วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:การตอบโต้

     เยอรมนีเริ่มปฏิบัติการเกอเก็ทเธอร์  ที่เมืองท่าช่องแคบอังกฤษทางหนือ ทางใต้เริ่มปฏิบัติกรบบลอแชร์และยอร์ค ซึ่งเป้าหมายคือกรุงปารีส ปฏิบัติการมาร์นเริ่มภายหลังต่อมาโดยพยายามจะล้อมแรมส์และเร่ิมต้นยุทธการแม่น้ำมาร์นครั้งที่ 2
    การตีตอบโต้ของสัมพันธมิตรได้ผลและกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการรุกร้อยวันในเวลาถัดมา
     20 กรกฏา 1918 กองทัพเยอรมนีถูกผลักดันข้ามแม่น้ำมาร์นโดยไม่บรรลุวัตถุประสงค์ใดๆ
      การรุกร้อยวันโดยฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มในวันที่ 8 สิงหารคม 1918 ในยุทธการอาเมียง ทัพอังกฤษ อยู่ทางปีกซ้าย ทัพฝรั่งเศสอยู่ทางปีกขวา โดยมีกองทัพน้อยออสเตรเลียและแคนาดาเป็นหัวหอกในการโจมตีตรงกลาง  สามารถรุเข้าไป12 กิโลเมตรในดินแดนที่เยอรมนถือครองเพียงเจ็ดชัวโมง
    20 สิงหา 1918 ฝรั่งเศสทางปีกขวาจับกุมเชลยศึก 8,000 คนปืนใหญ่ร้อยกระบอก และยึดครองที่ราบสูง Aisne ซื่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบและสามารถมองเห็นที่ต้องของเยรมนีทางเหนือ
     ในขณะที่กองทัพอังกฤษทางปีกซ้ายรายงานว่าข้าศึกบนแนวรบลดจำนวนลงจากความสูญเสียและล่าถอย คำสังโจมตีด้วยรถถัง 200 คนเพื่อเปิดฉากยุทธการอัลแบ โดยมีจุดมุ่งหมายเจาะแนวรบข้าศึก เพื่อที่จะตีโอบปีกข้าศึกที่อยู่บนแนวรบ
     แนวรบยาว 24 กิโลเมตรของทัพอังกฤษ สามารถสู้รบต่อไปทางปีกซ้ายและส่งผลให้ยึดอัลแบร์กลับคืนได้ในขณะเดียวกัน กองพลนิวซีแลนด์แห่งกองทัพที่ 3 และกองทัพออสเตรเลียนสามารถเจาะแนวและยึด Bapanme ได้จากเยอรมนี แลยังนำการรุกของกองทัพที่ 4 สามารถผลักดันแนวรบไปข้าหน้าและยึดเปรอนน์และมงแซ็ง-เกียงแต็ง ห่างไปทางใต้
     สัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม แรงกดดัน ที่มีต่อข้าศึกนั้นหนักหน่วงและต่อเนื่อง บนแนวรบยาว 113 กิโลเมตร
      2 กันยายน 1918 แคนาดาโอบล้อมแนวฮินเดนแบร์กด้านข้างโดยการเจาะที่ โวทัน Wotan ซึ่งส่งผลสะท้อนกลับตลอดแนวรบดานตะวันตก 6 กองทัพเยอรมนีต้องล่าถอย
     เกือบสี่สัปดาห์หลัการสู้เร่ิมในวันที่ 8 สิงหาคม เชลยศึกเยรมนีถูจับกุมเกิน แสนนาย กองบัญชาการทหารสูงสุดเยรมนีตระหนักว่าพ่ายสงครามแล้วและพยายามบรรลุจุดจบอันน่าพอใจ  ลูเดอร์ดอร์ฟฟ์ เสนอลาออกต่อไกเซอร์ แต่ทรงปฏิเสธ โดยทรงตอบว่า "ฉันเห็นว่าเราต้องทำให้เกิดสมดุล เราเกือบถึงขีดจำกัดอำนาจการต้านทานของเรา สงครามต้องยุติ"
     สภาราชสำนักเยอรมันตัดสิใจว่า ชัยชนะในสนามรบไม่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว  ออสเตรีย-ฮังการีเตือนว่า สามารถทำสงครามได้ถึงเดือนธันวาคมเท่านั้น
   

วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:Hutier tactics

      ปี 1918 แนวรบด้ารตะวันตก การรุกฤดูใบไม้ผลิมีจุดประสงค์เพื่อแยกกองัพอังกฤษและฝรั่งเศสออกจากกันด้วยการหลอกและการรุกหลายครั้ง โดยต้องการโจมตีอย่างเด็ดขาดก่อนที่กองกำลังสหรัฐขนาดใหญ่จะมาถึง เริ่มปฏิบัติการในวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1918   โดยโจมตีกองทัพอังกฤษที่อเมนส์และสารารถรุกเข้าไปได้ถึง 60 กิโลเมตรนับเป็นความสำเร็จที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน  
     การนำรูปแบบการรบเข้ามาใช้ในสงครามและเพื่อเจาะผ่านแนวสนามเพลาะของผรั่งเศสและัอังกฤษและประสบความสำเร็จ โดยตั้งชื่อยุทธวิธีนี้ตามชื่อพลเอกชาวเยรมนีคนหนึ่ง
     โดยเป็นการแทรกซึมทหารราบขนาดเล็ก เข้าโจมตีจุดที่อ่อนแอ จุดสั่งการและพื้นที่ขนส่ง หลีกเลี่ยงการปะทะหนัก และเมื่อโดดเดียวพื้นที่เป้าหมายได้แล้วจึงส่งทหารราบเข้าบดขยี้ภายหลัง
      แนวหน้าเคลื่อนตัวห่างจากกรุงปารีส 120 กิโลเมตรปืนใหญ่รถไฟยิงกระสุนเข้าใส่กรุงปารีส ชาวปารีสจำนวนมากต้องหลบหนี ความสำเร็จในครั้งจักพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ทรงประกาศให้วันที่ 24 มีนาคมเป็นวันหยุดราชการ เยอรมันจำนวนมากคิดว่าชัยชนะของสงครามอยู่แค่เอื้อม..แต่การหาเป็นเช่นนั้นไม่ หลายคนกล่าวว่าการหยุด 1 วันดังกล่าวเป็นจุดหักเหของสงคราม แต่อย่างไรก็ดีหลังจากหยุดราชการหนึ่งวันดังกล่าว การรุกของเยอรมนีหยุดชะงัก การขาดแคลนรถถัง ปืนใหญ่ ฝ่ายเยอรมนีจึงรุกต่อไม่ได้ ประกอบกับเส้นทางส่งกำลังบำรุงถูกยืออกไปอนเป็นผลจากการรุก
    และยังมีผลมาจากการรบไล่ทหารจากออสเตรเลียซึ่งในขณะนั้นเป็นประเทศอาณานิคมของอังกฤษจำนวนสีกองพลที่ถูกไล่บดขยี้แต่สามารถหยุดยั้งการบดขยี้ของเยอรมันได้ กองพลออสเตรียเรียที่ 1 จึงถูกส่งเพื่อหยุดหยั่งยุทธวิธีของเยอรมนี
     อเมริการมาถึงในช่วงที่ทหารของฝรั่งเศสและจักวรรดิอังกฟษร่อยหรอ  สภาสงครามสูงสุดของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรถูกจัดตั้งขึ้นที่การประชุมดูล็อง พลเอกฟอค ถูกแต่งตั้งเป็นผูบัญชาการกองกำลัง
ูฝ่ายสัมพันธมิตรสูงสุด มีบทบาทประสานงาน มากกว่าบัญชาการ เฮก เปแตง และเพร์รี้ยังคงควบคุมยุทธวิธีในส่วนของตน
      กองบัญชาอังกฤษผรังเศสและสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นอิสระต่อกัน

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:การเข้าร่วมสงครามของประเทศต่าง ๆ

     นอกจากกลุ่มไตรภาคี และกลุ่มไตรสัมพันธมิตร ซึ่งเป็นมหาอำนาจในยุโรปที่แบ่งเป็นสองขั้วอำนาจเพื่อทำสงครามซึ่ง
     กลุ่มไตรภาคีหรือ มหาอำนาจกลางได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน จักวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมัน
     กลุ่มไตรสัมพันธมิตรได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย
แล้วยังมีประเทศต่าง ๆ ที่ทยอยเข้าร่วมสงครามด้วยเหตุผลและแรงจูงใจที่ต่างกัน
       อิตาลี  เป็นพันธมิตรกับบเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี อิตาลีมีเจตนาของตนบนพื้นที่ออสเตีย จึงทำสัญญาอย่างลับ ๆ กับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการลบล้างพันธมิตรเก่าอย่างส้นเชิง อิตาลีปฏิเสธการเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางโดยอ้างว่าฝ่ายตนเป็นผู้กระทำผิด อันดับ-4-q
       ออสเตรีย-ฮังการี ได้เสนอในหอิตาลีวางตัวเป็นกลางโดยยื่นข้อเสนออาณานิคมตูนิเซียเป็นการตอบแทนแต่ทางสัมพันธมิตก็ยืนข้อเสนอเพื่อดึงอิตาลีมาเป็นพวกตนเช่นกัน จึงเป็นการนำมาซึ่งสนธิสัญญาลอนดอน หลังการรุกรานตุรกี อิตาลีจึงเข้าร่วมสงคราม โดยประกาศสงครามต่อออสเตรีย-ฮังการีในวันที่ 23 พฤษภาคม 1915 และอีก15 เดือนให้หลังจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี
