บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2013

Stalinnization

รูปภาพ
     กระบวนการปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์ตามกระบวนการที่สตารลินกำหนดขึ้น การะบวนการปฏิวัติให้เป็นคอมมิวนิสต์ แบบสตาลิน นั้นค่อยๆ ปรากฎขึ้นอย่างช้าๆ แต่ได้จังหวะเหมาะแน่นอนมั่นคง กระบวนการได้ปรากฎตั้งแต่ปลายสงครามโลกครั้งที่2 นับแต่รุสเซียเป็นฝ่ายรุกไล่เยอมันสู่มาตุภูมิ ท่ามกลางความวิตกกังวลของฝ่ายมหาพันธมิตรเอง      ยุโรปตะวันออกนั้นมีความสำคัญต่อรุสเซียมาโดยตลอด รุสเซียต้องการขีดวงเขตยุโรปตะวันออกเป็นเขตอิทธิพลของตนให้ปลอดจากอิทธิพลเยอมัน ภูมิภาคนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ต่อความมั่นคงปลอดภัยของรุสเซียเป็นอย่างมากรุสเซียไม่ต้องการให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยขึ้นอีกครั้ง      รุสเซียหยั่งท่าทีของมหาพันธมิตรของตนเด้วยการเสนอขอให้การปรับปรุงเศ้นพรมแนใหม่ในโรปตะวันออก มหาพัมธมิตรท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ ซึ่งมหาพันธมิตรยังคงต้องการที่จะรักษาโปแลนด์ไว้มิหใตกอยู่ใต้อำนาจของุเซีย ปัญหาโปแลนด์จึงเป็นปัญหาที่ทำให้มหาพันธมิตรเริ่มแตกแยกกัน      อังกฤษมีนโยบายที่จะสกัดกั้นรุสเซียมิหใมโอกาสแผ่ขยายอำนาจอาณาเขตออกจาช่อแคบบอสโพรัสและดาร์คาเเนลสู่น่านน้ำเมติดิเตอร์เรเนียน นโยบายของอังกฤษจึงเน้นหนักให้ความสนใจแก

begin the Cold war

รูปภาพ
     Cold war หรือสงครามเย็นเป็นสงครามที่มีลักษณะพิเศษที่ไม่เคอยปรากฎมีมาก่อน กล่าวคือ มีการต่อสู้กันทุกรูปแบบ ยกเว้นการเปิดฉากทำสงครามกันโดยตรง รูปแบบของการต่อสู้มีอาทิ การโฆษณาชวนเชื่อ การปลุกระดม มวลชน กลยุทธ์กองโจร การแข่งขันชิงดีชิงเด่น หาพวกหาพ้องในประเทศต่าง ๆ เป็นต้น สงครามเย็นไม่มีความร้อนแรงเพราะไม่มีการทำสงครามเผชิญหน้ากัน เป็นสงครามที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีกำหนดว่าเริ่มและยุติเมือใด ไม่มีการระดมพล ไม่มีการเคลื่อนไหวกองกำลัง ไม่มีการสัประยุทธ์กัน สงครามประเภทนี้ได้สร้างความเย็นเยือกขึ้นในจิตใจของผู้คนและทำให้เกิดความหวาดหวั่นทุกขณะจิตว่า สงครามอาจจะอุบัติขึ้นได้เมือมีเงื่อนไขอำนวย เพราะสงครามเย็นพร้อมที่จะแปรรูปเป็นสงครามที่แท้จริงได้     อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ในทรรศนะของฝ่ายเสรีนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ชื่อว่าเป็นลัทธิอุดมการณ์เมื่อรุสเซียได้หลายเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ในปี 1918 รุสเซียถูกมองด้วยควารมหวาดระแวงว่าลัทธินี้จะครอบงำยุโรป ตั้งแต่ปี 1820 เป็นตนมาที่ยุโรปได้เผชิญการปฏิวัติหลายครั้งดวยแรงบันดาลใจของเสรีนิยม และด้วยอิทธิพลใหญ่หลวงของการปฏิวัติฝรั่งเศส ระบอบสมยูรณาญาสิทธิรา

