วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Nazi Germany vs Red Army of CCCP

     หลังจากเยอรมนีเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เยอรมนีได้เจรจาเชิญชวนให้สหภาพโซเวียตเข้าเป็นสมาชิกด้วย หลังการเจรจาสงอวันในกรุงเบอร์ลิน เยอรมนีส่งข้อเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่หไภาพ

โซเวียตเพื่อเชิญชวน ทางฝ่ายสหภาพโซเวียตได้ส่งข้อเสนอของตนกลับมา แต่ไร้การตอบสนองจากเยอรมนี ความเป็นอริของสองประเทศเพิ่มขึ้นทุกที และเมื่อเกิข้อพิพาทในยุโรปตะวันออก จึงเป็นผลใหการปะทะกันทางทหารเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก การกระทำของสตาลินทำให้นาซีเยอรมนีชใช้อ้างเป็นเหตุผลเพื่อเตียมการรุกราน นาซีโฆษณาชวนเชื่อ โดยใช้ ความโหดร้ายของสตาลินในปี 1930 ซึ่งสั่งประหารและคุมขังประชาชนจำนวนหลายล้านคน ระหว่างการกว้าดล้างครั้งใหญ่ เป็นเครื่องสนับสนุน เนื้อความว่า กองทัพแดงเตรียมการที่จะรุกรานเยอมนีและการรุกรานของเยอรมนีเป็นการกทำเพื่อป้องกันตัว
     เหล่านนายพลของฮิตเลอร์แย้งว่าการยึดครองสหภาพโซเวียตจะทำให้เกิดความส้ินเปลื่องมากกว่าจะเป็นการแำ้ก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ฮิตเลอร์มองการไกลกว่านั้น
- เมื่อสหภาพโซเวียตพ่ายแพ้แล้วจะทำให้สามรถปลดประจำการทหารส่วนนใหญ่ในกองทัพเื่พอนำไปแก้ปัญหาการขาดแรงงานของเยอรมนีในขณะนั้นเนื่องจากเมืองการรบสำคัฐสิ้นสุดลงแล้วจึงไม่ต้องการทหารจำนวนมากอีกต่อไป
- ยูเครนจะหลายเป็นแหล่งอาหารราคาถูกที่อุดมสมบูรณ์ให้กับชาวเยอรมันี เนื่องจากมีความเหมาะสมต่อเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง
- เนื่่องจากสหภาพโซเวียตมีประชากรมากมาย ฮิตเอล์มองโซเวียตเป็นแหล่งแรงงานทาสราคาถูกซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางภูมิยุทธศาสตร์ให้กับประเทศเยอรมนีอย่างมาก
- ความพ่ายแพ้ของสหภาพโซเวียตจะยิ่งทำให้จักวรรดิอังกฤษ ซึ่ง
กำลังจะพ่ายแพ้ ถูกโดเดี่ยวมากขึ้นไปอีก
- สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำมันบากู เพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจได้
   นายทหารส่วนใหญ่เห็นด้วยกับฮิตเลอร์ว่าการบุกโซเวียตนั้นหลีกเลึ่ยงไม่ได้ และจะต้องเกิดขึ้นในวันใดก็วันหนึ่ง
      เมื่อสหภาพโซเวียตเข้าสู ปี 1940 สหภาพโซเวียตคือชาติมหาอำนาจจากการแปรรูปอุตสหกรรมอย่างรวดเร็วของโซเวียตในทศวรรษที่แล้วทำให้ผลผลิตทางอุตสาหกรรมของโซเวียตเป็นรองแค่
สหรัฐอเมริกาและมีผลผลิตเท่าเทียมกับประเทศนาซีเยอรมนี การผลิตยุทโธปกรณ์นั้นเพ่ิมขึ้นอย่างคงที่โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองที่เศรษฐกิจของโซเวียตนั้นถูกกำหนดไปที่การผลิตอุปกรณ์ทางทหารอย่างต่อเนื่องขนาดของกองทัพโดยรวมของกองกำลังโซเวียตในเดือนกรกฎา ปี 1941 นั้นรวมแล้วมีกำลังพลกว่า ห้าล้านนาย ซึ่งมีจำนวนมากกว่ากองกำลังภาคพื้นดอินของเยอรมนี้ที่ใช้บุกโซเวียต การสะสมกำลังของกองทัพแดงยังแข็งแกร่งขึ้นอย่งคงที่ และยังมีความสามรถในการวางกำลังที่เป็นต่อกว่าเยอรมนีในสมรภูมิตะวันออก แต่อย่างไรก็ดี ในการรุกรานของเยอรมนีครั้งนี้ทั้งสองมีความใกล้เคียงกันมากในเรื่องกำลังพล
     ยุทโธปกรณ์ที่สำคัญ ทางฝ่ายโซเวียตนั้นมีอยู่มาก กองทัพแดงมีความเหนือกว่าอย่างมากในกองกำลังยานเกราะที่มีรถถังประจำการถึง 24,000 คัน 12,782 คันประจำการอยู่ในเขตทหารภูมิภาคตะวันตำของประเทศ (ซึ่งมีสามเขตในภูมิภาคที่สามารถปะทะกับกองทัพอยรมันในสมรภูมิตะวันออก)
     เวอร์มัคท์ Wehmacht หรือกองทัพบกเยอรมนีมีรถถังประจำการอยู่ทั้งหมด 5,200 คัน โดยใช้ในการบุกโซเวียต 3,350 คัน ดังนั้นอัตราส่วนเป็น 4:1 เป็นความได้เปรียบของกองทัพแดง นอกจานี้T-34 ของโซเวียต เป็นรถถังที่ล้ำหน้าที่สุดและทันสมัยที่สุดในเวลานั้น รถถังรุ่น BT-8 เป็นรถถังที่เร็วที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบกับรถถังเยอรมันแล้ว รถถังเยอรมันมีความล้าหลังกว่ามาก
      อาวุธปืนใหญ่และเครื่องบินรบซึ่งโซเวียตมีมากกว่าเยอรมนี ซึ่งรวมไปถึงปืนใหญ่สนาม A-19 ที่วากันว่าเป็นปืนใหญ่ที่ดีที่สุดในโลกในเวลานั้น
      ความได้เปรียบในเรื่องปริมาฯของโซเวียตถกหักล้างด้วยคุณภาพที่เหนือกว่ามากของเครื่องบินรบเยอรมัน รวมถึงการฝึกฝนกองกำลังเยอรมันที่เหนือกว่าและเตรียมพร้อมมามากกว่า การขาดแคลนทหารอาชีพที่เป็นเจ้าหน้าที่และผู้บัญชาการระดับสูงในการกว้างล้างครั้งใหญ่นั้น ถูกทดแทนด้วยนายทหารที่มีแนวโน้มที่ "ไว้ใจได้ทางการเมือง" อายุโดยเฉลี่ยของผู้บัญชาการกองพลของโซเวียตนั้นน้อยกว่าอายุโดยเฉลี่ยของผู้บัญชาการกองร้อยของเยอรมนีถึง 12 ปี นายทหารเหล่านนี้่มีทีท่าที่ไม่เต็มใจที่จะริเริ่มในการทำส่ิงใดๆ และส่วนใหญ่ขาดการฝึกฝนในการบัญชาการ
      การจอดเครื่องบินของกองทัพอากาศโซเวียตที่จอดกันเป็นกลุ่มๆ ซึ่งตกเป็นเป้าตอ่การโจมตีจากอากาศสู่พื้นดินได้ง่าย ๆ และอีกผลหนึ่งคือการที่กองทัพอากาศโซเวียตถูกสังห้ามไม่ให้โจมตีเครื่องบินสอดแนมของเยอรมัน เครื่องบินขับไล่โซเวียตประกอบไปด้วย เครื่องบินรุนล้าสมัยย้อนไปถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เช่นเครื่องบินปีกสองชั้น I-15 และเครื่องบินปีกชั้นเดียวรุ่นแรกของโซเวียต I-16 และเครื่องขับไล่รุ่นใหม่กว่าเช่นมิก MiG และ LaGG เพียงไม่กี่ลำที่ใช้งานได้
     โดยเครื่องบินจำนวนไม่มากที่ติดตั้งวิทยุสื่อสารอีกทั้งวิทยุไม่กี่รุ่นที่มีอยู่นั้นก็ไม่ได้ถูกเข้ารหัสและมีสภาพการใช้งานที่ไม่แน่นอน รวมถึงยุทธวิธีต่อสู้ทางอากาศที่ยังล้าสมัย
      กองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตกระจัดกระจาย กันออกไปไม่มีความพร้อมในการทำศึก และมีกองกำลังหน่วยต่าง ๆ ที่อยู่แยกจากกันโดยไม่มีการลำเลียงไปยังจุดรวมพลเมืือการรบเกิดขึ้น แม้ว่ากองทัพแดงจะมีปืนใหญ่ชั้นดีจำนวนมาก แต่ปืนส่วนใหญ่กลับไม่มีกระสุนกองปืนใหญ่ไม่สามารถเข้าสู่การรบได้เพราะขาดการลำเลียงพล กองกำลังรถถังมีขนาดใหญ่และคุณภาพดีแต่ขาดการฝึกและการสนับสนุนทางเสบียง รวมถึงมาตรฐานในการบำรุงรักษายังแย่มากกองกำลังถูกส่งงเข้าสู่การรบโดยไม่มีการจัดการเติมเชื้อเพลิง ไม่มีการสนับสนุนกระสุน หรือทดแทนกำลังทหารที่สูญเสียไปบ่อยครั้งที่หลังจากการปะทะเพียงครั้งเดียว หน่วยรบถูกทำลายกระทั่งหมดสภาพรวมไปถึงความจริงที่ว่ากองทัพโซเวียตกำลังอยู่ในช่วงจัดระบบหน่วยยานเกราะให้กลายเป็นกองพลรถถังยิ่งเพิ่มความไม่เป็นระบบของกองกำลังรถถัง
      ด้วยเหตุผลที่ว่ากองทัพแดงนั้นประกอบด้วยนายทหารที่ไร้ความสามารถ การขาดแคลนยุทโธปกรณ์ การสนับสนุนเสบียงยานเกราะที่ไม่เพียงพอ ทหารที่ได้รับการฝึกในระดับต่ำ กองทัพแดงจึงเสียเปรียบกองทัพเยอรมันอย่างมากเมื่อปะทะกัน
      การชิงไหวชิงพริบในการเข้าโจมตีก่อน เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ และจากการศึกษาอย่างจริงจังโดยนักประวัติศาสตร์ทางทหารชาวรัสเซีย มิคาเอล เมลทฮูคอฟ กล่าวว่า กองกำลังโซเวียตทำการรวมพลเพื่อเตรียมเปิดการโจมตีเยอรมนีอยู่จริง แต่เขาปฏิเสธต่อคำกล่าวที่ว่าการบุกของเยอรมนี่เป็นการชิงเปิดการโจมตีก่อน แต่เขาเชื่อว่าทั้สองฝ่ายต่างกำลังเตรียมทำการบุกอยู่เช่นกัน แต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่เชื่อว่าฝ่ายหนึ่งจะเปิดการโจมตีอีกฝ่ายหนึ่ง
     โจเซฟ  สตาลิน เขาจะได้รับรายงานเฉพาะที่เขาต้องการได้ยินเท่รนั้น สตาลิน มีความเชื่อมั่นอย่างไร้มูลเหตุในสนธิสัญญวว่าก้วยการไม่โจมตีต่อกัน สตาลินถูกชักนำให้เชื่อว่าสถานภาพของสหภาพ
โซเวียตช่วงปี 1941 นั้นแข็งแกร่งกว่าที่เป็นจริง มาก  หน่วยงานข่าวกรงอของสตาลินทำการเตือนถึงการโจมตีของเยอรมนี่ที่กำลังจะเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งความเชื่อมั่นของสตาลินในนายทหารและกำลังทหาร ถึงแม้จะทราบดีถึงความเป็นไปได้ที่เยอรมันจะเข้าตี นายทหารตามแนวชายแดนไม่อยู่ในสถนาะเตรียมพร้อม เขาเรียนรู้จากการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสและเตรียมการรับมือกับการบุกของเยอรมัน
     ขนาดกำลังของกองทัพทั้งสองฝ่ายบนแนวรบด้านตะวันออกในวันที่ 22 กรกฎาคม 1941

