บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2013

Russian Federation

รูปภาพ
     การล่มสลายของสหภาพโวเวียต เป็นชื่อเรียกช่วงเวลาระหว่างปี 1985-1991 ซึ่งเป็นช่วงเวลที่มีฮาอิล กอบาชอฟ ผู้นำของสหภาพโซเวียต เดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของสหภาพโซเวียต ภายใต้นโยบายกลาสนอสต์-เปเรสทรอยกา ซึ่งเป็นการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็จเจ้าของธุรกิจส่วนบุคคล การปฏิรูปดังกล่าวทำให้ประชาชนในสหภาพโซเวียตตระหนักถึงเสรีภาพในการดำรงชีวิต ต่อมาจึงส่งผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991      มิฮาอิล เซร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ เป็นอดีตประธานาธิบดีและรัฐบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต รวมทังยังเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตอีกด้วย ความพยายามปฏิรูปสหภาพของกอร์บาชอฟได้นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการยิตุสงครามเย็น ด้วยเหตุนี้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ     กอร์บาชอฟได้รับเลือกให้เป็นผู้ช่วยผู้บิรหารสูงสุดของ “สหภาพสาะรณรัฐสังคมนิยม โซเวียต”และเป็นสมาชิกกรรมการกลางของพรรคในปี 1971 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรระหว่างปี 1980-1985 เป็นสมาชิกโปลิตบูโร(คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง) และเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสค์ แทนเชร์เนนโกที่เสียชีวิต กระท

Glasnost&Perestroika

รูปภาพ
     นโยบายกาสนอสต์ คือ การ “เปิด”ประเทศให้กว้างขึ้น ให้เป็ประชาธิปไตยมากขึ้น ดดยให้ปรชาชนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นของตน      นโยบายเปเรสตรอยกา คือ การ “ปรับ”สภาพเศรษฐกิจและสังคมของสหภาพโซเวียตให้คลายจากความชะงักงัน เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนชาวโซเวียตให้ดีกว่าเดิม       มิคคาอิล กอร์บาชอฟ ประสบความสำเร็จในการนำนโยบายทั้ง 2 มาปฏิรูปการปกครองให้เป็น ประชาธิปไตยมากขึ้น มีการจัดตั้งสมัชชาผู้แทนประชาชนขึ้น ประกอบด้วยสมาชิก 2,250 คน ดดยรัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนมีโอกาสได้เลือกตั้งบุคคลที่ตนเชื่อมั่นและศรัทธาในความสามารถ ซึ่งก่อนหน้านี้จะต้องเป็นผู้ที่รัฐเป็นผู้กำหนดตัวไว้ มีการให้สิทธิเสรีภาพแก่สื่อมวลชน ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการชุมนุมกัน และเลือกนับถือศาสนา ปล่อยนักโทษการเมือง ล่าสุดสมัชชาผู้แทนประชาชนได้ลงมติด้วยเสียงข้างมากให้กอร์บาชอฟเป็นประธานาธิบดีที่มีอำนาจลริหารอย่างหว้างขวาง เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติต่าง ๆ ของประเทศ      แต่กอร์บาชอฟประสบความล้มเหลวด้ารเศรษฐกิจและสังคม เพราะชาวโซเวียตยังคงดำรงชีวิตอย่างยากแค้นต่อไป อาหารและปัจจัยในการดำรงชีวิตยิ่งขาดแคลนมากขึ้นกว่าเ

