franco-Siamese War “สงครามฝรั่งเศษ-สยามการหาประโยชน์ของฝ่ายฝรั่งเศสในดินแดนลาว โดยใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของสยามที่ไม่สามารถดูแลหัวเมืองชายแดนไม่ได้ทั่งถึง       การก่อกบฏในเวียดนาม ที่เกิดเป็นระยะๆ การปราบฮ่อ ซึ่งแตกพ่ายจากเหตุการณ์กบฎไท่ผิงในจีน สร้างความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลฝรั่งเศสที่ปารีสมากยิ่งขึ้น ผลคือไทยต้องยอมยกดอนแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งนำมาซึ่งการสูญเสียดินแดนประเทศราชของไทยใรเขมรและลาวที่เหลืออยู่ในเวลาต่อมา)    พ.ศ.2484 (ค.ศ. 1941)      จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกร

WWII:Georgy Zhukov

รูปภาพ
     จอมพล เกออร์กี จูคอฟ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหภาพโซเวียต ผู้บัญชาการทหารคนสำคัญ ผู้บัญชาการกองทัพแดงในการปลดปล่อยสหภาพโซเวียต จากการรุกรานของนาซี ปลดปล่อยยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ และเข้ายึดกรุงเบอร์ลิน    ซูคอฟ เกิดในครอบครัวชาวรัสเซีย 1915 ถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารระว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังการปฏิวัติเดือนตุลา เขาได้เข้าร่วมกับพรรคบอลเชวิค และต่อสู้ในสงครามกลางเมืองรัสเซียซูคอฟขึ้นเป็นผู้บัญชาการกรมในปี 1930 ซูคอฟเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญในทฤษฎีใหม่ของสงครามยานเกราะ ซึ่งมีความโดดเด่นเรื่องการวางแผนการรบที่เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย เน้นระเบียบวินัยและความเข้มงวด เขาเป็นหนึ่งในนายทหารไม่มากนักที่รอดพ้นจากการกวาดล้างกองทัพครั้งใหญ่ของสตาลิน      1938 ซูคอฟเป็นผู้บัญชาการกลุ่มกองทัพโซเวียตมองโกเลียที่ 1 และบัญชากากรรบกับ กองทัพกวางตุ้งของญี่ปุ่น ที่บริเวณพรมแดนมองโกเลียกับรัฐแมนจูกัวของญี่ปุ่นในสงครามอย่างไม่เป็นทางการ ญี่ปุ่นหลังจะทดสอบกำลังในการป้องกันเขตแดนของโซเวียต จนกลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบอย่างรวดเร็ว เรียกว่า การรบแห่งฮาลฮิล โกล ซูคอฟสามารถชนะสงครามอย่างง่ายดายชื่อเสียงของ

WWII:Operation Husky

รูปภาพ
     การบุกเกาะชิชิลีภายใต้การปฏิบัติการฮัสกี้ เป็นหนึ่งในปฏิบัติการหลักในสงครามโลกครั้งที่สองของฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อยึดครองเกาะชิชิลีจากฝ่ายอักษะ  เป็นการเปิดฉากของการทัพอิตาลี      ปฏิบัติการฮัสกี้เริ่มต้นขึ้นในคืนระหว่างวันที่ 9 และวันที่ 10 กรกฎาคม 1943 และยุติลงในวันที่ 17 สิงหาคม ปีเดียวกัน โดยฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถบรรลุเป้าหมายในเชิงยุทธศาสตร์จากการขับไล่กองกำลังทางบก ทางน้ำและทางอากาศของฝ่ายอักษะออกจากเซิชิลีได้สำเร็จ ยังผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามรถควบคุมน่านน้ำทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมุสโสลินีถูกขับไล่ให้พ้นจาตำแหน่างนายกรัฐมนตรี่อิตาลี ความสำเร็จดังกล่าวปูทางสู่การรุกคืบในอิตาลีแผ่นดินใหญ่ในเวลาต่อมา     แผนการดำเนินงานฮัสกี้เรียว่าโจมตีทั้งบนบกและในน้ำ กองทัพอเมริกาดำเนินการโจมตีเชื่อมโยงไปถึงทางใต้และทางตะวันออกและบนชายฝั่งทางตอนใต้กลางของเกาะซิชิลี โดยการจู่โจมซึ่งอยู่ทั้งบนบกและในน้ำปืนใหญ่ยังสนับสนุนจากเรือรบแต่มีคำสั่งห้ามการสนับสนุนทางอากาศ โครงสร้างทางคำสั่งที่ซับซ้อนซึ่งต้องโจมตีพร้อมกันทั้งทางบกและทางเรือดำเนินการโดย นายพล ดไวต์ ดี. ไอเซนเฮาร์ และนายพลแห่งแอฟริกาเน