                                                     กองทัพแดง              กองทัพเยอรมัน                  อัตราส่วน
จำนวนกองพล                                     190                              166                              11:1
จำนวนทหาร                                   3,289,851                     4,306,800                          1:1.3
จำนวนอาวุธปืนและปืนครก                59,787                           42,601                        1.4:1
รถถัง(รวมถึงปืนจู่โจม)                        15,687                             4,171                        3.8:1
อากาศยาน                                         10,745                              4,846                       2.2:1

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Form of government

     สถานะการโลกในปี ค.ศ. 1941 ภายหลังจากสงครามในยุโรปเริ่มต้นโดยนาซีเยอรมัน และฟาสซิสต์อิตาลีทำการรุกรานโปแลนด์ ต่อจากนั้นอักษะใช้กำลังทางการทหารเข้าบุกบังคับ ยึด จับกุม รวมถึงปกครอง ประเทศต่าง ๆในยุโรปไม่กี่ประเทศที่จะรอดพ้นจากอำนาจทางการทหารของเผด็จการนาซีและเผด็จการทางการทหาร
     ก่อนหน้านี้ด้วยการมีอิทธิพลทางการค้าและอำนาจทางการทหาร สหภาพโซเวียตประกาศนโยบายปฏิวัติโลกด้วยลัทธิคอมมูลนิสต์ ซึ่งไม่ประสบผลสำเร็จในยุโรป แต่ค่อยๆ ไปเจริญเติบโตในแผ่นดินจีน
     มหาอำนาจประชาธิปไตยประเทศผู้เป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากสนธิสัญญาที่ทำให้ทั้งประเทศที่แพ้สงครามและรวมถึงประเทศที่ชนะสงครามเองไม่พอใจในหลายๆ ประเทศจึงเกิดผลสืบเนื่องให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวลาต่อมานั้น ประเทศมหาอำนาจประชาธิไตยพวกนี้อันได้แด่ อังกฤษและฝรั่งเศสไม่กล้าที่จะใช้มาตรการรุนแรงต่อต้านและตอบโต้ประเทศเผด็จการเนื่องจากเกรงว่าจะเกิดสงครามขึ้นอีก และไม่พร้อมที่จะทำสงคราม จึงเป็นเหตุผลให้ประเทศเผด็จการเติบโตขึ้นอย่างเข้มแข็ง
    สเปนเป็นการขยายอิทธิพลของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์และเผด็จการโดยเยอรมันและอิตาลีให้การสนับสนุนฝ่าย..ในสงครามกลางเมืองสเปนในขณะที่ สหภาพโซเวียตในการสนับสนุนฝ่าย..โดยฝ่ายที่ได้รับการสนับสนุนโดยเผด็จการเป็นฝ่ายชนะ
    จีนรับการรุกรานจากเผด็จการทางทหารของจักรวรรดิญี่ปุ่น ก่อนหน้านั้นรุสเซียได้ให้การสนับสนุน พรรคคอมมิวนิสต์จีนทั้งคำแนะนำทางการทหาร และแนวทางคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นนโยบายปฏิวัติโลกของสตาลิน ประเทศเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยมีรุสเซียให้การสนับสนุน โดยชาวจีนเอง มีพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นแกนหลักในการปฏิวัติ กระทั้ง ดร.ซุน ยัด เซ็น ถึงแก่อสัญกรรม ก๊กมินตั๋งจึงแตกออกเป็น ก๊กมินตั๋งภายใต้การนำของ เชียง ไค เชค และ ก๊กมินตั๋งที่ได้รับการสนับสนุนจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นพรรคคอมมิวนิสต์จีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่ตกเป็นเป้าการโจมตีของญี่ปุ่น จึงเจริญเติบโตและเข้มแข็งขึ้นเป็นลำดับ

    สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามเนื่องจากการถูกโจมตีที่อ่าวเพิร์ล ฮาเบิร์ล โดยก่อนหน้านี้มีนโยบายวางตนเป็นกลาง มีการค้าขายกับประเทศพันธมิตร และให้การสนับสนุนประเทศที่ทำสงครามกับเผด็จการ (เยอรมัน,อิตาลี,ญี่ปุ่น) ทั้งจากการโจมตีในยุทธการที่บริเทน และการรุกรานจีนจากญี่ปุ่น
     ประเทศคอมมิวนิสต์ซึ่งมีรัสเซียเป็นผู้นำนั้นจากการที่มาตราการสันนิตบาติโลกไม่สามารถหยุดยั้งประเทศเผด็จการได้จึงนำมาซึ่งสนธิสัญญาระหว่างรัสเซียและเยอรมัน ทำให้เกิดการผันผวน ทั้งทางการเมืองและการทหาร ความไม่ไว้วางใจในพรรคคอมมิวนิสต์ในชาติประชาธิปไตยว่าจะเข้ากับฝ่ายอักษะหรือไม่ทำให้เกิดภาวะความไม่ไว้วางใจกันในประเทศยุโรปต่างๆ
    หากจะเปรียบอักษะ กับประเทศประชาธิปไตย โดยประเทศอักษะทำการรุกรานและเข้ายึดครองประเทศต่างๆ โดยมีรัฐบาลหุ่นเชิด ทั้งจักรวรรดิญี่ปุ่นและเยอรมัน อิตาลีนั้น จำนวนพื้นที่การยึดครองมีมากทั้งทวีปเอเซีย แอฟริกาและยุโรป ชาติจักรวรรดิอาณานิคม หรืออังกฤษนั้น มีการปกป้องอาณานิคมโดยการปะทะกันในเขตอาณานิคมทั้งในแอฟริกา และฝรั่งเศสในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อังกฤษได้ให้เช่าพื้นที่เกาะในแปซิฟิกแก่สหรัฐเพื่อสร้างเป็นฐานปฏิบัติการในแปซิฟิก เมือครั้งสหรัฐส่งเรื่อรบ 50 ลำให้แก่อังกฤษเมือครั้งยุทธการที่บริเทนเป็นการตอบแทน
    ในสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้กระทั่งปี 1941 ลัทธิและอุดมการณ์ร่วมทั้งนโยบายในการบริหารประเทศจึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเชื้อชาติซึ่งจะเห็นได้จากการปฏิบัติการที่ดันเคิร์กซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่าฮิตเลอร์ปล่อยอังกฤษเพราะเหตุว่าฮิตเลอร์เชื่อว่าชนชาติอังกฤษเป็นชนชาติที่มีความใกล้เคียงกับชนชาติเยอรมัน ในทางกลับกันกับการตัดสินใจเข้าโจมตีสหภาพโซเวียตเพราะเชื่อว่าชาวสลาฟเป็นชนชาติที่ต่ำกว่ามนุษย์ ควรที่จะเนรเทศและปกครองรวมถึงใช้ดินแดนของสลาฟในการอยู่อาศัย..เรื่องเชื้อชาตินั้นจึงเป็นแรงขับและเป็นตัวที่จะพลิกพลันชะตาสงครามและชะตาของเยอรมันในเวลาต่อไป หลังการสร้างประหลาดใจในการตัดสินใจเข้ารุกรานสหภาพโซเวียต ซึ่งได้ทำข้อตกลงไม่รุกรานกันนั้น หรือความตั้งใจที่แท้จริงของเยอรมัน ยุโรปมิใช่เป้าหมายที่แท้จริงแต่แรก..
        นาซีเยอรมันนั้น เรียกได้ว่าฮิตเลอร์ เป็นผู้นำที่มีอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว อิตาลีนั้นมุสโสลินีแม้อำนาจจะไม่เด็ดขาดเท่ากับฮิตเลอร์แต่ก็เป็นผู้นำเผด็จการที่มีอำนาจมาก โครงสร้างภายในมีความเข้มแข็งประชาชนพร้อมจะทำตามนโยบายผู้นำซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศเผด็จการซึ่งทำให้สามารถรุกไล่และโจมตีประเทศต่าง ๆ ในยุโรปได้แทบจะทุกประเทศ
      ญี่ปุ่นแม้จะเป็นเผด็จการทางการทหารแต่ความจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิที่ได้รับการปลูกฝั่งให้แก่ชาวญี่ปุ่นทุกๆคน การนำกองทัพเข้ารุกรานจีนซึ่งจะเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชจึงเป็นช่วงเวลาที่ได้เปรียบของญี่ปุ่น ภายในประเทศจีน มีทั้งการปราบปรามจากพวกนิยมกษัตริย์ พวกชาตินิยมประชาธิไตยและ คอมมิวนิสต์ที่เกิดใหม่ จึงเป็นการได้เปรียบของญี่ปุ่นในการรุกรานจีน
     รุสเซีย ภายใต้การนำของสตาลิน ผู้มีนโยบายปฏิวัติโลก ผู้ที่ทอดทิ้งจีนหลังจากการช่วยให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองเนื่องจากปัญหาการรุกรานจากญี่ปุ่น ซึ่งนับเป็นความผิดพลาดของนโยบายปฏิวัติโลกกระทั่งต้องล้มโครงการไป รุสเซียหลังจากการปฏิวัติสตาลินผู้ขึ้นครองอำนาจต่อจากเลนิน โดยการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ผู้ซึ่งไม่เชื่อในศาสนา สตาลินจึงเล่นบทเป็นพระเจ้าในระบอบการปกครองนี้ด้วย ภายในประเทศจึงมีสภาพที่แตกต่างจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สตาลินไม่ประกาศสงครามกับประเทศอักษะใด ๆ แม้จะได้รับเตื่อนความเคลื่อนไหวที่น่าไว้ใจของนาซี กระทั่งถูกโจมตีจึงประกาศสงคราม..
    อังกฤษเป็นประเทศเดียวที่ทั้งก่อนการเข้าร่วมสงครามของสหรัฐอเมริกาและหลังการเข้าร่วมสงคราม ที่เป็นแกนสำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศอังกฤษได้ผู้นำอย่างเชอร์ชิล ที่มีนโยบายไม่โอนอ่อนต่อเผด็จกลาง ความมีใจมุ่งมั่นแสดงให้เห็นเมือครั้ง ยุทธการที่บริเทน