Soviet-Afganistan

รูปภาพ
     เป็นการต่สู้ระหว่างกองโจรมุสลิมต่อต้านมูจาฮีดีน กับรัฐบาลอัฟกันฯ และกองทัพโซเวียต สงครามเริ่มต้นจากการทำรัฐประหาร ในปี 1978 โค่นล้มประธานาธิบดีของอัฟกานิสถาน คือ ซาร์ดาร์ เดาวด์ คาน ผู้ซึ่งขึ้นมามีอำนาจโดยการโค่นล้มกษัตริย์ ตัวประธานาธิบดีถูกลอบสังหารและ รัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่ฝักใฝ่โซเวียตภายใต้การปกครองของ นัวร์ มูฮามัด ทารากิ ก็ถูกจัดตั้งในปี 1979 การทำรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งได้ทำให้ ฮาฟิซูลล่าห์ อามิน มีอำนาจ เป็นปัจจัยให้โซเวียตเข้ามารุกราน และตั้งให้ บาบราก คาร์มาล เป็นประธานาธิบดี         การรุกรานของโซเวียตซึ่งทำให้ชาวอัฟกันลุกขึ้นต่อต้าน เกิดจากกองทหารเพียง 30,000 นาย ซึ่งได้เพิ่มขึ้นในที่สุดเป็น 100,000 นาย โดยได้รับการสนับสนุนจาก อเมริกา ซาอุดิอาระเบีย อิสราเอล จีน ปากีสถาน และกลุ่มอิสลามมู จาฮีดีน จากประเทศมุสลิมอื่น ๆ ทั้งโลก ผ่านปากีสถาน ถึงแม้ว่าโซเวียตจะมีอาวุธที่เหนือกว่า และมีกำลังอากาศเพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายต่อต้านก็สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นได้ สงครามได้กลายเป็นการปักหลักสู้กันโดยกองทัพของโซเวียตควบคุมพื้ที่ในเมือง และกลุ่มกองโจรได้ปฏิบัติการอย่างเป็นอิสระในพื้น

KGB Komitet gosudarstvennoi bezopasnost'i

รูปภาพ
     คณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ หรือ เคจีบีเป็นอดีตหน่วยงานกลาง ดูแลการข่าว ความมั่นคง ตำรวจสันติบาล และ กิจการชายแดนของสหภาพโซเวียตั้งแต่ปี 1954-1991 โดย เคจีบีถูกยุบไปหลังจากหัวหน้าเคจีบีได้ร่วมก่อกบฏรัฐบาลประธานาธิบดี กอร์บาชอฟแต่ไม่สำเร็จ จึงถูกแทนที่โดยสำนักงานความมั่นคงกลางFederalnaya sluzhba bezopasnosti, FSB แทน      มีนาคม ปี 1954 องค์การมั่นคงปลอดภัยแห่งรัฐ ได้แยกเป็นกองอิสระเรียกว่า “KGB” มีหน้าที่ควบคุมตำรวจลับ ตำรวจตระเวณชายแดน และกองทหารรักษาความปลอดภัยภายในให้ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐบาลและสมาชิกพรรคในระดับสูง ทำการจารกรรมในต่างประเทศ ตำรวลับประเทสและในประเทศควบคุมการติดต่อในต่างประเทศ ควบคุมแหล่งข่าวต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบความไม่จงรักภักดีต่อรัฐบาล      เคจีบีมีสัญลักษณ์ ดาบและโล่ คอยพิทักษ์สังคมโซเวียต มีอำนาจและอิทธิพลมาก พรรคคอมมิวนิสต์จึงต้องควบคุมอย่างใกล้ชิดอีกต่อหนึ่ง เพราะอาสเป็นอันตรายต่อพรรคได้ หลังจากสตาลินถึงแก่รรม อำนาจความทะเยอทะยานของแบเวีย  หัวหน้าเคจีบี  ทำให้คณะกรรมการ โปลิสบูโร หวาดกลัวมาก จึงตั้งข้อหาเขาว่ามีความผิดฐานทรยศและฝ่าฝืนกฎหมายแห่

Ronald Wilson Regan

รูปภาพ
     การเลื่อกตั้งในปี 1980 พรรครรีพับลิกันส่งโรนัล เรแกน ได้รับเลือกในตำแหน่งประธานาธิบดี และจอห์น เอ็ช.ดับเบิลยู.บุช George Herbert Walker Bush ได้รับเลือกใรตำแหน่างรองประธานาธิบดี โรนัล เริแกน กล่าววิจร์ผลงานภายในประเทศของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ว่าไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ คือภาวะเงินฟ้อยังสูงและอัตราคนว่างงานสุง โรนัล เรแกน เสนอแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจคือลดการเก็บภาษีรายได้คนอเมริกัน ลดการใข้จ่ายเงินที่ไม่จำเป็นของรัฐบาลกลางอันรวมถึงหยุดการรับเจ้าหน้าที่ใหม่ในหน่วยงานของรัฐ สร้างความสมดุลย์ในงบประมาณรายรับรายจ่าย ลดการแทรกแซงของรัฐบาลกลางในธุรกิจ มอบงานสวัสดิการให้อยู่ภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลมลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น ลดค่าจ้างแรงงานต่ำสุดลงอีกเพื่อลดอัตรคนว่างงานลงและสร้างงานที่จำเป็นเพิ่ม และทั้งจะปฏิรูปการทำงานของกระทรวงพลังงานและกระทรวงศึกษาธิการ โรนับ เรแกนกล่าววิจารณ์ผลงานต่างประเทศของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ว่าทำให้สหรัฐอเมริกาแสนยานุภาพด้านกองกำลังและอาวุธด้อยกว่ารุสเซียและทั้งลดบทบาทสหรัฐอเมริกาในเวที่การเมืองโลก โดยอิหร่านกล้าจับคนอเมริกันในสถานทูตอเมริกันที่กรุงเตหะรานในอิหร่