WWII:UN

รูปภาพ
    องค์การระว่างประเทศ องค์กรสหประชาชาติ United Nations Organizaton จัดตั้งขึ้นโดยยึดหลักสันติภาพและภารดรภาพเป็นหลัก      ในการแสดงหาสันติภาพเริ่มขึ้นที่ยุโรป ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการเคลื่อนไหวที่จะดำรงไว้ซึ่งสันติภาพอันถาวร แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ต้นคริสตศตวรรษที่ 19 ประเทศต่าง ๆ ร่วมมือกันแสวงหาลู่ทางขนัดปัญหาระหว่างประเทศโดยอาศัยการประชุมปรึกษากัน เช่นการปรชุมแห่งเวียนนา ,การประชุมเอกซ์ลาซาแปล เป็นต้น เป็นสมัยที่เรียกว่า สมัยความร่วมือแห่งยุโรป Concert of Europe ต่อมาเกือบร้อยปี มีการประชุมที่กรุงเฮก ในปี 1899 และ 1907 เพื่อพิจารณาลดอาวุธทั่วไป ความร่วมมือยังปรากฏในรุ)ของความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งสไภพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ สหภาพไปรษณีย์สากลระหว่างประเทศเป็นต้น แต่ความพยายามดังกล่าวได้ผลไม่ถาวร จนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ประธานธิบดี วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ได้พยายามจัดตั้งสันนิบาตชาติ เพื่อดำรงรักษาสันติภาพของโลกในถาวรแต่ในที่สุดสันนิบาตชาติก็ต้องล้มเลิกไป ประเทศต่าง เห็นถึงคุนประโยชน์ของสันนิบติชาติในท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงร่วมมือกนสถาปนาอง

WWII:Douglas MacArthur

รูปภาพ
     แมคอาร์เธอร์ เป็นผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐฯตะวันออกไกลและช่วงชิงพื้นที่มหาสทุทรแปซิกฟิก ด้านตะวันตกเฉียงใต้จากประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ออสเตรเลียเป็นฐาน วลีที่ที่มีชื่อเสียงที่แมกอาเธอร์กล่าวแก่ชาวฟิลิปปินส์ระหว่างถอยหนีกองทัพญี่ปุ่นในฟิลิปปินส์คือ “ข้าพเจ้าจะกลับมา I shall Return” และเมื่อกลับมาตามคำสัญญาหลังการถอยไปตั้งหลักที่ออสเตรเลีย แมกอาเธอร์ ได้ประกาศอีกครั้งในขณะที่เดินลุยน้ำลงจาเรือที่อ่าวเลย์เตว่า “ข้าพเจ้ากลับมาแล้ว I Have Return” พลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์ Douglas MacArthur เป็นจอมพลชาวอเมริกัน ที่มีชื่อเสียงในการบัญชาการรบลภาคพื้นแปซิกฟิก ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้บัญชาการผู้ที่ให้ญี่ปุ่นจดสนธิสญญาพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายพันธมิตร ณ เรือประจัญบานยูเอสเอส มิซูรี นอกจานี้เขายังเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้ ญี่ปุ่น พัฒนาอย่างรวดเร็ว และยังเป็นผู้บัญชาการสมัยสงครามเย็นในสงครามเกาหลี อีกด้วย    พลเอก แมกอาร์เธอร์ทำหน้าที่เป็นผู้รับการยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขเป็นทางการของญี่ปุ่น เนื่องจากเขามีเชื้อสายของ นาวเอก พิเศษ แมททิว คราวเรท เพอรี่ ผุ้เคยบีบให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ และดำรงตำแหน่งผุ