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Eastern Front


      แนวรบด้านตะวันออกประกอบไปด้วย การเผชิญหร้าทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
มัลัษณะของความรุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน การทำลายไม่เลือกหน้า การเนรเทศขนานใหญ่ตลอดจนการสูญเสียชีวิตมหาศาลอันเนื่องมาจากการสู้รบ ความอดอยาก การทอดท้ง โรคระบาด การสังหารหมู่ แนวรบด้านตะวันออกอันเป็นเหล่งค่านมรณะ การเดินขบวนแห่งความตาย เกตโต และโพกรมแทบทั้งหมด ถือเป็นศูนย์กลางของฮิโลคอสต์ จากตัวเลขประเมินผู้เสียชีวิตในงครามโลครั้งที่สอง 70 ล้านคน ผุ้เสียชีวิตในแนวรบด้านตะวันออก เป็น 30 ล้านคน แนวรบตะวันออกเป็นส่วนสำคัญของการกำหนดผลของสงครามครั้งนี้ และเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งอันนำไปสู่การปราชัยของเยอรมัน
     อุดมการณ์ของเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ กล่าวถึง ความจำเป็นของแนวคิดเลเบนซเราม์ ซึ่งเป็นการเข้ายึดดินแดนใหม่เพื่อการตั้งถิ่นฐานชาวเยอรมันในที่นั้นเป็นเชื้อชาติปกครอง ขณะที่กำจัดหรือเนรเทศผู้อยู่อาศัยส่วนมากไปยังไซบีเรียและใช้ที่เหลือเป็นแรงงานทาส สำหรับพวกนาซีทียึดมั่นในหลักการสงครามกับสหภาพโซเวียตเป็นการต่อสู้ของนาซีต่อคอมมิวนิสต์ และเชื้อชาติอารยันต่ออุนแทนเมนซเชน(ต่ำกว่ามนุษย์) สลาฟ ฮิตเลอร์เอ่ยถึงโดยใช้คำพิเศษว่า “สงครามแห่งการทำลายล้าง”ในแผนการชื่อ “เจเนรัลพลันโอสท์” ประชากรยุโรปกลางและสหภาพโซเวียตที่ถูกยึดครองจะถูกเนรเทศไปยังไซบีเรียตะวันตกบางส่วน บางส่วนตกเป็นทาสและถูกกำจัดทิ้งไปในที่สุด ชาวเยอรมันหรือ “ผุ้ที่แผลงเป็นเยอรมัน” จะตั้งนิคมในดินแดนที่พิชิตได้ นอกจานี้พวกนาซียังมุ่งกวาดล้างประชากรชาวยิวขนาดใหญ่ในยุโรแหลางและตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนาซีที่มุ่งกำจัดชาวยิวทุกคนในยุโรป
     ทฤษฎีของนาซีที่มีต่อสหภาพโซเวียต ฮิตเลอร์เขียนเจตนาของเขาในการรุกรานสหภาพโซเวียตอย่างชัดเจนใน เมียนคัมพ์(การต่อสู้ของข้าพเจ้า) โดยระบุถึงความเชื่อของเขาที่ว่าชาวเยอรมันเป็นชนที่พึงได้พื้นที่อยู่อาศัย (อาทิ ที่ดิน ทรัพยากรและวัตถุดิบ) ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนั้นความเสาะแสวงหาในดินแดนตะวันออกอีกทั้งนโยบายทางเชื้อชาติของนาซียังระบุว่าเชื้อชาติที่ตำกว่ามนุษย์ ซึ่งอยู่ภายมต้การปกครองของ “ยิวบอลเซวิค”ใหนหนังสือ “เมียนคัมพ์”ฮิตเลอร์ยังเขียนไว้อีกว่าชะตากรรมของเยอรมันคือการมุ่งสู่ตะวันออก อย่างที่เคยเกิดขึ้นเมือหกร้อยปีก่อนหน้านั้น และ “เพื่อยุติการปกครองของชาวยิวในรัสเซีย ซึ่งจะเป็นการยุติความเป็นรัฐของรัสเซียลงไปด้วย”หลังจากนั้นฮิตเลอร์ได้กล่าวถึงการต่อสู้ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับ "แนวคิดรวมเชื้อชาติสลาฟ” และชัยชนะที่ได้จะนำไปสู่ “ความเป้นเจ้าโลกนิรันดร”แม้ก่อนหน้านั้น ฮิตเลอร์จะเคยกล่าวว่า “เราจะต้องเดินทางเดียวกับพวกรัสเซีย ถ้านั้นเป็นประโยชน์ต่อเรา” ฉะนั้น นโยบายของรัฐบาลนาซี คือ สังฆ่า เนรเทศ หรือจับชาวรัสเซียหรือชาวสลาฟเป็นทาส และให้ดินแดนเหล่านนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเยอรมันแทน..
     อุดมการณ์โซเวียต ระบอบโซเวียต ซึ่งมีโจเซฟ สตาลินเป็นผู้นำ วางแผนการขยายอุดมการณ์ลัทธิมากซ์-เลนินและให้ความช่วยเหลือแก่ความคืบหน้าของการปฏิวัติโลก ในความเป็นจริง สตาลินได้ยึดหลักการสังคมนิยมประเทศเดียว และใช้หลักการนั้นสร้างความชอบธรรมแก่การปรับให้สหภาพโซเวียตเป็นประเทศอุตสาหกรรมช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอมันซึ่งวางตัวเป็นรัฐที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์มาอย่างต่อเนือและได้ยืนยันฐานะอย่างเป็นทางการด้วยการลงนามในกติกาต่อต้านโคมินเทิร์นกับญี่ปุ่น และอิตาลีนับเป็นขั้วตรงข้ามทางอุดมการณ์โดยตรงกับสหภาพโซเวียต
     ความตรึงเครียดจากอุดมการณ์เปลี่ยนเป็นสงครามตัวแทนระหว่างนาซีเยอมรมันและสหภาพโซเวียต สงครามกลางเมืองสเปน เป็นเวลที่ซึ่งเยอรมันและอิตาลีเผด็จการเข้าแทรแซงการเมืองโดยสนับสนุนฝ่ายชาตินิยมสเปนและคอมมิวนิสต์สหภาโซเวียตสนับสนุนสาธารณรับสเปนที่สอง ซึ่งนำโดยพวกสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์อย่างโดดเด่น
     เหตุการณ์อันซลูสส์ออสเตรียของเยอรมันในปี 1938 และการตัดเชโกสโลวาเกียแสดงถึงความเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างระบบความมั่นคงร่วมในทวีปยุโรปซึ่งเป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจาก มักซิม ลิตวินอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศโซเวียต ความล้าเหลวดังกล่าวตลอดจนความไร้ความสามรถของผุ้นำอังกฤษและฝรั่งเศสที่จะลงนามพันธมิตรทาการเมืองและทางทหารเพื่อต่อต้านเยอรมันเต้ฒขั้นกับสหภาพโซเวียตนำไปสู่สนธิสัญญาโมโลดอฟ-ริบเบนทรอพ ระหว่างสหภาพโซเวียตกับเยอมันการลงนามดังกล่าวนำไปสู่การพลิกผลัน อย่างไรก็ดีหลังเยอรมันบุกรัสเซีย ฐานะของรัฐบาลโซเวียตก็เปลี่ยนมาเป็นต่อต้านนาซีเต็มตัว