The Iranian Hostage Crisis 1979

รูปภาพ
       ความรู้สึกบาดหมางของรุสเซียและสหรัฐอเมริกาทำให้การลงนมในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ล่าช้า สนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศษสตร์ฉบับที่ 1 มีการลงนามที่มอสโคว์ระหว่างประธานาธิบดีนิกสันกับลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ ในปี่ 1972 กำหนดอายุสนธิสัญญา 5 ปี การเตรียมการกำหนดแนวทางข้อตกลงในสนะสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 เริ่มในวันที่ 1974 ระหว่างประธานาธิบดีฟอร์ดกับลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ ที่วลาดิวอสต๊อก รุสเซีย เกิดข้อตกลงวลาติวอสต๊อก 1974 ความบาดหมางระหว่างสหรัฐอเมริกากับรุสเซียเร่มจากประธานาธ่บดีคาร์เตอร์ชูนโยบายสิทธิมนุษยชนและกว่างวิจารณ์รุสเซ๊ยว่ากดขี่ข่มเหงชาวยิวในรุสเซีย รวมถึงมีแนวโน้มที่จะเปิดความสัมพันะทางการทูตอย่งเป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่ในอนาคต ทั้งสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนสร้างจรวดขีปนาวุธเอ็มเอ็ก และจรวดขีปนาวุธเพอร์ชิง 2 ซึ่งล้วนมีประสิทธภาพเหนือกว่าจรวดขีปนาวุธยิงข้ามทวีป ต้านการบุกโจมตีของรุสเซีย สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่รุสเซีย ขณะเดียวกันรุสเซียจับกุม คุมขัง ทรมานและเนรเทศประชาชนที่ต่อต้านกล่าววิจารณ์โจมตีรัฐบาลรุสเซียรวมถึงยับยั้งปราบปรามชนชาวยิวในรุสเซีย ที่เรี

Deng Xiaoping

รูปภาพ
เหมา เชตุงประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือประธานหมา ประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง ใช้สัญลักษณ์ค้อนเคียวเป็นสัญลักษณ์พรรค  ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง ที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัด ในปีแรกของการบริหารประเทศ เหมาเน้นการเพิ่มความชำนาญและประสิทธิภาพในการปฏิรูปทางสังคมและเศรษฐกิจและประชาชนทุกชนชั้นเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจนี้ผลตอบรับจึงเป็นที่ประทับใจและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง ปี 1950 นานาชาติเริ่มาให้การยอมรับรัฐบาลคอมมิวนิสต์มากขึ้นตามลำดับ แต่สิ่งที่ทำให้การยอมรับจากนานาชาติต้องหยุดชะงักคือเหตุการณ์สงครามเกาหลี เนื่องจากในปี 1950 กองกำลังสหประชาชาติได้ส่งเข้าไปเกาหลีเหนือ จีนเกรงว่าจะคุกคามต่อดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหัวใจทางด้านอุตสาหกรรม จีนจึงส่งกองทัพปลดแอกประชาชน ซึ่งเรียกตัวเองว่าอาสาสมัครประชาชนจีนเข้าไปเกาหลี่เหนือตามคำเรียกร้อง ในสงครามครั้งนั้น มีประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ใหญ่ ๆ 2 ประเทศคือจีนแผ่นดินใหญ่และสหภาพโซเวียต เข้าช่วยเหลือเกาหลีเหนือ โดยเหมาเจอตุง เป็นผู้ให้การสนับสนุนเกาหลีเหนือ       ผลงานและความผิดพลาดข