    โรมาเนียเป็นอีกประเทศที่ประกาศตนเป็นกลางและให้เหตุผลว่าฝ่ายมหาอำนาจกลางเป็นผู้รุกรานและโรมาเนียไม่มีข้อผูกมัดที่เข้าสู่สงคราม
     เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรสัญญาว่าจะยกดิอแนดขนาดใหญทางตะวันออกของฮังการี(ทรานซิลเวเนียและบานัท)ซึ่งมีประชากรโรมาเนียจำนวนมากอาศัยอยู่ใหแก่โรมานเนีย แลกเปลี่ยนกับกับการที่โรมาเนียต้องประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลาง..รัฐบาลโรมาเนียจึงสละความเป็นกลาง และเปิดฉากโจมตี ในวันที่ 27 สิงหาคม 1916 โดยได้รับความสนับสนุนส่วนหนึงจากรัสเซีย
      โรมาเนียถูกบีบให้ลงนามสงบศึกหลังจากรัสเซียถอนตัวจาสงครามเนื่องจากการปฏิวัติเดือนตุลาคม เมือ วันที่ 9 ธันวาคม 1917
       กองทัพโรมานเนียสถาปนาการควบคุมเหนือเบสซาราเบีย เมือกองทัพรัสเซียละทิ้งดินแดนดังกล่าว แม้การลงนามในสนธิสัญญาโดยรัฐบาลโรมาเนียและบอลเซวิค ให้กองทัพโรมาเนียถอนกำลังออกจากเบสซาราเบียภายในสองเดิน แต่โรมาเนียผนวกเบสซาราเบียเข้าเป็นดินแดนของตนโดยอาศัยอำนาจอยางเป็นทางการของมติที่ฝ่านโดยสภานิติบัญญัติท้องถิ่นของดินแดนในการรวมเข้ากับโรมาเนีย
       โรมาเนียยุติสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางอยางเป็นทางการโดยการลงนามในสนธิสัญญาบูคาเรศต์ ภายใต้สนธิสัญญากับกล่าว โรมาเนียมีข้อผูกมัดที่จะยุติสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางและยกอินแดนบางส่วนให้แก่ ออสเตรีย-ฮังการี ยุตกิรควบคุมช่องเขาบางแห่ง และยกสัมปทานน้ำมันแก่เยอรมนี เพื่อแลกเปลี่ยนกับฝ่ายมหาอำนาจกลางจะรับรองเอกราชของโรมาเนียเหนือเบสซาราเบีย สนธิสัญญาดังกล่าวถูกทำลายลงในเดือนตุลา และโรมาเนียเข้าสู่สงครามอีกครั้งเมือวันที่ 10 พฤศจิกายน 1918  สนธิสัญญาจึงเป้นโมฆะตามเงื่อนไขของการสงบศึกที่คองเปียญ..
     สหรัฐอเมริกา เดิมดำเนินนโยบายไม่แทรกแซง เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความขัดแย้งระหว่างประเทศและเป็นนายหน้าสันติภาพ เมื่อเรืออูเยอรมนีจมเรือโดยสารลูซิทาเนียของอังกฤษ ซึ่งมีชาวอเมริกันบนเรือ128 คน อเมริกาแสดงความอดกลั้น โดยประธานาธิบดีวิลสันได้สาบานว่า “อเมริกามีทิฐิมากเกินกว่าจะสู้” และเรียร้องให้ยกเลิการโจมตีเรือพลเรือน ซึ่งเยอรมันยอมตาม วิลสันพยายามเป็ฯไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทแต่ล้มเหลว เขาเตือนย้ำว่าอเมริกาจะไม่ทนต่อสงครามเรื่อดำน้ำไม่จำกัดขอบเขต.. อเมริกาประสบเหตุวินาศกรรมและสงสัยว่าเยอรมันอยู่เบื้องหลัง
      มกราคม 1917 เยรอมนีทำสงครามเรือดำน้ำไม่จำกัดขอบเขตอีกครั้งรัฐมนตรีต่างประเทศ บอกแก่เม็กซิโก ผ่านโทรเลข..ว่า อเมริกมีแนวโน้มเข้าสู่สงครามหลังสงครามเรือดำน้ำไม่จำกัดขอบเขตเริ่มขึ้น และเชิญเม็กซิฏกเข้าสู่สงครามเป็นพันธมิตรของเยอรมนีต่อสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน เยอรมนีจะส่งเงินให้เม็กซิโกและช่วยให้เม็กซิโกได้รับดินแดนเท็กซัส นิวเม็กซิโกและอริโซนาที่เม็กซิโกเสียไประหว่างสงครามเม็กซิฏ-อเมริกา สาธราณชนชาวอเมริกันมองว่าเป็นเหตุแห่งสงคราม
     อินเดีย.. สหราชอาณาจักรได้รับความจงรักภักดีอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนจากภายในเหล่าผู้นำทางการเมืองกระแสหลัง ตรงข้ามกับอังกฤษซึ่งหวาดกลัวการปฏิวัติชาวอินเดีย ในความเป็นจริงกองทัพอินเดียมีกำลังพลเหนือกว่ากองทัพอังกกฤษเมือสงครามเริ่มต้นใหม่ ๆ อินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤสนับสนุนความพยายามของสงครามของอังกฤษอย่างมากโดยการจัดหากำลังคนและทรัพยากร รัฐสภาอินเดียปฏิบัติเช่นนั้นด้วยหวังว่าจะได้รับสิทธิปกครองตนเอง อังฏฟษสรความผิดหวังให้แก่อินเดียกระทั่งนำไปสู่ยุคของมหาตมะคานธี..