Different

รูปภาพ
      การต่อสู้ทางการเมืองเป็นการต่อสู้ที่สลับซับซ้อนและยิ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างสังคมใหญ่ขึ้นเท่าใดความสลับซับซ้อนยิ่งมากขึ้นเป็นเงาตามตัว การต่อสู้ยิ่งต้องมีแผนไว้ก่อนเสมอเพื่อกำหนดวิธีการเมือจะต้องเผชิญหน้ากับศัตรู การรุก การถอย การตอบโต้ แผนเหล่านี้ ประกอบขึ้นเป็นยุทธศาสตร์ และในการต่อสู้ สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การประเมินกำลังของตัวเองและของฝ่ายตรงกันข้ามและการวิเคราะห์หาความเหมือนและความแตกต่าง เพื่อรวมส่วนที่เหมือนกันไว้เป็นพวกเดียวกัน และแยกส่วนที่แตกต่างไว้เป็นฝ่ายตรงกันข้าม     ลักษณะและปัญหาสังคมซึ่งเกิดจากการแบ่งชั้นทางสังคม ในการอบรมเลี้ยงดู ครอบครัวชนชั้นสูงและชั้นกลาง ที่พ่อมแมการศึกษาดีหรือมีพื้นฐานดี มักจะเคีงครัดกับบบุตร เน้นในการสร้างนิสัย รักความสะอาด ความสวยงามรู้จักหน้าทีและความรับผิดชอบแต่เด็ก และมักสั่งสอนมิให้ใช้อารมณ์ง่ายๆ ให้เป็นคนสุภาพรักความสงบไม่รุกรานผู้อื่น ซึ่งตรงข้ามกับบุตรของชนชั้นต่ำที่ถูกเลียงมาอย่าง ปล่อยปละละเลย ขาดความเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอน จนไม่รู้ถึงระเบียบแบบแผนแห่งชีวิตที่ดีงามในการสัมพันธ์กับผู้อื่น          การจัดลำดับชนชั้นทางสังคม เป็

europe after world war two

รูปภาพ
      ในเดือนเมษายน ผู้แทรรัฐต่าง ๆ 11 รับในเยอรมันตะวันตกได้ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ให้ชื่อว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอมันมีเมืองหลวงที่กรุงบอนน์ ดร.คอนราด อาเดเนาว์ เป็นนายกรัฐมนตรี      ในปี 1948 ประเทศมหาอำนาจตะวันตกได้ตำลงกันเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลในเยอมันตะวันตกให้มีอำนาจอย่างสมบูรณ์ จัดตั้งฐานทัพเพื่อเป็นแนวป้องกันการรุกรานของยุโรปตะวันออกและมหาอำนาจตะวันตกเลิกยึดครองเยรมันตะวันตก ต่อจากนั้นเอยมนตะวันตกและอิตาลได้รับเชิญให้เข้าประชุมกับอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนิทร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก จัดตั้งองค์การ สนธิสัญญาแห่งกรุงบรัสเซล เยอรมันตะวันตกได้เป็นสมาชิกอันดับที่ 15 ขององค์การนาโต้ และทำการตกลงกับฝรั่งเศสเกียวกับแคว้นซาร์ในที่สุดเคว้นซาร์ก็รวมอยู่กับเยอมันตะวันตก      เยอรมันตะวันตะเริ่มบำรุงกองทัพ ปี 1957 เยอรมันตะวันตกมีทหารกว่า 2 แสนนาย และเป็นกำลังสำคัญทางเศรษฐกิจรองจากรุสเซีย มหาอำนาจตะวันตกกต้องการให้เยอมันตะวันตกและตะวันออกรวมกันเพื่อความเข้มแข็งทางการเมืองและเศรษฐกิจ มหาอำนาตตะวันตกร่วมกับรัฐบาลเยรมันตะวันตกได้ร่างคำประกาศแห่งเบอ์ลิน เพื