Jame Earl Carter

รูปภาพ
      เจมส์ อี. คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาลำดับที่ 39 จาพรรคเดโมเครติกนำการบริหารประทเศระหว่างปี 1977-1981 โดยมี Walter F. Mondal เป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปว่า จิมมี่ คาร์เตอร์      จิมมี คาร์เตอร์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกันที่จบจากโรงเรียนนายเรือ เป็นจากกลุ่มรัฐทางใต้สุด เป็นคนแรกที่ได้รับเลือเป็นประธานาธิบดีนับแต่เกิดสงครามกลางเมืองและเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่หลังเสร็จสิ้นพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่างประธานาธิบิเลือกเดินบนถนนเพนซิลวาเนียพร้อมภรรยาจากอาคารพิธีกลับทำเนียบขาวเพื่อแสดงภาพลักษณ์ใหม่ของความเป็นสามัญชนของประธานาธิบดี      นโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ เน้นในเรื่องการเคารพในสิทธิมนุยชน อันหมายถึรัฐบาลต้องยอมรับในเสรีภาพของประชาชนด้านการพูด การพิมพ์ การนับถือศสนา การเดินทาง แรลงคะแนนรวมถึงได้รับการพิพากษาที่ยุติธรรมเมืองกระทำความผิด ประธานาธิบดีคาร์เตอร์จะจำกัดหรือยกเลิกการให้ความช่วยเหลือและหยุดส่งสินค้าให้แก่ประเทศใดก็ตามที่ประธานาธิบดีคาร์เตกรอืเชื่อว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงหรือละเมิดสิมธิของประชาชนอันกได้แก่บางประเทศในทวีปเอเชีย แอฟริก

international relations (Cold War)

รูปภาพ
     ภาวะ “สงครามเย็น”กับการดำเนินนโยบายของอภิมหาอำนาจสองประเทศคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต มีดังนี้      การเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา แนวนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกานับจากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน แบ่งศึกษาได้เป็น 2 ระยะได้แก่ช่วงก่อนทศวรรษที่ 1980 และหลัง      - แนวนโยบายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 –1980 สหรัฐอเมริกามีประธานาธิบดีทั้งสิ้น 6 คน แต่แนวนโยบายต่างประเทศทีเป็นหลักมีเพียงเเนวทางเดียว คือ “การสกัดกั้นการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งความแตกต่างในแต่ละสมัยจะเป็นเรื่องวิธีปฏิบัติ และความเข้มของนโยบาย แฮรี เอส ทรูแมน ในสมัยนี้นโยบายสกัดกั้นการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์มีความเข้มสูง ทั้งนี้เพราะได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองของในหลายพื้นที่ ที่สำคัญคือการที่กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตบุกเข้าไปในโปแลนด์และฮังการี ในปี 1956 และเชโกสโลวะเกียในปี 1968 นอกจานั้น ตุรกี ยังถูกคุกคาม และดินแดนบางส่วนของอิหร่านถูกยึดครองโดยกองทัพของสหภาพโซเวียตผุ้นำของสหัฐอเมริกาจึงเริ่มมีความเชื่อมั่นว่าสหภาพโซเวียตจะขยายลัทะคอมมิวนิสต์ไปทั่วโลก เพื่อทำลายระบอบการเมืองการปก

The Helsinki Accord off 1975

รูปภาพ
    เจอรัล อาร์.ฟอร์ด ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาลำดับที่ 38 จากพรรครีพับลิกัน เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกและคนเดียวที่ไม่เคยผ่านการเลือกตั้งทั้งในตำแหน่งประธาธิบดีหรือรองประธานาธิบดี โดยเข้ารับตำแหน่างรองประธานาธิบดีได้เพราะอดีตรองประธานาธิบี สปิโร ที. แอกนิว หลังการถูกสอบสวนให้การยอมรับการถูกกล่าวหาว่าโกงภาษีเงินได้และรับสินบนขณะเป็นผู้ว่าการรัฐแมรี่แลนด์ และยอมลงนามลาออกจากการเป็นรองประธานาธิบดี ประธานาธิบดีนิกสันเลือกเจอรัล อาร์. ผอร์ด เป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งได้รับรองจากวุฒิสภาด้วยคะแนนสนับสนุน 387 เสียง คัดค้าน 35 เสียง มีผลให้เจอรัล อาร์. ฟอร์ด เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่างรองประธานาธิบดีลำดับที่ 40 เป็นรองประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้ง      เจอรัล อาร์. ฟอร์ด เป็นรองประธานาธิบดีได้แปดเดือน ก็เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีหลังจากประธานาธิบดีนิกสันประกาศลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีเนื่องจากมีส่วสนพัวพันในคดีวอเตอร์เกท ด้วยเหตุดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่าเจอรัล อาร์. ฟอร์ด เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเพียงคนเดียวที่ไม่เคยผ่านการับเลือกตั้งทั้งในตำแหน่งรองประธานาธิบดี แล