WWII:USA 1941

     ในปี 1941 ประธานาธิบดีรูสเวลท์เสนอแผนให้ยืม-ให้เช่า อาวุธและยุทธปัจจัยแก่ชาติผู้ต้อต้านฝ่ายอักษะต่อรัฐสภาที่มาของแผนให้ยืม-ให้เช่า ด้วยประธานาธิบดีรูสเวทท์มั่สใจว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องยือเยื้ออีกยาวนาน ฝ่านสัมพันธมิตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษใกล้ขาดเงินสดซื้ออาวุธและยุ่ธปัจจัยจากสหรัฐอเมริกา และการรบขยายตัวลงมหาสมุทรแดตอลนติกอาจเคลื่อนไข้ใกล้สหรัฐอเมริกได้ในอนาคต
- 6 มกราว่าด้วยแผนให้ยืนมให้เช่าอาวุธและยุทธปัจจัยของสหรัฐอเมริกาแก่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะเป็นผลให้สามารถปราบปรามฝ่ายอักษะได้ และสหรัฐอเมริกาจะคงรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพ 4 ประการ คือเสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็น,เสรีภาพในการนับถือศาสนา,เสรีภาพในการได้มาซึ่งสิ่งทีต้องการ,เสรีภาพในการหลุดพ้นจากความหวาดกลัว..
- 11 มีนาคม ฝ่านเป็นกฏหมายให้ยืม-ให้เช่าปี 1941
- 9 เมษายน รัฐบาลเดนมาร์คยินยอมให้สหรัฐอเมริกาตั้งฐานทัพในกรีนแลนด์ เพื่อปกป้องกรีนแลนด์จากการอาจถูกรุกรานโดยกาองกำลังเยอรมันและอิตาลี
- 11 เมษายน สหรัฐอเมริกและแคนาดาร่วมลงนามในคำประกาศไฮเด พาร์ค ปี 1941 กำหนดร่วมมือระหว่งกันเพื่อปกป้องดินแดนทางตอนเหนือของภาคพื้นทวีปอเมริกาเหนือรวมทั้งร่วมมือกันเพือการผลิตยุทธปัจจัย
-7 กรกฎา สหรัฐอเมริกาลงนามกับรัฐบาลไอซ์แลนด์ เข้าตั้งฐานทัพในเกาะไอซ์แลนด์เพื่อปกป้องไอซ์แลนด์จากการอาจถูกรุกรานโดยเยอรมันและอิตาลี
-26 กรกฎาคม สหรัฐตอบโต้ทางเศรษฐกิจการค้าและการเงินทันทีต่อการก้าวร้าวของญี่ปุ่นด้วยการยึดทรัพย์สินและอายัดเงินของชาวญี่ปุ่นในสหรัฐอเมริก หยุดทำการค้ากับญี่ปุ่นโดยสั่งห้ามเรือขนสินค้าส่งญี่ปุ่นอันได้แก่น้ำมัน เครื่องยนต์ เครื่องจักรและเหล็กออกจากท่าเรืออเมริกา(ญี่ปุ่นตอบโต้ทันที่ด้วยมาตรการในทำนองเดียวกัน)
-27 กรกฎาคม ประธานาธิบดีรูสเวลท์ เรียกกองกำลังฟิลิปินส์เข้าประจำการในกองกำลังอเมริกาภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโท ดักลาส แมคอาเธอร์ Lieutenant General Douglas MacArthur  เพื่อลดความตรึงเครียดญี่ปุ่นเป็นฝ่ายของเปิดการเจรจากับสหรัฐอเมริกา
-4 กันยายน ประธานาธิบดีรูสเวลท์ประกาศให้เรื่อรบอเมริกันทุกลำปฏิบัติการยิงทันที่ที่เห็นเรืออักษาในเขตน่านน้ำภาคพื้นทวีปอเมริกาตามข้อตกลงปานามาปี 1939
     ในเดือน สิงหาคม ประธานาธิบดีรูสเวลท์ร่วมปรึกษาหารือกับนากยกรัฐมนตรีเชอร์ชิล ผู้นำทั้งสองพบกันบนเรือรบพรินซ์ออฟเวลส์ Prince of Wales ชายฝั่งนิวฟาวแลนด์พูดเรื่องปัญหาและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรวมถึงความก้าวร้าวของญี่ปุ่นในเอเซียตะวันออก ผุ้นำทั้งสองร่วมกันลงนามในกฎบัตรแอตแลนติก ปี่ 1941 The Atlantic Charter 1941 โดยมีพื้นฐานจากหลักสันติภาพ 14 ประการและต่อมมาจึงเป็นสันนิบาตชาติใหม่คือ องค์การสหประชาชาติในปี 1945
     ในเดือนสิงหาคม เช่นกัน สหรัฐอเมริกาเสนอความช่วยเหลือด้ารอาวุธและยุทธปัจจัยในรูปแบบให้ยืม-ให้เช่าแก่จีนเพื่อใช้ต้านการรุกรานของญี่ปุ่นในดินแดนจีน สร้างความไม่พอใจอยางมากแก่ญ่ปุ่น
-18 สิงหาคม ประกาศขยายระยะเวลาการรับราชการของทหารเกณฑ์จากเดิม
-11 กันยายน กลุ่มชาติต้านฝ่ายอักษาะ 11 ชาติร่วมลงนามรับรองในข้อกำหนดแห่งกฎบัตรแดตแลนติก
-13 พศจิกายน รัฐสภาเพิ่มข้อความในกฎหมายวางตนเป็นกลาง กำหนดให้เรือสินค้าอเมริกันติดอาวุธ จากการที่ญี่ปุ่นรุกรานและยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศสได้สำเร็จ
-20 พฤศจิกายน การเจรจาโดยฝ่ายญี่ปุ่นนำโดยตัวแทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีนายพลฮิเดกิ โตโจ General Hideki Tojo และทูตญี่ปุ่นประจำสหรัฐอเมริกา คือ คิชิซาบูโร โนมูรา ฝ่ายสหรับนำโดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา คอร์เดล ฮัล ญี่ปุ่นเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาเลิกยึดทรัพย์สินนและอายัดเงินของชาวญี่ปุ่นในสหรัฐอเมริกา คงทำการค้ากับญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจัดส่งน้ำมันแก่ญี่ปุ่น เลิกให้ควมช่วยเหลือใดๆ แก่จีน และยุติการขยายแสยานุภาพกองทัพเรืออเมริกาในน่านน้ำแปซิฟิก
-26 พฤศจิกายน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศให้ญี่ปุ่นถอนกำลังออกจากจีนและอินโดจีนของฝรั่งเศส และลงนามในข้อตกลงไม่ก้าวร้าวรุกรานในดินแดนใดกับสหรัฐอเมริกา อันจะมีผลฟื้นฟูใหม่ในความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกาข้อเรียร้องของสหรัฐอเมริกาสร้างความไม่พอใจแก่ญี่ปุ่น
-27 พฤศจิกายน กองกำลังอเมริกันในภาคพื้นแปซิฟิกได้รับการเตือนว่าเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีของญี่ปุ่นเคลื่อนออกจากท่าเรือญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาอาจถูกโจมตี
- 6 ธันวาคม ประธานาธิบดีรูสเวลท์ร้องของต่อจักรพรรดิญี่ปุ่นให้รักษาสันติภาพ แต่เพราะในเช้าวันอาทิตย์ของวันที่ 7 ธันวาคม ฝูงบินกองกำลังญี่ปุ่นบุกโจมตีท่าเรือเพิร์ล สร้างครามเสียหายอย่างมากแก่สหรัฐอเมริกาเป็นผลให้ในวันที่ 8 ธันวาคม รัฐสภาประกาศสงครามกับญี่ปุ่น (วุมิสภให้การยินยอมด้วยเสียงเอกฉันท์ และสภาผุ้แทนราษฎรมีการคัดค้านหนึ่งเสียง) อังกฤษประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในวันที่ 8 ธันวาคมใ เช่นกัน
-11 ธันวาคมเยอรมันและอิตาลีประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา และสหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับเยอรมันและอิตาลี รวมทั้งประกาศสงครามกับชาติบริวารเยอรมัน
-19 ธันวาคม รัฐสภาประกาศขยายอายุทหารเกณฑ์จาก 21-35 เป็น 20-44 ปี

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Dai Nippon Teikoku:KMT:CCP

     หลังจากเหตุการณ์ที่นานกิง ญี่ปุ่นทำการรุกไล่จีนแม้จีนจะแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่าแต่ไม่อาจทำลายขวัญและกำลังใจของกองทัพก๊กมินตั๋ง กองทัพจีนขวัญกำลังใจดีตรงข้ามกับญี่ปุ่นที่กำลังขวัญเสีย แม้ญี่ปุ่นจะยึดนานกิงซึ่งเป็นเมืองหลวงได้และคิดว่าจะจบเพียงแค่นั้น แต่ชาวจีนมิได้คิดเช่นนั้นเลย เมือยึดได้ก็สร้างขึ้นใหม่ได้เช่นกัน อย่างไรก็ดีแม้จะประสบปัญหาด้านกำลังพล ในเดือนมีนาคม 1940 ญี่ปุ่นสามารถจัดตั้งรัฐบาลหุ่นขั้นได้สำเร็จ โดยมี หวัง ชิง ไหว เป็นประทธานาธิบดี
     ความไม่พร้อมของกองทัพญี่ปุ่นส่งผลกรทบต่อทั้งพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีนเท่าๆกัน แต่ทั้งสองพรรคใช้วิธีการที่แตกต่างกัน เชียง ไค เชค ใช้วิธีการตั้งรับมากกว่าหลังจากยุทธการที่แม่น้ำแยงซี พรรคคอมมิวนิสต์ใช้ความได้เปรียบจากความไม่พร้อมขยายอิทธิพลไปยังพื้นที่ต่าง ๆ อร่างต่อเนื่องและรวดเร็ว และเป็นความโชคดีของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกเช่นกันที่ญี่ปุ่นเห็นว่าการเข้าครอบครองจีนได้หรือไม่อยู่ที่ว่าจะปราบกองทัพก๊กมินตั๋งได้หรือไม่ โดยไม่เห็นคอมมิวนิสต์จีนอยู่ในสายตา จากเหตุผลนี้ ในปี 1940 ภาคเหนือทั้งหมดก็ตกเป็นของพรรคคอมมิวนิสต์โดยไม่ต้องสู้รบแม้แต่น้อย ประชากรวมแล้วมีประมาณ 100 ล้านคน จากนั้นก็เริ่มเข้าทำลายเส้นทางรถไฟและการสือสารคมนาคม เมื่อถึงจุดนี้ ญี่ปุ่นเริ่มต่อต้านบ้างแต่ก็ช้าเกินไป คอมมิวนิสต์เข้มแข็งเกินกว่าจะกวาดล้างได้อย่างง่ายดาย
     ในช่วงเวลานี้คอมมิวนิสต์ทำการจัดตั้งอำนาจรัฐได้อย่างสมบูรณืแบบที่สุดมีอิทธิพลเหนือทณฑลซันซี กันสู และหนิงเซีย  โดยมียีนาน เป็นศูนย์กลางบัญชาการ พรรคได้สร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มชาวไร่ชาวนา กลุ่มนักศึกษา ปัญญาชน  ซึ่งต่อมาได้เป็นขุมกำลังทางปัญญาให้แก่พรรค ทุกคนใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย อุทิศชีวิตให้แก่อุดมการณ์โดยำม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยหรือแม้แต่ชีวิต  ในช่วงนี้จึงได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “ยุคทองของพรรค”และเป็นแบบอย่างของนักปฏิวัติจีนในอีกหลายปีต่อมา
     “กองพลที่ 8”  เป็นกองกำลังหลักที่อยูไกลจากเมืองเยนานไปทางภาคตะวันออก และอยู่แนวหลังกองกำลังหลักญี่ปุ่น “กองพลที่ 8” เป็นความสำเร็จของพรรคอีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากการจัดระเบียบองค์การปฏิวัติชาวไร่ชาวนาอย่างมีประสิทธิภาพ กองพลนี้นอกจากจะเป็นองค์การสูงสุดทางทหารของพรรคที่ยึดถือระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด และเป็นกองทัพของประชาชนแล้ว ยังมีสายสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชาวไร่ชาวนาโดยเฉพาะในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ปลดปล่อย และต่างฝ่ายต่างช่วยเหลือกันและกัน
     ในการรุกรานจีนสร้างความประหลาดใจให้แก่ญี่ปุ่น จีนผุ้เป็นเจ้าของประเทศไม่คิดที่จะต่องสู้อย่งจริงจัง แม้จะพ่ายแพ้นับครั้งไม่ถ้วนแต่จีนไม่มีทีท่าว่าจะวางอาวุธ นอกจานี้ ญี่ปุ่นเริ่มเผลิญกับปัญหาใหม่ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ คือประเทศที่มิใช่คู่ศึกโดยตรง อันได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส ทั้งสองประเทศมีอินแดนในปกครองในจีนเช่นเดียวกัน และญี่ปุ่นต้องการดินแดนเลห่านั้น แม้ทั้งสองประเทศจะไม่สามารถยับยั้งญี่ปุ่นได้โดยตรง เนื่องจากอยุ่ในระหว่งการต่อสู้ในยุโรป แต่ญี่ปุ่นก็ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เพราะทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสยินยอมให้มีการใช้อาณานิคม โดยเฉพาะในพม่าและเวียดนาม เพื่อลำเลียงเสบียงสัมภาระ อาวุธยุทโธปกรณ์เข้าช่วยเหลือรัฐบาล เชียง ไค เชค ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการบังคับในตัวให้ญี่ปุ่นต้องเคลื่อนทัพสู่ภาคใต้เข้าสู่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อตัดเส้นทางลำเลียง