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:Battlesship

   อังกฤษแสดงให้เห็นถึงการเป็นจ้าวแห่งทะเลกว่าศตรวรรษในยุทธนาวีจัตแลนด์ เป็นการปะทะเต็มอัตราศึกของกองทัพเรือทั้งสองฝ่าย ใช้เวลา 2 วัน ในทะเลเหนือนอกคาบสมุทรจัตแลนด์ แม้ผลของยุทธนาวีไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะ แม้กองเรื่อเยอรมนี่สมารถหลบหนีกองเรืออังกฤษที่มีกำลังเหนือกว่า และถึงแม้จะสร้างความเสียหายให้แก่กองเรืออังกฤษได้มากกว่า แต่ในทางยุทธศาสตร์ ฝ่ายอังกฤษแสดงสิทธิในการควบคุมทะเล และกองเรือผิวน้ำส่วนใหญ่ของเยอรมนีถูกกักอยู่แต่ในท่ากระทั่งสงครามยุติMap_of_the_Battle_of_Jutland,_1916.svg
     เมื่อพระเจ้าไกเซอร์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่สนพระทัยและให้ความสำคัญในกิจการทหารเรือเป็นอยางมาก ทรงกำหนดนโยบาย พัฒนาสมุทานุภาพ เสริมสร้างกำลังทางทะเลเพื่อคุ้มครงอการค้าขายำบต่างชาติ อันจะเป็นหนทางของอาณาจักร เพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกในที่สุด
    ราชนาวีอังกฤษจับตาการเติบโตอย่างไม่กระพริบตาประเมินว่าจะเป็นปัญหาต่อตนหรือไม่ จึงมีการแข่งขันการเสริมสร้างกำลังทางเรือขนานใหญ่ระว่างสองประเทศ รวมถึงการแบ่งข้างตั้งกลุ่มขึ้นอย่างชัดเจนเพื่อให้การคุ้มครอง การค้าทางทะเลและเป็นเหตุผลหนึ่งของสงครามโลกครั้งนี้
     เมื่อเข้าสู่สงคราม เยอรมันจึงตระหนักว่าแสนยานุภาพทางทะเลเทียบได้เพียงครึ่งของฝ่ายอังกฤษ และด้วยความได้ปรียบทางภูมิศาสตร์ ที่ตั้งเกาะอังกฤษสามารถปิดกั้นทางออกสู่ทะเลของฝ่ายเยอรมัน กองเรือทะเลลึกของเยอรมันจึงด้อยประสิทธิภาพ
     ฝ่ายเยอรมันรับรู้ถึงข้อเสียเปรียบนี้ครั้นจะบุกเข้าสู้ซึ่งๆ หน้าก็เกรงกริ่งอยู่ จึงใช้วิธี “ร้องท้าหน้าค่าย” หว้งจะให้อักฤษออกมาสู้รบด้วยซึ่งก็เป็นไปดังที่ฝ่ายเยอรมันคาดไว้ แต่กองเรือที่ออกมารบของอังกฤษนั้น..
      โดยประมาณที่มีการบันทึกไว้ เป็นการปะทะกันด้วยเรื่อผิวน้ำทั้งสิ้นทางฝ่ายอังกฤษมีประมาณ 150 ลำฝ่ายเยอรมันกว่า100ลำ เป็นการประทะในแบบเรือต่อเรือ ลำต่อลำ ปืนกระบอกต่อกระบอกคือเป็นการดวลกันนั้นเอง
       ทางด้านขวัญและกำลังใจของทหารเยอรมนีไม่เป็นรองฝ่ายอังกฤษ ซึ่งเทคโนโลยีบางอย่างเหนือกว่าทางฝั่งอังกฤษด้วยซึ่งทางฝ่ายอังกฤษก็ยอมรับในประเด็นนี้(เรื่อต่อใหม่ทันสมัยกว่า) ฝ่ายเยอรมนีสูญเสียทหาร 2,500 นาย ฝ่ายอังกฤษสูญเสียกว่า 6,000 พันนายซึ่งส่งผลให้บรรดาทหารในกองเรือเกิดความฮักเหิมคะนองเพราะมองด้วยสายตาตนแล้วฝ่ายตนได้เปรียบ แต่ฝ่ายยุทธศาสตร์กับมองในทางตรงกันข้าม..เยอรมันจะสูญเสียไปมากว่านี้ไม่ได้แล้ว จึงเปรียนบทบาทจากการรุกเป็นเพียงการรุกรานจากกองทัพเรืออังกฤษ
   จากเหตุผลดังกล่าวและความเหนือกว่าทั้งทางยุทธศาสตร์และจำนวนของอังกฤษ ฝ่ายบรรดาทหารซึ่งเห็นว่าจะต้องแพ้สงครามทั้งที่สงครามไม่แพ้จึงเกิดเป็นการสั่งสมและนำสู่การปฏิวัติรัฐประหาร การสละราชย์ของไกเซอร์ที่ 2 และนำมาสู่การสิ้นสุดของสงครามในที่สุด…











วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:บอลข่าน

      
ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียน ของออสเตรีย-ฮังการี แล้วพระราชนัดดา อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดิมานด์ ได้รับตำแหน่งองค์รัชทายาทสืบต่อจากอาณ์คดยุครูดอล์ฟ ซึ่งถูกลอบปลงประชนเมื่อเสด็จราษฎรที่กรุงซาราเจโว โดยชาวเซอร์เบียจึงนำมาสู่ภาวะสงคราม
     การเคลื่อนไหวของเซอร์เบียมีรัสเซียคอยในการช่วยเหลืออยู่อิตาลีประกาศตัวเป็นกลางตั้งแต่เริ่มสงคราม เมื่อเริ่มสงครามกองทัพถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งบุกโจมตีเซอร์เบีย ขณะที่อีกส่วนโจมตีรัสเซีย การบุกเซอร์เบียนั้นไม่ประสบความสำเร็จ แต่การบุกรัสเซียสามารถเอาชนะรัสเซียได้ในสมรภูมิเล็มเบิร์ก และล้อมเมืองพริเซ็มมิวส์ได้แต่ก็ต้องถอนทัพออกในเดือนมีนาคม ปี 1915
     23 พฤษภาคม 1915 อิตาลีประกาศสงครามต่อ ออสเตรีย-ฮังการี และประกาศสงครามต่อเยอรมันในสิบห้าเดือนให้หลัง
     แม้ว่าในทางการทหาร อิตาลีจะมีความเหนือกวาทางด้านกำลังพลก็ตาม แต่ข้อได้เปรียบนี้ไม่ส่งผลดีแต่ประการในเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่สลับซับซ้อนและยุทธศาสตร์และยุทธวีธีที่ใช้ด้วย ในช่วงสิบเดือนแรกของปี 1915 ออสเตรีย-ฮังการีใช้ทหารกองหนุนส่วนใหญ่สู้รบกับอิตาลี แต่ทูตเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการีสามารถชักชวนบัลแกเรียเข้าร่วมโจมตีเซอร์เบีย จังหวัดสโลวีเนีย โครเอเซียและบอสเนียของออสเตรีย-ฮังการีเป็นพื้นที่จัดเตรียมทหารให้แก่ออสเตรีย-ฮังการี  ซึ่งรุกรานเ.ซอร์เบียและสู้รบกับรัสเซีย อิตาลี มอนเตเนโกรเป็นพันธมิตรกับเซอร์เบีย
     เซอร์เบียถูกยึดครองนานกว่าหนึ่งเดือนเล็กน้อย เมื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางเริ่มโจมตีทางเหนือตั้งแต่เดือนตุลาคม อีกสีวนถัดมา บัลแกเรียร่วมโจมตีจากตะวันออก กองทัพเซอร์เบียเผชิญกับความพ่ายแพ้ ถอยทัพไปยังอัลเบเนีย และหยุดป้องกันที่การโจมตีของแบลแกเรีย ชาวเซิร์ปประสบความพ่ายแพ้ยุทธการโคโซโว มอนเตเนโกรช่วยคุ้มกันการล่าถอยของเซอร์เบียไปยังชายฝั่งเอเดรียติกในยุทธการมอยคอแวทส์ เมื่อวันที่ 6-7 มกราคม ปี 1916 แต่สุดท้ายก็ส่งผลให้ออสเตรียยึดครองมอนเตเนโกรเช่นเดียวกัน กองทัพเซอร์เบียถูกอพยพสูกรีซโดยทางเรือ
     ปลายปี 1915 รัฐบาลฝรั่งศสและอังกฤษยกพลขึ้นบกที่ซาโลนิกาของกรีซ เพื่อเสนอความข่วยเหลือและกดดันรัฐบาลกรีซประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลาง พระมหากษัตริย์กรีซทรงนิยมเยอรมนี ทรงปลดรัฐบาลนิยมสัมพันธมิตรก่อนที่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรจะมาถึง
     ความร้าวฉานระหว่างกษัติรย์กรีซและสัมพันธ์มิตรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  กรีซถูกแบ่งเป็นภูมิภาคซึ่งยังภักดีต่อกษัตริย์และจงรักภักดีต่อรัฐบาลเฉพาะการณ์หลังการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายนิยมกษัตริย์และฝ่ายสัมพันธมิตร พระมหากษัตริย์ต้องยอมสละราชย์ โดยราชโอรสองค์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์และกรีซจึงรวมกันอีกครั้งและร่วมสงครามอย่างเป็นทางการโดยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร กองทัพกรีซทั้งหมดถูกระดมและเริ่มเข้าร่วมในปฏิบัติการทางการทหารต่อฝ่ายมหาอำนาจกลางบนแนวรบมาซิโดเนีย
   แนวรบมาซิโดเนียไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ  กองทัพออสเตรีย-ฮังการี และเยอรมันถอนกำลัง กองทัพบัลแกเรียประสบความพ่ายแพ้เพียงครังเดียวและไม่กี่วันให้หลัง บัลแกเรียก็สามารถเอาชนะกองทัพกรีซและอังกฤษได้ที่ยุทธการดอเรียนแต่เพื่อป้องกันการถูกยึดครอง บัลแกเรียได้ลงนามสงบศึก เมื่อวันที่ 29 กันยายน 1918
    โดยมีการสรุปว่าสมดุลทางยุทธศาสตร์และปฏิบัติการเอนเอียงไปทางฝ่านสัมพันธมิตรแล้วอย่างไม่ต้องสงสัยและหนึ่งวันหลังจากออกจากสงคราม ระหว่างการประชุมกับเจ้าหน้าทีรัฐ ยืนยันให้มีการเจรจรสันติภาพทันที
     การหายไปของแนวรบมาซิโดเนียหมายความถึง ถนนสู่บูดาเปสต์และเวียนนาเปิดกว้าง เมื่อบัลแกเลียยอมจำนนเท่ากับฝ่ายมหาอำนาจกลางสูญเสียทหารราบ 278 กองพัน ปืนใหญ 1,500 กระบอกซึ่งเทียบเท่ากับกองพลของเยรมนีราว 25 -30 กองพล ซึ่งเคยยึดแนวดังกล่าวก่อนหน้านี้ กองบัญชาการสูงสุดของเยอรมนีจึงตัดสินใจส่ง 7 กองพลทหารราบ และ 1 กองพลทหารม้ามายังแนวหน้า กองกำลังเหล่านี้ไม่เพียงพอที่จะสถาปนาแนวรบขึ้นมาใหม่ได้อีก

