นับแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 กระทั่งการปฏิวัติของพวกยังเติร์ก ชาวอาหรับที่นับถือคริสต์ศาสนาเท่านั้นที่ต้องการอิสรภาพ ส่วนชาวอาหรับมุสลิมปรารถนาเพียงการปฏิรูปและการให้อำนาจแก่ชาวอาหรับเท่านั้น
ชาตินิยมอาหรับส่วนใหญ่ เป็นศัตรูกับรฐบาลออกโตมัน ซารีฟ ฮุสเซน และโอรสอีกลายองค์เป็นผู้นำขบวนการชาตินิยมภายในเวลา 2-3 เดือนก่อนสงคราม โอรสของฮุสเซน องค์หนึ่งได้ตั้งกงสุลทั่วไปและแต่ตั้งชาวอังกฤษประจำไคโร การกระทำครั้งนี้สร้างความตึงเครียดระหว่าง ซารีฟและสุลต่านและนำเข้าสู่วิกฤต แต่ถ้าสุลต่านขับไล่ซารีฟด้วยสาเหตุนี้ย่อมเกิดการปฏิวัติแน่นอนเหตุเพราะซารีฟเป็นกษัตริย์ที่ได้รับความนิยมจากประชาชน
การต่อต้านจักรวรรดิและลัทธิชาตินิยมทั้งตุรกีและอาหรับเด่นชัดขึ้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามในตะวันออกกลางปะทุหลังยุโรปเล็กน้อย อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อออตโตมัน อังกฤษผนวกไซปรัส และประกาศให้อียิปต์เป็นดินแดนในอาณัติ ก่อนการประกาศสงครามกับเติร์กอังกฤษทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือของอังกฤษจากอินเดียมุ่งสู่ลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟติส ในอิรักและได้รับความขช่วยเหลือจากคูเวต อังกฤษตอบแทนด้วยการให้อิสรภาพแคเวตและอยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษต่อมาอังกฤษก็ยึดเมืองฟาโอในอีรักได้อีก
สุลต่านกาหลิบของจักรวรรดิออตโตมันประกาศสงครามศักดิ์สิทธิซึ่งสร้างความวิตกให้แก่ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศษเกี่ยวกับผลกระทบต่อชาวมุสลิมจำนวนมากในอินเดีย และในแอฟริกาเหนือ ชาวยุโรปที่นับถือลัทธิแพนอิสลาม หรือลัทธิความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอิสลาม และขอร้องมิให้สงครามขยายตัวไปมากกว่านี้ และคำนึงถึงอันตรายของการปฏิวัติมุสลิมด้วย
ซารีฟ ฮุสเซนแห่งเมกกะวางเฉยกับการประกาศสงครามศักดิ์สิทธิซึ่งเป็นโอกาสให้อังกฤษสามารถชักชวนซารีฟแห่งเมกกะให้สนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งก็ช่วยบรรเทาการข่มาขู่การปฏิวัติมุสลิมได้ สถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นจุดประสงค์ขึ้นพื้นฐาน ซึ่งอยู่เบื้องหลังการติดต่อระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับซารีฟแห่งเมกกะ เป็นการติดต่อที่เรียกว่า จดหมายโต้ตอบระหว่าง ฮุสเซน-แมคมาฮอน Husain-Mcmahon Correspondence
ซึ่งทำให้อาหรับบางพวกเข้าสู่สงครามโดยเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร มีการปฏิวัติโดยฝ่านการแลกเปลี่ยนทางจดหมายหลายฉบับระหว่าง ปี 1915-1916 ได้จัดให้มีความผูกพันทางทหาร ซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานของความเข้าใจทางการเมืองที่คลุมเคลือ และอังกฤษยังตกลงจะสนับสนุนเอกราชของอาหรับในทุกดินแดนที่ฮุสเซนเรียกร้อง
ฮุสเซนยอมรับรู้ความมีอำนาจสูงสุดของอังกฤษในเอเดนแต่ฮุสเซนยังข้องใจในดินแดนบางแห่ง..ดินแดนดังกล่าว แมคมาฮอนให้เหตุผลว่ามิใช่อาหรับอย่างแท้จริง แต่ซารีฟยืนยันว่าดินแดนเหล่านี้เป็นอาหรับอย่างแท้จริง ซารีฟให้เหตุผลว่าไม่ว่าอาหรับมุสลิมหรืออาหรับคริสเตียนเป็น "ผู้สืบเชื้อสายจาบิดาคนเดียวกัน" การขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวนี้ต่อมาได้ก่อให้เกิดปัญหาปาเลสไตน์
สาเหตุอีกประกาศที่ทำให้อาหรับสนับสนุนฝ่ายไตรสัมพันธมิตรคือ ความไร้ความเมตตาของข้าหลวงออตโตมันและผู้บังคับบัญชาแห่งซีเรีย "เจมาล ปาซา" ในระยะแรกปาชาพยายามเอาชนะใจอาหรับโดยให้คำมั่นสัญญาต่าง ๆ เขาประกาศว่าอุดมการณ์ของอาหรับและเติร์กไม่ขัดแย้งกัน พวกเขาเป็นพี่น้องกัน และยังเรียกร้องให้ชาวอาหรับร่วมทำสงครามศักดิ์สิทธิเพื่อป้องกันศาสนาอิสลามด้วย
ชาวอาหรับไม่เชื่อ ปาชาจึงใช้วิธีรุนแรง
การถูกข่มขูจกาความกดดันทางทหารในคาบสมุทรและการประหัตประหารในซีเรียทำให้อาหรับเริ่มเสริมสร้างกองทหารของตนให้เข้มแข็งขึ้น การปฏิวัติของอาหรับมิได้หมายถึงขบวนการของกลุ่มชนจำนวนมากไม่มีการจลาจลผู้ครองอิรักมีความสงสัยในความสามารถของอาหรับในการต่อสู้เพื่อิสรภาพ ข้าหลวงอังกฤษประจำอินเดียพิจารณาการปฏิวัติอาหรับว่าเป็นสิ่งที่ไม่พอใจ เนื่องมาจากกลัวว่าความเป็นเอกราชของอาหรับอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อแผรการณ์ของรัฐบาลบริติชอินเดีย ในการผนวกอิรักภาคใต้และอาจจะก่อให้เกิดการจลาจลในหมู่ชาวมุสลิมของรัฐบาลบริติชอินเดียในการผนวกอิรักภาคใต้และจะก่อให้เกิดการจลาจลในหมู่ชาวมุสลิม 90 ล้านคนในอินเดีย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น