     สหรัฐอเมริกา เองไม่พอใจต่อการรุกรานจีนของญี่ปุ่น และไม่พอใจมากกับการที่ญี่ปุ่นรุกรานภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐแสดงความไม่พอใจออกมาอย่างชัดเจนมากกว่าประเทศมหาอำนาจตะวันตกซึ่งเป็นผู้ปกครองในภูมิภาคนี้  ประธานาธิบดีรูสเวลด์มีทีท่าต่อต้านการรุกรานของเยอรมันและญี่ปุ่นนั้น ทำให้นับแต่ปี 1940 เป็นต้นมา รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาเรอ่มทุ่มเทความช่วยเลหืออย่างมากแก่รัฐบาลเชียง ไค เชค
     สหรัฐอเมริกา ลอประมาณการซื่อขายสินค้ากับญี่ปุ่น ถึงกับทำให้ญี่ปุ่นต้องตัดสินใจว่าจะหยุดการรุกรานหรือไม่ เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นต้องย่อยยับ ถ้าขาดวัตถุดิบว฿งส่วนหใญ่นำเข้าจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าถ้าจะให้คงการค้าขายต่อไป ญี่ปุ่นจะต้องยุติการรุกรานจีนในปัญหานี้ผุ้นำทางทหารของญี่ปุ่นถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และมองว่าเป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีของกองทัพแห่งองค์มหาจักรพรรดิ ทางออกของญี่ปุ่นก็คือต้องแสวงหาดินแดนอื่นที่อุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะน้ำมันและยางพารา ในที่สุดก็มาตกที่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

WWII:Africa Settentrionale Italiana

      แอฟริการเหนือของอิตาลี เป็นพื้นที่ซึ่งรวมอาณานิคมและดินแดนในความปกครองของราชอาณาจักรอิตาลีในทวีปแอฟริการเหนือ ตั้งแต่ ปี 1912 -ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประกองด้วยดินแดสองส่วนหลักคือตริโปลิเตเนียและไซเรไนกาตั้งแต่ ปี 1912-1934 หลังจากนั้จึงรวมกันเป็นอิตาเลียนลิเบีย ผู้ำเผด็จการมุสโสลินีเรียกดินแดนลิเบียในช่วงนั้นว่า "ชายฝั่งทั่งสี่ของอิตาลี"
      นับแต่ปี 1940 อิตาลีพยายามพิชิตอียิปต์และตูนิเซียเพื่อขยายพื้นที่ของแอฟริกาเหนือของอิตาลีซึ่งฮิตเลอร์โกรธอย่างมากในการเริ่มสงครามในภูมิภาคนี้
      ปฏิบัติการเข็มทิศ ของอังกฤษและอินเดียเริ่มโจมรีกองทัพอิตาลีในอียิปต์อิตาลีถูกบังคับให้ล่าถอยไปยงลิเบีย อิลตาลีในกรีซล่าถอยไปอัลเบเนีย ทหารกรีซเริ่มการโจมตีอัลเบเนีย กองทัพอังกฤษเริ่มทำการรบในลิเบีย ระหว่างสงครามอิตาลี -กรีซ ทหารกรีซยึดครองอับเบเนียได้หนึ่งในสี่ของดินแดนทั้งหมดอิตาลีเรียกร้องกำลังสนับสนุนจากเยอรมัน