Under America of Occupation

รูปภาพ
     “แม้ว่าทุกคนจะทำอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม…สถานการณ์สงครามได้พัฒนาไปโดยไม่จำเป็นว่าจะทำให้ญี่ปุ่นเป็นผ่ายได้เปรียบ ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือดต่อไป บางที่อาจจะถึง การทำลายอารยธรรมของมวลมนุษย์ชาติโดยสิ้นเชิง  ญี่ป่นุจะต้ออดทนในสิ่งที่เหลือจะอดทนได้และทนทุกข์ในส่งที่เหลือจะทนทุกข์ได้ “      พระราชดำรัชซึ่งพระมหาจักรพรรดิทรงดำรัสต่อประชาชน การยึดครองญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่อเมริกาดำเนินการเองในทุกด้าน ในทางปฏิบัติการดำเนินนโยบายต่างมีนายพลแมคอาเธอร์เป็นผู้ดำเนินการ ในฐานที่เป็ฯผุ้บัญชาการทหารอเมริกาในพื้นที่ เขารับคำสั่งจากวอชิงตันเท่านั้น แนวทางพื้นฐานที่จะปฏิบัติงานได้เริ่มมีกำหนดขึ้นโดยรัฐบาลอเมริกา และต่อมาคณะกรรมาธิการได้ให้ความเห็ฯชอบ แผนที่นับว่าตรงไปตรงมาที่สุดคือแผนสิ้นสุดกำลังแสนยานุภาพญี่ปุ่น  ไปตามครรลองที่ได้มีการทำลายยุทธปัจจัยและกรมกองต่าง ๆ สลายกองทัพที่มีกำลังกว่า 2 ล้าน ให้กลับบ้านและอพยพผู้คนกว่า 3 ล้าน จากดินแดนโพ้นทะเล  และการลงโทษญี่ปุ่นอีกแบบหนึ่งโดยกาลิดรอนดินแดนทุกแหงที่ญี่ปุ่นได้ไว้ในครอบครอง ตั้งแต่ปี 1869 รวมทั้งหมู่เกาะริวกิวและคูริล อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวข้

Berlin Blockade

รูปภาพ
       การปิดกั้นเบอร์ลิน เป็นหนึ่งในวิกฤ๖การณ์หลักของสงครามเย็น ทีเกิดขึ้นระหว่างปี 1948-1949 สหภาพโซเวียตซึ่งยึดครองเบอร์ลินอยู่ในเวลานั้นตั้งด่านปิดกั้นถนนไม่ให้สามมหาอำนาจฝ่ายตะวันตก เข้าถึงกรุงเบอร์ลินได้ วิกฤตกาณ์นี้คลีคลายลงหลังจากมหาอำนาจฝ่ายตะวันตกร่วมกันจัดตั้งการขนส่งทางอากาศที่เบอร์ลิน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการขนส่งเสบียงสู่พื้นที่ของตนพร้อมทั้งเป็นการแสดงขีดความสามารถทางการผลิตและแสนยานุภาพทางอากาศของฝ่ายตะวันตก      การแบ่งเยอรมัน สัมพันธมิตรบรรลุข้อตกลงพอทสดัมซึ่งกำหนดให้แบงเอยมันออกเป็น 4 ส่วนโดยแต่ละส่วนจะถูกปกครองโดยชาติที่ครอบครองดินแดนในสวนนั้นอยู่ก่อนหน้าสงครามจะยุติ สหภาพโซเวียตต้องการเห็นเยอรมันไร้พิษภัย ฝ่ายสัมพันธ์มิตรจึงดำเนินแผน “มอร์เกนเทา” ซึ่งกำหนดฟืนฟูสภาพเศรษฐกิจเยอรมันเพียง 50 เปอร์เซ็น ซึ่งผลออกมาคือรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก สภาพเศรษฐกิจที่ตกตำอย่างสุดขีดของ เยอรมันส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจยุโรปถดถอย ที่ปรึกษาประธานาธิปดี ทรูแมนกว่าว่า “ประชาชนหลายล้านคนกำลังอดตายอย่างช้าๆ” ในตอนแรกสหรัฐฯยังคงไม่เปลียนแปลงนโยบายที่มีต่อเยอรมัน กระทั่งบรร

..the way is political

     ในสังคมระดับใหญ่ การต่อสู้ทางการเมืองเป็นการดำเนินการระหว่างองค์การกับองค์การที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจปกครององค์การเหล่านี้มีการจัดโครงสร้างที่เป็นระเบียบมีอำนาจบลลดหลั่นกันในระหว่างสามชิก ม่นโยบายและระบบสายบังคับบัญชา เพื่อใช้เป้นอาวุธในการต่อสู้ทางการเมืองโดยเฉพาะ องค์การดังกล่วจะเป็นตัวแทนของผลประโยชน์และจุดมุ่งหมายของพลังต่าง ๆ ในสังคม        ลักษณะพลังต่าง ๆ ในสังคมที่รวมกลุ่ม  เพื่อเป็นตัวแทนเพื่อแสดงออกถึงประโยชน์และอุดมการณ์ต่าง ๆ ในสังคม รวมทั้งบทบาทของกองทัพในการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะชององค์การแห่งอำนาจที่สำคัญของทุกๆ สังคม       พรรคการเมืองของบุคคลที่มีชื่อเสียง พรรคการเมืองที่รวบรวมคนมีเงินและคนมีชื่อเสียงในสังคมเป็นสมาชิกเช่นนี้ จัดระเบียบภายในของพรรคจะอ่อนสมาชิกของพรรคจะเป็นพวกที่มีความคิดเสรีนิยม หรืออนุรักษ์นิยม กรรมการกลางของพรรคจะไม่ค่อยได้มีอำนาจเหนือผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคเพราะการได้รับเลือกตั้งขึ้นอยู่กับชื่อเสียงส่วนตัวของผู้แทน มากกว่า ดังนั้นชื่อเสียงส่วนตัวของผู้แทนจึงสำคัญกว่าชื่อเสียงหรือนโยบายของพรรค    