บัลแกเรียBulgaria เป็นประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีชายฝั่งบนทะเลดำไปทางตะวันออก พรมแดนติดต่อกับประเทศกรีซและประเทศตุรกีทางใต้ เซอร์เบียและมาซิโดเนียทางตะวันออก และโรมาเนียทางเหนือตามแม่น้ำดานูบ ประกอบด้วยชนชาติสลาฟและชนชาติบัลการ์(ชนชาติยูเครนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในบอลข่าน)ถูกปกครองโดยอาณาจักรไบแซนไทน์และออตโตมันตามลำดับ

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:แนวร่วมกับข้อผูกมัด

         สัญญาและประกาศฝ่ายสัมพันธมิตรที่ทำกับผู้แทนของประชาชนในตะวันออกกลางนำโดยอังกฤ ซึ่งได้ยิวและอาหรับ โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้คนเหล่านี้เป็นฝ่ายเดียวกับสัมพันธ์มิตร  สัญญาดังกล่าวระบุข้อควาที่แสดงความเห็นอกเห็นใจประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองของเติร์ก และจะช่วยให้ประชาชนเหล่านั้นมีสิทธิในการปกครองตนเองเมืองสงครามสิ้นสุด  ซึ่งมีลักษณะผูกมัดตนเองอังกฤษจะต้องรับผิดชอบต่อคำสัญญาดังกล่าว 3 ประการด้วยกัน
     ประการแรก เป็นสัญญาที่อังกฤทำกับผู้แทนฝ่ายอาหรับ โดยมีจุดมุ่งหมายคือให้อาหรับเป็ฯฝ่ายเดียวกับอังกฤษและอังกฤษจะช่วยให้อาหรับได้รับสิทธิของตนในตะวันออกกลาง
     ประการที่ 2 เป็ฯสัญญาที่อังกฤษทำกับผู้แทนของฝ่ายยิวโดยมีความต้องการเหมือนกันคือให้ยิวเป็ยฝ่ายเดียวกับตน และอังกฤษก็จะช่วยให้ความหวังของยิวประสบผลสำเร็จนั้นคือ การสร้างประเทศชาติยิว
     ประการที่ 3 เป็นคำสัญญาปลีกย่อยที่อังกฤษทำกับอาหรับหลายคนและรวมทั้งการที่ฝรั่งเศสเสนอข้อเรียกร้องให้อังกฤษตระหนักถึงความปรารถนาของฝรั่งเศสในการมีอิทธิพลในเลอวองบริเลอวอง บริเวณฝั่งตะวันออกของเมดิเติร์เรเนียน
                   การติดต่อโดยฝ่านจดหมายหลายฉบับระหว่างอาหรับ และอังกฤษ คือชารีฟ ฮุ่สเซน แห่งเมกกะ ผู้เป็นข้าราชภายใต้การปกครองของออตโตมัน และเซอร์เฮนรี่ แมคมาฮาน ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอียิปต์ เป็นการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อตกลงที่เรียกว่าการติดต่อระหว่างฮุสเซน แมคมาฮอน  ซึ่งในจดหมายเหล่านั้นได้บรรจุข้อความเกี่ยวกับการปฏิวัติของอาหรับและการเข้าร่วมสงครามของอาหรับโดยเป็นฝ่ายเดียวกับสัมพันธมิตร
     จดหมายฉบับแรกลงวันที่ 14 กรกฏาคม 1915 ฮุสเซนเรียกร้องให้อังกฤษพิจารณาถึงเอกราชของจังหวัดอาหรับหลายแห่งในดินแดนที่แบ่งแยกต่าง ๆ  คือ ซีเรรีย อิรัก จอร์แดน อิสราเอล ซาอุดิอาระเบีย และส่วนหนึ่งของตุรกี แต่ในจดหมายของแมคมาฮอน ลงวันที่ 24 ตุลาคม 1915 ระบุว่าเอกราชดังกล่าวไม่รวมถึงท้องถิ่นที่มิใช้อาหรับแท้จริง ได้แก่ เมอร์ซิน และอเลกซานเครดตา และเมืองอื่น ๆ ในซีเรีย อันได้แก่ดามัสกัส ฮมอส์ ฮามา และอเลปโป อังกฤษอ้างว่ายังคงมีฐานะเข้มแข็งในดินแดนดังกล่าว ตลอดจนในบาซรา และแบกอดดในอิรัก  ยังมีข้อความในจดหมายอีกลายฉบับซึ่งเป็นข้อความปกป้องผลประโยชน์ของฝรั่งเศส จดหมายฉบับสุดท้ายลงวันที่ 30 มกราคม 1916 ในขณะที่การปฏิวัติของอาหรับ เริ่มวันที่ 5 มุนายน 1916
     จดหมายระหว่างฮุสเซ่นและแมมาฮอน จึงเป็ฯสิ่งที่ถูกเพ่งเล็งในรายละเอียดและถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก ไม่มีการพิทพ์อย่างเป็ฯทางการ กระทั่งปี 1939 หลังสงครามยุติ 21 ปี จึงมีการตั้งคณะกรรมการพิเศษอังกฤษและอาหรับ เพื่อพิจารณาหาคุรค่าความสำคัญของจดหมารย ที่มีต่อปาเลสไตน์
     ในขณะเดียวกัน นอกจากอังกฤษจะทำสัญญากับอาหรับตามที่ระบุในจดหมายติดต่อดังกล่าวแล้ว อังกฤษยังได้ทำการเจรจาทำสัญญากับฝรั่งเศสและรัสเซีย ระหว่างปี 1915 และ 1916 เป็นข้อตกลงที่เรียกว่า ซิกเคส-พิคอท เป็นการพิจารณาถึงส่วนต่าง ๆ ของตะวันออกกลางซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
    ฝั่งเอลวองทางตะวันออกของเมติเตอร์เรเนียนซึ่งฝรั่งเศสเรียกร้อง
    ดินแดนภายในซีเรียฝรั่งเศสจะให้ความช่วยเหลือ
    เขตปาเลสไตน์จะทำให้เป็นเขตระหว่างชาติ
    ทรานส์จอร์แดน ซึ่งเป็นอินแดนอาหรับจะอยู่ภายใต้การักขาของอังกฤษและรวมถึงส่วนใหญ่ของอิรักด้วย
    แบกแดด และบาซรา จะเป็นดินแดนที่อังกฤษควบคุม
       แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นสัญญาลับ แต่ฝ่ายอาหรับก็ล่วงรู้ อูสเซนจึงยื่นข้อเสนอให้อังกฤษอธิบายสัญญาดังกบล่าว อังกฤษแจ้งว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตามไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ หรือจะใช้เป็นตัวแทรของสถานการณ์ได้ ทั้งนี้เพราะรัสเซียได้ถอนตนออกไปจากสงครา อย่างไรก็ตามเมื่อสงครามสิ้นสุดสัญญาดังกล่าวมีผลต่อซีเรียซึ่งฝรั่งเศสเองก็ต้องการ