    ในเดือนกุมภาพันธ์นายพล เออร์วิน รอมเมล ได้รับการแต่างตั้งให้เป็นผุ้บัญชาการกองทัพเยอรมันในแอฟริกาเหนือ กองทัพของจอมพลเออร์วิน รอมเมลแห่งนาซี รุกคือในแอฟริกาเหนือจนประบความสำเร็จในนามอิตาลี อิตาลีจึงได้รับส่วนแบ่งสำคัญเป็นดินแดนด้านตะวันตกของอียิปต์ และตูนีเิซีย
 ตุลาคม ปี 1940 อิตาลีบุกครองกรีซ แต่ภายในไม่กี่วันก็ถูกขับไล่และถูกตี ถอยเข้าไปในอัลแบเนีย และคุมเชิงกันอยู่ เดือนธันวาคม กองทัพเครือจักรภพอังกฤษตอบโต้กองทัพอตาลีในอียิปต์และดินแดนแอฟริกาตะวันออกของอิตาลี
      ต้นปี 1941 กองทัพอิตาลีถูกผลักดันกลับไปยังลิเบียโดยกองทัพเครือจักรภพ เชอร์ชิลล์ออกคำสั่งให้ส่งกำลังจากแอฟริกาเข้าไปเสริมในกรีซ ซึ่งในขณะเดียวกันกองทัพเรืออิตาลีก็ประสบความปราชัยครั้งสำคัญ ในยุทธนาวีตารันโต
      หลังฝรั่งเศสแพ้ทำให้อังกฤษต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวนอกจากจะต้องรับมือกองทัพเยอรมันในยุโรปแล้ว ยังต้องรับมือกับอิตาลีในเมติเอตร์เรเนียนอีก กองทัพอิตาลีนั้น แม้ว่าเป็นกองทัพเรืออันดับ 4 ของโลก แต่ก็เป็นกองทัพเรือที่ทรงอานุภาพที่สุดในภาคพื้นเมดิเตอเรเนียน สิ่งที่อังกฤษหวาดกลัวคือ อิตาลีหรือเยอรมันอาจจะยึดเรือรบของฝรั่งเศสที่พ่ายแพ้มาใช้ประโยชน์ จึงต้องเร่งไล่จับกุมหรือจมเรือฝรั่งเศสด้วย
     การต่อเรือประจัญบานชั้นวิตตอรีโอของอิตาลี ทำให้สมดุลทางทหารในเมดิเตอเรเนียนของอิตาลีเทียบเท่ากับอังกฤษทันที่ อังกฤษ จึงส่งเครื่องบินทะเลเข้าทิ้งตอร์ปิโด กองเรืออิตาลีที่จอดในท่าเรือเมืองโตรอนโต อิตาลีสูญเสียกองเรือผิน้ำเป็นจำนวนมาก แม้กองเรืออิตาลีจะได้รับควมสูญเสีย แต่กองเรือิตาลีที่เกาชิชิลีและเนเปิลส์ยังเข้มแข็งดีอยู่ แม้ว่าอังกฤษจะส่งกองบินท้งตอร์ปิโดโจมตีอย่างหนักก็ตาม
     ปลายเดือนมีนา 1941 กองทัพเรืออังกฤษจึงปะทะกัน ที่แหลมมะตะปัน ตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะครีสผลคือ อังกฤษเป็นฝ่ายชนะ ยุทธนาวีครั้งนี้ทำให้กองทัพเรืออิตาลีอ่อนลงทันที ปฏิบัติการผิวน้ำของอิตาลีลดลง เหลือแต่ปฏิบัติการเรือดำน้ำและเครื่องบินเท่านนั้นที่ยังโจมตีอย่างหนักอยู่
     แต่อย่างไรก็ตาม การที่อังกฤษจะสงกำลังช่วยเหลือในแอฟริกาเหนือผ่านทะเลเมติดเตอร์เรเนียนก็เป็นไปด้วยความลำบากอยู่มาก หากจะส่งกำลังผ่านแหลมยิบรันต้าก็จะถูกโจมตีจากเยอรมันและอิตาลี หากจะให้ปลอดภัยต้องส่งอ้อมทางแหลมกู้ดโฮป แอฟริกาใต้ แต่ก็ต้องเสียเวลาเป็นอย่างมาก
      เยอรมันและอิตาลีแทบจะควบคุมเส้นทางเดินเรือในเขตนี้ได้แต่จุดยุทธศาสตร์ คือเกายิปรัลต้า และเกามอลต้าซึ่งฝ่ายอักษะไม่ทำการยึดจากอังกฤษ อังกฤษจึงเป็นผู้ครอบครองเกาะทั้งสองที่จุดยุทธศาสตร์ในการรบในเมดิเตอร์เรเนียน กระทั่งปลายปี 1942
     หลังจากกองทัพเรืออิตาลีได้รับความเสียหายจากยุทธการมะตะปันไม่นาน เยอรมันก็ยื่นมือเข้าช่วยอิตาลี ฮิตเลอร์ส่งกองทัพเข้าสู่ลิเบียฝ่ายอักษะทำการรุกหนักกองทัพของกลุ่มเครือจักรภพที่ลดจำนวนลงไป และภายในหนึ่งเดือนกองทัพเครือจักรภพก็ถูกตีถอยร่นกลับสู่อียิปต์  กองทัพเครือจักรภพพยายามจะขับไล่กองทัพอักษะ แต่ไม่สำเร็จ หลังจากบัลแกเรียเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะกองทัพเยอรมันก็เข้าแทรกแซงในคาบสมุทรบอลข่าน โดยโจมตีกรีซและยูโกสลาเวียภายหลังรัฐประหารซึ่งก็ประสบความสำเร็อยางรวดเร็ว ในท้ายที่สุดกองทัพสัมพันธมิตรก็ต้องถอนกำลังออกไปหลังจากที่เยอรมันสามารถยึดเกาครีต
      ยุทธการเกาะครีต เยอรมันส่งกองกำลังพลร่มเข้ารุกรานเกาครีตภายใต้ชื่อรหัส “ปฏิบัติการมอร์คิวรี” ฝ่ายตั้งรับที่อยู่บนเกาะครีตประกอบด้วยกองทัพกรซ กองกำลังของฝ่ายสัมพันธมิตร และพลเรือนชาวเกาะครีต หลังการสู้รบดำเนินไปไดหนึ่งวัน ฝ่ายเยอรมันต้องพบกับความสูญเสียอย่างหนักและยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายใดๆ  ในวันถัดมาด้วยปัญหาการสูญเสียการติดต่อและความล้มเหลวในการควบคุมสถานการณ์ของฝ่ายสัมพันธมิตร สนามบินในเมือมาเส็ม จึงเสียให้แก่ฝ่ายเยอรมัน ทำให้เยอรมันได้รับกำลังเสริมและครองความเหนือกว่าฝ่ายที่ตั้งรับได้ การสู้รบได้ดำเนินต่อไปอีกเกือบ 10 วันจึงยุติลง
      ยุทธการที่เกาะครีต สร้งประวัติการณ์ขึ้นใหม่ 3 ประการ คือ
     - เป็นการรบครั้งแรกที่ใช้พลร่มเป็นกำลังรบหลัก
     - เป็นการปฏิบัติการครั้งสำคัญครั้งแรกของฝ่ายสัมพันธมิตรในการใช้สายลับถอดรหัสลับเครื่องอีนิกมาของนาซีเยอรมัน
     - และเป็นครั้งแรกของฝ่ายเยอรมันที่ได้ประสบการต่อต้านอย่างหนักจากประชาชพลเรือน ด้วยความเสียหายอย่างหนักที่กองกำลังพลร่มได้รับ  ถึงกับว่าฮิตเลอร์สั่งยุติการปฏิบัติการขนาดใหญ่สำหรับกองกำลังพลร่ม..