Nuremberg trials

รูปภาพ
     การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหาร ที่จัดขึ้นโดยฝ่ายสัมนธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอมัน ซึ่งพ่ายสงคราม      การพิจราณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ก รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอมัน โดยลุดแรกเป็ฯ “การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก” ในศาลทหารระหว่งผระเทศ เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1945 และเป็นการพิจารณาอันเป็นที่กล่าวขานมากที่สุดด้วย จำเลยในชุดนี้ประกอบด้วยผู้นำคนสำคัญที่สุดยี่สิบสี่คนของนาซีเยอรมันรซึ่งถูกจับมาได้ ทว่า บุคคลสำคัญหลาย ๆ คน ที่ชักใยอยู่เบื้องหลังสงครามอาทิ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เฮนริค ฮิมม์เลอร์ และโจเซฟ เกิเบลส์นั้น กระทำอัตวินิบาตกรรมไปก่อนหน้าแล้ว การพิจารณาชุดแรกนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 1 ตุลาคม 1946      ส่วนชุดที่สอง เป็นการพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามซึ่งมีความสำคัญน้อยกว่าจำเลยหลุ่มแรก ดำเนินการโดย คณะตุลาการทหารเนือร์นแบร์ก      เอกสารของคณะรัฐมนตรีสงครามแห่งอังกฤษ ระบุว่า ในเดือนธันวาคม 1944 คณะรัฐมนตีได้อภิปรายถึงนโบยกาลงโทษผู้นำนาซี

Chinese Civil War

รูปภาพ
       สงครามมหาเอเซียบูรพายุติลอย่างไม่มีใครคาดคิด ไม่กี่วันหลังที่สหรัฐทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกที่เมืองฮิโรจิมาในวันที่ 6 สิงหาคม 1945 หลังจากนั้นอีก 2 วันสหภาพโซเวียตฉวยโอกาสเข้าข้างผู้ชนะด้วยการประกาศสงครามกับญี่ป่น พร้อมยาตราทัพเข้าสู่แมนจูเรีย โดยอ้างข้อตกลงที่ลงนามไว้ในการประชุมที่เมืองยัลต้า และหลังการทิ้งระเบิดลูกที่ 2 ที่นางาซากิ ในวันที่ 9  สิงหา ปีเดียวกัน เป็นผลให้ญี่ปุ่นยอมมวางอาวุธโดยไม่มีเงื่อนไข ในอีกสองสามวันต่อมา       การยอมแพ้ของญี่ปุนส่งผลต่อจีนในทันที่ พรรค ccp และก๊กมินตั๋ง ขัดแย้งกันว่าใครจะมีอำนาจริบอาวุธและใครจะเป็นผู้มีสิทธิเข้าครอบครองดินแดนที่ญี่ปุ่นเคยยึดครองอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของประเทศ      เพื่อยุติปัญหาทั้งปวง และเพื่อการรวมประเทศโดยสันติตามแนวทางประชาธิปไตยวอชิงตันส่งนายพลจอร์จ ซี มาร์แชลเดินทางมาจีน โดยได้รับคำสั่งวางตัวเป็นกลางและให้ความยุติธรรมแก่ทั้ง พรรคคอมมิวนิสต์จีนและพรรคก๊กมินตั๋ง แต่เมือเขามาถึงจีนสถานการณ์กลับเป็นว่าสหรัฐอเมริกาเข้าไปพวพันอย่างเต็มตัวในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในจีน และสถานะการณ์นั้นสหรัฐฯเป็นฝ่ายได้เปรีย