Communist and The Third World

รูปภาพ
      แนวคิดนี้ถือกำเนิดระหว่างสงครามเย็น เป็นคำซึ่งใช้เพื่อธิบาถึงประเทศที่เข้าฝ่ายเดียวกับสหรัฐอเมริกา ประเทศเหล่านี้มักมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีระบบเศรษฐกิจทุนนิยม หลังยุคสงครามเย็นความหมายของ “โลกที่หนึ่ง”ได้เปลี่ยนไปให้สามารถปรับใช้ได้กับยุคสมัย จากการจำกัดความดั้งเดิม คำว่า “โลกที่หนั้ง”ได้มามีความหมายในทำนองเดยวกับประทเศพัฒนาแล้ว       หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติแล้ว โลกแบ่งออกเป็นองขั้วทางภูมิรัฐศาสตร์ อันนำมาสู่สงครามเย็น ในระหว่างสงครามเย็นมีการใช้คำว่า “โลกที่หนึ่ง”โดยองค์การสหประชาชาติ”      คำว่า “โลกที่หนึ่ง” “โลกที่สอง” โลกที่สามถูกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อแบ่งประเทศนโลกออกเป็นสามหมวดหมู่ ความเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ของฐานะเดิมหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือที่รู้จักกันว่าสงครามเย็นซึ่งประเทศสองอภิมหาอำนาจแข่งขันกันเพื่อความยิ่งใหญ่ในระดับโลกท้ายที่สุดด ทั้งสองประเทศได้สร้างกลุ่มประเทศสองกลุ่ม โดยพื้นฐานความคิดของโลกที่หนึ่ง และโลกที่สอง      อัลเฟรอ โซวี นักประชากรศาสตร์ได้ประดิษฐ์คำว่าโลกที่สามเพื่อใช้อ้างอิงถึงญานันดรทั้งสมในฝรั่งเศสก่อนการปฏิวัติ ฐานันดรสองอ

Yom Kippur 1973 War

รูปภาพ
สงครามยิว-อาหรัฐในสงครามหกวันเป็นครั้งที่ 3 การรบกัน โดยฝ่ายิสราเอลได้รับชัยชนะพร้อมทั้งเข้ายึดพื้นที่บริเวณปาเลสไตน์ไว้อีกเป็นจำนวนหลายพันตารางกิโลเมตร รุสเซียได้แสดงตัวเคียงข้าอาหรับ โดยคาดว่าโลกเสรีและอิสราเอลจะยับยั้งชั่งใจ รุสเซียมีความเชื่อว่า อำนาจอิทธพลตลอดจนกำลังทางทะเลของตนในเมดิเตอร์เรเนียนมีกำลังอำนาจมากพอที่จะทำให้ โลกเสรีต้องยินยิมถอนตัวหลีกเลี่ยงเข้าสู่สงครามกับอียิปต์ที่มีรุสเว๊ยอยู่เบื่องหลัง วิกฤติการณ์จะสลายตัวโดยรุสเซียจะมีหน้ามีตา มีอิทธิพลมากขึ้นในตะวันออกกลาง อีกทั้งสามารถแสดงให้โลกเห็นว่า สันติภาพโลกขึ้นอยู่ที่รุสเซียว่าต้องการหรือไม่ต้องการมากกว่าอน ไม่มีอภิมหาอำนาจใดจะมัฐานะอำนาจเช่นรุสเซีย แม้แต่สหรัฐอเมริกายังต้องยอมถอยออกห่างเพื่อเลี่ยงสงครามเผชิญหน้ารุสเซีย รุสเซียคาดว่าจะใช้เชิงการทูตเช่นนั้นบีบบังคับอีกฝ่ายให้ยอมจำนน ถ้าแนวคิดคาการณ์ของรุสเซียนี้เปรียบเสมือนเกมพนัน ก็เท่ากับว่ารุสเซียได้เอาเกียรติยศเงินทองมาวางเป็นเดิมพันกมดสิ้นโดยคาดว่าจะเป็นฝ่ายชนะเต็มประตู แต่เกมการเมืองมิได้เดินไปในแนวที่รุสเซียหวัง นโยบายขู่คุกคามโดยแสดงกำลังไม่อาจทำให้อิสราเอลยอ