       “คำประกาศ บัลผอร์ The Balfour Declaration” เป็นคำประกาศเพื่อ “บ้านเกิดเมืองนอนของยิวในปาเลสไตน์” แทนที่จะกำหนดว่าปาเลสไตน์เป็น “บ้านเกิดเมืองนอนของประชาชนชาวยิว” และคำประการศนี้ยังกล่าวถึงสิทธิของผุ้มี่มิใช่ชาวยิวในปาเลสไตน และยิวในที่อื่น ๆ จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง ขณะเดียวกันฝ่ายมหาอำนาจกลางก็พยายามหาหนทางเพื่อขัดขวางความสนีบสนุนของฝ่ายสัมพันธมิตรที่มีต่อ “ไซออนนิสต์”
     เมื่อสงครามเริ่มขึ้นองคการยิวประกาศตนเป็นกลาง แต่ยังคงมีสำนักงานในเยอรมนี การปฏิวัตจิรัศเซียได้เปลี่ยนสถานการณ์ในรัสเซีย โดยการนำยิวจำนวนมากมาสู่ตำแหน่างที่สำคัญของรัฐบาล ความรู้สึกที่รุนแรงในรัสเซียสำหรับการละทิ้งสงครามได้กลายเป็นเรื่องสำคัญของการปฏิวัติ ทั้งกระทรวงต่างประเทศอังกฤษและกลุ่มผุ้นำเยอรมันมีความเห็นตรงกันว่ายิวในรัสเซียเป็นผู้นำในการกระทำดังกล่าว เยอรมันจึงขอร้องแกมบังคับเติร์ก ซึ่งเป็นมมิตรกับตนในยอมแก่ยิว  แต่เติร์กยังไม่ปฏิบัติตามเนื่องจากเกรงว่าจะทำให้อาหรับที่เป็นฝ่ายเดียวกับตนเกิดความไม่พอใจ แต่นี่สุดขณะที่กองทัพเติร์กออกจากปาเลสไตน์ก็เป็นการเปิดโอกาสใน “ไซออนนิสต์”เข้าสู่ปาเลสไตน์ดังคำประกาศบัลฟอร์
     อังกฤษผู้ต้องการการสนับสนุนจากยิวจึงประกาศตัวเป็นฝ่ายเดียวกัย “ไซออนนิสต์” โดยเห็นว่า ทั้งยิวในอเมริก หรือในตะวันออกกลางก็กำลังเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ “มาร์ค ซิกเคซ” คิดว่าการที่อเมริกาว่างตัวเป็นกลางนั้นเป็นเพราะยิวที่เป็นฝ่ายเดียวกับเยอรมนีเป็นสาเหตุ นายกรัฐมนตรีอังกฤลอยด์ จอร์จ สังเกตว่า ความช่วยเหลืของยิวที่มีต่ออังกฤนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก และมีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อสัมพันธมิตรกำลังทรุด
ข้อผูกมัดที่มีต่ออาหรับ
เกี่ยวกับการยึดครองเมืองหลวงของอิรัก โดยข้อความสำคัญที่แสดงว่าอังกฤษผูกมัดตนเองกับอาหารับ มีดังนี้
     “เชื้อชาติอาหรับอาจเติบโตขึ้นอีกครั้งเพื่อความยิ่งใหญ่และเพื่อชื่เสียงในหมู่ประชาชนของโลก เชื้อชาตินั้นจะรวมกันและรักกัน.. ดังนี้นข้าพเจ้าถูกบังคับให้เชื้อเชิญท่านโดยฝ่านผู้แทนอาวุโสและเป็นชนชั้นสูง ให้มีส่วนร่วมในการจัดการเกี่ยวกับงานด้านพลเรือนของท่าน ด้วยการร่วมมือกับผู้แทนฝ่ายการเมืองของอังกฤษ ผู้ซึ่งได้ร่วมมอกับกองทัพอังกฤษเพื่อว่าท่านอาจจะสามารถรวมกับเพื่อนของท่าน ในความปรารถนาของท่านที่จะสร้างชาติ”
     สาส์นทีส่งแก่ชารีฟ อูสเซน “มหาอำนาจทั้ง 3 มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าเชื้อชาติอาหรับจะได้รับโอกาสอย่างเต็มที่อีกครั้งหนึ่ง ในการสร้างชาติในโลกนี้ ซึ่งสามารถทำสำเร็จได้โดยการรวมตัวกันของพวกอาหรับเอง ฝ่ายสัมพันธมิตรจะช่วยเหลือในด้ารการใช้ความคิ และยังกระตุ้นให้อาหรับร่วมกันพิจารณาว่า “มิตรภาพของยิวทั่วโลกที่มีต่ออาหรับนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งในประเทศทั้งหมดที่ซึ่งยิวมีอิทธิพลทางการเมืองอยู่”
  ซีเรีย “การประกาศต่อบุคคลทั้ง 7  Declaration to the Seven” อังกฤษยืนยันว่านโยบายของอังกฤษก็คือ “การพิจารณาเอกราชอธิปไตยโดยสมบูรณ์ของอาหรับ”ไม่ว่าดินแดนว่าจะกอ่นหรือระหว่างสงครมก็ตา ม และยังยืนยันวนโยบาย “สนับสนุนอาหรับในการต่อสู้เพื่อเอกราช”และยืนยันอีกครั้งเกียวกับ การยึดครองแบกอดดและเยรูซาเลมโดยกองทัพ ว่า “มันเป็นความปรารถนาของรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า รัฐบาลในอนาคตของดินแดนเหล่านี้ควรจะขึ้นอยู่กับความยินยอมของผู้ถูกปกครอง และนโยบายนี้จะดำเนินต่อไป โดยมีความสนับสนุนของรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัว
     เซอร์ เอ็มันด์ อัลเลนบี แจ้งแก่อมีร์ ไฟซาล ว่า “ข้าพเจ้าเตือนความทรงจำของอามีร์ ไฟซาล ว่าฝ่ายสัมพนันธมิตรรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะตกลงกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง และจะกระตุ้นให้บุคคลเหล่านั้นมีความเชื่อถือในอังกฤษ”
     คำประกาศร่วมกันของอังกฤษและฝรั่งเสศ “การสร้างรัฐบาลของประเทศชาติและการปกครองที่อำนาจของรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งโดยอิสระของประชาชนพื้นเมือง ไม่มีความปรารถนาที่จะบังคับสถาบันพิเศษเฉพาะใดๆ เหนือประชาชนของอินแดนเหล่านี้ สถาบันพิเศษเฉพาะจะต้องเป็นของเขาเองและโดยความช่วยเหลือเท่าเทียมกัน ซึ่งจะนำไปสู่รัฐบาลที่มีการปกครองอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นอิสระ ซึ่งเลือกโดยประชาชน
   คำประกาศต่าง  ๆข้างต้นทีฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยอังกฤษให้ความหวังไว้แก่ฝ่ายอาหรับ ซึ่งคำประกาศพร้อมด้วยความสนับสนุนได้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวางโดยการพิมพ์และการแจกใบปลิว อาจกล่าวได้ว่าจากคำประกาศเล่านี้ ทำให้ประชาชนมีแรงกระตุ้น และทำให้ความปรารถนาของพวกเขาอยู่ในระดับสู (มีความหวัง) ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรนำโดยอังกฤษต้องรับผิดชอบต่อคำประกาศดังกล่าวที่มีต่ออาหรับ...