WWII:Eastren front

รูปภาพ
     22 มิถุนายนเริ่มปฏิบัติการบาร์บารอสซ่า กองทัพเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายอักษะรุกรานสหภาพโซเวียตโดยแบ่งการโจมตีอกเป็นสามทางพุ่งเป้าหมายไปยังนครเลนินกราด กรุงมอสโกและแหล่งน้ำมันแถบเทือกเขาคอเคซัส กองทัพเยอรมันบางส่วนได้รับอนุญาตให้ใชบ้ดอนแดนฟินแลนด์ในการโจมตีสหภาพโซเวียต      ฮังการีและสโลวาเกียประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียตท้งระเบิดกรุงเฮลชิงกิฟินแลกน์ประกาศสงครามต่อสหภาพโซเวียต สงครามต่อเนื่องเริ่มขึ้น อังเบเนียประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต    กรกฎาคมกองทัพเยอรมันบุกกรุงริกา เมืองหลวงของลัตเวีย ระหว่างทางไปโจมตีนครเลนินกราด สตาลินประกาศ “นโยบายเผาให้ราบ”กองทัพเยอรมันเคลื่อนทัพถึงแม่น้ำดไนเปอร์ ไอช์แลนด์ถูกยึดครองโดยสหรัฐอเมริกา ยูโกสลาเวียถูกผนวกเข้ากับประเทศต่าง ๆ ที่เป็นฝ่ายนิยมอักษะ กองทัพเยอรมันแย่งเลนินกราดออกจากส่วนที่เหลือของสหภาพโซเวียต อังกฤษและสหภาพโซเวียตลงนามในข้อตกลงป้องกันร่วมกันโดยให้สัตยาบันว่าจะไม่ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพแยกต่างหากกับเยอรมนี กองทัพแพนเซอร์ยึดเมือมินสก์ และเปิดทางไปสู่ยูเครน กองทัพแดงโจมตีโต้แถบเลนอนกราด       สิงหาคม ทหารโซเวียตถุกลอมโด

WWII:Kursk

รูปภาพ
     กองทัพเยอรมันสูญเสียอย่างหนัก และกองพลที่ 6 ในสตาลินกราดถูกบีบให้ยอมจำนนแนวรบด้านตะวันออกถูกผลักดันไปยังบริเวณก่อนการรุกในฤดูร้อน การตีโต้ของโซเวียตหยุดชะงัก กองทัพเยอรมันโจมีตีอาร์คอฟอีกครั้งเกิดเป็นแนวรบที่ยื่นเข้าไปในดินแดนของโซเวียตรอบเคิสก์     กองกำลังเยอรมันและโซเวียตเผชิญหน้ากันในแนวรบด้านตะวันออก บริเวณย่านชานนครเคิสก์ ห่างจากกรุงมอสโกไปทางใต้ ซึ่งเป็นชุดปฏิบัติการสงครามยานเกราะที่ใหญ่ที่สุด รวมถึงยุทธการโปรโฮรอฟกา และการสงครามทางอากาศวันเดียวราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นยุทธการครั้งสุดท้ายของเยอรมันที่ดำเนินการในยุทธภูมิด้านตะวันออก ชัยชนะที่เด็ดขาดของโซเวียตเป็นผลให้กองทัพแดงมีการริเริ่มทางยุทธศาสตร์ในช่วงที่เหลือของสงคราม - เยอรมัน     เนื่องจากความพ่ายแพ้ในสมรภูมิสตาลินกราดแนวรบด้านรัสเซียจึงเปลี่ยนแปลงไปมากนับจากเริ่มปฏิบัติการบาร์บารอสซา จึงมีการวางแผนการรุกครั้งใหญ่ที่เคิสก์      ฮิตเลอร์ต้องการจะทำลายกองทัพรัสเซียในบริเวณส่วนที่ยื่นเข้ามา จึงวางยุทธการ ซิทาเดล Citadel เพื่อโจมตีกองทัพรัสเซีย ด้วยกำลังจำนวนมาก Salient หรือส่วนของกองทัพรัสเซียที่ยื่นเข