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII: Neutrality

     ช่วงระยะเวลาในปี 1933-1945 ประธานาธิปดีแฟรงคลิน เดลาโน รูสเวลท์ Frankling Delano Rooseevelt เป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา จากพรรคเดโมเครติก รูสเวลท์ได้รับเลือเป็นประธานาธิบดี 4 สมัย แปดปีแรก รองประธานาธิบดี คือ จอห์น เอ็น. การ์เนอร์ John N. Garner ในสมัยที่สาม รองประธานาธิบดี คือ เฮนรี เอ.วอร์เลส Henry A.Wallace ในสมัยที่สี่ รองประธานาธิปดีคือ ฮาร์รี เอส.ทรูแมน Harry S. Truman รูสเวลส์เสียชีวิตต้นสมัยที่สี่ในวันที่ 12 เมษายน 1945 ด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองแตก เป็นผลให้ฮาร์รี เอส. ทรูแมน รองประธานาธิบดีก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา รูสเวลส์เป็นประธานาธิบดีคนสุดท้ายที่ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 4 มีนาคม
      ในปี 1933 รูสเวลท์ เข้าบริหารประเทศท่ามกลางบรรยากาศสงครามโลกครั้งที่ 2 เหตุการณ์ที่มีิอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คือ
       ภาวะเศรษฐกิจตกตำ่ หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปรากฎรุนแรงเด่นชัดในปี 1929 เป็นผลให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาปิดกั้นการค้าทั้งสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมกับประเทศทังหลายด้วยกฏหมายเพื่อภาษีนำเข้า เป็นเหตุให้การค้าของสหรัฐอเมริการหยุดชงัก ประเทศลูกหนี้ไม่อาจจ่ายหนี้คืนแก่สหรัฐอเมริกาได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวรูสเวลท์จึงเปิดการค้ากับประเทศคู่ค้าโดยการลำภาษีนำเข้า
      และคือการปรากฎของระบบเผด็จการทั้งในเอเชียและยุโรป ผู้ชื่อชอบลัทธิทหาร ญี่ปุ่น ในเอเชีย อดอฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำแห่งพรรคนาซี เบนิโต มุสโสลินี ผุ้นำพรรคฟาสซิส และ โจเซฟ สตาลิน ผุ้นำเผด็จกาคอมมิวนิสต์ จากการปรากฎตัวของผู้นำเผด็จการทั้ง 4 รุสเวลท์ เห็นว่าควรต้องเตรียมพร้อมด้านกองกำลังและอาวุธเพื่อป้องกันการรุกรานใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
     สหรัฐอเมริกาวางเฉยและไม่เข้าร่วมแก้ไขปัญหาขณะชาติผู้ก้าวร้าวปฏิบัติการ สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดี รูสเวลท์ วางเฉยไม่เขาร่วมระบับเหตุกาณ์หรือร่วมแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด เพราะสาเหตุ 5 ประการ
     - เชื่อในพรมแดนธรรมชาติที่ดีเยี่ยมเปรียบเสมือนเป็นกำแพงสกัดกั้นการรุกรานใด ๆ
     - คนอเมริกันส่วนใหญ่คิว่าสงครามไม่ดีเพราะสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้วแทนที่จะมีความสงบสุข สิ่งที่ปรากฎคือคงเกิดกรณีพิพาททางการค้าด้วยกำแพงภาษีนำเข้าที่สูง ไม่สามารถลดอาวุธและกองกำลังทหารระหว่างกันได้ และเกิดระบบเผด็จการรวบอำนาจ
     - ความล้มเหลวของสันนิบาติชาติ
     - สหรัฐอเมริกไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับคู่กรณีพิพาททั้งทางการค้าและการเงิน เพราะจะฉุดให้สหรัฐอเมริกาต้องเข้าร่วมในสงครามเช่นต้องเข้าร่วมในสงครามโลกครังที่ 1
     - และคนอเมริกันกลุ่มที่ยึดมั่นในนโยบายโดดเดี่ยว คือต้องการให้รัฐบาลกลางสนใจในกิจการและปัญหาภายในประเทศ แยกสหรัฐอเมริกาออกจากการเข้ายุ่งเกี่ยวในปัญหาโลกมีจำนวนมากกว่ากลุ่มคนอเมริกันที่ต้องการให้รัฐบาลกลางสนใจเหตุกาณภายนอกและนำสหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงรวมแก้ไขปัญหาโลก
     ญี่ปุ่นยืนยันการเสริมสร้างแสนยานุภาพกองทัพเรือให้ทัดเทียมมีประสิทธิภาพเช่นสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ด้วยการปรกกาศถอนญี่ปุ่นออกจากการร่วมลงนามในสนธิสัญญาลดอาวุธที่วอชิงตันต้นปี 1922 กำหนดและควบคุมแสนยานุภาพกองทัพเรือให้ญี่ปุ่นมีฐานะเป็นรองสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ รวมทั้งการคงอยุ่ของนโยบายเปิดประตูในดินแดนจีน ตลอดจนประกาศถอนญี่ปุ่นออกจากการร่วมลงนามในขอตกลงควบคุมแสนยานุภาพกองทัพเรือที่กรุงลอนดอนปี 1930 กำหนดให้ญี่ปุ่นคงมีฐานะการถือครองเรือลาดตระเวนเป็นรองสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
     สหรัฐอเมริกาแสดงท่าที่ยึดมั่นในนโยบายโดดเดี่ยวแยกสหรัฐอเมริกาออกจากการเข้ายุ่งเกี่ยวในปัญหาโลกเริ่มด้วยรัฐสภา ผ่านกฎหมายละเลยหนี้สิน กำหนดห้ามรัฐบาลและนายทุนอเมริกันให้ประเทศที่เพิกเฉยละเลยการจ่าหนี้สินคืนแก่สหรัฐอเมริกาได้กู้ยืมเงินอีก (หนีสินครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศลูกหนี้ส่วนใหญไม่จ่ายคืนแก่สหรัฐ แต่มีเงินซื้ออาวุธเก็บสะสม)
      วุฒิสภาปฏิเสธการนำสหรัฐอเมริกาเข้าเป็นสมาชิกศาลโลก สืบเนื่องจากการรุกรานเอธิโอเปียโดยอิตาลี
      อเมริกาผ่านกฎหมายวางตัวเป็นกลาง กำหนดให้อำนาจประธานาธิบดีสั่งห้ามเรืออเมริกันขนอาวุธให้แก่ชาติใดๆ และห้ามคนอเมริกันโดยสารเรือชาติคู่กรณี (เกรงจะเกิดเหตุเช่น กรณีเรือลูซิตา)
      จากสงครามกลางเมือในสเปนและท่าที่ที่ก้าวร้าวของเอยรมันและญี่ปุ่นรัฐสภา่ผ่านกฏหมายวางตนเป็นกลางอีก 2 ฉบับ กำหนดห้ามให้การกู้ยืมเงินหรือสินเชื่อใด ๆ แก่ชาติผุ้ก้าวร้าว และฝ่านร่างกฎหมายวางตนเป็นกลางปี 1937 กำหนดให้อำนาจประธานาธิบดขายสินค้าที่ไม่ใช่อาวุธยุทธปัจจัยแก่ทุกชาติ ในรูปของการจ่ายเงินสด และขนส่งเอง
          ด้วยกฎหมายวางตนเป็นกลางทั้งสามฉบับ สหรับอเมริกามุ่งนำสหรัฐออกจากการเข้าร่วมในสงคราม ยอมรับการหมดสิ้นเสรีภาพเดินเรือในทะเลหลวงเพื่อการค้าและจำกัดสิทธิคนอเมริกันในการเดินทางทางเรือด้วยเกรงอันตราย รวมถึงจำกัดสิทธิทางการค้าของธุรกิจอเมริกันกับประเทศคู่กรณี
         อเมริกาติดตามเหตุการณ์ความก้าวร้าวต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดโดยตลอด ในทางปฏิบัติ ประธานาธิบดีรูสเวลท์กล่าวในรัฐสภาชี้ถงการก้าวร้าวของชาติผุ้ก้าวร้าว จำเป็นที่สหรัฐอเมริกาต้องเตรียมพร้อมด้านกองกำลังปละอาวุธเพื่อป้องกันประเทศ ขณะเดียวกันต้องแสดงหาแนวทางสร้างสันติภาพ รัฐสภาสนองตอบคำเรียกร้องของประธานาธิบดีรูสเวลท์ด้วยการจัดสรรเงินงบลประมาณพิเศษเพื่อการเสริมสร้างกองกำลังและแสนยานุภาพกองทัพเรือในน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกและแอตแลนติก นอกจากนี้รูสเวลท์ยังส่งสาส์นเป็นการส่วนตัวถึงฮิตเลอร์และมุสโสลินี เรียกร้องให้ยุติกรณีพิพาทด้วยข้อตกลงและความร่วมมือกันแทนการใช้กองกำลังทหาร สองผุ้นำประเทศไม่ให้ความสนใจเพราะมองว่าสหรัฐอเมริกายึดมั่นในนโยบายโดดเดี่ยว
       ท่าที่ของสหรัฐต่อเหตุการการรุกรานโปแลนด์ ของเยอรมันและการรุกรานฟินน์แลนด์ของรุสเซียประธานาธิบดี รูสเวลท์ได้เสนอของบประมาณพิเศษรวมทั้งสิ้น1845 ล้าน รัฐสภาฝ่านงบประมาณพิเศษสนองคำเรียร้องของประธานาธิบดีรูสเวลท์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นประธานาธิบดีรูสเวลท์ประกาศทางวิทยุว่าสหรัฐอเมริกาคงยคดมั่นในยโยบายวางตนเป็นกลาง
     ประธานาธิบดีรูสเวลท์เห็นควรทบทวนกฎหมายวางตนเป็นกลางปี 1937 ซึ่งกำหนดให้อำนาจประธานาธิบดีขายสินค้าที่ไม่ใช้ยุทธปัจจัยแก่ทุกชาิตในรูปของการจ่ายเงินสดและบรรทุกเอง ประธานาธิบดีรูสเวล?์ต้องการให้มีการขายอาวุธและยุทธปัจจัยแก่อังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อใช้ต้านความก้าวร้าวของเยอรมันและิดตาลี เป็นผลให้ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 1939 รัฐสภาประกาศยกเลิกกฎหมายวางตนเป็นกลาง และฝ่ายกฏหมายวางตนเป็นกลางปี 1939 กำหนดให้อำนาจประธานาธิบดีสั่งขายอาวุธและยุทธปัจจัยแก่ทุกชาติในรูปขายเงินสดและขนส่งเอง ปรธานาธิบดีรูสเวลท์มั่นใจว่าชาติผู้ก้าวร้าวสะสมอาวุธแลยุทธปัจจัยไว้มากเพียงพอแล้วและจะไม่ซื้ออาวุทธยุทธปัจจัยจากสหรัฐอเมริกา ด้วยกฏหมายวางตนเป็นกลางปี 1939 อังกฤษนำการสั่งซื้ออาวุธและยุทธปัจจัยจากสหรัฐอเมริกามีอัตราครึ่งหนึ่งของอาวุธยุทธปัจจัยที่ส่งออก
      Battle of Britain อังกฤษสามารถหยุดปฏิบัตการโจมตีอังกฤษของเยอรมันได้ชั่วคราว โดยจะเริ่มโจมตีอังกฤษครั้งใหม่ในต้นปี 1941
     กองกำลังทางอากาศของอังกฤษปฏิบติการอย่างเต็มความสามารถโดยเฉพาะอย่างยิ่งรักษาช่องแคบอังกฤษจากการที่อาจถูกกองกำลังเยอรมันยึครองหรือใ้เป็นทางเข้าสู่หมาู่เกาะอังกฤษและในวันที่ 3 กันยายน 1940 สหรัฐอเมริกาจัดส่งเรือพิฆาต 50 ลำร่วมในกองกำลังทัพเรืออังกฤษต้านการบุกโจมตีของกองกำลังเยอรมัน อังกฤษตอบแทนด้วยการให้สิทธิสหรัฐอเมริกาเช่าพื้นที่ในเขตยึดครองของอังกฤษมีระยะเวลา 99 ปี ซึ่งล้วนเป็นหมู่เกาะในทะเลแคริเบียน และบิทิชกิอานา ในอเมริกาใต้ เพื่อตั้งฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศ ในวันที่ 27 กันยายน 1940 ญี่ปุ่นลงนาให้ความช่วยเลหืด้านอาวุธยุทธปัจจัยแก่เยอรมันและอิตาลีทั้งให้สัญญาว่าจะบุกโจมตีสหรัฐอเมริกา ถ้าสหรัฐอเมริกาเข้ายุ่งเกียวในสงครามทางยุโรป
   

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...