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:ชาตินิยมอาหรับ

นับแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 กระทั่งการปฏิวัติของพวกยังเติร์ก ชาวอาหรับที่นับถือคริสต์ศาสนาเท่านั้นที่ต้องการอิสรภาพ ส่วนชาวอาหรับมุสลิมปรารถนาเพียงการปฏิรูปและการให้อำนาจแก่ชาวอาหรับเท่านั้น
        ชาตินิยมอาหรับส่วนใหญ่ เป็นศัตรูกับรฐบาลออกโตมัน ซารีฟ ฮุสเซน และโอรสอีกลายองค์เป็นผู้นำขบวนการชาตินิยมภายในเวลา 2-3 เดือนก่อนสงคราม โอรสของฮุสเซน องค์หนึ่งได้ตั้งกงสุลทั่วไปและแต่ตั้งชาวอังกฤษประจำไคโร การกระทำครั้งนี้สร้างความตึงเครียดระหว่าง ซารีฟและสุลต่านและนำเข้าสู่วิกฤต แต่ถ้าสุลต่านขับไล่ซารีฟด้วยสาเหตุนี้ย่อมเกิดการปฏิวัติแน่นอนเหตุเพราะซารีฟเป็นกษัตริย์ที่ได้รับความนิยมจากประชาชน
       การต่อต้านจักรวรรดิและลัทธิชาตินิยมทั้งตุรกีและอาหรับเด่นชัดขึ้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
       สงครามในตะวันออกกลางปะทุหลังยุโรปเล็กน้อย อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อออตโตมัน อังกฤษผนวกไซปรัส และประกาศให้อียิปต์เป็นดินแดนในอาณัติ ก่อนการประกาศสงครามกับเติร์กอังกฤษทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือของอังกฤษจากอินเดียมุ่งสู่ลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟติส ในอิรักและได้รับความขช่วยเหลือจากคูเวต อังกฤษตอบแทนด้วยการให้อิสรภาพแคเวตและอยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษต่อมาอังกฤษก็ยึดเมืองฟาโอในอีรักได้อีก
     สุลต่านกาหลิบของจักรวรรดิออตโตมันประกาศสงครามศักดิ์สิทธิซึ่งสร้างความวิตกให้แก่ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศษเกี่ยวกับผลกระทบต่อชาวมุสลิมจำนวนมากในอินเดีย และในแอฟริกาเหนือ ชาวยุโรปที่นับถือลัทธิแพนอิสลาม หรือลัทธิความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอิสลาม และขอร้องมิให้สงครามขยายตัวไปมากกว่านี้ และคำนึงถึงอันตรายของการปฏิวัติมุสลิมด้วย
      ซารีฟ ฮุสเซนแห่งเมกกะวางเฉยกับการประกาศสงครามศักดิ์สิทธิซึ่งเป็นโอกาสให้อังกฤษสามารถชักชวนซารีฟแห่งเมกกะให้สนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งก็ช่วยบรรเทาการข่มาขู่การปฏิวัติมุสลิมได้ สถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นจุดประสงค์ขึ้นพื้นฐาน ซึ่งอยู่เบื้องหลังการติดต่อระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับซารีฟแห่งเมกกะ เป็นการติดต่อที่เรียกว่า จดหมายโต้ตอบระหว่าง ฮุสเซน-แมคมาฮอน Husain-Mcmahon Correspondence
ซึ่งทำให้อาหรับบางพวกเข้าสู่สงครามโดยเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร มีการปฏิวัติโดยฝ่านการแลกเปลี่ยนทางจดหมายหลายฉบับระหว่าง ปี 1915-1916 ได้จัดให้มีความผูกพันทางทหาร ซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานของความเข้าใจทางการเมืองที่คลุมเคลือ และอังกฤษยังตกลงจะสนับสนุนเอกราชของอาหรับในทุกดินแดนที่ฮุสเซนเรียกร้อง
     ฮุสเซนยอมรับรู้ความมีอำนาจสูงสุดของอังกฤษในเอเดนแต่ฮุสเซนยังข้องใจในดินแดนบางแห่ง..ดินแดนดังกล่าว แมคมาฮอนให้เหตุผลว่ามิใช่อาหรับอย่างแท้จริง แต่ซารีฟยืนยันว่าดินแดนเหล่านี้เป็นอาหรับอย่างแท้จริง ซารีฟให้เหตุผลว่าไม่ว่าอาหรับมุสลิมหรืออาหรับคริสเตียนเป็น "ผู้สืบเชื้อสายจาบิดาคนเดียวกัน" การขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวนี้ต่อมาได้ก่อให้เกิดปัญหาปาเลสไตน์
       สาเหตุอีกประกาศที่ทำให้อาหรับสนับสนุนฝ่ายไตรสัมพันธมิตรคือ ความไร้ความเมตตาของข้าหลวงออตโตมันและผู้บังคับบัญชาแห่งซีเรีย "เจมาล ปาซา" ในระยะแรกปาชาพยายามเอาชนะใจอาหรับโดยให้คำมั่นสัญญาต่าง ๆ เขาประกาศว่าอุดมการณ์ของอาหรับและเติร์กไม่ขัดแย้งกัน พวกเขาเป็นพี่น้องกัน และยังเรียกร้องให้ชาวอาหรับร่วมทำสงครามศักดิ์สิทธิเพื่อป้องกันศาสนาอิสลามด้วย
       ชาวอาหรับไม่เชื่อ  ปาชาจึงใช้วิธีรุนแรง
      การถูกข่มขูจกาความกดดันทางทหารในคาบสมุทรและการประหัตประหารในซีเรียทำให้อาหรับเริ่มเสริมสร้างกองทหารของตนให้เข้มแข็งขึ้น การปฏิวัติของอาหรับมิได้หมายถึงขบวนการของกลุ่มชนจำนวนมากไม่มีการจลาจลผู้ครองอิรักมีความสงสัยในความสามารถของอาหรับในการต่อสู้เพื่อิสรภาพ ข้าหลวงอังกฤษประจำอินเดียพิจารณาการปฏิวัติอาหรับว่าเป็นสิ่งที่ไม่พอใจ เนื่องมาจากกลัวว่าความเป็นเอกราชของอาหรับอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อแผรการณ์ของรัฐบาลบริติชอินเดีย ในการผนวกอิรักภาคใต้และอาจจะก่อให้เกิดการจลาจลในหมู่ชาวมุสลิมของรัฐบาลบริติชอินเดียในการผนวกอิรักภาคใต้และจะก่อให้เกิดการจลาจลในหมู่ชาวมุสลิม 90 ล้านคนในอินเดีย

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...