ความไม่พร้อมของกองทัพญี่ปุ่นส่งผลกรทบต่อทั้งพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีนเท่าๆกัน แต่ทั้งสองพรรคใช้วิธีการที่แตกต่างกัน เชียง ไค เชค ใช้วิธีการตั้งรับมากกว่าหลังจากยุทธการที่แม่น้ำแยงซี พรรคคอมมิวนิสต์ใช้ความได้เปรียบจากความไม่พร้อมขยายอิทธิพลไปยังพื้นที่ต่าง ๆ อร่างต่อเนื่องและรวดเร็ว และเป็นความโชคดีของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกเช่นกันที่ญี่ปุ่นเห็นว่าการเข้าครอบครองจีนได้หรือไม่อยู่ที่ว่าจะปราบกองทัพก๊กมินตั๋งได้หรือไม่ โดยไม่เห็นคอมมิวนิสต์จีนอยู่ในสายตา จากเหตุผลนี้ ในปี 1940 ภาคเหนือทั้งหมดก็ตกเป็นของพรรคคอมมิวนิสต์โดยไม่ต้องสู้รบแม้แต่น้อย ประชากรวมแล้วมีประมาณ 100 ล้านคน จากนั้นก็เริ่มเข้าทำลายเส้นทางรถไฟและการสือสารคมนาคม เมื่อถึงจุดนี้ ญี่ปุ่นเริ่มต่อต้านบ้างแต่ก็ช้าเกินไป คอมมิวนิสต์เข้มแข็งเกินกว่าจะกวาดล้างได้อย่างง่ายดาย
ในช่วงเวลานี้คอมมิวนิสต์ทำการจัดตั้งอำนาจรัฐได้อย่างสมบูรณืแบบที่สุดมีอิทธิพลเหนือทณฑลซันซี กันสู และหนิงเซีย โดยมียีนาน เป็นศูนย์กลางบัญชาการ พรรคได้สร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มชาวไร่ชาวนา กลุ่มนักศึกษา ปัญญาชน ซึ่งต่อมาได้เป็นขุมกำลังทางปัญญาให้แก่พรรค ทุกคนใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย อุทิศชีวิตให้แก่อุดมการณ์โดยำม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยหรือแม้แต่ชีวิต ในช่วงนี้จึงได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “ยุคทองของพรรค”และเป็นแบบอย่างของนักปฏิวัติจีนในอีกหลายปีต่อมา
“กองพลที่ 8” เป็นกองกำลังหลักที่อยูไกลจากเมืองเยนานไปทางภาคตะวันออก และอยู่แนวหลังกองกำลังหลักญี่ปุ่น “กองพลที่ 8” เป็นความสำเร็จของพรรคอีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากการจัดระเบียบองค์การปฏิวัติชาวไร่ชาวนาอย่างมีประสิทธิภาพ กองพลนี้นอกจากจะเป็นองค์การสูงสุดทางทหารของพรรคที่ยึดถือระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด และเป็นกองทัพของประชาชนแล้ว ยังมีสายสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชาวไร่ชาวนาโดยเฉพาะในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ปลดปล่อย และต่างฝ่ายต่างช่วยเหลือกันและกัน
ในการรุกรานจีนสร้างความประหลาดใจให้แก่ญี่ปุ่น จีนผุ้เป็นเจ้าของประเทศไม่คิดที่จะต่องสู้อย่งจริงจัง แม้จะพ่ายแพ้นับครั้งไม่ถ้วนแต่จีนไม่มีทีท่าว่าจะวางอาวุธ นอกจานี้ ญี่ปุ่นเริ่มเผลิญกับปัญหาใหม่ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ คือประเทศที่มิใช่คู่ศึกโดยตรง อันได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส ทั้งสองประเทศมีอินแดนในปกครองในจีนเช่นเดียวกัน และญี่ปุ่นต้องการดินแดนเลห่านั้น แม้ทั้งสองประเทศจะไม่สามารถยับยั้งญี่ปุ่นได้โดยตรง เนื่องจากอยุ่ในระหว่งการต่อสู้ในยุโรป แต่ญี่ปุ่นก็ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เพราะทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสยินยอมให้มีการใช้อาณานิคม โดยเฉพาะในพม่าและเวียดนาม เพื่อลำเลียงเสบียงสัมภาระ อาวุธยุทโธปกรณ์เข้าช่วยเหลือรัฐบาล เชียง ไค เชค ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการบังคับในตัวให้ญี่ปุ่นต้องเคลื่อนทัพสู่ภาคใต้เข้าสู่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อตัดเส้นทางลำเลียง
สหรัฐอเมริกา เองไม่พอใจต่อการรุกรานจีนของญี่ปุ่น และไม่พอใจมากกับการที่ญี่ปุ่นรุกรานภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐแสดงความไม่พอใจออกมาอย่างชัดเจนมากกว่าประเทศมหาอำนาจตะวันตกซึ่งเป็นผู้ปกครองในภูมิภาคนี้ ประธานาธิบดีรูสเวลด์มีทีท่าต่อต้านการรุกรานของเยอรมันและญี่ปุ่นนั้น ทำให้นับแต่ปี 1940 เป็นต้นมา รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาเรอ่มทุ่มเทความช่วยเลหืออย่างมากแก่รัฐบาลเชียง ไค เชค
สหรัฐอเมริกา ลอประมาณการซื่อขายสินค้ากับญี่ปุ่น ถึงกับทำให้ญี่ปุ่นต้องตัดสินใจว่าจะหยุดการรุกรานหรือไม่ เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นต้องย่อยยับ ถ้าขาดวัตถุดิบว฿งส่วนหใญ่นำเข้าจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าถ้าจะให้คงการค้าขายต่อไป ญี่ปุ่นจะต้องยุติการรุกรานจีนในปัญหานี้ผุ้นำทางทหารของญี่ปุ่นถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และมองว่าเป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีของกองทัพแห่งองค์มหาจักรพรรดิ ทางออกของญี่ปุ่นก็คือต้องแสวงหาดินแดนอื่นที่อุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะน้ำมันและยางพารา ในที่สุดก็มาตกที่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น